แคสเปอร์สกี้ แลป บล็อกการโจมตีจากช่องโหว่ในไมโครซอฟท์ออฟฟิศ ก่อนตกเป็นเหยื่อจารกรรมผ่านช่องโหว่ Zero-Day

แคสเปอร์สกี้ แลป บริษัทเอกชนผู้ให้บริการโซลูชั่นเพื่อการปกป้องคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก พัฒนาเทคโนโลยี Automatic Exploit Prevention หรือ AEP ซึ่งล่าสุดโชว์ความสำเร็จในการบล็อกการจู่โจมผ่านช่องโหว่ระบบที่ถูกพบเมื่อเร็วๆ นี้ในซอฟต์แวร์ Microsoft Office โดยไมโครซอฟท์รายงานว่า การจู่โจมนี้มีเป้าหมายตรงอาศัยช่องโหว่นี้

เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2556 ที่ผ่านมานี้ ไมโครซอฟท์ออกแถลงในหัวข้อความปลอดภัยเรื่อง “Microsoft Security Advisory (2896666)” เพื่อแจ้งยูสเซอร์ถึงช่องโหว่ที่พบในระบบ ว่าเป็นช่องทางให้อาชญากรมีสิทธิเข้าใช้ระบบได้เท่ากับเป็นยูสเซอร์เอง ช่องโหว่นั้นพบใน Microsoft Windows, Microsoft Lync และ Microsoft Office เมื่อดูจากความนิยมในการใช้งานแพร่หลายของโปรแกรมเหล่านี้ ย่อมหมายถึงยูสเซอร์ทั่วโลกที่ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเหยื่อถูกจู่โจม

แคสเปอร์สกี้ แลป ได้ยืนยันมาแล้วว่า AEP ประสบความสำเร็จในการบล็อกความพยายามใดก็ตามที่จะใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ซึ่งไม่เป็นที่รู้กันมาก่อนในซอฟต์แวร์นั้น ทำให้ยูสเซอร์ปลอดจากการเป็นเป้าหมาย รวมไปถึงภัยคุกคามอื่นๆ ที่อาจอาศัยประโยชน์แฝงมากับการพบช่องโหว่นี้ ด้วยการตรวจระวังกิจกรรมที่มีพฤติกรรมผิดปกติ โดยไม่พึ่งพาข้อมูลของมัลแวร์เก่าๆ ที่มีอยู่แล้วในฐานข้อมูลมัลแวร์แต่เพียงอย่างเดียว ทำให้ฟังก์ชั่น Automatic Exploit Prevention ของแคสเปอร์สกี้ แลป พิสูจน์คุณค่าศักยภาพของโปรแกรมเพื่อความปลอดภัยในการป้องกันภัยมัลแวร์ได้ก่อนมาถึงตัว

“ลอจิกของการตรวจจับมัลแวร์ที่อาศัยช่องโหว่ด้วยวิธีจับสังเกตพฤติกรรมผิดปกตินั้นมีติดตั้งในเทคโนโลยี Automatic Exploit Prevention ของแคสเปอร์สกี้ แลป มาเป็นเวลากว่าปีแล้ว การวิจัยหลังพบช่องโหว่นี้ ชี้ว่าได้มีความพยายามเข้าจู่โจมเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2556 ที่ผ่านมา ถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญที่โซลูชั่นของเราสามารถปกป้องยูสเซอร์ได้ก่อนที่จะมีการประกาศเรื่องช่องโหว่นี้เสียอีก” นิกิตา ชเวตซอฟ รองประธานกรรมการบริหารฝ่ายเทคโนโลยี แคสเปอร์สกี้ แลป กล่าว

KIS2014_AEP_01

ช่องโหว่ในโปรแกรมของไมโครซอฟท์ถูกบันทึกไว้ในชื่อ CVE-2013-3906 เป็นช่องโหว่ที่บังคับการทำงานได้จากระยะไกลพบในคอมโพเน้นท์ในระบบกราฟิกของไมโครซอฟท์ ตามข้อมูลของไมโครซอฟท์ที่ว่า:

ผู้บุกรุกอาศัยประโยชน์จากช่องโหว่นี้ด้วยวิธีการชวนเชื่อหลอกให้ยูสเซอร์เรียกพรีวิวหรือเปิดอีเมล์, ไฟล์ หรือเว็บไซต์ที่ปรับแต่งมาโดยเฉพาะ เปิดช่องให้แทรกผ่านเข้ามาฉวยครอบครองสิทธิ์การใช้เครื่องเสมือนเป็นยูสเซอร์ตัวจริง

ตามคำแนะนำของไมโครซอฟท์ ได้จัดให้มีวิธีการแก้ไขซึ่ง “ไม่ได้แก้ไขปัญหาหลักที่เกิดขึ้น หากแต่ช่วยบล็อกกิจกรรมที่เข้าจู่โจมที่รู้ได้ก่อนที่จะมีซีเคียวริติอัพเดทพร้อมใช้งาน” การแก้ไขช่องโหว่นี้คาดว่าจะมีอยู่ในซอฟต์แวร์อัพเดทแพทช์ในรุ่นต่อไปจากไมโครซอฟท์

สถานการณ์นี้เป็นตัวอย่างสมบูรณ์แบบของ “Window of vulnerability” ซึ่งช่องโหว่เป็นที่รู้กันอยู่ และน่าจะเป็นไปได้ว่าตกเป็นเป้าหมายของอาชญากรไซเบอร์ แต่บริษัทซอฟต์แวร์ก็ไม่สามารถที่จะวิธีแก้ไขได้ทันที จนกว่าจะถึงวันนั้น ยูสเซอร์จำนวนมากมายก็ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเป้าหมายของอาขญากรรมไซเบอร์กันทั่วโลก

KIS2014_AEP_02

แคสเปอร์สกี้ แลป ปกป้องยูสเซอร์จากช่องโหว่ของซอฟต์แวร์ต่างๆ

ผู้เชี่ยวชาญแคสเปอร์สกี้ แลป ออกรายงานผลการวิจัยเกี่ยวกับ “การขยายตัวของการหาประโยชน์จากช่องโหว่ในซอฟต์แวร์” เพื่อกระตุ้นเตือนมาหลายปีแล้ว ด้วยโปรแกรมเช่นนี้มีเป้าหมายเพื่อหาประโยชน์จากช่องโหว่ตามโปรแกรมถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้งานแพร่หลาย ซึ่งเมื่อค้นพบโดยผู้ร้ายแทนที่จะเป็นเจ้าของซอฟต์แวร์เช่นนี้จะเรียกว่า Zero-Days เมื่อแคสเปอร์สกี้ แลปสังเกตพบเทรนด์เช่นนี้ในหมู่อาชญากรไซเบอร์ จึงออกแบบ Automatic Exploit Prevention เทคโนโลยีเฉพาะตัวที่สร้างขึ้นมาเฉพาะโดยทีมผู้เชี่ยวชาญจากแคสเปอร์สกี้ แลป

การทำงานของ Automatic Exploit Prevention คือตรวจหาพฤติกรรมปกติของโปรแกรมร้าย และจับตาซอฟต์แวร์ที่มักเป็นเป้าหมายการจู่โจมเป็นกรณีพิเศษ เทคโนโลยีนี้มีในโซลูชั่น B2B และ B2C ของแคสเปอร์สกี้ แลป มีหลายฟังก์ชั่นต่างๆ กัน ในการบล็อกการแอบแฝงหาประโยชน์รูปแบบต่างๆ รวมทั้งติดตามหาต้นตอซอฟต์แวร์ที่กำลังพยายามจะ launch และคอยตรวจจับพฤติกรรมของโปรแกรมที่ใช้งานอยู่ก่อนที่จะเปิดใช้งานตัวใหม่ การเฝ้าระวังแบบกันก่อนเกิดเหตุเช่นนี้ผนวกเข้ากับ Forced Address Space Layout Randomization (ASLR) ซึ่งคอยสุ่มตรวจอิมเมจของโมดูลทั้งที่โหลดมาแล้วและที่กำลังโหลด และป้องกันการแอทแทคจากการค้นหาเป้าหมาย

การค้นคว้าวิจัยของแคสเปอร์สกี้ แลป ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ให้ความสนใจที่ช่องโหว่ตามซอฟต์แวร์ และผลกระทบต่อระบบความปลอดภัยไอทีเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ออกรายงาน “Java under attack — the evolution

of exploits in 2012-2013” มีช่องโหว่จาวาอยู่มากกว่า 160 รายการที่พบในช่วงหนึ่งปี และถูกโจมตีด้วยมัลแวร์มากกว่า 14 ล้านครั้ง รวมทั้ง ช่องโหว่ที่รู้จักกันดีในชื่อ Zero-Day ที่ใช้เป็นช่องทางหาประโยชน์มาแล้วในแคมเปญจารกรรมที่ชื่อ Icefog

 

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

ห้องสมุดบทความ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยชนะรางวัลของแคสเปอร์สกี้ แลป

https://www.kaspersky.com/about/press/whitepapers

ข้อมูลเทคโนโลยี Automatic Exploit Prevention ของแคสเปอร์สกี้ แลป

https://www.kaspersky.com/downloads/pdf/kaspersky_lab_whitepaper_automatic_exploit_prevention_eng_final.pdf

Microsoft Security Advisory (2896666)

https://technet.microsoft.com/en-us/security/advisory/2896666

รายงาน “การขยายตัวของการหาประโยชน์จากช่องโหว่ในซอฟต์แวร์”

https://eugene.kaspersky.com/2012/05/25/the-dangers-of-exploits-and-zero-days-and-their-prevention/

รายงาน “Java under attack — the evolution of exploits in 2012-2013”

https://media.kaspersky.com/pdf/kaspersky-lab-report-java-under-attack-2012-2013.pdf

รายงาน “Independent research awards first place to Kaspersky Lab’s exploit prevention technology”

https://www.kaspersky.com/about/news/product/2012/Independent_research_awards_first_place_to_Kaspersky_Labs_exploit_prevention_technology

 

 

Latest

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

Windows Search ห่วย ใช้ Listary ช่วยคุณได้

คิดว่าหลายคนที่ใช้วินโดวส์เป็นหลัก น่าจะรู้สึกเหมือนผม คือรำคาญระบบค้นหา หรือช่อง search ของวินโดวส์ เพราะช้า แถมหาอะไรก็ไม่ค่อยเจอ ...

Newsletter

Don't miss

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

Windows Search ห่วย ใช้ Listary ช่วยคุณได้

คิดว่าหลายคนที่ใช้วินโดวส์เป็นหลัก น่าจะรู้สึกเหมือนผม คือรำคาญระบบค้นหา หรือช่อง search ของวินโดวส์ เพราะช้า แถมหาอะไรก็ไม่ค่อยเจอ ...

รวม 22 คีย์ลัด Windows Key ที่ทำให้ชีวิตง่ายขึ้นพันเปอร์เซ็นต์

ปุ่ม Windows Key หน้าตาแบบนี้ ไม่ได้มีไว้ใช้แค่เรียกเมนู Start ขึ้นมาเท่านั้นนะครับ แต่ตัวมันใช้เป็นคีย์ลัดสำหรับการการทำงานบนวินโดวส์ได้หลายอย่างมาก วันนี้ผมขอรวบรวมคีย์ลัดของปุ่มนี้...

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime monitoring สมัยนี้มีหลากหลายเจ้า ปกติจะเก็บค่าบริการกันแบบ subscription รายเดือน แต่ถ้าใครไม่อยากจ่ายตังค์ วันนี้ผมมีโซลูชั่น สำหรับใครที่มีการใช้งาน NAS อยู่แล้ว เราจะเอา NAS มาทำเป็น uptime monitoring...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ ใช้มาหลอกเรา ส่งข้อความมาทาง inbox แจ้งว่าเพจทำผิดกฎ หรือ ละเมิดกฎเฟซบุ๊ก ให้กดลิงค์ เพื่อยืนยันตัวตน ไม่งั้นจะบล็อกเพจถาวร พอเรากดลิงค์เข้าไป จะเจอกับหน้าเพจ (คล้าย) เฟซบุ๊ก ซึ่งมีฟอร์มให้เราใส่ข้อมูลต่างๆ รวมถึง ชื่อเพจ อีเมล...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here