Bobert Swan ซีอีโอของ Intel ประกาศในวันนักลงทุน Intel ปี 2019 ว่าซีพียู 7nm ของอินเทลจะมาในปี 2564…!!! จากข่าวนี้ ทำให้หลายคนส่งสัยว่าทำไมอินเทลถึงได้ปรับตัวช้านักทั้งๆ ที่คู่แข่ง ได้เปิดตัวซีพียูทีใช้สถาปัตยกรรมการผลิตที่ 7nm ไปแล้ว ห่างกันตั้งสองปี อินเทลมัวทำอะไรอยู่ ???
สถาปัตยกรรมการผลิต ไม่ได้ทำให้แรงขึ้น
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าสถาปัตยกรรมการผลิตนั้นก็คือเครื่องมือที่ใช้ในการผลิตซีพียูนั่นแหละ เครื่องมือที่เล็กลงก็ทำให้สามารถผลิตซีพียูที่เล็กลงได้นั่นแหละ แล้วมันมีประโยชน์อย่างไรละ?
– กินไฟน้อย ด้วยขนาดการผลิตที่เล็กลงทำให้ทุกอย่างภายในเล็กลงด้วย ทางเดินไฟฟ้าที่อยู่ภายในซีพียูก็เช่นกัน ผลก็คือ ซีพียูตัวนั้นก็จะใช้กำลังไฟในการทำงานที่น้อยลงนั่นเอง
– ความร้อนต่ำ จากข้อข้างบนเมื่อซีพียูใช้ไฟน้อยลง ก็จะส่งผลให้ความร้อนที่เกิดจากไฟฟ้าในการทำงานก็น้อยลงตามไปด้วยเช่นกัน
– บรรจุจำนวนทรานซิสเตอร์ได้เพิ่มขึ้น ในขนาดที่เท่าเดิม ทำให้ผู้ออกแบบสามารถใส่อะไรลงไปได้มากขึ้น เช่นเพิ่มจำนวนคอร์ หรือเพิ่มแคชมากขึ้น อย่างเช่นคู่แข่งที่อัดคอร์เข้าไปถึง 12 คอร์ 24 เทรด และเพิ่มจำนวนแคชเข้าไปอีก 2 เท่า เป็นต้น
ซึ่งข้อดีที่ได้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความแรงของซีพียูโดยตรง ซีพียูจะแรงขึ้นได้หรือไม่อยู่ที่หารออกแบบโครงสร้างการทำงานภายในเป็นหลัก ถ้าซีพียูถูกออกแบบมาเป็นอย่างดีอยู่เเล้ว ผู้ผลิตก็ไม่จำเป็นต้องลงทุนจำนวนมากเพื่อซื้อเครื่องมือ หรือออกแบบกระบวนการผลิตใหม่ให้ยุ่งยาก
วางชิพซ้อนๆ กันง่ายกว่า
อินเทลมีเทคโนโลยีการวางชิพในแบบ Stack ที่สามารถวางซิลิกอนขึ้นเป็นชั้นๆ ในแบบคอนโดได้ ซึ่งช่วยให้สามารถใส่ทรานซิสเตอร์ลงไปได้มากขึ้น ทดแทนการวางชิพในแนวระนาบที่สูญเสียพื้นที่มากกว่า ซึ่งเทคโนโลยีนี้ถูกใช้ในอุปกรณ์ต่างๆ ของอินเทลมากมายเช่น 3D X Point ที่ใช้ใน Intel Optane Memory เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยีนี้เองที่ช่วยเข้ามาทดแทน การลดขนาดสถาปัตยกรรมการผลิตที่ 7nm ของคู่แข่งได้
สรุปสั้นๆ
สถาปัตยกรรมการผลิตเป็นเรื่องของโรงงาน ไม่เกี่ยวกับผู้ใช้ โรงงานจะทำเล็กหรือใหญ่แค่ไหนก็ไม่ได้มีผลกับผู้ใช้มากนัก ถ้าออกแบบดีๆ กินไฟน้อยความร้อนต่ำได้ไม่แพ้กัน มาวัดผลที่ประสิทธิภาพที่ได้ดีกว่า ไปคงเถียงเรื่อง 14nm, 10nm, 7nm ไม่มีประโยชน์อะไร