หนึ่งในความร่วมมือที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงอนาคตของแพลตฟอร์ม คือ การประกาศอย่างเป็นทางการว่า ไมโครซอฟท์และลินุกซ์นั้นสามารถทำงานข้ามแพลตฟอร์มกันได้ ในแนวคิดที่ว่า “Microsoft ♥ Linux” จากการประชุมใหญ่ของไมโครซอฟท์ที่ผ่านมาโดย สัตยา นาเดลล่า ซีอีโอคนปัจจุบันของไมโครซอฟท์ สื่อหลายสำนักได้ให้ความเห็นว่า “ไมโครซอฟท์มาถูกทางแล้ว!” แนวคิดของ “Microsoft ♥ Linux” นั้นมาจากเสียงตอบรับจากลูกค้าส่วนใหญ่ที่เวลาทำงานต้องใช้งานทั้ง Windows และ Linux กับศูนย์ข้อมูล กับผู้ให้บริการภายนอก และกับระบบคลาวด์สาธารณะ เดียวกัน ลูกค้าส่วนใหญ่ต้องการให้สามารถทำงานร่วมกันได้โดยไม่ต้องอิงกับระบบปฏิบัติการใดระบบปฏิบัติการหนึ่ง ต่อไปนี้คือสิ่งที่ไมโครซอฟท์ได้ให้สัญญาไว้เกี่ยวกับลินุกซ์
- Linux is your data center – ไมโครซอฟท์ได้ลงทุนมหาศาลกับเทคโนโลยีคลาวด์ ในทุกๆ มุมคือทั้งด้านประมวลผล (Compute), การทำเครือข่าย (Networking) และพื้นที่เก็บข้อมูล (Storage) ซึ่งการลงทุนครั้งนี้เป็นการลงทุนแบบ Hyper-Scale บน Azure Public Cloud และระบบปฏิบัติการที่เป็นเกสต์ ทำงานเป็นอิสระต่อกันทั้ง Windows และลินุกซ์ แต่ก็มีอยู่หลายครั้งที่ทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์มักมีคำถามว่า “มันสามารถทำงานบน Windows ได้จริงหรือไม่” กับ “มันสามารถทำงานบนลินุกซ์ได้จริงหรือเปล่า” และคำตอบคือ ไมโครซอฟท์เองก็ได้ลงทุนกับศูนย์ข้อมูลเช่นเดียวกัน เพื่อให้เป็นพื้นฐานบนความแตกต่างที่สามารถทำงานได้ดีทั้งกับทั้งสองระบบ
นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ยังได้ลงทุนในระดับ Management Layer เพื่อเปิดตัวเวอร์ชันแรกของ PowerShell Desired State Configuration (DSC) สำหรับลินุกซ์ด้วย โดยบน DSC บนลินุกซ์ จะสามารถทำงานร่วมกันได้ทั้งบน Windows และลินุกซ์ ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งแพคเกจ การกำหนดค่า การสร้างและจัดการผู้ใช้งาน รวมถึงการติดตั้งบริการต่างๆ และขณะนี้โครงการ DSC for Linux นั้นเป็นโครงการ Open Source ที่พร้อมให้ใช้งานบน GitHub แล้ว
- Linux is Microsoft Azure – เป้าหมายคือให้ Linux VM สามารถทำงานได้สมบูรณ์บน Azure ให้เหมือนกับ Windows VM โดยในแพคเกจ “G” ที่มีทั้งขนาดของ VM, Premium Storage และ Azure Backup นั้นพร้อมให้บริการทั้ง Windows และลินุกซ์แล้ว และสามารถทำงานร่วมกับ Docker, Chef และ Open Source อื่นๆ ได้ด้วย โดยจะพร้อมให้บริการบนลินุกซ์ก่อน แล้วจึงจะเป็น Windows
ระบบปฏิบัติการลินุกซ์หลากหลายแบบที่ให้บริการบน Azure เช่น SUSE Linux Enterprise Server, openSUSE, Ubuntu Linux, Oracle Linux, CoreOS และ CentOS ซึ่งคุณสามารถดาวน์โหลดอิมเมจของลินุกซ์ของตนเองได้ด้วย ส่วนในศูนย์ข้อมูลของ Azure นั้น ไมโครซอฟท์ก็มีบริการ PaaS ที่อยู่บนระบบปฏิบัติการลินุกซ์ด้วย ซึ่งก็คือ HDInsight (Hadoop) ที่ทำงานบนลินุกซ์เวอร์ชันแรกนั่นเอง เรียกได้ว่าเป็นสัญญาณที่ดีทางธุรกิจว่าไมโครซอฟท์กำลังเข้ามาสู่ตลาดลินุกซ์มากขึ้นแล้ว ช่วยให้ผู้ใช้งานมีทางเลือกในการดำเนินงานมากขึ้น
หากผู้ใดสนใจ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.microsoft.com/open