ผลการทดสอบ Kaspersky Lab Cyber Savvy ชี้พฤติกรรมออนไลน์สุดเสี่ยง

แคสเปอร์สกี้ แลปได้ทดสอบความเก๋าทางไซเบอร์ (Cyber Savvy) ของยูสเซอร์ทั่วโลกจำนวน 18,000 คน เพื่อวัดความเสี่ยงของพฤติกรรมบนอินเทอร์เน็ตและออนไลน์ โดยที่ผู้ตอบแบบสอบถามจะต้องเลือกสถานการณ์ออนไลน์ที่มักพบได้ทั่วไปจากคำตอบหลากหลายที่มีให้เลือก

จากคำตอบที่ถูกเลือกขึ้นมาทั้งหมด พบว่าในสถานการณ์ที่ยูสเซอร์ต้องระบุภัยคุกคามทางไซเบอร์นั้น มีอัตรา “อันตราย” สูงที่สุด (เช่น สิ่งที่นำไปสู่การสูญหายของทรัพย์สินดิจิตอล, ข้อมูลระบุตัวตน, เงิน)

76% ของผู้ที่เข้าร่วมการสำรวจไม่สามารถที่จะแยกแยะได้ระหว่างเว็บเพจของจริงและของปลอมที่ทำเลียนแบบ (ในเม็กซิโกตัวเลขขึ้นไปถึง 82%) เมื่อเผชิญหน้ากับภัยคุกคามเช่นเดียวกันนี้บนเว็บ ยูสเซอร์ก็จะกรอกข้อมูลส่วนตัวเข้าไปยังหน้าเว็บเพจฟิชชิ่งที่ออกแบบมาเพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัวแบบนี้ได้ดื้อๆ อาชญากรไซเบอร์ใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้เหล่านี้เพื่อเป็นทางเข้าไปบัญชีต่างๆ หลังจากนั้นจะถูกใช้เพื่อแพร่กระจายโฆษณาน่ารำคาญ ไฟล์หรือลิ้งก์ที่แฝงมัลแวร์ รวมทั้งเพื่อขโมยเงินและข้อมูลสำคัญด้วย

พบด้วยว่าอีก 75% ละเลยสะเพร่าเรื่องการตรวจสอบฟอร์แมตของไฟล์ที่จะดาวน์โหลด เช่น แทนที่จะได้ไฟล์เพลงกลับได้เป็นไฟล์ที่อาจมีเชื้อไวร้ส เลือก ‘scr’ (สกรีนเซฟเวอร์ – เป็นฟอร์แมททั่วไปที่มักจะพบไวรัสฝังตัวอยู่) เป็นไฟล์ ‘exe’ หรือ ‘zip’ เก็บข้อมูลที่ไม่รู้ที่มาที่ไปในไฟล์นั้นแทนที่จะเป็นไฟล์ ‘wma’ ส่วนมากคนในสหราชอาณาจักร (85%) มักตกเป็นเหยื่อลูกเล่นประเภทนี้

ความเก๋าไซเบอร์ เชื่อหรือไม่ต่างกันไปตามถิ่นที่อยู่

จากข้อมูลสรุปผลการสำรวจพบว่า เยอรมนี สเปน และออสเตรเลียมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดด้านความเก๋าทางไซเบอร์ ถึงกระนั้นก็ตามผู้ที่อยู่ในประเทศเหล่านี้ก็ยังต้องเรียนรู้อีกมาก เช่น คนเยอรมันมีแนวโน้มที่จะเก็บรหัสผ่านในฟอร์แมตที่ไม่ค่อยปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชอบเขียนลงกระดาษที่อยู่ใกล้ๆ เครื่องคอมนั่นเอง ชาวสเปนมักแบ็คอัพข้อมูลในที่ที่ไม่น่าวางใจ แถมยังไม่เข้ารหัสหรือใช้พาสเวิร์ด ส่วนชาวออสเตรเลียไม่รู้แม้กระทั่งว่าบราวเซอร์เก็บประวัติกิจกรรมออนไลน์เอาไว้ด้วย

ตัวแปรที่ดูจะอันตรายที่สุดจากคำตอบมาจากยูสเซอร์ประเทศอินเดีย ญี่ปุ่น และมาเลเซีย แม้ว่าผู้คนของแต่ละประเทศจะมีลักษณะพฤติกรรมออนไลน์ที่สุ่มเสี่ยงที่โดดเด่นเป็นของตนเองก็ตาม

ปรากฎว่าชาวอินเดียเป็นกลุ่มที่โดนหลอกง่ายที่สุด – เพราะเป็นกลุ่มมีความเป็นไปได้สูงสุดที่จะเปิดไฟล์แนบในอีเมล์ที่แม้จะน่าสงสัยก็ตาม หรือแอดเพิ่มใครก็ได้ที่ขอเป็นเฟรนด์ และคลิ้กลิ้งก์จากเพื่อนบนโซเชียลเน็ตเวิร์กโดยไม่เช็คดูก่อนว่าจริงหรือหลอก พฤติกรรมประเภทนี้หมายความว่ายูสเซอร์ในประเทศนี้มีความเสี่ยงสูงที่จะตกเป็นเหยื่อของการฉ้อฉลมากกว่าผู้คนในประเทศอื่นๆ

ชาวญี่ปุ่นแสดงความไม่สนใจใยดีต่อความปลอดภัยของตนเอง: พวกเขาไม่เห็นประโยชน์ของการทำแบ็คอัพไฟล์ และคิดว่าตนไม่มีข้อมูลสำคัญที่จำเป็นต้องป้องกัน และยังเป็นกลุ่มที่มีความเป็นไปได้น้อยกว่าที่จะอัพเดทระบบปฏิบัติการ เมื่อเทียบกับยูสเซอร์ในประเทศอื่นๆ ความรู้สึกนึกคิดด้านความปลอดภัยที่ผิดวิสัยเช่นนี้เข้าทางอาชญากรเอามากๆ ยิ่งยูสเซอร์ไม่ค่อยจะใส่ใจที่จะป้องกันตนเองมากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งเป็นการง่ายที่จะเจาะเข้าอุปกรณ์ใช้งาน และขโมยข้อมูลมากยิ่งขึ้นเท่านั้น

ชาวมาเลเซีย เพื่อนบ้านใกล้ชิดของไทยเรานี้ ก็มีความสบายๆ อยู่ไม่น้อย: พวกเขาใช้อุปกรณ์สื่อสารมากมายหลายชนิดรวมทั้งแอพพลิเคชั่น โดยไม่สนใจว่าเหมาะสมที่จะติดต่อสื่อสารเรื่องข้อมูลสำคัญต่างๆ หรือไม่ ทำได้แม้กระทั่งติดดั้งโปรแกรมบนอุปกรณ์เพียงแค่คลิ้กตามไปเรื่อยๆ “next-next-next-agree” โดยไม่อ่านเนื่อความที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจนถี่ถ้วนก่อนคลิ้กตกลง อีกนัยหนึ่งคือ ตกลงให้ติดตั้งซอฟต์แวร์หรือรับการเปลี่ยนแปลงค่าเซ็ตติ้งของ OS จากแอพพลิเคชั่นเหล่านี้โดยคลิ้กตกลงไปเรื่อยๆ ที่น่าเศร้าที่สุด คือ หนึ่งในสามของผู้เข้าร่วมการสำรวจจากประเภทนี้ต่างก็เต็มใจที่จะยกเลิกโซลูชั่นแอนตี้ไวรัสในกรณีที่บล็อกการติดตั้งโปรแกรม ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว ถือเป็นการเปิดโอกาสให้ซอฟต์แวร์อันตรายทำอะไรก็ได้ที่ตนต้องการ

เมื่อมาถึงเรื่องการป้องกันข้อมูลทางด้านการเงิน ทัศนคติที่เป็นอันตรายที่สุดนั้นพบได้จากยูสเซอร์ในประเทศรัสเซีย และสาธารณรัฐเช็ก ที่มีท่าว่าพลาดท่าเมื่อเลือกเว็บไซต์ของธนาคารเพื่อทำธุรกรรมการเงินที่ปลอดภัย และยังยอมรับด้วยว่าไม่ได้มีมาตรการทางความปลอดภัยเพิ่มเติมใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อซื้อสินค้าออนไลน์

สัญชาตญานในการป้องกันตนเองเป็นธรรมชาติของคนเราทุกคน ในโลกแห่งความเป็นจริง ผู้คนส่วนมากมักพร้อมที่จะปกป้องสิ่งที่พวกเขาเห็นว่ามีค่าต่อตนเอง อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจในโลกเวอร์ช่วล สัญชาตญานนี้มักจะพากันหล่นหายไปหมด แม้ว่าชีวิตส่วนตัว อัตลักษณ์และข้อมูลส่วนบุคคล สินทรัพย์ต่างๆ และเงิน ยังคงจำเป็นต้องได้รับการป้อนกันเมื่อทำธุรกรรมออนไลน์ เป็นที่น่าสังเกตว่า มีแนวโน้มที่ทำความผิดพลาดที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าพวกเขาอาศัยอยู่ที่ใด แล้วคุณล่ะ มีความรู้รอบด้านไซเบอร์มากน้อยเพียงใด? เราท้าคุณมาลองทำการทดสอบความเชี่ยวของคุณที่: https://blog.kaspersky.com/cyber-savvy-quiz/

Latest

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

Windows Search ห่วย ใช้ Listary ช่วยคุณได้

คิดว่าหลายคนที่ใช้วินโดวส์เป็นหลัก น่าจะรู้สึกเหมือนผม คือรำคาญระบบค้นหา หรือช่อง search ของวินโดวส์ เพราะช้า แถมหาอะไรก็ไม่ค่อยเจอ ...

Newsletter

Don't miss

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

Windows Search ห่วย ใช้ Listary ช่วยคุณได้

คิดว่าหลายคนที่ใช้วินโดวส์เป็นหลัก น่าจะรู้สึกเหมือนผม คือรำคาญระบบค้นหา หรือช่อง search ของวินโดวส์ เพราะช้า แถมหาอะไรก็ไม่ค่อยเจอ ...

รวม 22 คีย์ลัด Windows Key ที่ทำให้ชีวิตง่ายขึ้นพันเปอร์เซ็นต์

ปุ่ม Windows Key หน้าตาแบบนี้ ไม่ได้มีไว้ใช้แค่เรียกเมนู Start ขึ้นมาเท่านั้นนะครับ แต่ตัวมันใช้เป็นคีย์ลัดสำหรับการการทำงานบนวินโดวส์ได้หลายอย่างมาก วันนี้ผมขอรวบรวมคีย์ลัดของปุ่มนี้...

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime monitoring สมัยนี้มีหลากหลายเจ้า ปกติจะเก็บค่าบริการกันแบบ subscription รายเดือน แต่ถ้าใครไม่อยากจ่ายตังค์ วันนี้ผมมีโซลูชั่น สำหรับใครที่มีการใช้งาน NAS อยู่แล้ว เราจะเอา NAS มาทำเป็น uptime monitoring...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ ใช้มาหลอกเรา ส่งข้อความมาทาง inbox แจ้งว่าเพจทำผิดกฎ หรือ ละเมิดกฎเฟซบุ๊ก ให้กดลิงค์ เพื่อยืนยันตัวตน ไม่งั้นจะบล็อกเพจถาวร พอเรากดลิงค์เข้าไป จะเจอกับหน้าเพจ (คล้าย) เฟซบุ๊ก ซึ่งมีฟอร์มให้เราใส่ข้อมูลต่างๆ รวมถึง ชื่อเพจ อีเมล...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here