ไซแมนเทคเผยกลวิธีขโมยบัตรเครดิต ด้วยการสกิมมิ่งและฝังมัลแวร์ลงเครื่องคิดเงิน

รายงานข่าวจากไซแมนเทค ( NASDAQ: SYMC )  เผยอาชญากรไซเบอร์พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้ข้อมูลบัตรเครดิต  ซึ่งที่จริงแล้วการโจรกรรมข้อมูลทางออนไลน์ทำได้หลายวิธี ตั้งแต่เครื่องคิดเงิน (Point of Sale – POS) คือเป้าหมายที่น่าสนใจมากที่สุด  ทั้งนี้ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ของการชำระค่าสินค้าที่เครื่องคิดเงินของผู้ค้าปลีกเป็น การชำระเงินด้วยบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต  เนื่องจากห้างค้าปลีกขนาดใหญ่อาจต้องประมวลผลธุรกรรมหลายพันรายการต่อวันโดยผ่านระบบชำระเงิน ดังนั้นเครื่องคิดเงินจึงตกเป็นเป้าหมายหลักของอาชญากรที่ต้องการโจรกรรมข้อมูลบัตรเครดิตจำนวนมาก 

ปัจจุบันมีหลายฟอรั่มบนอินเทอร์เน็ตที่จำหน่ายข้อมูลบัตรเครดิตและบัตรเดบิตอย่างเปิดเผยในหลากหลายรูปแบบ โดยรูปแบบที่แพร่หลายมากที่สุดก็คือ “CVV2” ซึ่งผู้ขายจะจัดหาหมายเลขบัตรเครดิต พร้อมรหัสความปลอดภัย CVV2 ซึ่งโดยปกติแล้วจะอยู่ที่ด้านหลังบัตรเครดิต  ข้อมูลนี้เพียงพอที่จะทำการซื้อสินค้าทางออนไลน์  อย่างไรก็ตาม ผู้ขายบางรายยังนำเสนอข้อมูล “Track 2” ที่สร้างรายได้ได้มากกว่า โดยเป็นรหัสชวเลขสำหรับข้อมูลที่บันทึกไว้บนแถบแม่เหล็กของบัตร  ข้อมูลนี้ก่อให้เกิดผลกำไรได้มากกว่า เพราะคนร้ายจะสามารถทำบัตรปลอมและนำไปใช้ซื้อสินค้าตามร้านค้าทั่วไป หรืออาจใช้ถอนเงินจากตู้เอทีเอ็มหากว่ามีรหัสผ่านของบัตร  มูลค่าของข้อมูลนี้ปรากฏอยู่ในราคาขายทางออนไลน์ และราคาที่ว่านี้ก็แตกต่างหลากหลายอย่างมาก  ข้อมูล CVV2 มีราคาตั้งแต่ 0.1 ดอลลาร์ ถึง 5 ดอลลาร์ต่อบัตรหนึ่งใบ ขณะที่ข้อมูล Track 2 อาจมีราคาสูงถึง 100 ดอลลาร์ต่อบัตรหนึ่งใบ

 

credit-info
รูปภาพ
: ข้อมูลบัตรเครดิตที่วางจำหน่ายในฟอรั่มบนอินเทอร์เน็ต

 

ซึ่งปัญหาสำคัญคนร้ายได้ข้อมูลนี้มาได้อย่างไร? คำตอบคือการสกิมมิ่ง (Skimming) วิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยเป็นการติดตั้งอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เพิ่มเติมไว้ที่เครื่องคิดเงิน และอุปกรณ์ที่ว่านี้จะอ่านข้อมูล Track 2 จากบัตร  อย่างไรก็ดี เนื่องจากวิธีนี้จำเป็นต้องมีการเข้าถึงเครื่องคิดเงินโดยตรง และต้องใช้อุปกรณ์เพิ่มเติมซึ่งมีราคาแพง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่คนร้ายจะสามารถดำเนินการเช่นนี้ในวงกว้าง  เพื่อแก้ไขปัญหานี้ คนร้ายจึงหันมาใช้โซลูชั่นซอฟต์แวร์ในรูปแบบของมัลแวร์ POS  ด้วยการพุ่งเป้าโจมตีห้างค้าปลีกรายสำคัญๆ โดยอาศัยมัลแวร์ดังกล่าว คนร้ายจึงสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับบัตรหลายล้านใบจากการดำเนินการเพียงครั้งเดียว

มัลแวร์ POS ใช้ประโยชน์จากช่องว่างในระบบรักษาความปลอดภัยในส่วนของวิธีการจัดการข้อมูลบัตร  แม้ว่าข้อมูลบัตรจะถูกเข้ารหัสในขั้นตอนการส่งข้อมูลไปเพื่อขออนุมัติการชำระเงิน แต่ไม่มีการเข้ารหัสในขั้นตอนการประมวลผลการชำระเงิน เช่น ขณะที่คุณรูดบัตรที่จุดรับชำระเงินเพื่อจ่ายค่าสินค้า  คนร้ายใช้ประโยชน์จากช่องโหว่นี้ในช่วงปี 2548 โดยอัลเบิร์ต กอนซาเลซ ได้ใช้วิธีนี้เพื่อโจรกรรมข้อมูลสำหรับบัตร 170 ล้านใบ

นับจากนั้นเป็นต้นมา ตลาดมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในส่วนของการซื้อขายมัลแวร์ที่อ่านข้อมูล Track 2 จากหน่วยความจำของเครื่องคิดเงิน  ระบบ POS ส่วนใหญ่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows จึงค่อนข้างง่ายที่จะสร้างมัลแวร์ที่รันบนแพลตฟอร์มนี้  มัลแวร์นี้เรียกว่า memory-scraping malware เพราะจะตรวจหาข้อมูลในหน่วยความจำ เพื่อจับคู่แบบแผนของข้อมูล Track 2 และเมื่อพบข้อมูลนี้ในหน่วยความจำ ซึ่งเกิดขึ้นในทันทีที่มีการรูดบัตร ก็จะบันทึกไว้ในไฟล์บนเครื่องคิดเงิน ซึ่งผู้โจมตีจะสามารถเรียกดูไฟล์นี้ได้ในภายหลัง  มัลแวร์ POS ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ BlackPOS ซึ่งมีวางจำหน่ายบนฟอรั่มสำหรับอาชญากรรมในโลกไซเบอร์  ไซแมนเทคตรวจพบมัลแวร์นี้ในรูปแบบของ Infostealer.Reedum.B

หลังจากที่มีมัลแวร์ POS แล้ว ปัญหาต่อไปสำหรับผู้โจมตีก็คือการติดตั้งมัลแวร์ไว้บนเครื่องคิดเงิน ซึ่งโดยปกติแล้วไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต แต่จะเชื่อมต่อกับเครือข่ายองค์กร  ดังนั้นขั้นแรกผู้โจมตีจะต้องพยายามแทรกซึมเข้าสู่เครือข่ายองค์กร โดยอาจใช้จุดอ่อนในระบบที่ติดต่อกับบุคคลภายนอก เช่น การแฝงคำสั่ง SQL (SQL Injection) บนเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือการค้นหาอุปกรณ์ต่อพ่วงที่ยังคงใช้รหัสผ่านตามค่ามาตรฐานจากผู้ผลิต  และเมื่อเข้าไปในเครือข่ายได้แล้ว คนร้ายก็จะใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อเจาะเข้าสู่ส่วนที่โฮสต์ระบบ POS บนเครือข่าย  หลังจากที่ติดตั้งมัลแวร์ POS เรียบร้อยแล้ว ผู้โจมตีจะดำเนินมาตรการบางอย่างเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีใครสังเกตเห็นกิจกรรมที่เขากำลังทำอยู่  มาตรการที่ว่านี้อาจได้แก่ การลบข้อมูลในล็อกไฟล์ หรือการปรับเปลี่ยนซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัย ซึ่งจะช่วยให้มัลแวร์ทำงานได้อย่างต่อเนื่องและเก็บรวบรวมข้อมูลให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

การโจรกรรมข้อมูลบัตรในลักษณะนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคตอันใกล้  ข้อมูลบัตรที่ขโมยมาได้สามารถนำออกขายได้ในช่วงสั้นๆ เท่านั้น เพราะบริษัทที่ออกบัตรเครดิตจะสามารถตรวจพบพฤติกรรมการใช้จ่ายที่ผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับเจ้าของบัตรที่มีความระมัดระวัง และนั่นหมายความว่าคนร้ายจะต้องเสนอขายหมายเลขบัตรเครดิตที่ “ออกใหม่” อยู่เสมอ

ข่าวดีก็คือ ผู้ค้าปลีกจะได้รับบทเรียนจากการโจมตีล่าสุดและดำเนินมาตรการที่จำเป็นเพื่อป้องกันการโจมตีประเภทนี้ซึ่งอาจเกิดขึ้นอีก  นอกจากนี้เทคโนโลยีการชำระเงินจะเปลี่ยนแปลงไป โดยปัจจุบันผู้ค้าปลีกหลายรายในสหรัฐฯ กำลังเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีการชำระเงินแบบ EMV หรือ “ชิปและรหัสพิน”  บัตรที่ใช้ชิปและรหัสพินจะปลอมแปลงได้ยากกว่ามาก จึงไม่ได้รับความสนใจจากคนร้ายมากนัก  และแน่นอนว่าอาจมีรูปแบบการชำระเงินแบบใหม่ที่เข้ามาแทนที่ เช่น สมาร์ทโฟนอาจทำหน้าที่แทนบัตรเครดิตเมื่อเทคโนโลยีการชำระเงินผ่านอุปกรณ์พกพาหรือ NFC ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางมากขึ้น

แน่นอนว่าอาชญากรทางไซเบอร์จะต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงนี้ แต่หากผู้ค้าปลีกปรับใช้เทคโนโลยีรุ่นใหม่และบริษัทด้านความปลอดภัยดำเนินการตรวจสอบผู้โจมตีอย่างต่อเนื่อง การโจรกรรมข้อมูล POS บนระบบขนาดใหญ่ก็จะทำได้ยากขึ้นและสร้างผลกำไรได้น้อยกว่า

 

 

Latest

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

Windows Search ห่วย ใช้ Listary ช่วยคุณได้

คิดว่าหลายคนที่ใช้วินโดวส์เป็นหลัก น่าจะรู้สึกเหมือนผม คือรำคาญระบบค้นหา หรือช่อง search ของวินโดวส์ เพราะช้า แถมหาอะไรก็ไม่ค่อยเจอ ...

Newsletter

Don't miss

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

Windows Search ห่วย ใช้ Listary ช่วยคุณได้

คิดว่าหลายคนที่ใช้วินโดวส์เป็นหลัก น่าจะรู้สึกเหมือนผม คือรำคาญระบบค้นหา หรือช่อง search ของวินโดวส์ เพราะช้า แถมหาอะไรก็ไม่ค่อยเจอ ...

รวม 22 คีย์ลัด Windows Key ที่ทำให้ชีวิตง่ายขึ้นพันเปอร์เซ็นต์

ปุ่ม Windows Key หน้าตาแบบนี้ ไม่ได้มีไว้ใช้แค่เรียกเมนู Start ขึ้นมาเท่านั้นนะครับ แต่ตัวมันใช้เป็นคีย์ลัดสำหรับการการทำงานบนวินโดวส์ได้หลายอย่างมาก วันนี้ผมขอรวบรวมคีย์ลัดของปุ่มนี้...

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime monitoring สมัยนี้มีหลากหลายเจ้า ปกติจะเก็บค่าบริการกันแบบ subscription รายเดือน แต่ถ้าใครไม่อยากจ่ายตังค์ วันนี้ผมมีโซลูชั่น สำหรับใครที่มีการใช้งาน NAS อยู่แล้ว เราจะเอา NAS มาทำเป็น uptime monitoring...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ ใช้มาหลอกเรา ส่งข้อความมาทาง inbox แจ้งว่าเพจทำผิดกฎ หรือ ละเมิดกฎเฟซบุ๊ก ให้กดลิงค์ เพื่อยืนยันตัวตน ไม่งั้นจะบล็อกเพจถาวร พอเรากดลิงค์เข้าไป จะเจอกับหน้าเพจ (คล้าย) เฟซบุ๊ก ซึ่งมีฟอร์มให้เราใส่ข้อมูลต่างๆ รวมถึง ชื่อเพจ อีเมล...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here