เทรนด์ไมโครเผยรายงานสรุปความปลอดภัยและภัยคุกคามโลกไซเบอร์ล่าสุด

ภาพผู้บริหารเทรนด์ไมโคร 2

บริษัท เทรนด์ไมโครเปิดเผยรายงานสรุปด้านความปลอดภัยและภัยคุกคามระบบมือถือประจำปี 2555 (2012 Annual Roundup and Mobile Security) พบว่าอาชญากรไซเบอร์ได้พุ่งเป้าโจมตีไปที่ระบบแอนดรอยด์, สื่อสังคมออนไลน์ และรวมถึง Mac OS X นอกเหนือจากระบบพีซีโดยใช้การโจมตีรูปแบบใหม่ ซึ่งประเด็นสำคัญจากรายงานดังกล่าว มีดังนี้

รายงานสรุปด้านความปลอดภัยประจำปี 2555 – วิวัฒนาการของภัยคุกคามในโลกยุค “หลังพีซี”
รายงานสรุปด้านความปลอดภัยประจำปีของบริษัทเทรนด์ไมโคร แสดงให้เห็นว่าการคาดการณ์ส่วนใหญ่ในปี 2555 นั้นเป็นจริง และเราได้ข้อสรุปอย่างชัดเจนว่าปี 2555 ถือเป็นปีแห่งการเริ่มเข้าสู่ยุค “หลังพีซี” (Post-PC) ของภัยคุกคามอย่างชัดเจน โดยขณะนี้ภัยคุกคามได้ขยายแนวโจมตีออกจากระบบเดสก์ท็อปรูปแบบเดิมแล้ว

  • ปี 2555 สิ้นสุดลงพร้อมกับจำนวนภัยคุกคาม 350,000 รายการที่เกิดขึ้นกับระบบแอนดรอยด์ จากการตรวจพบของบริษัท เทรนด์ไมโคร ซึ่งจะเห็นได้ว่าการขยายตัวของมัลแวร์มีสัดส่วนมากถึง 14 ต่อ 3 เมื่อเทียบระหว่างระบบแอนดรอยด์กับพีซี และเพียงปีเดียวปริมาณมัลแวร์ของแอนดรอยด์ก็สามารถขยายตัวได้เทียบเท่ากับปริมาณมัลแวร์ของพีซีที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลา 14 ปี
  • ปี 2555 ยังเป็นปีที่ผู้โจมตีใช้การโจมตี Javaในปริมาณที่มากกว่าการโจมตีผ่าน Windows อย่างเห็นได้ชัด (เทียบกับการโจมตีในรูปแบบอื่นๆ) ซึ่งเป็นการโจมตีที่แพร่หลายเป็นอันดับหนึ่งสำหรับเครื่อง Mac ด้วยเช่นกัน
  • ภาษาอังกฤษและภาษารัสเซียติดอันดับต้นๆ ใน 10 ภาษาสแปมยอดนิยม ขณะที่ประเทศอินเดียติดอันดับหนึ่งในสิบประเทศที่มีการส่งสแปมสูงสุด
  • แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ยังคงเป็นพื้นที่ที่น่ากังวลจากการโจมตีที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง การแชร์ข้อมูลมากเกินไปอาจทำให้ผู้ใช้ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงได้ นอกจากนี้ บริการต่างๆ ก็กำลังถูกใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการทำงานของอาชญากรไซเบอร์ด้วย
  • องค์กรขนาดใหญ่และองค์กรทั่วไปต้องประสบปัญหาด้านการละเมิดข้อมูลและการโจมตีแบบมีเป้าหมายในระดับที่น่าตกใจ จะเห็นได้ว่าเพียงเหตุการณ์เดียว ได้แก่ การละเมิดข้อมูลของ Global Payments  ก่อให้เกิดค่าเสียหายมูลค่าถึง 94 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และยังคงเพิ่มจำนวนอย่างต่อเนื่อง การโจมตีแบบมีเป้าหมายกำลังได้รับแรงสนับสนุนจาก “บรรดาลูกๆ ของ STUXNET”: ซึ่งเป็นชุดเครื่องมือและโค้ดการโจมตี เช่น Flame, Duqu และ Gauss ที่ถือกำเนิดมาจากการโจมตี STUXNET เมื่อสามปีที่แล้ว
  • ปี 2555 ยังเป็นปีแห่ง APT (ภัยคุกคามแบบต่อเนื่องขั้นสูง) อีกด้วย เช่น Luckycat, Taidoor, IXESHE
  • ผู้โจมตีได้นำแนวทางการพัฒนาซอฟต์แวร์ระดับมืออาชีพเข้ามาใช้เพิ่มมากขึ้นแทนที่จะเปิดตัวการโจมตีรูปแบบใหม่ โดย Blackhole Exploit Kit (BHEK), Automatic Transfer Systems (ATSs)  และ Ransomware ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วยฟีเจอร์ใหม่ๆ

รายงานสรุปด้านความปลอดภัยและภัยคุกคามระบบมือถือปี 2555 – ซ้ำรอยเดิม
หัวใจสำคัญของรายงานฉบับนี้ก็คือเอกสารของบริษัทเทรนด์ไมโครที่ระบุถึงการรายงานและปริมาณของภัยคุกคามระบบมือถือที่กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมัลแวร์แอนดรอยด์สามารถดำเนินการให้สัมฤทธิ์ผลได้ภายในระยะเวลา 3 ปีเทียบเท่ากับในสิ่งที่ภัยคุกคามพีซีดำเนินการตลอดระยะเวลา 14 ปี และสิ่งที่เป็นเรื่องน่ากังวลอย่างมากก็คือ เจ้าของอุปกรณ์แอนดรอยด์เพียง 20% เท่านั้นที่ใช้แอพพลิเคชั่นรักษาความปลอดภัย            ซึ่งไม่คุ้มที่จะเสี่ยงเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากปริมาณภัยคุกคามเมื่อสิ้นปี 2555 มีจำนวนมากถึง 350,000 รายการที่พุ่งเป้าโจมตีแพลตฟอร์มมือถือใหม่ๆ และบริษัทเทรนด์ไมโครคาดการณ์ว่าภัยคุกคามต่อแอนดรอยด์จะเพิ่มขึ้นเป็น          1 ล้านรายการในปี 2556

สรุปข้อมูลอื่นๆ ที่สำคัญจากรายงานฉบับนี้:

  • ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับ Aggressive Adware ในอุปกรณ์มือถือและการรั่วไหลของข้อมูลที่ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเกิดจากแอพพลิเคชั่นที่เป็นอันตรายเท่านั้น เนื่องจากแอพพลิเคชั่นยอดนิยมทั่วไปก็สามารถเปิดเผยข้อมูลได้เช่นกัน
  • ไนจีเรียติดอันดับหนึ่งใน 10 ประเทศที่เสี่ยงต่อการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นที่เป็นอันตรายสูงสุด
  • อินเดียติดอันดับหนึ่งใน 10 ประเทศที่เสี่ยงต่อการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลสูงสุด
  • โทรศัพท์มือถือในไทยติดอันดับสูงสุดใน 10 ประเทศที่ประสบปัญหาอันเป็นผลมาจากการใช้แอพพลิเคชั่นที่ทำให้แบตเตอรี่หมดเร็วมาก

โดยภาพรวมแล้ว ปี 2555 ได้เปิดเผยให้เห็นถึงสิ่งต่างๆ เหมือนกับที่นายไรมันด์ จีนส์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี (ซีทีโอ) ของเทรนด์ไมโครได้คาดการณ์ไว้  โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคามในยุคหลังพีซี รวมถึงความซับซ้อนและการกำหนดเป้าหมายในการโจมตีต่างๆ โดยเขาได้ตั้งข้อสังเกตว่า “ความหวังของเราที่จะใช้ระบบปฏิบัติการใหม่ๆ เข้ามาช่วยให้โลกเป็นสถานที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นนั้น ไม่สามารถเป็นจริงได้อีกต่อไป” ดังจะเห็นได้จากปี 2555 ที่ผ่านมา ขณะนี้ยุคหลังพีซีของมัลแวร์ได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว ถือเป็นยุคที่อันตรายและมีเดิมพันสูงอย่างมาก
นายอนุสรณ์  อูปคำ  ที่ปรึกษาด้านเทคนิค บริษัท เทรนด์ไมโคร (ประเทศไทย) กล่าวว่า “สำหรับในปี 2556 บริษัทเทรนด์ไมโครคาดการณ์ว่าวิธีที่อาชญากรไซเบอร์ใช้ในปี 2555 จะยังคงได้รับความนิยมในปีนี้ และจะขยายวงกว้างไปยังอุปกรณ์ต่างๆ มากกว่าเดิม ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เครื่องคอมพิวเตอร์พีซีเป็นหลัก แต่สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตจะเป็นเป้าหมายใหม่ที่สำคัญ”
บริษัทเทรนด์ไมโครแนะนำวิธีการป้องกันภัยคุกคามข้อมูลบนโลกไซเบอร์ในปี 2556 ดังนี้

  1. ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวของมัลแวร์รูปแบบใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ
  2. ระมัดระวังในการดาวน์โหลดไฟล์จากเว็บไซต์ต่างๆ ที่ไม่คุ้นเคย และสแกนไวรัสไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาก่อนทำการเปิดทุกครั้ง
  3. ตรวจสอบลิงค์ต่างๆ ก่อนที่จะคลิกทุกครั้ง
  4. เลือกใช้โซลูชั่นรักษาความปลอดภัยที่มีการอัพเดทสม่ำเสมอ
  5. เมื่อซื้ออุปกรณ์ไอทีใดๆ อย่าลืมถามหาโปรแกรมรักษาความปลอดภัยที่มีมาให้
  6. เตือนเพื่อนๆ ที่อยู่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ของเราให้ตระหนักถึงความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์

Latest

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

Windows Search ห่วย ใช้ Listary ช่วยคุณได้

คิดว่าหลายคนที่ใช้วินโดวส์เป็นหลัก น่าจะรู้สึกเหมือนผม คือรำคาญระบบค้นหา หรือช่อง search ของวินโดวส์ เพราะช้า แถมหาอะไรก็ไม่ค่อยเจอ ...

Newsletter

Don't miss

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

Windows Search ห่วย ใช้ Listary ช่วยคุณได้

คิดว่าหลายคนที่ใช้วินโดวส์เป็นหลัก น่าจะรู้สึกเหมือนผม คือรำคาญระบบค้นหา หรือช่อง search ของวินโดวส์ เพราะช้า แถมหาอะไรก็ไม่ค่อยเจอ ...

รวม 22 คีย์ลัด Windows Key ที่ทำให้ชีวิตง่ายขึ้นพันเปอร์เซ็นต์

ปุ่ม Windows Key หน้าตาแบบนี้ ไม่ได้มีไว้ใช้แค่เรียกเมนู Start ขึ้นมาเท่านั้นนะครับ แต่ตัวมันใช้เป็นคีย์ลัดสำหรับการการทำงานบนวินโดวส์ได้หลายอย่างมาก วันนี้ผมขอรวบรวมคีย์ลัดของปุ่มนี้...

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime monitoring สมัยนี้มีหลากหลายเจ้า ปกติจะเก็บค่าบริการกันแบบ subscription รายเดือน แต่ถ้าใครไม่อยากจ่ายตังค์ วันนี้ผมมีโซลูชั่น สำหรับใครที่มีการใช้งาน NAS อยู่แล้ว เราจะเอา NAS มาทำเป็น uptime monitoring...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ ใช้มาหลอกเรา ส่งข้อความมาทาง inbox แจ้งว่าเพจทำผิดกฎ หรือ ละเมิดกฎเฟซบุ๊ก ให้กดลิงค์ เพื่อยืนยันตัวตน ไม่งั้นจะบล็อกเพจถาวร พอเรากดลิงค์เข้าไป จะเจอกับหน้าเพจ (คล้าย) เฟซบุ๊ก ซึ่งมีฟอร์มให้เราใส่ข้อมูลต่างๆ รวมถึง ชื่อเพจ อีเมล...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here