เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) เปิดบ้านต้อนรับคนไอที จัดงาน “Tencent Open House ครั้งที่ 2” ร่วมผลักดันวงการเทคโนโลยีไทยให้ก้าวไกลยุค Thailand 4.0

บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มและบริการด้านเนื้อหา ได้เปิดบ้านต้อนรับชาวไอทีในงาน Tencent Open House ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยเทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) มุ่งหวังส่งเสริม พัฒนา และสร้างชุมชนบุคลากรด้านไอทีได้มาพบปะพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในสาขาอาชีพ และสร้างฐานความรู้ที่มั่นคงให้กับระบบนิเวศแห่งเทคโนโลยีนี้ เพื่อรองรับการทำงานยุค Thailand 4.0 ในปัจจุบัน

 

ข้อมูลจากงานแถลงข่าว “5 สุดยอดบริษัท Digital ที่คนไทยอยากทำงานมากที่สุด” (https://hitech.sanook.com/1417659) เมื่อต้นปี 2560 ที่ผ่านมา พบว่าทั้ง 5 บริษัทเทคโนโลยี ประกอบด้วย LINE, Kaidee, Pantip, Wongnai และ Tencent (Thailand) เผยว่า ปัจจุบันบุคลากรด้านโปรแกรมเมอร์กำลังเป็นที่ต้องการเป็นอย่างสูง เนื่องจากความต้องการมีมากถึง 100,000 คน แต่คนทำงานจริงมีเพียงแค่ 50,000 คนเท่านั้น เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จึงต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้าง และผลักดันวงการเทคโนโลยีของไทยให้เติบโตยิ่งขึ้น ด้วยการให้ความรู้แก่บุคลากรด้านไอทีเพื่อนำไปต่อยอดในสาขาอาชีพต่อไป 

โดยงานนี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากคนในวงการ มีผู้เข้าร่วมจากการลงทะเบียนและ Walk-in จำนวน 61 คน ซึ่งมากกว่า Tencent Open House ครั้งที่ 1 ถึง 60.5% และกลุ่มคนอายุ 25-34 ปี เป็นกลุ่มที่มาร่วมงานมากที่สุด เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) คาดหวังว่างานครั้งต่อไปจะสามารถสร้างเครือข่ายและการบอกต่อได้เพิ่มมากขึ้น พร้อมทั้งส่งมอบประสบการณ์ดีๆ เช่นนี้ให้กับทุกคนนอกเหนือจากคนในวงการไอทีอีกด้วย นอกจากนี้ ผู้ที่ไม่สามารถมาร่วมงานได้ สามารถรับชมการถ่ายทอดสด หรือชมย้อนหลังผ่านทางแอปพลิเคชั่น VOOV ได้ง่ายๆ เพียงกดค้นหา TencentOpenHouse และสามารถติดตามกิจกรรมดีๆ แบบนี้ได้ทาง https://www.facebook.com/TencentTHOpenHouse

 

วิทยากรที่ให้เกียรติมาถ่ายทอดประสบการณ์ในครั้งนี้ ได้แก่ คุณปุ๋ย-สมเกียรติ ปุ๋ยสูงเนิน จากบริษัท สยามชำนาญกิจ เจ้าของ Blog somkiat.cc มาแชร์เรื่อง “Developer มาเขียน test กัน” และคุณรูฟ-ทวิร พานิชสมบัติ จาก roofimon, Odd-e มาแชร์เรื่อง “Go: language for cloud” ซึ่งทั้งสองหัวข้อนี้เป็นความรู้ใหม่ที่น่าสนใจ และมีประโยชน์ต่อการทำงานด้านไอที โดยมีใจความสำคัญ ดังนี้

 

เรื่อง “Developer มาเขียน test กัน” – คุณปุ๋ย ให้ความเห็นว่า “ส่วนสำคัญเกือบที่สุดในการพัฒนา Software ก็คือการ Test” ในปัจจุบันจึงมีการพัฒนา Process ให้ Test team มีส่วนร่วมในการพัฒนาแอปพลิเคชั่นตั้งแต่ต้นทางเลย คือ Test team จะร่วมทำงานกับทีมพัฒนาอื่นๆ ตั้งแต่ขั้นตอนในการเก็บ Requirement เพื่อนำไปเขียน Test Case ผู้ออกแบบและผู้เขียนโปรแกรมก็จะเขียนตาม Test Case ซึ่งการทำแบบนนี้ลดข้อผิดพลาดลงได้เยอะ เพราะสุดท้ายแล้วโปรแกรมจะดีหรือไม่ดีก็เกิดจากการ Test เพราะฉะนั้นการใส่ Test ในทุกขั้นตอน จะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเขียนโปรแกรม

 

เรื่อง “Go: language for cloud” – คุณรูฟให้ความเห็นว่า “Go เกิดมาเพื่อสิ่งนี้ครับ เขียนโปรแกรมแบบ Multithread ง่ายนิดเดียว” แค่ใช้คำสั่ง Go มันจะแตก Thread ตามจำนวน Core ให้ทันที ข้อดีของ Go ไม่ได้มีแค่เรื่อง Multithread เท่านั้น ยังมีข้อดีอื่นๆ อีก ดังนี้

  • Strong Variable Type เหมือน C กับ Java  คนใช้ C กับ Java จะศึกษา Go ได้ง่ายๆ
  • Easy syntax เขียนโปรแกรมได้ง่ายๆ ด้วยโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน
  • Single Binary Result โปรแกรมเล็ก Deploy ง่าย
  • Cross Platform เขียนโค้ดทีเดียวรันที่ไหนก็ได้
  • Fast Build Build เร็ว ไม่ต้องรอนาน
  • Integrate Test module ทำ Automate Test ได้ง่ายๆ
  • Use less resource กินเมมโมรีน้อย กินพื้นที่น้อย

Latest

ใช้ NAS ให้เป็น Google Photo server ด้วย immich

หลายคนชอบใช้ google photo ในการแบ็กอัพรูปจากมือถือ เพราะมีลูกเล่นให้ใช้เยอะแยะ แต่ติดที่ว่าเนื้อที่มักไม่เคยพอ และต้องจ่ายรายปี ต่ำๆ ก็ต้อง...

รัน Stable Diffusion เร็วขึ้น 10x ด้วย AMD GPU

ปกติแล้วตัว Stable Diffusion (ต่อไปขอเรียกสั้นๆ ว่า SD) สามารถติดตั้งและใช้งานได้เลยบน Nvidia GPU...

สร้างภาพ AI บนวินโดวส์ + การ์ดจอ AMD ด้วย Amuse AI

คนใช้การ์ดจอ AMD จะมีความเป็นลูกเมียน้อยอยู่นิดนึง เพราะโปรแกรมและโมเดลสร้างภาพส่วนใหญ่ จะออกแบบมาให้ใช้กับ CUDA ของ Nvidia เป็นหลัก แต่ต่อไปนี้คนใช้...

ใช้ windows 11 อย่างเซียน ด้วย PowerToys (ฟรี)

PowerToys เป็นชุดเครื่องมือฟรีจาก Microsoft ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้ Windows โดยเฉพาะ Windows 11 ซึ่ง...

Newsletter

Don't miss

ใช้ NAS ให้เป็น Google Photo server ด้วย immich

หลายคนชอบใช้ google photo ในการแบ็กอัพรูปจากมือถือ เพราะมีลูกเล่นให้ใช้เยอะแยะ แต่ติดที่ว่าเนื้อที่มักไม่เคยพอ และต้องจ่ายรายปี ต่ำๆ ก็ต้อง...

รัน Stable Diffusion เร็วขึ้น 10x ด้วย AMD GPU

ปกติแล้วตัว Stable Diffusion (ต่อไปขอเรียกสั้นๆ ว่า SD) สามารถติดตั้งและใช้งานได้เลยบน Nvidia GPU...

สร้างภาพ AI บนวินโดวส์ + การ์ดจอ AMD ด้วย Amuse AI

คนใช้การ์ดจอ AMD จะมีความเป็นลูกเมียน้อยอยู่นิดนึง เพราะโปรแกรมและโมเดลสร้างภาพส่วนใหญ่ จะออกแบบมาให้ใช้กับ CUDA ของ Nvidia เป็นหลัก แต่ต่อไปนี้คนใช้...

ใช้ windows 11 อย่างเซียน ด้วย PowerToys (ฟรี)

PowerToys เป็นชุดเครื่องมือฟรีจาก Microsoft ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้ Windows โดยเฉพาะ Windows 11 ซึ่ง...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

ใช้ NAS ให้เป็น Google Photo server ด้วย immich

หลายคนชอบใช้ google photo ในการแบ็กอัพรูปจากมือถือ เพราะมีลูกเล่นให้ใช้เยอะแยะ แต่ติดที่ว่าเนื้อที่มักไม่เคยพอ และต้องจ่ายรายปี ต่ำๆ ก็ต้อง 7-8 ร้อยกว่าบาทต่อปีเลยทีเดียว แต่ถ้าหากคุณมีเครื่อง NAS อยู่ที่บ้าน ผมจะมาบอกข่าวดีว่า เราสามารถทำให้ NAS แบ็กอัพรูปถ่ายจากมือถือเป็นเหมือน google photo ได้ด้วยแอพที่ชื่อว่า immich immich มีความสามารถใกล้เคียงกับ google photo...

รัน Stable Diffusion เร็วขึ้น 10x ด้วย AMD GPU

ปกติแล้วตัว Stable Diffusion (ต่อไปขอเรียกสั้นๆ ว่า SD) สามารถติดตั้งและใช้งานได้เลยบน Nvidia GPU โดยไม่ต้องปรับแต่งอะไรทั้งสิ้น แต่พอเป็นเครื่อง AMD GPU ตัว SD จะรันไม่ได้ ต้องไปรันบน CPU แทน ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าประสิทธิภาพสู้รันบน GPU ไม่ได้เลย บล็อกนี้เลยจะมาแสดงวิธีการติดตั้งและรัน SD บนเครื่องที่ใช้การ์ดจอ...

สร้างภาพ AI บนวินโดวส์ + การ์ดจอ AMD ด้วย Amuse AI

คนใช้การ์ดจอ AMD จะมีความเป็นลูกเมียน้อยอยู่นิดนึง เพราะโปรแกรมและโมเดลสร้างภาพส่วนใหญ่ จะออกแบบมาให้ใช้กับ CUDA ของ Nvidia เป็นหลัก แต่ต่อไปนี้คนใช้ AMD ไม่ต้องน้อยใจอีกต่อไป เพราะ Amuse AI คือโปรแกรมที่ออกแบบมาให้ใช้กับแพลตฟอร์มของ AMD โดยเฉพาะครับ สำหรับการ์ดจอนั้น ทาง Amuse AI แนะนำให้ใช้รุ่น RX 7000 ที่มี...

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here