ไซแมนเทคเตือนภัยการโจมตีแบบเจาะจงเป้าหมาย มุ่งหวังผลทางการเมือง สร้างความวุ่นวาย ล้มล้างการปกครอง

ไซแมนเทค (Nasdaq: SYMC) เปิดเผยรายงานภัยคุกคามด้านความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต (Internet Security Threat Report – ISTR) ฉบับที่ 22 ซึ่งระบุว่า อาชญากรไซเบอร์ได้ยกระดับการโจมตีในช่วงปี 2559 ที่ผ่านมา โดยมีการโจมตีเกิดขึ้นมากมายหลากหลายรูปแบบ เช่น การปล้นเงินหลายล้านดอลลาร์จากธนาคารผ่านระบบคอมพิวเตอร์ และความพยายามที่จะขัดขวางกระบวนการเลือกตั้งของสหรัฐฯ

“สถานการณ์ภัยคุกคามโดยทั่วไป มีการใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนและนวัตกรรมที่แปลกใหม่ แต่ในช่วงปีนี้

ไซแมนเทคพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในส่วนของแรงจูงใจและโฟกัส”  ปีเตอร์ สปาร์ค  ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริการรักษาความปลอดภัยของไซแมนเทค ภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก- ญี่ปุ่น  กล่าว “ หลายๆ ประเทศหันมาให้ความสำคัญกับการรับมือความเคลื่อนไหวทางการเมืองและการก่อวินาศกรรมมากขึ้น และขณะเดียวกัน อาชญากรไซเบอร์ได้ดำเนินการโจมตีเพิ่มมากขึ้นเพื่อก่อให้เกิดการหยุดชะงักของระบบต่างๆ โดยอาศัยช่องโหว่ของเครื่องมือด้านไอทีและบริการคลาวด์”

รายงาน ISTR ของไซแมนเทคได้ให้ภาพรวมรอบด้าน เกี่ยวกับสถานการณ์ภัยคุกคามรวมถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกิจกรรมภัยคุกคามที่เกิดขึ้นทั่วโลก แนวโน้มของอาชญากรรมไซเบอร์และแรงจูงใจของผู้โจมตี โดยมีข้อมูลสำคัญดังนี้:

การโจมตีเพื่อก่อวินาศกรรมและโค่นล้มรัฐบาลขึ้นชั้นบทบาทสำคัญในระดับแถวหน้า

อาชญากรไซเบอร์ดำเนินการโจมตีเพื่อมุ่งทำลายล้างทางการเมืองต่อกลุ่มเป้าหมายใหม่ เช่น การโจมตีทางไซเบอร์ต่อพรรคเดโมแครตของสหรัฐฯ และกรณีข้อมูลรั่วไหลที่เป็นผลตามมา แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของอาชญากรรมที่ใช้วิธีการที่เปิดเผยและมีการประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวางเพื่อสั่นคลอนและบ่อนทำลายองค์กรของประเทศที่ตกเป็นเป้าหมาย  โดยทั่วไปแล้วการโจมตีทางไซเบอร์เพื่อก่อวินาศกรรมเกิดขึ้นน้อยมาก แต่มักจะประสบความสำเร็จ ดังเช่นกรณี การเลือกตั้งของสหรัฐอเมิรกา และการใช้มัลแวร์ Shamoon ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้นของอาชญากรที่พยายามสร้างอิทธิพลทางการเมืองและบ่มเพาะความขัดแย้งในประเทศต่างๆ

รัฐบาลแสวงหาผลกำไร

คนร้ายกลุ่มใหม่มุ่งหวังผลประโยชน์ทางการเงินเพิ่มมากขึ้น โดยอาจมีจุดมุ่งหมายเพื่อระดมทุนสำหรับกิจกรรมที่เปิดเผยและกิจกรรมที่มุ่งทำลายล้าง  ทุกวันนี้การปล้นสะดมครั้งใหญ่ที่สุดถูกดำเนินการผ่านระบบออนไลน์ โดยอาชญากรไซเบอร์ได้โจรกรรมเงินหลายพันล้านดอลลาร์  แม้ว่าการโจมตีเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นผลงานของกลุ่มอาชญากร แต่นับเป็นครั้งแรกที่รัฐบาลของประเทศให้ความสำคัญและเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน

ไซแมนเทคพบหลักฐานที่เชื่อมโยงเกาหลีเหนือกับการโจมตีธนาคารในบังคลาเทศ เวียดนาม เอกวาดอร์ และโปแลนด์

“นับเป็นการเจาะระบบที่บ้าบิ่นอย่างยิ่ง  และเป็นครั้งแรกที่เราพบว่ารัฐบาลของประเทศมีส่วนพัวพันในอาชญากรรมทางการเงินบนระบบไซเบอร์ ” ปีเตอร์ สปาร์ค  ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริการรักษาความปลอดภัยของไซแมนเทค ภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก- ญี่ปุ่น  กล่าว“อาชญากรเหล่านี้ดำเนินการอย่างจริงจัง และได้โจรกรรมเงินจำนวนมาก ไม่น้อยกว่า 94 ล้านดอลลาร์”

ผู้โจมตีใช้ซอฟต์แวร์ทั่วไปเป็นอาวุธ อีเมลกลายเป็นอาวุธยอดนิยม

ในช่วงปี 2559 ไซแมนเทคพบว่าอาชญากรไซเบอร์ใช้ PowerShell ซึ่งเป็นภาษาสคริปต์ทั่วไปที่ติดตั้งไว้บนพีซี และไฟล์ Microsoft Office เป็นอาวุธ  ขณะที่ผู้ดูแลระบบอาจใช้เครื่องมือไอทีทั่วไปเหล่านี้สำหรับงานจัดการ

ระบบในแต่ละวัน อาชญากรไซเบอร์ได้ใช้เครื่องมือดังกล่าวสำหรับการโจมตีที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากหลบซ่อนได้ง่ายกว่า และการทิ้งร่องรอยมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น  เนื่องจากผู้โจมตีหันมาใช้ PowerShell อย่างกว้างขวางมากขึ้น ไซแมนเทคจึงตรวจพบว่า 95เปอร์เซ็นต์ของไฟล์ PowerShell มีภัยคุกคามซ่อนอยู่

การใช้อีเมลเป็นช่องทางสำหรับการเผยแพร่ไวรัสและมัลแวร์ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน และอีเมลได้กลายเป็นอาวุธที่ได้รับความนิยมในหมู่อาชญากรไซเบอร์  กลายเป็นภัยคุกคามต่อผู้ใช้  ไซแมนเทคพบว่าอีเมลหนึ่งใน 131 ฉบับประกอบด้วยลิงค์หรือไฟล์แนบที่เป็นอันตราย ซึ่งนับเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 5 ปี  นอกจากนี้ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา อีเมลหลอกลวงทางธุรกิจ (Business Email Compromise – BEC) สามารถล่อหลอกเอาเงินจากองค์กรธุรกิจไปมากกว่า 3 พันล้านดอลลาร์ โดยพุ่งเป้าที่องค์กรธุรกิจกว่า 400 แห่งในแต่ละวัน

พ่ายแพ้ต่อการขู่กรรโชกทางดิจิตอล: คนอเมริกันยินดีจ่ายเงินค่าไถ่

การโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นปัญหาระดับโลก และเป็นช่องทางทำกำไรสำหรับอาชญากร  ไซแมนเทคพบว่ามีมัลแวร์รุ่นใหม่ๆ กว่า 100 ชนิดถูกปล่อยออกมา เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าเมื่อเทียบกับจำนวนที่ตรวจพบก่อนหน้านี้ และมีอัตราเพิ่มขึ้นถึง 36 เปอร์เซ็นต์ทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ ตกเป็นเป้าหมายการอันดับ 1 ของอชาญากรไซเบอร์ และไซแมนเทคพบว่า 64 เปอร์เซ็นต์ของชาวอเมริกันที่ตกเป็นเหยื่อของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ยินดีที่จะจ่ายเงินค่าไถ่ เป็นอัตราเปรียบเทียบกับทั่วโลกสูงถึง 34 เปอร์เซ็นต์และผลเสียที่ตามมาคือ ในช่วงปี 2559 ยอดเงินค่าไถ่โดยเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นถึง 266 เปอร์เซ็นต์ โดยคนร้ายมักจะเรียกร้องค่าไถ่โดยเฉลี่ย 1,077 ดอลลาร์จากเหยื่อแต่ละราย เพิ่มขึ้นจาก 294 ดอลลาร์ตามที่มีการรายงานในช่วงปีก่อนหน้านี้

รอยร้าวในระบบคลาวด์: เรากำหนดอนาคตของอาชญากรรมไซเบอร์

การพึ่งพาบริการคลาวด์ที่เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้องค์กรเสี่ยงต่อการถูกโจมตี โดยฐานข้อมูลบนระบบคลาวด์หลายหมื่นชุดจากผู้ให้บริการรายหนึ่งได้ถูกจี้และเรียกค่าไถ่ในช่วงปี 2559 หลังจากที่ผู้ใช้ปล่อยให้ฐานข้อมูลที่ล้าสมัยถูกเปิดทิ้งไว้บนอินเทอร์เน็ต โดยไม่ได้เปิดใช้งานการตรวจสอบตัวตนของผู้ใช้

ความปลอดภัยของระบบคลาวด์ยังคงเป็นปัญหาท้าทายสำหรับผู้บริหารฝ่ายสารสนเทศ (CIO)  ข้อมูลของไซแมนเทคระบุว่า ผู้บริหารด้านไอที  CIO ไม่สามารถตรวจสอบจำนวนคลาวด์แอพที่ใช้ในองค์กรของตนได้อย่างชัดเจน  โดยส่วนใหญ่สันนิษฐานว่ามีการใช้งานคลาวด์แอพไม่ถึง 40 แอพภายในองค์กร แต่ในความเป็นจริงแล้วมีการใช้งานจริงเกิดขึ้นเกือบ 1,000 แอพ  ความคลาดเคลื่อนดังกล่าวอาจนำไปสู่การขาดนโยบายและกระบวนการที่รองรับรูปแบบการเข้าถึงบริการคลาวด์ของพนักงาน ซึ่งในทางกลับกันแล้วจะทำให้คลาวด์แอพมี

ความเสี่ยงมากกว่าเดิม  รอยร้าวดังกล่าวที่พบในระบบคลาวด์มีความชัดเจนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ไซแมนเทคคาด

การณ์ว่าหากผู้บริหาร CIO ไม่สามารถควบคุมคลาวด์แอพที่ใช้งานภายในองค์กรให้เข้มงวดกว่านี้  ส่งผลให้พบเจอกับภัยคุกคามที่เล็ดลอดเข้าสู่สภาพแวดล้อมขององค์กรเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน

แนวทางปฏิบัติบางประการเกี่ยวกับวิธีป้องกันการตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมไซเบอร์:

สำหรับองค์กรธุรกิจ:

  • อย่าทำตัวล้าหลัง: ใช้โซลูชั่นข้อมูลข่าวกรองเกี่ยวกับภัยคุกคามขั้นสูง เพื่อช่วยให้คุณตรวจพบร่องรอยความเสี่ยง เพื่อรับมือเหตุการณ์ทีเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
  • เตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด: แน่ใจว่า การจัดการกรณีปัญหา ทำได้และแน่ใจ

ว่ากรอบโครงสร้างการรักษาความปลอดภัยของคุณได้รับการปรับแต่ง ตรวจวัดและทำซ้ำได้ และบทเรียนที่ได้รับจะช่วยปรับปรุงสถานะความปลอดภัยของคุณ พิจารณาลองใช้บริการจากผู้เชี่ยวชาญภายนอกเพื่อช่วยรับมือกับวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นได้

  • ใช้มาตรการป้องกันหลายชั้น : ใช้กลยุทธ์การป้องกันแบบหลายชั้น เพื่อรับมือกับการโจมตีที่เกิดขึ้นกับเกตเวย์ เมลเซิร์ฟเวอร์ และอุปกรณ์ลูกข่าย นอกจากนี้ควรมีการตรวจสอบตัวตนผู้ใช้แบบสองปัจจัย (two-factor authentication) ระบบตรวจจับหรือป้องกันการบุกรุก การป้องกันมัลแวร์ผ่านช่องโหว่ของเว็บไซต์ และโซลูชั่นปกป้องเว็บเกตเวย์ที่ครอบคลุมทั่วทั้งเครือข่าย
  • จัดฝึกอบรมเกี่ยวกับอีเมลอันตรายอย่างต่อเนื่อง: ให้ความรู้แก่พนักงานเกี่ยวกับอันตรายของอีเมลหลอกลวงและการโจมตีด้วยอีเมลประเภทอื่นๆ รวมถึงช่องทางการรายงานปัญหาภายในองค
  • ตรวจสอบทรัพยากรของคุณ: ตรวจสอบทรัพยากรและเครือข่ายของคุณ เพื่อค้นหาพฤติกรรมที่ผิดปกติหรือน่าสงสัย และเชื่อมโยงเข้ากับข้อมูลข่าวกรองด้านภัยคุกคามจากผู้เชี่ยวชาญ

สำหรับผู้บริโภค:

  • เปลี่ยนรหัสผ่านตามค่าดีฟอลต์บนอุปกรณ์และบริการของคุณ: ใช้รหัสผ่านที่คาดเดาได้ยากและไม่ซ้ำกันสำหรับคอมพิวเตอร์, อุปกรณ์ IoT และเครือข่าย Wi-Fi  อย่าใช้รหัสผ่านทั่วไปที่คาดเดาได้ง่าย เช่น “123456” หรือ “password”
  • ดูแลระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ: ซอฟต์แวร์อัพเดตจะประกอบด้วยแพตช์สำหรับการแก้ไขช่องโหว่ด้านความปลอดภัยที่เพิ่งตรวจพบ ซึ่งคนร้ายอาจใช้ช่องโหว่ดังกล่าวเป็นช่องทางสำหรับการโจมตี
  • ระวังอีเมลเป็นพิเศษ: อีเมลเป็นหนึ่งในวิธีการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับการเผยแพร่ไวรัสหรือมัลแวร์ คุณควรจะลบอีเมลน่าสงสัยที่คุณได้รับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่อีเมลนั้นมีลิงค์และ/หรือไฟล์แนบ และควรระวังเป็นพิเศษเกี่ยวกับไฟล์ Microsoft Office ที่แนบมากับอีเมล ซึ่งแนะนำให้คุณเปิดใช้งานแบบภาพกว้าง  (Marcro) เพื่อที่จะดูเนื้อหาของไฟล์
  • แบ็คอัพไฟล์ของคุณ: การแบ็คอัพข้อมูลของคุณเป็นวิธีเดียวที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับการต่อสู้กับมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) ซึ่งคนร้ายจะเข้ารหัสไฟล์ของเหยื่อและเรียกร้องเงินค่าไถ่ แต่ถ้าคุณมีสำเนาแบ็คอัพ คุณก็สามารถกู้คืนไฟล์ของคุณได้ หลังจากที่ลบมัลแวร์ออกจากเครื่อง

Latest

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

Windows Search ห่วย ใช้ Listary ช่วยคุณได้

คิดว่าหลายคนที่ใช้วินโดวส์เป็นหลัก น่าจะรู้สึกเหมือนผม คือรำคาญระบบค้นหา หรือช่อง search ของวินโดวส์ เพราะช้า แถมหาอะไรก็ไม่ค่อยเจอ ...

Newsletter

Don't miss

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

Windows Search ห่วย ใช้ Listary ช่วยคุณได้

คิดว่าหลายคนที่ใช้วินโดวส์เป็นหลัก น่าจะรู้สึกเหมือนผม คือรำคาญระบบค้นหา หรือช่อง search ของวินโดวส์ เพราะช้า แถมหาอะไรก็ไม่ค่อยเจอ ...

รวม 22 คีย์ลัด Windows Key ที่ทำให้ชีวิตง่ายขึ้นพันเปอร์เซ็นต์

ปุ่ม Windows Key หน้าตาแบบนี้ ไม่ได้มีไว้ใช้แค่เรียกเมนู Start ขึ้นมาเท่านั้นนะครับ แต่ตัวมันใช้เป็นคีย์ลัดสำหรับการการทำงานบนวินโดวส์ได้หลายอย่างมาก วันนี้ผมขอรวบรวมคีย์ลัดของปุ่มนี้...

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime monitoring สมัยนี้มีหลากหลายเจ้า ปกติจะเก็บค่าบริการกันแบบ subscription รายเดือน แต่ถ้าใครไม่อยากจ่ายตังค์ วันนี้ผมมีโซลูชั่น สำหรับใครที่มีการใช้งาน NAS อยู่แล้ว เราจะเอา NAS มาทำเป็น uptime monitoring...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ ใช้มาหลอกเรา ส่งข้อความมาทาง inbox แจ้งว่าเพจทำผิดกฎ หรือ ละเมิดกฎเฟซบุ๊ก ให้กดลิงค์ เพื่อยืนยันตัวตน ไม่งั้นจะบล็อกเพจถาวร พอเรากดลิงค์เข้าไป จะเจอกับหน้าเพจ (คล้าย) เฟซบุ๊ก ซึ่งมีฟอร์มให้เราใส่ข้อมูลต่างๆ รวมถึง ชื่อเพจ อีเมล...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here