1. เลือกรูปแบบธีมง่ายๆ ไม่ลายตา
หนึ่งในสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงอย่างแรกๆ ในการทำ Presentation ก็คือการใช้ภาพถ่ายที่มีรายละเอียดมากๆ เพราะจะทำให้ตัวอักษรกลืนไปกับพื้นหลังได้ ถึงแม้จะยอมรับว่าพื้นหลังสวยก็ตามหรือสีและรูปแบบตัวอักษรที่สดใสสวยงามก็จริง แต่มันจะฆ่าผู้ฟังบรรยายด้วยอาการลายตา ไม่สามารถอ่านข้อความประกอบการบรรยายได้ แถมบางภาพยังหันเหความสนใจให้ดูแต่พื้นหลังไม่สนใจหัวข้อบรรยายอีกด้วย ดังนั้นแม้ผู้บรรยายจะไม่เก่ง แต่อย่างน้อยถ้า PowerPoint อ่านง่าย ก็ยังบรรลุผลในการนำเสนอได้บ้าง ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงพื้นหลังและรูปแบบธีมที่วุ่นวาย หันมาใช้ธีมง่ายๆ กันจะได้ผลกว่าครับ
2. สั้นๆ กระชับได้ใจความ
หลายคนอาจจะมีข้อมูลในการนำเสนอที่มาก หรือในหน้าไสลด์นั้นมีหัวข้อที่ต้องการนำเสนอมากมาย จนต้องยัดใส่ลงไปหลายสิบบรรทัด จนเป็นเหตุให้ตัวหนังสือเล็กมาก และเมื่อนำไปใช้บรรยายผ่าน Projector หรือแม้กระทั้งหน้าจอของผู้ฟังบรรยายก็จะไม่สามารถเห็นได้ นั้นก็เป็นอีกหนึ่งวิธีการฆ่าการนำเสนอของคุณได้อย่างชะงัดนัก ดังนั้นควรจะย่อหรือคัดเฉพาะหัวข้อที่สำคัญหรือแบ่งหัวข้อออกไปเป็นหลายๆ สไลด์ โดยปกติ ควรจะมีหัวข้อใน 1 หน้าสไลด์ ไม่เกิน 5 หัวข้อ จำทำให้ผู้รับฟังบรรยายอ่านได้ง่าย
3. ทดสอบลิงก์ก่อนนำเสนอ
หลายคนอาจจะใช้การนำเสนอแบบลิงก์ข้ามไปยังไสลด์กลับไปกลับมาเพื่อการเน้นย้ำหรือเป็นลีลาในการนำเสนอ แต่หากไม่มีการตรวจทานลิงก์ให้ดี รับรองว่าเมื่ออยู่ในห้องประชุม แล้วกดลิงก์ข้ามไปยังสไลด์ที่เกี่ยวข้อง แต่กลายเป็นนิ่งอยู่หน้าเดิม หรือไปยังหน้าที่ไม่เกี่ยวข้องเลย จะทำให้ผู้บรรยายหน้าแตกกลางที่ประชุมได้ นอกจากจะเสียหน้าแล้ว ยังเสียเวลาค้นหาสไลด์ที่ต้องการข้ามไปอีก ถือเป็นหนึ่งในการฆ่าผู้บรรยายอย่างเลือดเย็น ซึ่งก็เป็นเพราะคุณเองไม่ได้ตรวจทานหรือซ้อมก่อนบรรยายนั้นเอง ดังนั้นอย่าลืมตรวจทานลิงก์ให้แน่ใจก่อนนะครับ
4. ติดตั้งโปรเจ็คเตอร์ก่อนนำเสนอจริง
สุดท้าย คุณได้จัดทำสไลด์อย่างมืออาชีพและได้ซักซ้อมจนคล่องแล้ว แต่ดันละเลยในการติดตั้งโปรเจ็คเตอร์ โดยไม่ได้เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ดีก่อน พอถึงเวลาจริง หน้าจอ Projector ดันมืดสนิท ต้องเสียเวลาในการติดตั้งหรือตั้งค่าให้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์นั้นเชื่อต่อกับโปรเจ็คเตอร์ได้ ซึ่งหากเป็นวินโดวส์รุ่นเก่าๆ อาจจะต้องเสียเวลาในการตั้งค่ากับการ์ดจออยู่หลายนาทีทีเดียว แต่สำหรับ Windows 7 นั้นง่ายขึ้นมาหน่อยเพราะสามารถกดปุ่ม Windows + P ก็จะมีเมนูให้เชื่อมต่อกับโปรเจ็คเตอร์ได้ทันที ดังนั้นอย่าลืมตั้งค่าก่อนการนำเสนอจริงด้วยล่ะครับ
—– ต้องบอกเลยว่า แม้คุณจะไม่ใช่ผู้บรรยายที่ชำนาญก็จริง เพราะอาจต้องอาศัยประสบการณ์ในการนำเสนอ แต่สำหรับ 4 เทคนิคที่ผมได้แนะนำไปนั้น ไม่ต้องใช้ฝีมือหรือประสบการณ์อะไรเลย แค่ใส่ใจไม่ละเลยเทคนิคที่ควรทำและควรหลีกเลี่ยงเหล่านี้ ก็จะเป็นก้าวแรกที่ดีในการเป็นผู้บรรยายฝีมือดี โดยไม่เป็นการฆ่าตัวตายต่อหน้าสาธารณชนอีกต่อไปไงครับ —–
[polldaddy poll=5814017]