ไมโครซอฟท์ได้ประกาศยุติการสนับสนุน Windows Server 2003/R2 แล้วตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา นั่นหมายความว่า ผู้ใช้จะไม่ได้รับการอัปเดตการแก้ไขช่องโหว่ต่างๆ รวมถึงด้านความปลอดภัย ซึ่งส่งผลให้องค์กรธุรกิจที่ใช้งานอยู่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงในด้านต่างๆ เช่น
- ไม่มีความปลอดภัย จะไม่ได้รับการสนับสนุนด้านความปลอดภัยอีก แม้ว่าจะมีช่องโหว่ที่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อระบบ ซึ่งจะทำให้มีความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้นกับการใช้งานในรูปแบบเดิมต่อไป
- ไม่ได้รับการอัปเกรด ไม่มีการอัปเกรดประสิทธิภาพ หรือแก้ไขช่องโหว่ต่างๆ ทั้งในส่วนของระบบปฏิบัติการ และแอปพลิเคชันต่างๆ ของไมโครซอฟท์ และผู้พัฒนาอื่นๆ อีก
- ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรฐาน ในการทำงาน และความปลอดภัย ซึ่งจะส่งผลกับความน่าเชื่อถือ และความปลอดภัยในการทำงานได้
- มีค่าใช้จ่ายสูง เพื่อการใช้งานต่อไปได้อย่างปลอดภัย จำเป็นต้องซื้อบริการที่มีรูปแบบเฉพาะตัว ซึ่งมีค่าใช้จ่ายแรกเข้าที่สูง และยังต้องลงทุนกับระบบรักษาความปลอดภัย และระบบต่างๆ เพิ่มเติม
แล้วจะต้องทำอย่างไรหลังจาก Windows Server 2003/R2 ยุติการให้การสนับสนุนแล้ว
เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น หลังจากที่ไมโครซอฟท์หยุดให้การสนับสนุน Windows Server 2003/R2 เราขอแนะนำให้องค์กรควรปรับปรุงไปใช้ผลิตภัณฑ์เวอร์ชันใหม่อย่าง Windows Server 2012 R2 ที่คุ้นเคยอยู่แล้ว หรือมองหาทางเลือกใหม่ๆ อย่างการใช้ระบบคลาวด์สาธารณะ เช่น Microsoft Azure ที่เป็นแพลตฟอร์มบนคลาวด์ โดยจะช่วยให้สามารถติดตั้ง ใช้งาน และบริหารจัดการแอปพลิเคชันต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วผ่านเครือข่าย หรือสามารถใช้งานร่วมกันระหว่างเซิร์ฟเวอร์และคลาวด์ได้ในแบบไฮบริดเพื่อการควบคุมที่ดียิ่งขึ้น
ประโยชน์ของการอัปเกรดเซิร์ฟเวอร์ใหม่
ระบบปฏิบัติการเซิร์ฟเวอร์เปรียบเสมือนโครงสร้างพื้นฐานของระบบทั้งหมด ที่จำเป็นต้องเตรียมพร้อมไว้สำหรับการทำงานในรูปแบบต่างๆ รวมถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการทำงาน ดังนั้น การมีระบบปฏิบัติการเซิร์ฟเวอร์ที่ทันสมัย จึงเปรียบได้กับการมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี สามารถรองรับการทำงานรูปแบบใหม่ๆ ได้มากกว่า เช่น การทำงานจากระยะไกล การทำงานร่วมกับคลาวด์ หรือความสามารถในการรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการทำงานที่มีความทันสมัย มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น ช่วยให้องค์กรมีความได้เปรียบเชิงธุรกิจ สามารถนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาปรับใช้งานได้อย่างรวดเร็วกว่าองค์กรที่ใช้ระบบปฏิบัติการรุ่นเก่า สำหรับระบบปฏิบัติการ Windows Server 2012 R2 นั้น ก็เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่มีความทันสมัย รองรับเทคโนโลยีและการทำงานในรูปแบบต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ช่วยให้องค์กรมีความได้เปรียบในเชิงธุรกิจในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น
เทคโนโลยีทั้งหมดที่มีอยู่ในระบบปฏิบัติการ Windows Server 2012 R2 ช่วยให้สามารถใช้งานเครื่องเซิร์ฟเวอร์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ มีความหลากหลายในการทำงาน และมีความคุ้มค่าในการอัปเกรดระบบปฏิบัติการมากขึ้น ซึ่งจากกงานวิจัยของ Forrester Research พบว่าการอัปเกรดจากระบบปฏิบัติการ Windows Server 2008 เป็น Windows Server 2012 R2 ช่วยให้องค์กรได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนถึง 270% และช่วยลดค่าบริหารจัดการเซิร์ฟเวอร์ลงร้อยละ 35 ซึ่งส่งผลให้องค์กรสามารถคืนทุนได้ในระยะเวลาอันสั้นเพียง 6 เดือนเท่านั้น
เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการย้ายระบบ
การอัปเกรดระบบปฏิบัติการ นอกจากจะเป็นการอัปเกรดระบบการทำงานของเครื่องเซิร์ฟเวอร์แล้ว ยังเป็นการกำหนดทิศทางและกลยุทธ์การพัฒนาระบบขององค์กรในอนาคตด้วย ดังนั้น การกำหนดทิศทาง วางแผน และแนวทางปฏิบัติจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ได้เซิร์ฟเวอร์ที่มีความสามารถตรงตามแนวทางขององค์กร โดยขั้นตอนในการกำหนดทิศทางมีดังนี้
1.) ศึกษาข้อมูลและเลือกรูปแบบที่เหมาะสม รูปแบบการทำงานของเซิร์ฟเวอร์ในปัจจุบันมีให้เลือกใช้งานได้หลากหลายตามลักษณะการทำงาน การรักษาความปลอดภัย และปัจจัยด้านราคา ดังนั้นจึงควรเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับนโยบายของบรืษัท เช่น อาจจะอัปเกรดเวอร์ชันใหม่เป็น Windows Server 2012 R2 ที่ฝ่ายไอทีคุ้นเคยกับการทำงานดีอยู่แล้ว หรือใช้ระบบคลาวด์สาธารณะอย่าง Microsoft Azure เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการ หรือจะใช้วิธีการผสมผสานระหว่างเซิร์ฟเวอร์และคลาวด์ในแบบไฮบริด เพื่อความสะดวกในการควบคุมจัดการตามนโยบายขององค์กรก็ได้ เป็นต้น
2.) ขอการสนับสนุนการโอนย้ายระบบจากคู่ค้า ไมโครซอฟท์มีคู่ค้าที่ผ่านการฝึกอบรมให้สามารถนำเสนอโซลูชันการทำงานต่างๆ ที่เหมาะสมพร้อมให้บริการอยู่แล้วทั่วโลก เพื่อช่วยให้การอัปเกรดเซิร์ฟเวอร์เป็นไปอย่างราบรื่น ตรงตามแนวทางที่องค์กรได้กำหนดไว้
3.) ประเมินโครงสร้างพื้นฐานโดยใช้ MAP Toolkit ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถประเมินความต้องการของระบบที่ต้องเตรียมพร้อมก่อนการอัปเกรด หรือก่อนการย้ายระบบปฏิบัติการ ให้เป็นไปอย่างสะดวก และรวดเร็วมากขึ้น โดยสามารถดูรายละเอียดและการดำเนินการได้ที่นี่
ขั้นตอนเตรียมการเพื่อโอนย้ายระบบ
สำหรับขั้นตอนการโอนย้ายระบบของเซิร์ฟเวอร์ จะต้องมีการเตรียมความพร้อมของซอฟต์แวร์ ข้อมูล และแอปพลิเคชัน ที่ใช้บนเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจะต้องเตรียมความพร้อมใน 4 ขั้นตอน ดังนี้