ปี 2561 Kaspersky Lab บล็อกกว่า 30 ล้านภัยคุกคามออนไลน์ในประเทศไทย ช่วย 3 ใน 10 ของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในไทยไม่ให้ถูกคุกคาม

Kaspersky Lab เปิดตัว Kaspersky Security Bulletin ของปี2562ด้วยสถิติภาพรวมภัยคุกคามในประเทศไทยของปีที่แล้ว รายงานระบุว่าอินเทอร์เน็ตยังคงเป็นหนึ่งในแหล่งของภัยคุกคามทางไซเบอร์ในประเทศ บริษัทให้บริการป้องกันด้านความปลอดภัยด้านอินเทอร์เน็ตระดับโลกได้ควบคุมหรือตรวจจับภัยทางอินเทอร์เน็ตได้ถึง30,203,943ชนิดในประเทศไทย

รายงานจากข้อมูลของ Kaspersky Security Network (KSN)ระบุว่าเมื่อปี 2561 ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตของไทยกว่า 31.8%ได้ถูกโจมตีโดยภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนจากปี 2560ที่ Kaspersky Lab ได้ตรวจจับภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตได้เพียง12,696,011ชนิด และมีผู้ใช้ที่ได้รับการโจมตีเพียง 29.0%

มร.ซูกูรุ อิชิมารุ นักวิจัยด้านความปลอดภัยของ Kaspersky Lab ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่า การเพิ่มขึ้นของภัยคุกคามออนไลน์ในประเทศไทยล้อตามเทรนด์ทั่วโลก ด้วยอัตราการเติบโตโดยภาพรวมของการติดตั้งของแพคเกจภัยคุกคามที่เป็นอันตราย และโทรจัน ที่อันตรายต่อการทำธุรกรรมทางการเงินหรือธนาคารบนมือถือ 

หลาย ๆ ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังกลายเป็นประเทศติดอันดับท็อปเท็นในโลกที่มีอัตราการถูกโจมตีจากภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตสูง ตัวอย่างเช่น โทรจันของการทำธุรกรรมทางการเงินบนมือถือที่ชื่อว่า DanaBotได้ถูกตรวจจับเมื่อไตรมาสที่ 2 ปี 2561และยังเพิ่มขึ้นและพัฒนาขยายอย่างรวดเร็ว 

 “ปัจจุบันนี้ ประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 73 ของโลกที่จัดอันดับจากระดับอันตรายจากภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต ที่เราได้ตรวจจับจากผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ถึงแม้ว่าจะถือได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ปลอดภัยกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน แต่ทางเราก็ยังคงกระตุ้นให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศใช้การป้องกันความปลอดภัยจากภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต จากการที่เราได้ป้องกันกว่า 30 ล้านชนิด เมื่อปีที่แล้ว พิสูจน์ได้ว่าประเทศไทยยังคงเป็นเป้าหมายของการโจรกรรมทางไซเบอร์ ดังนั้นควรจะเสริมเกราะป้องกันและเปลี่ยนนิสัยการใช้งานอินเตอร์เน็ต อย่าตกเป็นเหยื่อโดยไม่รู้ตัว” มร. โย เซียง เทียง ผู้จัดการทั่วไป Kaspersky Labภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  

การโจมตีผ่านเบราเซอร์เป็นวิธีการหลักของการโจรกรรมที่เผยแพร่โปรแกรมที่อันตราย อาชญากรรมไซเบอร์ส่วนใหญ่จะหาช่องโหว่ของเบราเซอร์และปลั๊กอินด้วยการให้ดาวน์โหลด การติดไวรัสจะเกิดขึ้นเมื่อมีผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่มีไวรัสโดยที่ไม่มีการป้องกันหรือผู้ใช้ไม่มีความรู้มาก่อน

กลวิธีนี้ใช้โจมตีกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งมัลแวร์ที่ไม่มีไฟล์(File-less) จะอันตรายที่สุด มันจะตั้งรหัสที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้หรือWMI การสมัครรับข้อมูล ทำให้ไม่เหลือข้อมูลใด ๆ บนดิสก์เลย 

สินค้าของ Kaspersky Labที่ได้พัฒนาเพื่อต่อสู้กับภัยคุกคามต่างๆ ที่หลบซ่อนอยู่ ใช้องค์กระกอบในการตรวจจับที่เรียกว่า Behavior Detectionที่เป็นประโยชน์จากต้นแบบ ML-basedและการตรวจสอบพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่าง ๆ ถึงแม้ว่าไม่ทราบรหัสก็ตาม อีกหนึ่งเทคโนโลยีสำคัญที่พัฒนาโดย Kaspersky Labก็คือ Exploit Prevention ที่จะเปิดเผยและบล็อกมัลแวร์ในทันทีเมื่อเจอมัลแวร์ที่อาศัยช่องโหว่ของซอฟต์แวร์

การโจมตีทางออนไลน์อีกรูปแบบหนึ่ง เป็นแบบทั่วไปที่ต้องการให้ผู้ใช้มีส่วนร่วม นั่นคือ ผู้ใช้ต้องดาวน์โหลดไฟล์ที่เป็นอันตรายมาไว้ในคอมพิวเตอร์ จะเกิดขึ้นเมื่ออาชญากรไซเบอร์ทำให้เหยื่อเชื่อว่าพวกเขากำลังดาวน์โหลดโปรแกรมที่ถูกกฎหมายอยู่

เป้าหมายหลักของอาชญากรจะต้องทำให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดมัลแวร์อันตรายเหล่านั้น ซึ่งเป็นโปรแกรมหรือแอปที่เป็นตัวที่จะขโมยข้อมูลต่าง ๆ มัลแวร์นี้สามารถปลอมตัวเป็นแอปอะไรก็ได้ไม่ว่าจะเป็นเกมส์ที่กำลังนิยมหรือแอปที่ใช้ตรวจสภาพอากาศหรือการจราจร ซึ่งไม่ควรที่จะเปิดอีเมลที่น่าสงสัย เช่นการแข่งขันหรือข้อเสนอที่ไม่น่าจะเป็นไปได้

ข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์ จากทีมผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของ Kaspersky Labที่จะช่วยปกป้องเงินและข้อมูลของคุณเมื่อคุณออนไลน์ 

  • อย่าคิดไปเองว่าลิ้งค์จะปลอดภัย คุณควรจะพิมพ์URL ด้วยตัวเอง แทนที่จะคลิกจากลิ้งค์ อย่าเข้าชมเว็บไซต์ที่คลิกเข้าไปจากอีเมล ข้อความหรือจากโซเชียล เน็ตเวิร์ก ต่าง ๆ  ข้อความจากห้องแชท แบนเนอร์โฆษณาที่เป็นเว็บไซต์ที่น่าสงสัย ลิ้งค์ต่าง ๆ ที่ส่งมาจากคนที่คุณไม่รู้จัก 
  • ระวังการสื่อสารปลอม องค์กรส่วนใหญ่จะไม่ขอให้ลูกค้าส่งข้อมูลส่วนตัวทางอีเมล หรือต้องขออนุมัติในการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ขององค์กร และใส่ข้อมูลส่วนตัวในหน้าต่างpop-up 
  • ตรวจสอบ URL เมื่อคุณเข้าเว็บไซต์ที่จำเป็นต้องกรอกข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญ ให้ตรวจสอบดูที่อยู่URLว่าตรงกับเว็บไซต์ที่เราต้องการหรือตั้งใจเข้าไปหรือไม่ หากพบว่า URLทำขึ้นมาจากตัวอักษรและตัวเลขแบบสุ่ม หรือดูน่าสงสัย อย่าใส่ข้อมูลใด ๆ เด็ดขาด

  • ใช้การเข้ารหัส ต้องมั่นใจว่าเมื่อคุณจำเป็นต้องให้ข้อมูลส่วนตัวจะต้องทำการเข้ารหัสทุกครั้ง ต้องตรวจสอบ URLทุกครั้งให้ขึ้นต้นด้วย ‘https’นอกจากนี้ address bar และbrowser’s status barจะต้องแสดงสัญลักษณ์เล็ก ๆ ว่าล็อค 
  • ใช้คอมพิวเตอร์ของตัวเอง และเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตของตัวเอง หลีกเลี่ยงการใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะและสัญญาณไวไฟสาธารณะ เครื่องคอมพิมเตอร์สาธารณะอาจจะมีสปายแวร์อยู่จำนวนมาก ในสัญญาณไวไฟสาธารณะอาจมีความเสี่ยงในการถูกดักจับข้อมูลจากผู้ให้บริการเครือข่ายหรือจากอาชญากรไซเบอร์ และอาจถูกโจมตีด้วยไวรัสเครือข่าย
  • ใช้รหัสผ่านที่คาดเดายากบนอุปกรณ์และบัญชีออนไลน์ของคุณ ใช้รหัสผ่านความยาวตั้งแต่12 ตัวอักษรขึ้นไปในทุกที่ที่ทำได้ และใช้รหัสที่ต่างกัน ในแต่ละบริการหรือบัญชี
  • กำจัดช่องโหว่ — ในระบบปฏิบัติการและแอปพลิเคชันของคุณด้วยการอัพเดท เป็นการช่วยให้ลดช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการและแอปพลิเคชัน ที่จะทำให้ถูกโจมตีจากโปรแกรมที่เป็นอันตรายได้ 
  • ป้องกันอุปกรณ์ของคุณจากมัลแวร์และความเสี่ยงด้านความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต โซลูชั่นที่ป้องกันมัลแวร์สามารถป้องกันคุณจากไวรัสคอมพิวเตอร์ เวิร์ม โทรจันและไวรัสต่าง ๆ ในบางโซลูชั่นประกอบด้วยเทคโนโลยีพิเศษที่ให้ความปลอดภัยอีกระดับเมื่อคุณช้อปปิ้งออนไลน์และทำธุรกรรมทางธนาคาร 

Latest

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

Windows Search ห่วย ใช้ Listary ช่วยคุณได้

คิดว่าหลายคนที่ใช้วินโดวส์เป็นหลัก น่าจะรู้สึกเหมือนผม คือรำคาญระบบค้นหา หรือช่อง search ของวินโดวส์ เพราะช้า แถมหาอะไรก็ไม่ค่อยเจอ ...

Newsletter

Don't miss

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

Windows Search ห่วย ใช้ Listary ช่วยคุณได้

คิดว่าหลายคนที่ใช้วินโดวส์เป็นหลัก น่าจะรู้สึกเหมือนผม คือรำคาญระบบค้นหา หรือช่อง search ของวินโดวส์ เพราะช้า แถมหาอะไรก็ไม่ค่อยเจอ ...

รวม 22 คีย์ลัด Windows Key ที่ทำให้ชีวิตง่ายขึ้นพันเปอร์เซ็นต์

ปุ่ม Windows Key หน้าตาแบบนี้ ไม่ได้มีไว้ใช้แค่เรียกเมนู Start ขึ้นมาเท่านั้นนะครับ แต่ตัวมันใช้เป็นคีย์ลัดสำหรับการการทำงานบนวินโดวส์ได้หลายอย่างมาก วันนี้ผมขอรวบรวมคีย์ลัดของปุ่มนี้...

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime monitoring สมัยนี้มีหลากหลายเจ้า ปกติจะเก็บค่าบริการกันแบบ subscription รายเดือน แต่ถ้าใครไม่อยากจ่ายตังค์ วันนี้ผมมีโซลูชั่น สำหรับใครที่มีการใช้งาน NAS อยู่แล้ว เราจะเอา NAS มาทำเป็น uptime monitoring...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ ใช้มาหลอกเรา ส่งข้อความมาทาง inbox แจ้งว่าเพจทำผิดกฎ หรือ ละเมิดกฎเฟซบุ๊ก ให้กดลิงค์ เพื่อยืนยันตัวตน ไม่งั้นจะบล็อกเพจถาวร พอเรากดลิงค์เข้าไป จะเจอกับหน้าเพจ (คล้าย) เฟซบุ๊ก ซึ่งมีฟอร์มให้เราใส่ข้อมูลต่างๆ รวมถึง ชื่อเพจ อีเมล...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here