นางสาวกนกชนา เพ็ชรรัตน์ รองประธานฝ่ายพัฒนาช่องทางธุรกิจ บริษัท อินเตอร์เนต โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส โพรวายเดอร์ จำกัด หรือ ไอเอสเอสพี กล่าวในงานสัมมนาหัวข้อ “เพิ่มศักยภาพค้าปลีกยุคใหม่ด้วย Cloud Technology by ISSP” ว่า ปัจจุบันไอเอเอสเอสพี มีลูกค้าที่เป็นธุรกิจค้าปลีกเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ซึ่งโดยมากเป็นธุรกิจที่เติบโตจากการขายสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ อย่าง Instagram Facebook จนประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง แล้วมีความต้องการทำร้านค้าออนไลน์ของตนให้มีระบบบริหารจัดการดียิ่งขึ้น ทั้งเรื่องการจัดการหน้าร้าน หน้าเว็บไซต์ ระบบคลังสินค้า งานบัญชี ความปลอดภัยของข้อมูล เพื่อให้สามารถรองรับการขยายขนาดธุรกิจ หรือสาขาได้อย่างคล่องตัว ด้วย SAP B1 Cloud ของไอเอสเอสพี ที่มีความยืดหยุ่นและสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ตามความต้องการใช้งาน เจ้าของธุรกิจไม่ต้องยุ่งยากกับระบบไอทีของร้าน
นอกจากนี้ยังมองว่าคลาวด์โซลูชั่น เป็นสุดยอดทางเลือกสำหรับการทำอีคอมเมิร์ซในปัจจุบันและอนาคต เพราะ เทรนด์เทคโนโลยี ที่คนใช้สมาร์ทโฟนกันมากขึ้น ส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน หันมาซื้อสินค้าและบริการออนไลน์กันมาก โดยเห็นได้จากจำนวนบัญชีผู้ใช้งาน Facebook ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีประมาณ 38 ล้านบัญชีผู้ใช้งาน และไลน์ไอดี 33 ล้านไอดี ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับมูลค่าการทำธุรกิจผ่านไลน์ ด้วยการใช้สติ๊กเกอร์ไลน์ให้คนโหลดฟรีที่เมื่อ 3-5 ปีก่อนมีค่าใช้จ่าย 2 ล้านบาท ปัจจุบันเพิ่มเป็น 4 ล้านบาท เนื่องจากเป็นอีกช่องทางที่จะเข้าถึงลูกค้าจำนวนมากได้ ในเวลาอันรวดเร็ว และเจ้าของธุรกิจมองว่าคุ้มค่าที่จะใช้ช่องทางเหล่านี้ในการสร้างการรู้จัก เรียนรู้ในสินค้าและบริการ รวมทั้งเป็นการสร้างการจดจำในแบรนด์สินค้าอีกด้วย
นายไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว ประธานคณะอนุกรรมการมาตรฐานพัฒนา และวิจัยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ คณะธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวบรรยายว่า รัฐบาลสนับสนุนให้คนทำการค้าออนไลน์มากขึ้น ด้วยการประกาศมาตรฐานเกี่ยวกับธุรกิจผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้มีแบบแผนให้ชัดเจน ทั้งในเรื่องของE-invoice, E-quotation, E-barcode, และอื่นๆ เพื่อให้ผู้ค้าใช้สิ่งที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และใช้งานระบบเหล่านี้ได้ง่ายเมื่ออยู่บนระบบคลาวด์ เป็นการเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร ส่วนเรื่องของ E-logistics, supply chain และมาตรฐานความปลอดภัย ภาครัฐกำลังรวบรวมแนวความคิดกันอยู่ว่าจะมีความปลอดภัยเรื่องอะไรบ้าง ที่จะประกาศเป็นมาตรฐาน ที่ในอนาคตผู้ค้าทุกคนจะต้องเข้าใช้มาตรฐานเหล่านี้
ที่ผ่านมาหากโพสต์ขายของผ่านอินสตราแกรม, Facebook หรือแม้แต่ไลน์ จะเป็นเรื่องง่าย แค่โพสต์ขาย และระบบหลังบ้านของเครือขายสังคมออนไลน์เหล่านี้ จะจัดการที่เหลือให้เอง แต่ถ้าเป็นบริษัทที่จะขายของแบบเป็นเรื่องเป็นราว อาจจะต้องคิดต่ออีกว่าระบบเดิมที่มี จะช่วยบริหารจัดการงานขายได้ดีมากน้อยเพียงใด ซึ่งหากจะขายของออนไลน์แบบเป็นมืออาชีพจริงๆ แล้วอยากมั่นใจในระบบบริหารจัดการ “คลาวด์” จะเป็นตัวเลือกให้ธุรกิจค้าปลีกได้เป็นอย่างดี
สำหรับมุมมองในธุรกิจค้าปลีก 10 ประการที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอีก 2 ปี และสิ่งเหล่านี้จะเปลี่ยนรูปแบบการค้าในปัจจุบันไปทั้งหมด และธุรกิจจำเป็นต้องเตรียมพร้อมเพื่อก้าวให้ทันเทคโนโลยี ดังนี้
- Onlineshopping will be over 50% of the market.
การช้อปปิ้งออนไลน์จะเพิ่มขึ้นเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ จากการค้าแบบเดิมที่คนจะใช้เงินสดซื้อสินค้าในตลาด หรือในห้างสรรพสินค้า จะเปลี่ยนเป็นใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์แทนเงินสด ผู้บริโภคจะมีความเชื่อมั่นเรื่องการชำระเงินผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น จากใบอนุญาตเรื่องการให้บริการธุรกรรมออนไลน์ ที่ผ่านการตรวจสอบจากคณะอนุกรรมการอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะทำให้ระบบ จ่ายเงินออนไลน์มีความเสถียร มีความน่าเชื่อถือ และมีความปลอดภัยมากขึ้น
- CashlessSociety is being matured.
โลกนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงการจ่ายเงินเป็นแบบออนไลน์ โดยไม่ต้องใช้เงินสด ทุกอย่างจะอยู่บนสมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นบ้างแล้ว เช่น การใช้เพียง QR Codeไปสแกนที่เคาน์เตอร์จ่ายเงิน โดยไม่ต้องใช้เงินสด ซึ่งจะมีความสะดวกมาก ทั้งต่อการค้าปลีก และการค้าระหว่างธุรกิจด้วยกันเอง หรือ Business to Business (B2B)
- Notanymore trading demand on analog.
ปัจจุบันรัฐมีโครงการ National Single Window ที่ทำหน้าที่ในการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลแบบแบบบูรณาการของประเทศ โดยกำลังจัดทำมาตรฐานเกี่ยวกับE-trade ให้ทุกอย่างเป็นอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นในอนาคตจะไม่มีเอกสารที่เป็นกระดาษแน่นอน ผู้ประกอบการต้องเตรียมตัวให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลง
- Datasecurity will be recognized as key to business.
“ข้อมูล” เป็นเรื่องที่ถูกมองว่าเป็น “Key to success” ของธุรกิจ ฉะนั้นคนที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับคลาวด์ อย่าง ISSP หรือ โพรไวด์เดอร์รายอื่นๆ ต้องให้ความสำคัญในเรื่องการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เพื่อให้ลูกค้าเชื่อมั่นที่จะใช้บริการ
- Smartdevices and airtime is “free of charge”.
อุปกรณ์เชื่อมต่อ, มือถือ, สมาร์ทโฟนต่างๆ ในอนาคตจะไม่ต้องเสียเงินซื้อ ปัจจุบันอาจจะต้องจ่ายส่วนต่างราคาเครื่องอยู่บ้าง หากซื้อสมาร์ทโฟนผ่านผู้ให้บริการเครือข่ายสัญญาณมือถือ โดยระบุเงื่อนไขระยะเวลาในการใช้บริการ แต่ในอนาคตแม้จะเป็นสมาร์ทโฟนยี่ห้อดัง ก็ไม่ต้องเสียเงินซื้ออุปกรณ์เหล่านี้อีก แต่จะได้ใช้เครื่องฟรี ภายใต้เงื่อนไขอื่น ๆ แทน เช่น การรับชมโฆษณาผ่านอุปกรณ์นั้นๆ และอุปกรณ์เคลื่อนที่จะเป็นปัจจัยสำคัญที่เปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคในอนาคต
- Deliverybusiness is embedded.
ทุกวันนี้คนนิยมซื้อของออนไลน์กันมากขึ้น อนาคตธุรกิจต้องแข่งกัน ต้องไม่มีค่าขนส่ง แต่ทุกวันนี้ธุรกิจยังต้องใช้บริการไปรษณีย์ไทย, DHL, FedEx ฯลฯ ไปส่งของให้อยู่ แต่ในอนาคตค้าปลีกต้องมีระบบขนส่งของตนเอง โดยจไปประสานงานกับผู้ให้บริการเหล่านี้ เพื่อพร้อมให้บริการตลอดเวลา
- Competitivenessis on Cloud.
การแข่งขันอยู่บนคลาวด์ทั้งหมด เพราะข้อมูลลูกค้าที่อยู่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ เจ้าของธุรกิจสามารถแท็กหาข้อมูลได้ทั้งหมด ธุรกิจจะต้องแข่งขันในเรื่องข้อมูลกันอย่างชัดเจน ข้อมูลต่างๆอยู่บนคลาวด์ จะไม่ได้อยู่ในเซิร์ฟเวอร์อีกต่อไป เพราะเมื่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์แล้วจะสู้คู่แข่งไม่ได้ ซึ่งISSP จะมีบริการนำเสนอให้แต่ละธุรกิจที่แตกต่างกันไป อาทิ ฟังก์ชั่นในการจับฟีดแบ็คของผู้บริโภคจากเว็บไซต์และเครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นต้น
- Customerinformation will be high value.
ข้อมูลของลูกค้าจะมีมูลค่ามหาศาลมาก ยิ่งธุรกิจมีข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายมากเท่าไร ก็ยิ่งสามารถนำเสนอสินค้าและบริการไปให้ลูกค้าได้ตรงตามความต้องการมากยิ่งขึ้น ดังนั้นเทคโนโลยีคลาวด์จะเป็นตัวเลือกที่ดีในการจัดเก็บข้อมูลทางธุรกิจ
- Internationaltrade standard is applied.
ธุรกิจต้องปรับตัว ต้องคอยติดตามภาครัฐว่ามีประกาศอะไรออกมาในเรื่องมาตรฐาน QR Code, barcode เป็นอย่างไร, การทำใบแจ้งหนี้อิเล็กทรอนิกส์ว่ามีรูปแบบใดบ้าง เพื่อก้าวให้ทันและใช้ประโยชน์จากระบบใหม่ๆที่เกิดขึ้น
- Digitalbranding will be more important than the physical.
ปัจจุบันมีการก่อสร้างห้างขึ้นมามากมาย แต่ห้างสรรพสินค้าไม่ได้เป็นช่องทางหลักในการจำหน่ายสินค้าเหมือนในอดีต เป็นเพียงสถานที่ในการจัดแสดงสินค้าแบรนด์ต่างๆ ซึ่งในอนาคตธุรกิจจะสร้างแบรนด์ และขายสินค้าผ่านหน้าจอสมาร์ทโฟนมาก ขึ้น โดยอาศัยการโฆษณาบนสื่อดิจิตอลมากกว่าที่จะไปทำโฆษณาบนห้างสรรพสินค้า
“เมื่อทราบถึงเทรนด์ และเทคโนโลยีคลาวด์ที่จะสนับสนุนการค้าปลีกในอนาคตแล้ว จึงอยากให้ธุรกิจในประเทศปรับตัว เพื่อให้ก้าวทันคู่แข่งทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพราะเมื่อเปิดเออีซีปลายปี 2558 นี้ ค้าปลีกจะได้มีเครื่องมือที่มีความพร้อม และก้าวเป็นผู้นำในตลาดได้อย่างไม่ยาก”นางสาวกนกชนา กล่าวทิ้งท้าย