แกร็บ นำร่อง Mobility as a Service (MaaS) เป็นเจ้าแรกของประเทศไทย เชื่อมโยงการเดินทางแบบออนดีมานด์เข้ากับระบบขนส่งสาธารณะผ่านแอพ ขยายการเข้าถึงแก่ผู้บริโภคในตลาดไทย

แกร็บ ผู้นำด้านซูเปอร์แอพของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดตัว ‘ทริป แพลนเนอร์’ (Trip Planner) ฟีเจอร์และบริการวางแผนเดินทางใหม่ล่าสุด ที่เชื่อมโยงโครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะเข้าในแอพพลิเคชั่นแกร็บ พร้อมเสริมทางเลือกด้วยบริการจากแกร็บ ทั้งแกร็บไบค์ (วิน) และจัสท์แกร็บ เพื่อตอบโจทย์การเดินทางจากต้นทางสู่ปลายทาง (FMLM – First Mile/Last Mile) เชื่อมต่อระหว่างระบบขนส่งสาธารณะ เป็นเจ้าแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเปิดตัว ‘ทริป แพลนเนอร์’ ถือเป็นก้าวสำคัญสู่วิสัยทัศน์ของแกร็บ ที่มุ่งมั่นในการสร้างการเดินทางในชีวิตประจำวันที่ไร้รอยต่อ เข้าถึงได้ง่าย และมีราคาเหมาะสม ให้แก่ผู้คนในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  โดยการเปิดตัวฟีเจอร์ดังกล่าวยังถือเป็นการนำร่องพัฒนา Mobility as a Service (MaaS)  ระบบคมนาคมขนส่งที่เข้าถึงได้โดยคนทั่วไป และยังตอบรับนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมและสนับสนุนวิสัยทัศน์การขับเคลื่อนระบบขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) และการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของประเทศไทย เพื่อลดการใช้รถส่วนตัว ช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรและมลพิษในเมือง  นางสาวลักษณวดี ธนามี ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศการขนส่งและจราจร สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม ได้ให้เกียรติกล่าวเปิดงานว่า “สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ภายใต้กระทรวงคมนาคม ซึ่งมีภารกิจหลักในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและให้บริการคมนาคมขนส่ง เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ยกระดับคุณภาพชีวิต ความมั่นคง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ถือเป็นองค์กรหลักที่กำหนดทิศทางและขับเคลื่อนการพัฒนาระบบคมนาคม ที่ผ่านมา กระทรวงคมนาคมได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) เพื่อเป็นกรอบทิศทางในการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทยในระยะยาว ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และการก้าวสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 การเสวนาในวันนี้จึงถือเป็นหนึ่งในความพยายามอันเป็นรูปธรรม ในการร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทยสู่โครงข่ายคมนาคมขนส่งที่สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพตามยุทธศาสตร์ชาติ โดยมีภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาและสนับสนุนนโยบายของภาครัฐในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงนำเทคโนโลยีนวัตกรรมและระบบเทคโนโลยีอัจฉริยะต่างๆ มาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่ง ให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงระบบคมนาคมขนส่งได้อย่างสะดวก ทั่วถึง และปลอดภัย ด้วยการริเริ่มกรุยทางไปสู่ระบบขนส่งอัจฉริยะ ซึ่งเราเชื่อมั่นว่าจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของระบบคมนาคมขนส่ง ที่ช่วยให้ประเทศไทยสามารถบรรลุวิสัยทัศน์ร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติที่มุ่งสร้างความ ‘มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน’ ต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้” ทั้งนี้ ภายในงานแถลงข่าวยังมีการเสวนาในหัวข้อ “Mobility as a Service: Smart Solution for Smart Cities” เพื่อแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ในการปูรากฐานและขับเคลื่อนระบบขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาชาติตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งมีภารกิจสำคัญในการปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ดร.ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) กล่าวว่า “ในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ การขนส่งและจราจรถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่สามารถนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ หนึ่งในรูปแบบระบบขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) ซึ่งหลายประเทศได้เริ่มทดลองใช้ คือ Mobility as a Service (MaaS) ที่ผู้เดินทางสามารถเลือกใช้รูปแบบการเดินทางที่เป็นการขนส่งสาธารณะของรัฐบาลและการขนส่งของภาคเอกชนได้ตามความต้องการผ่านแพลตฟอร์มผู้ให้บริการ โดยจ่ายค่าบริการเป็นรายเดือนหรือตามที่ใช้จริง สำหรับประเทศไทย รัฐบาลได้ริเริ่มแผนการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยมีระบบขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) เป็นหนึ่งในแกนหลักในการพัฒนาเมือง การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยและชาญฉลาดมาประยุกต์ใช้กับระบบจราจรและขนส่งอัจฉริยะอย่างฟีเจอร์วางแผนการเดินทางหรือแนวคิดในการพัฒนาMobility as a Service (MaaS) ของแกร็บ จึงเป็นหนึ่งในตัวอย่างของการผสานความร่วมมือและความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของภาคเอกชน เพื่อบูรณาการขับเคลื่อนพัฒนาเมืองอัจฉริยะให้เกิดผลเป็นรูปธรรมผ่านโครงการของภาครัฐ โดยนอกจากประชาชนที่อาศัยอยู่ใน 7 จังหวัดนำร่อง ซึ่งได้แก่ กรุงเทพ ภูเก็ต เชียงใหม่ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา นักท่องเที่ยวในพื้นที่เหล่านี้ยังจะได้รับประโยชน์และสามารถเดินทางได้อย่างสะดวกสบายผ่านบริการดังกล่าว ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและตอบรับโลกแห่งเทคโนโลยีในปัจจุบันด้วยอีกทางหนึ่ง” รศ.ดร. สรวิศ นฤปิติ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “การจราจรติดขัดยังคงเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ของประเทศไทย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะโครงสร้างพื้นฐานขนส่งมวลชนยังไม่ครอบคลุม ส่งผลให้การเดินทางจากต้นทางและสู่ปลายทาง (FMLM – First Mile/Last Mile) ยังไม่เชื่อมต่อกันอย่างเต็มรูปแบบ และผู้คนยังคงจำเป็นต้องใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทางสัญจรในชีวิตประจำวัน โดยทางออกหนึ่งที่สามารถช่วยบรรเทาปัญหาจราจรได้คือการใช้บริการรถยนต์ร่วมโดยสาร (Ride-Hailing) และการให้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้ใช้รถใช้ถนนให้สามารถเลือกรูปแบบการเดินทาง เส้นทาง และค่าโดยสาร ที่ตรงความต้องการ อาทิ ประหยัดเงิน ประหยัดเวลา หรือหลีกเลี่ยงเส้นทางที่หนาแน่น ซึ่งผู้ให้บริการที่สามารถช่วยวางแผนและผนวกรูปแบบการเดินทางขนส่งที่หลากหลายเข้าไว้ด้วยกันในรูปแบบ Mobility as a Service (MaaS) นี้ จะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทาง ลดความแออัดของการจราจร ลดความจำเป็นในการใช้รถส่วนตัว และลดปัญหารถติดและมลพิษ ทำให้การเดินทางให้มีความคล่องตัว เข้าถึงง่าย มีราคาเหมาะสม และเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งถือเป็นการขับเคลื่อนระบบขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) ของประเทศอีกทางหนึ่ง” นายธรินทร์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย กล่าวว่า “ในกรุงเทพฯ มีจำนวนรถส่วนตัวและมอเตอร์ไซค์ที่จดทะเบียนกว่า 9.8 ล้านคัน ซึ่งมากกว่าปริมาณที่ถนนและโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ สามารถรองรับได้ถึง 8 เท่า และยังคงเพิ่มขึ้นทุกวัน[1] โดยแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของจำนวนรถส่วนตัวดังกล่าว เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหารถติดในกรุงเทพฯ เราจึงมีวิสัยทัศน์ที่จะสร้างระบบการคมนาคมขนส่งที่เชื่อถือได้และไร้รอยต่อ ซึ่งจะทำให้ผู้คนลดการใช้รถส่วนตัวในที่สุด ระบบขนส่งมวลชนที่มีคุณภาพเป็นทางออกเดียวที่จะแก้ไขปัญหาการจราจรโดยไม่ต้องเพิ่มปริมาณรถบนท้องถนน และด้วยฟีเจอร์ ‘ทริป แพลนเนอร์’ เราจึงสามารถนำเสนอทางเลือกในการเดินทางด้วยระบบขนส ่งสาธารณะที่เข้าถึงได้ง่าย ในราคาที่เหมาะสมสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน และที่สำคัญคือเป็นทางเลือกที่สามารถแทนที่การใช้รถส่วนตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ” “ด้วยฟีเจอร์วางแผนการเดินทาง ทริป แพลนเนอร์ (Trip Planner) แกร็บ ได้ปูรากฐานและนำร่องบริการ Mobility as a Service (MaaS) ในประเทศไทย ซึ่งเรามีเป้าหมายในการเรียนรู้และสร้างการรับรู้เกี่ยวกับแนวคิดดังกล่าว รวมถึงหาวิธีที่จะแก้ไขปัญหาการเดินทางในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะอย่างรถโดยสารประจำทาง รถไฟฟ้า และเรือโดยสาร หรือการใช้บริการจัสท์แกร็บ หรือแกร็บไบค์ (วิน) ผู้เดินทางจะมีอิสระในการเลือกทั้งราคาและระดับความสะดวกสบายที่ต้องการ นอกจากนี้ การนำร่องแนวคิด  บริการ Mobility as a Service (MaaS) ยังถือเป็นการสร้างอนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมที่สอดรับกับวิสัยทัศน์เมืองอัจฉริยะ  อีกทั้งยังอำนวยความสะดวกและเพิ่มการเข้าถึงระบบขนส่งต่าง ๆ  ยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน” นายธรินทร์ กล่าวสรุป หลังจากที่ได้เปิดตัวในกรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย เป็นแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ‘ทริป แพลนเนอร์’ (Trip Planner) ได้ขยายการให้บริการและเปิดให้บริการแล้วในกรุงเทพฯ สิงคโปร์ และกัวลาลัมเปอร์ ผู้ใช้ที่เดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะเป็นประจำ สามารถใช้ฟีเจอร์ดังกล่าวเพื่อวางแผนการเดินทาง ด้วยข้อมูลที่แม่นยำ พร้อมดูเส้นทางการเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางในแต่ละขั้นตอนได้ผ่านแอพพลิเคชั่นแกร็บ ผู้ใช้สามารถตรวจสอบตารางการเดินรถของรถไฟฟ้า รถไฟฟ้าใต้ดิน เรือ และรถโดยสารประจำทาง ในกรุงเทพฯ  ทำให้การเดินทางมีความคล่องตัว เข้าถึงง่าย และมีราคาเหมาะสมสำหรับการเดินทางในชีวิตประจำวัน ผู้ใช้แอพพลิเคชั่นแกร็บ สามารถระบุจุดหมายปลายทางผ่านฟีเจอร์‘ทริป แพลนเนอร์’ (Trip Planner) ระบบจะนำเสนอทางเลือกการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ ที่รวดเร็ว ประหยัด และมีประสิทธิภาพมากที่สุด พร้อมประมาณเวลาการเดินทางที่จะไปถึง รวมถึงเส้นทางการเดิน ร่วมกับทางเลือกการเดินทางจากต้นทางสู่ปลายทาง (FMLM – First Mile/Last Mile) อื่นๆ ทั้งที่เป็นบริการแกร็บไบค์ (วิน) หรือ จัสท์แกร็บ และระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งผู้ใช้สามารถกดเรียกใช้บริการแกร็บผ่านฟีเจอร์นี้ได้โดยตรง ฟีเจอร์ดังกล่าวช่วยให้ผู้ใช้สามารถตัดสินใจและเลือกวิธีการเดินทางตามที่ต้องการพร้อมทั้งยังสามารถประมาณเวลาและวางแผนการเดินทางตลอดเส้นทางได้อย่างแม่นยำ สะดวกและง่ายดายยิ่งขึ้น ผู้ให้บริการระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ ยังจะได้รับประโยชน์จากจำนวนผู้สัญจรที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก แกร็บ ช่วยให้การเดินทางเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนและวางแผนการเดินทางได้อย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้น ด้วยบริการรถยนต์ร่วมโดยสารของแกร็บ อีกทั้งยังทำให้เข้าใจข้อมูลและพฤติกรรมการเดินทางเกี่ยวกับผู้ใช้ผ่านแอพพลิเคชั่น และมองเห็นโอกาสในเชื่อมต่อโครงข่ายในบริเวณที่การให้บริการยังไม่ครอบคลุม เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงโครงข่ายและการเข้าถึงในทุกพื้นที่ แกร็บ พร้อมให้ความร่วมมือกับผู้ให้บริการระบบขนส่งสาธารณะทุกราย เพื่อร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาระบบคมนาคมของประเทศไทยไปด้วยกัน สามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับ ทริป แพลนเนอร์ (Trip Planner) เพิ่มเติม ได้ที่ https://www.facebook.com/GrabTH/

Latest

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

Windows Search ห่วย ใช้ Listary ช่วยคุณได้

คิดว่าหลายคนที่ใช้วินโดวส์เป็นหลัก น่าจะรู้สึกเหมือนผม คือรำคาญระบบค้นหา หรือช่อง search ของวินโดวส์ เพราะช้า แถมหาอะไรก็ไม่ค่อยเจอ ...

Newsletter

Don't miss

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

Windows Search ห่วย ใช้ Listary ช่วยคุณได้

คิดว่าหลายคนที่ใช้วินโดวส์เป็นหลัก น่าจะรู้สึกเหมือนผม คือรำคาญระบบค้นหา หรือช่อง search ของวินโดวส์ เพราะช้า แถมหาอะไรก็ไม่ค่อยเจอ ...

รวม 22 คีย์ลัด Windows Key ที่ทำให้ชีวิตง่ายขึ้นพันเปอร์เซ็นต์

ปุ่ม Windows Key หน้าตาแบบนี้ ไม่ได้มีไว้ใช้แค่เรียกเมนู Start ขึ้นมาเท่านั้นนะครับ แต่ตัวมันใช้เป็นคีย์ลัดสำหรับการการทำงานบนวินโดวส์ได้หลายอย่างมาก วันนี้ผมขอรวบรวมคีย์ลัดของปุ่มนี้...

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime monitoring สมัยนี้มีหลากหลายเจ้า ปกติจะเก็บค่าบริการกันแบบ subscription รายเดือน แต่ถ้าใครไม่อยากจ่ายตังค์ วันนี้ผมมีโซลูชั่น สำหรับใครที่มีการใช้งาน NAS อยู่แล้ว เราจะเอา NAS มาทำเป็น uptime monitoring...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ ใช้มาหลอกเรา ส่งข้อความมาทาง inbox แจ้งว่าเพจทำผิดกฎ หรือ ละเมิดกฎเฟซบุ๊ก ให้กดลิงค์ เพื่อยืนยันตัวตน ไม่งั้นจะบล็อกเพจถาวร พอเรากดลิงค์เข้าไป จะเจอกับหน้าเพจ (คล้าย) เฟซบุ๊ก ซึ่งมีฟอร์มให้เราใส่ข้อมูลต่างๆ รวมถึง ชื่อเพจ อีเมล...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here