เอปสันเปิดศูนย์นวัตกรรมหุ่นยนต์เตรียมความพร้อมอุตสาหกรรมไทย ใช้หุ่นยนต์พัฒนากระบวนการผลิตรับยุคไทยแลนด์ 4.0

เอปสันเดินหน้าสร้างความแข็งแกร่งไลน์หุ่นยนต์แขนกล จับมือสถาบันไทย-เยอรมัน เปิดศูนย์ นวัตกรรมหุ่นยนต์เอปสันมุ่งให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีหุ่นยนต์แขนกลกับผู้ประกอบการไทย เพื่อเพิ่มศักยภาพ ด้านการผลิตรับยุคไทยแลนด์ 4.0

นายยรรยง มุนีมงคลทร ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) ​จำกัด เปิดเผยว่า “การประกาศนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลทำให้หลายอุตสาหกรรมเกิดการตื่นตัวในการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เข้ามาใช้เพื่อพัฒนาศักภาพการทำงาน เพิ่มผลิตผล และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ อีกทั้งรัฐบาลยังได้วางมาตรการต่างๆ เพื่อสนับสนุนให้อุตสาหกรรมการผลิตและบริการภายในประเทศนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาใช้งานมากขึ้น อาทิ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% สำหรับผู้ประกอบการที่ใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและบริการ การสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากเงินกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตาม แนวประชารัฐ เพื่อปรับเปลี่ยนการผลิตเป็นหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ  ในขณะที่กระทรวงการคลังจะยกเว้นภาษี เงินได้ 300% โดยสนับสนุนผู้ประกอบการในการวิจัยหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เอปสันจึงมองเห็นโอกาสที่จะรุก ทำตลาดสินค้ากลุ่มหุ่นยนต์แขนกล สำหรับการผลิตที่ต้องการผลผลิตปริมาณมากขึ้นและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ สูงขึ้นในประเทศไทยอย่างจริงจัง”

“เอปสันได้พัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาอย่างต่อเนื่องนานกว่า 36 ปี และจำหน่ายไปยังกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม ชั้นนำของโลก เช่น อเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น จีน และเกาหลี ส่วนในประเทศไทยหุ่นยนต์แขนกลของเอปสันมีใช้ใน โรงงานผลิตอย่างแพร่หลายกว่า 20 ปีแล้ว มีลูกค้าหลักเป็นบริษัทข้ามชาติที่ขยายฐานการผลิตมายังประเทศไทย โดยที่บริษัทแม่ในต่างประเทศคุ้นเคยกับเทคโนโลยีของเอปสันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว จึงเลือกใช้หุ่นยนต์ของเอปสันในโรงงานผลิตที่มีสาขาในประเทศไทยด้วยเช่นกัน ที่ผ่านมาตลาดหุ่นยนต์แขนกลของประเทศไทยยังมีขนาดเล็ก และมีแนวโน้มการเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป การดูแลด้านการจัดจำหน่ายของเอปสันในตลาดประเทศไทยจึงยังอยู่

ในการดูแลของสำนักงานภูมิภาคที่สิงคโปร์ แต่หลังการเปิดตัวโมเดลไทยแลนด์ 4.0 ตามด้วยอุตสาหกรรม 4.0 ของรัฐบาลทำให้วงการเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเกิดการตื่นตัวขึ้นมาก เอปสัน ประเทศไทยจึงเข้ามาดูแลด้านการตลาดและการจัดจำหน่ายอย่างเต็มตัว โดยจะเริ่มขยายตลาดไปยังกลุ่มโรงงานผลิตขนาดเล็กและขนาดกลางของคนไทย ควบคู่ไปกับการรักษาฐานลูกค้ากลุ่มบริษัทข้ามชาติในปัจจุบัน ซึ่งส่วนมากอยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์”

นายยรรยงกล่าวต่อว่า “ปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมของไทยส่วนใหญ่ยังใช้ระบบ Manual มีเพียงราว 15% ที่เริ่ม ผสมผสานระบบอัตโนมัติเข้ารวมกับกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นโรงงานขนาดใหญ่ใน 5 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่

ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โรงงานเหล็ก โรงงานผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก และการแปรรูป อาหาร แต่ก็มีแนวโน้มการเติบโตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เอปสันเล็งเห็นถึงโอกาสทางการตลาดที่เปิดกว้าง และได้เริ่มนำ  หุ่นยนต์แขนกลขนาดเล็ก 2 ประเภท คือ SCARA Robot และ 6-Axis Robot เข้ามาทำตลาด ได้แก่ รุ่น T3 SCARA Robot, LS-Series SCARA Robot และ C-Series compact 6-Axis robot ซึ่งเหมาะกับหลายอุตสาหกรรม ทั้งงาน ประกอบชิ้นส่วนอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โรงงานผลิตเครื่องจักร ห้องปฏิบัติการอัตโนมัติ ไลน์การ ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ เซมิคอนดักเตอร์ และอุปกรณ์โทรคมนาคม เป็นต้น”

T3 และ LS-Series SCARA Robot เป็นหุ่นยนต์แขนกลทำงานในแนวระนาบ เหมาะกับงานที่ต้องการความเร็ว และความแม่นยำสูง ใช้งานง่าย มีขนาดเล็กกระทัดรัดเหมาะกับการทำงานในพื้นที่จำกัด ขณะที่ C-Series compact 6-Axis Robot เป็นแขนกล 6 แกนหมุนอิสระ มีประสิทธิภาพสูง สามารถทำงานได้หลากหลาย ใกล้เคียง กับแขนคน มีความยืดหยุ่นและความเร็วสูง ทั้งยังใช้ระบบควบคุมการเคลื่อนไหว หรือ Quartz Micro Electro Mechanical System ช่วยลดความสั่นสะเทือนและเข้าถึงตำแหน่งได้อย่างรวดเร็ว โดยหุ่นยนต์แขนกลทั้ง 3 รุ่นนี้ ยังสนับสนุนการใช้งานกับระบบ Vision ผ่านซอฟต์แวร์ Epson Vision Guide เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของหุ่นยนต์ ให้สามารถรับรู้และแยกแยะประเภทของวัตถุ ตรวจสอบคุณภาพและรับรู้ตำแหน่งของวัตถุ ช่วยให้หุ่นยนต์หยิบจับ หรือประกอบชิ้นงานได้อย่างถูกต้องยิ่งขึ้น ทั้งนี้หุ่นยนต์ของเอปสันยังรองรับการพัฒนาระบบไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 โดยสามารถใช้งานผ่านทั้ง PC Base และ PLC Base มีระบบตรวจสอบความผิดพลาดภายในตัวเองและแจ้งเตือน ระยะเวลาการซ่อมบำรุงต่างๆ ทั้งยังมีซอฟต์แวร์ที่ใช้งานง่าย สนับสนุนการพัฒนาระบบ M2M (Machine to Machine) ทำให้หุ่นยนต์ของเอปสันสามารถส่งข้อมูลระหว่างเครื่องจักรหรือระบบมายังหุ่นยนต์ได้อย่างง่ายดาย

นายยรรยงกล่าวถึงแผนการตลาดว่า บริษัทฯ กำลังขยายเครือข่ายพันธมิตร ทั้งด้านการจำหน่าย การบริการหลัง การขาย การทำเทรนนิ่ง และการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ โดยบริษัทฯ จะมีการแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายที่มีความรู้  ความเชี่ยวชาญด้านหุ่นยนต์แขนกลและตลาดอุตสาหกรรมเพิ่มภายในปีนี้เพื่อบุกตลาดมากขึ้น โดยมีเป้าหมายที่ โรงงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

“หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้การนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตยังเติบโตได้ในวงจำกัด โดยเฉพาะในกลุ่มโรงงาน ของคนไทยคือ การขาดโซลูชั่นที่ถูกออกแบบมาให้ตรงกับประเภทและขั้นตอนของงานอย่างเฉพาะเจาะจง เอปสัน จึงทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่เป็น Solution Provider และ System Integrator ในการออกแบบและพัฒนาโซลูชั่น ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าสามารถผสมผสานการใช้งานหุ่นยนต์เข้ากับกระบวนการทำงาน ด้วยแรงงานคนที่มีอยู่ได้อย่างรวดเร็วและราบรื่น ทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิต ทั้งในด้านความเร็วและ คุณภาพ ขณะเดียวกัน บริษัทฯ มุ่งที่จะสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ โดยจัดคอร์ส อบรมให้แก่บริษัท โรงงาน และหน่วยงานต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมาก เพราะเทคโนโลยีหุ่นยนต์ยังเป็นเรื่อง ใหม่และยังไม่แพร่หลายมากในหมู่ผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะขนาดเล็กและขนาดกลาง”

ล่าสุด เอปสันได้จับมือกับสถาบันไทย-เยอรมัน (TGI) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการวิจัยและพัฒนาบุคลากรและ เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมการผลิต พร้อมให้คำปรึกษาและฝึกอบรมแก่โรงงานอุตสาหกรรมในการเปิด “ศูนย์นวัตกรรมหุ่นยนต์เอปสัน” หรือ TGI – EPSON : Epson Robotics Innovation Center เพื่อจัดแสดงและทำการสาธิต พร้อมจัดคอร์สอบรมการใช้งานหุ่นยนต์แขนกลของเอปสันให้แก่ผู้สนใจทั้งบุคลากรจากโรงงานอุตสาหกรรม และจาก System Integrator โดยคอร์สแรกจะเริ่มต้นในเดือนพฤศจิกายนนี้ ประกอบด้วยหลักสูตรเกี่ยวกับพื้นฐานการใช้งาน Epson Robot, SCARA Robot, การบำรุงรักษาหุ่นยนต์ Epson Robot และการ ประยุกต์การใช้งานEpson Robot Vision

“นอกจากนี้ เนื่องจากมูลค่าในการลงทุนกับหุ่นยนต์อุตสาหกรรมและระบบอัตโนมัติค่อนข้างสูง และมีขั้นตอนการ ใช้งานที่ต้องอาศัยเวลาในการทำความเข้าใจ เอปสันจึงได้สร้างทีมพรีเซล เพื่อคอยให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสินค้า ลักษณะงาน และขั้นตอนในการทำงาน การติดตั้ง และระบบการสั่งงานและควบคุม รวมถึงการให้ความช่วยเหลือ ทางเทคนิคในช่วงก่อนและระหว่างการติดตั้งหุ่นยนต์ให้แก่ลูกค้า และทีมบริการหลังการจำหน่ายที่จะคอยให้ความ ช่วยเหลือภายหลังการติดตั้ง สนับสนุนงานด้านการซ่อมบำรุง ศึกษาความต้องการเพิ่มเติมของลูกค้า เพื่อตอกย้ำ ความมั่นใจแก่ลูกค้าที่ตัดสินใจเลือกลงทุนกับเอปสัน” นายยรรยง กล่าวทิ้งท้าย

Latest

ใช้ NAS ให้เป็น Google Photo server ด้วย immich

หลายคนชอบใช้ google photo ในการแบ็กอัพรูปจากมือถือ เพราะมีลูกเล่นให้ใช้เยอะแยะ แต่ติดที่ว่าเนื้อที่มักไม่เคยพอ และต้องจ่ายรายปี ต่ำๆ ก็ต้อง...

รัน Stable Diffusion เร็วขึ้น 10x ด้วย AMD GPU

ปกติแล้วตัว Stable Diffusion (ต่อไปขอเรียกสั้นๆ ว่า SD) สามารถติดตั้งและใช้งานได้เลยบน Nvidia GPU...

สร้างภาพ AI บนวินโดวส์ + การ์ดจอ AMD ด้วย Amuse AI

คนใช้การ์ดจอ AMD จะมีความเป็นลูกเมียน้อยอยู่นิดนึง เพราะโปรแกรมและโมเดลสร้างภาพส่วนใหญ่ จะออกแบบมาให้ใช้กับ CUDA ของ Nvidia เป็นหลัก แต่ต่อไปนี้คนใช้...

ใช้ windows 11 อย่างเซียน ด้วย PowerToys (ฟรี)

PowerToys เป็นชุดเครื่องมือฟรีจาก Microsoft ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้ Windows โดยเฉพาะ Windows 11 ซึ่ง...

Newsletter

Don't miss

ใช้ NAS ให้เป็น Google Photo server ด้วย immich

หลายคนชอบใช้ google photo ในการแบ็กอัพรูปจากมือถือ เพราะมีลูกเล่นให้ใช้เยอะแยะ แต่ติดที่ว่าเนื้อที่มักไม่เคยพอ และต้องจ่ายรายปี ต่ำๆ ก็ต้อง...

รัน Stable Diffusion เร็วขึ้น 10x ด้วย AMD GPU

ปกติแล้วตัว Stable Diffusion (ต่อไปขอเรียกสั้นๆ ว่า SD) สามารถติดตั้งและใช้งานได้เลยบน Nvidia GPU...

สร้างภาพ AI บนวินโดวส์ + การ์ดจอ AMD ด้วย Amuse AI

คนใช้การ์ดจอ AMD จะมีความเป็นลูกเมียน้อยอยู่นิดนึง เพราะโปรแกรมและโมเดลสร้างภาพส่วนใหญ่ จะออกแบบมาให้ใช้กับ CUDA ของ Nvidia เป็นหลัก แต่ต่อไปนี้คนใช้...

ใช้ windows 11 อย่างเซียน ด้วย PowerToys (ฟรี)

PowerToys เป็นชุดเครื่องมือฟรีจาก Microsoft ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้ Windows โดยเฉพาะ Windows 11 ซึ่ง...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

ใช้ NAS ให้เป็น Google Photo server ด้วย immich

หลายคนชอบใช้ google photo ในการแบ็กอัพรูปจากมือถือ เพราะมีลูกเล่นให้ใช้เยอะแยะ แต่ติดที่ว่าเนื้อที่มักไม่เคยพอ และต้องจ่ายรายปี ต่ำๆ ก็ต้อง 7-8 ร้อยกว่าบาทต่อปีเลยทีเดียว แต่ถ้าหากคุณมีเครื่อง NAS อยู่ที่บ้าน ผมจะมาบอกข่าวดีว่า เราสามารถทำให้ NAS แบ็กอัพรูปถ่ายจากมือถือเป็นเหมือน google photo ได้ด้วยแอพที่ชื่อว่า immich immich มีความสามารถใกล้เคียงกับ google photo...

รัน Stable Diffusion เร็วขึ้น 10x ด้วย AMD GPU

ปกติแล้วตัว Stable Diffusion (ต่อไปขอเรียกสั้นๆ ว่า SD) สามารถติดตั้งและใช้งานได้เลยบน Nvidia GPU โดยไม่ต้องปรับแต่งอะไรทั้งสิ้น แต่พอเป็นเครื่อง AMD GPU ตัว SD จะรันไม่ได้ ต้องไปรันบน CPU แทน ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าประสิทธิภาพสู้รันบน GPU ไม่ได้เลย บล็อกนี้เลยจะมาแสดงวิธีการติดตั้งและรัน SD บนเครื่องที่ใช้การ์ดจอ...

สร้างภาพ AI บนวินโดวส์ + การ์ดจอ AMD ด้วย Amuse AI

คนใช้การ์ดจอ AMD จะมีความเป็นลูกเมียน้อยอยู่นิดนึง เพราะโปรแกรมและโมเดลสร้างภาพส่วนใหญ่ จะออกแบบมาให้ใช้กับ CUDA ของ Nvidia เป็นหลัก แต่ต่อไปนี้คนใช้ AMD ไม่ต้องน้อยใจอีกต่อไป เพราะ Amuse AI คือโปรแกรมที่ออกแบบมาให้ใช้กับแพลตฟอร์มของ AMD โดยเฉพาะครับ สำหรับการ์ดจอนั้น ทาง Amuse AI แนะนำให้ใช้รุ่น RX 7000 ที่มี...

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here