ดีป้าส่งแม๊กกาซีน GO DIGITAL THAILAND Magazine ห้าเล่มตรงถึงผู้อ่าน ชูนโยบาย SIGMA ขับเคลื่อนดิจิทัล

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)หรือ ดีป้า จัดทำแมกกาซีน GO DIGITAL THAILAND Magazineจำนวน 5เล่ม โดยชูไฮไลท์นโยบาย “SIGMA”ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งประกอบด้วย Security, Infrastructure, Government, Manpower และ Application ส่งตรงถึงหน่วยงานภาครัฐ เอกชน สถานศึกษา ร้านกาแฟ และสื่อมวลชนทั่วประเทศ

ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ depa กล่าวว่า GO DIGITAL THAILAND Magazine กระจายไปยังกลุ่มเป้าหมายในระหว่างเดือน กันยายน 2561 ถึง มกราคม 2562 เป็นระยะเวลาต่อเนื่องกัน5 เดือน นำเสนอโครงการต่างๆ ภายใต้นโยบาย SIGMA โดยนิตยสารได้จัดส่ง ไปยังภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป ได้แก่ หน่วยงานในสังกัดของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงต่างๆ ทุกกระทรวง สำนักนายกรัฐมนตรี และหน่วยยงานภาครัฐอื่นๆ สำหรับภาคเอกชนได้ จัดส่งไปยังสมาคมต่างๆ ส่วนการกระจายไปยังประชาชนได้จัดส่งให้แก่สื่อมวลชน สถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ร้านกาแฟ โรงพยาบาล หอสมุด อาคารสำนักงาน ฯลฯ อีกทั้งยังจัดทำเป็น e-Book ที่ทุกภาคส่วน สามารถเข้าถึงได้ผ่านเว็บไซต์ depa 

ผอ.ดีป้า กล่าวถึงเนื้อหาของ GO DIGITAL THAILAND Magazine ของทั้ง 5 เล่มว่า เล่มแรกนำเสนอเรื่องของ Securityโดยหยิบยกโครงการจัดตั้ง ThaiCERT คือ การจัดทำร่างพระราชบัญญัติด้านดิจิทัล เนื่องจากเล็งเห็นถึงความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงบริบททางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดย พ.ร.บ. จะเป็นกลไกสำคัญต่อการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนต่อไป ดำเนินการควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลากรด้านไซเบอร์ ผ่านทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 

เล่มที่สอง นำเสนอเรื่องของ Infrastructure คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสื่อสารดิจิทัล ได้แก่ เน็ตประชารัฐ การพัฒนา EEC การแพทย์ทางไกล และดาวเทียมขนาดเล็ก (Thaichote)เล่มที่สาม นำเสนอเรื่องของ Government รัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) โดยกล่าวถึงเนื้อหา 4 ด้าน ได้แก่ นโยบาย Big Dataที่มีเป้าหมายให้ทุกหน่วยงานพร้อมเปิดเผยข้อมูล และข้อมูลต้องมีความจำเป็น มีมาตรฐาน นำไปใช้งานต่อได้ ในขณะที่ภาคเอกชนสามารถนำข้อมูลไปใช้อย่างบูรณาการและสร้างสรรค์ เกิดเป็นนวัตกรรมที่นำไปสู่การดำเนินธุรกิจ Open Government Data นอกจากนี้ยังนำเสนอเรื่องความสะดวกสบายของประชาชนยุครัฐบาลดิจิทัล และตัวอย่างบริการที่ครอบคลุมทั่วโลก 

เล่มที่สี่ Manpower พัฒนาบุคลากร นำเสนอเรื่องราวด้านการพัฒนาบุคลากรdepaได้ดำเนินโครงการพัฒนาบุคลากรในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ 1.ทักษะด้านวิทยากรคอมพิวเตอร์ให้แก่เยาวชนภายใต้โครงการCoding Thailand 2.โครงการความร่วมมือด้านพัฒนาแพลตฟอร์มทั้งในระดับเยาวชนอย่างแพลตฟอร์มCodingThailand และแพลตฟอร์ม digitalskill ซึ่งพัฒนาทักษะคนทั่วไป และ 3. ความร่วมมือในระดับนานาชาติ 

เล่มที่ห้า Application การพัฒนานวัตกรรม นำเสนอเกี่ยวกับนวัตกรรม หรือการพัฒนา Applicationเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของโลกยุคดิจิทัล ที่เข้ามาเปิดโลกธุรกิจ อุตสาหกรรมของประเทศไทย เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาสร้างสรรค์อุตสาหกรรม และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแก่ประชาชน โดยในเล่มนี้จะกล่าวถึง 2โครงการหลัก คือ ระบบแจ้งพิกัด GNSS RTK และแพลตฟอร์ม poskar ด้านท่องเที่ยว

“จากนโยบายSIGMA ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่นำเสนอใน GO DIGITAL THAILAND Magazine เป็นเพียงส่วนหนึ่งของโรดแมพในการพัฒนาประเทศด้านดิจิทัล ซึ่ง depaมีพันธกิจในการส่งเสริม ได้ดำเนินโครงการต่างๆ บนเป้าหมายการพัฒนาเพื่อยกระดับทุกมิติในการขับเคลื่อนกลไกที่จะก้าวสู่ประเทศไทย4.0 ได้อย่างสมบูรณ์” ดร.ณัฐพล กล่าว 

Latest

ใช้ NAS ให้เป็น Google Photo server ด้วย immich

หลายคนชอบใช้ google photo ในการแบ็กอัพรูปจากมือถือ เพราะมีลูกเล่นให้ใช้เยอะแยะ แต่ติดที่ว่าเนื้อที่มักไม่เคยพอ และต้องจ่ายรายปี ต่ำๆ ก็ต้อง...

รัน Stable Diffusion เร็วขึ้น 10x ด้วย AMD GPU

ปกติแล้วตัว Stable Diffusion (ต่อไปขอเรียกสั้นๆ ว่า SD) สามารถติดตั้งและใช้งานได้เลยบน Nvidia GPU...

สร้างภาพ AI บนวินโดวส์ + การ์ดจอ AMD ด้วย Amuse AI

คนใช้การ์ดจอ AMD จะมีความเป็นลูกเมียน้อยอยู่นิดนึง เพราะโปรแกรมและโมเดลสร้างภาพส่วนใหญ่ จะออกแบบมาให้ใช้กับ CUDA ของ Nvidia เป็นหลัก แต่ต่อไปนี้คนใช้...

ใช้ windows 11 อย่างเซียน ด้วย PowerToys (ฟรี)

PowerToys เป็นชุดเครื่องมือฟรีจาก Microsoft ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้ Windows โดยเฉพาะ Windows 11 ซึ่ง...

Newsletter

Don't miss

ใช้ NAS ให้เป็น Google Photo server ด้วย immich

หลายคนชอบใช้ google photo ในการแบ็กอัพรูปจากมือถือ เพราะมีลูกเล่นให้ใช้เยอะแยะ แต่ติดที่ว่าเนื้อที่มักไม่เคยพอ และต้องจ่ายรายปี ต่ำๆ ก็ต้อง...

รัน Stable Diffusion เร็วขึ้น 10x ด้วย AMD GPU

ปกติแล้วตัว Stable Diffusion (ต่อไปขอเรียกสั้นๆ ว่า SD) สามารถติดตั้งและใช้งานได้เลยบน Nvidia GPU...

สร้างภาพ AI บนวินโดวส์ + การ์ดจอ AMD ด้วย Amuse AI

คนใช้การ์ดจอ AMD จะมีความเป็นลูกเมียน้อยอยู่นิดนึง เพราะโปรแกรมและโมเดลสร้างภาพส่วนใหญ่ จะออกแบบมาให้ใช้กับ CUDA ของ Nvidia เป็นหลัก แต่ต่อไปนี้คนใช้...

ใช้ windows 11 อย่างเซียน ด้วย PowerToys (ฟรี)

PowerToys เป็นชุดเครื่องมือฟรีจาก Microsoft ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้ Windows โดยเฉพาะ Windows 11 ซึ่ง...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

ใช้ NAS ให้เป็น Google Photo server ด้วย immich

หลายคนชอบใช้ google photo ในการแบ็กอัพรูปจากมือถือ เพราะมีลูกเล่นให้ใช้เยอะแยะ แต่ติดที่ว่าเนื้อที่มักไม่เคยพอ และต้องจ่ายรายปี ต่ำๆ ก็ต้อง 7-8 ร้อยกว่าบาทต่อปีเลยทีเดียว แต่ถ้าหากคุณมีเครื่อง NAS อยู่ที่บ้าน ผมจะมาบอกข่าวดีว่า เราสามารถทำให้ NAS แบ็กอัพรูปถ่ายจากมือถือเป็นเหมือน google photo ได้ด้วยแอพที่ชื่อว่า immich immich มีความสามารถใกล้เคียงกับ google photo...

รัน Stable Diffusion เร็วขึ้น 10x ด้วย AMD GPU

ปกติแล้วตัว Stable Diffusion (ต่อไปขอเรียกสั้นๆ ว่า SD) สามารถติดตั้งและใช้งานได้เลยบน Nvidia GPU โดยไม่ต้องปรับแต่งอะไรทั้งสิ้น แต่พอเป็นเครื่อง AMD GPU ตัว SD จะรันไม่ได้ ต้องไปรันบน CPU แทน ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าประสิทธิภาพสู้รันบน GPU ไม่ได้เลย บล็อกนี้เลยจะมาแสดงวิธีการติดตั้งและรัน SD บนเครื่องที่ใช้การ์ดจอ...

สร้างภาพ AI บนวินโดวส์ + การ์ดจอ AMD ด้วย Amuse AI

คนใช้การ์ดจอ AMD จะมีความเป็นลูกเมียน้อยอยู่นิดนึง เพราะโปรแกรมและโมเดลสร้างภาพส่วนใหญ่ จะออกแบบมาให้ใช้กับ CUDA ของ Nvidia เป็นหลัก แต่ต่อไปนี้คนใช้ AMD ไม่ต้องน้อยใจอีกต่อไป เพราะ Amuse AI คือโปรแกรมที่ออกแบบมาให้ใช้กับแพลตฟอร์มของ AMD โดยเฉพาะครับ สำหรับการ์ดจอนั้น ทาง Amuse AI แนะนำให้ใช้รุ่น RX 7000 ที่มี...

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here