โบรเคด (NASDAQ: BRCD) เปิดเผยรายงานการศึกษาวิจัยเรื่อง Global Digital Transformation Skills Study ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดเผยว่า ผู้บริหารไอทีระดับโลกพิจารณาตัวเองและทีมอย่างไร ในแง่ของการปฏิบัติงานให้ตรงตามความต้องการของธุรกิจในปัจจุบันและอนาคต จากการสำรวจตลาดทั้งหมด 6 แห่ง พบว่า ประเทศเยอรมนีมีการเตรียมตัวที่ดีที่สุดในการไปให้ถึงเป้าหมายของ “การเปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิทัล” ตามติดมาด้วยสหรัฐอเมริกา ส่วนสหราชอาณาจักรนั้นยังต้องเตรียมความพร้อมมากกว่านี้
การศึกษาวิจัยนี้สำรวจผู้บริหารไอทีจำนวน 630 คน ในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ พบว่า องค์กรหลายแห่งกำลังอยู่ในจุดพลิกผัน ด้วยระบบธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งทำให้มีความต้องการทักษะใหม่ๆเพื่อมาดูแลระบบเหล่านั้นด้วย องค์กรที่มีการเตรียมพร้อมสำหรับเทคโนโลยีใหม่และมีจัดการฝึกอบรมทักษะเหล่านี้เพิ่มเติมจะเป็นจุดแข็งที่ช่วยให้ธุรกิจเติบโตและมีความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง
ผลการสำรวจพบว่า ผู้บริหารไอทีระดับโลกจำนวน 91% ตระหนักว่า แผนกไอทีเป็นแผนกที่สำคัญมากสำหรับนวัตกรรมและการเติบโตของธุรกิจ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารไอทีเกินครึ่ง (54%) คาดการณ์ว่า จะพบกับความยากลำบากในการทำงานด้วยขาดทักษะความสามารถทางไอทีภายในระยะเวลา 12 เดือนนี้ โดยมีปัจจัยต่างๆ ได้แก่ การขาดทักษะใหม่ๆ การมีทักษะที่ล้าสมัยไปแล้ว การขาดความมุ่งมั่นในการฝึกอบรมในระดับผู้บริหารองค์กร และสภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
กลยุทธ์ทางด้านไอทีกำลังเข้าถึงจุดสูงสุดในการมีอิทธิพลต่อระบบธุรกิจ ตอนนี้คือช่วงที่ทีมไอทีจะรู้สึกว่าตนเองมีโอกาสที่แข็งแกร่งที่สุดในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงขององค์กร” เบนิ เซีย ผู้อำนวยการระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท โบรเคด กล่าว “การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่รวดเร็วและผลกระทบที่มีในตลาดแรงงานสากล จึงจำเป็นอย่างมากที่ไอทีจะต้องมีการฝึกอบรมที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาทักษะและด้านอื่นๆที่เกี่ยวกับธุรกิจ”
ผลการศึกษายังพบว่า การวางแผนในการพัฒนาทักษะจำเป็นต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการวางแผนธุรกิจด้านอื่นๆ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงเรื่องการขาดแคลนทักษะเทคโนโลยีของทีมไอทีที่มักจะถูกคาดหวังจากองค์กรให้นำเสนอได้
การขาดแคลนพนักงานและทักษะที่ล้าหลัง ทำให้ผู้บริหารไอทีไม่สามารถทำตามความต้องการของธุรกิจในปัจจุบันได้
องค์กรต่างพยายามเปลี่ยนแผนกไอทีจากบทบาทเดิม แต่การขาดทักษะและเวลาในการเรียนรู้ทักษะก็ดึงรั้งเอาไว้ ผู้บริหารไอทีเชื่อว่า นี่เป็นเหตุผลหลักในการทำให้ไม่สามารถทำตามความต้องการของธุรกิจได้ ทำให้องค์กรเสี่ยงที่จะล้าหลังห่างจากคู่แข่งและสูญเสียลูกค้าได้
- ผู้ตอบแบบสอบถามประมาณหนึ่งในสี่ ในออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี สิงคโปร์และสหรัฐอเมริกา อ้างว่า ไม่สามารถบรรลุความต้องการของธุรกิจในปัจจุบันได้ เนื่องจากขาดพนักงาน โดยในสหราชอาณาจักร มีผู้ตอบแบบสอบถามด้วยเหตุผลนี้สูงถึง 42%
- ผู้ตอบแบบสอบถามอ้างว่าการขาดการเข้าถึงทักษะใหม่ จะขัดขวางให้ไม่สามารถใช้เทคโนโนยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การลดความพึงพอใจในพนักงานขององค์กร และทำให้สูญเสียส่วนแบ่งการตลาด
ช่องว่างของทักษะไอทีกำลังเพิ่มขึ้นและองค์กรจะต้องเร่งดำเนินการ
สภาพการเมืองก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยหนึ่งในการเพิ่มช่องว่างในการพัฒนาทักษะความชำนาญ ความไม่มั่นคงของตลาดที่รุนแรงขึ้นในอีกไม่กี่ปีนี้ ทำให้จำเป็นอย่างยิ่งที่แผนกไอทีจะต้องสามารถปรับตัวได้รวดเร็วและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ๆ
- ผู้ตอบแบบสอบถาม 92% กังวลเรื่องการจ้างพนักงานไอทีในอนาคต ขณะที่ 54% กังวลเรื่องการขาดแคลนแรงงานของผู้มีความชำนาญในเทคโนโลยีใหม่ๆ
- ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดจำนวน 43% เห็นด้วยและเห็นด้วยมากว่า สภาพการเมืองปัจจุบันทำให้การจ้างพนักงานที่มีทักษะเหมาะสมเป็นเรื่องยาก ผู้ตอบแบบสอบถามในสหรัฐอเมริกาเห็นด้วย 52% และออสเตรเลีย เห็นด้วย 54%
- ถึงแม้ว่าในสถานการณ์ที่ไม่มั่นคงจากกรณี Brexit แต่ผู้ตอบแบบสอบถามจากโซน EMEA ไม่มีความกังวลมากนัก มีเพียงผู้ตอบแบบสอบถามจากสหราชอาณาจักรจำนวน 31% ที่เชื่อว่าเหตุผลทางการเมืองก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านไอที เมื่อเปรียบเทียบกับเยอรมัน (39%) และฝรั่งเศส (35%)
เวลาฝึกอบรมและการลงทุนจะพิสูจน์ว่าเป็นสิ่งจำเป็นต่อธุรกิจ
การจัดเวลาเพื่อการฝึกอบรมยังคงเป็นประเด็น ด้วยงานไอทีที่ต้องทำวันต่อวันมีความสำคัญเป็นลำดับแรก สำหรับองค์กรที่ขาดทักษะด้านเทคนิค ในขั้นแรกจึงจำเป็นต้องลงทุนเวลาและเงิน ไม่เช่นนั้นก็ต้องเผชิญผลที่ตามมาแทน
- ความต้องการให้จัดสรรเวลาเพื่อเพิ่มทักษะมีมากขึ้นอยากต่อเนื่อง จาก 15% ในปัจจุบันเป็น 22%
- ผู้ตอบแบบสอบถามรายงานว่าปัจจัยเรื่องงบประมาณที่ไม่เพียงพอ (45%) และระยะเวลาฝึกอบรม (45%) เป็นข้อจำกัดของแผนกไอทีในการพัฒนาทักษะ มากกว่าปัจจัยอื่น ปัจจัยนี้มีตัวเลขสูงขึ้นอีกในออสเตรเลีย (งบประมาณ 60% ระยะเวลา 50%) แต่ลดลงในเยอรมนี (งบประมาณ 37% ระยะเวลา 30%)
- ปัจจุบัน มีการจัดสรรเวลาเพียงสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมงสำหรับการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะ ผู้ตอบแบบสอบถามในสิงคโปร์จัดสรรเวลาเฉลี่ย 4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
- ผู้ตอบแบบสอบถาม 67% เห็นด้วยว่าหัวใจหลักสำคัญในการปิดช่องโหว่ของทักษะคือการใช้จ่ายเงินเรื่องฝึกอบรมมากยิ่งขึ้น
ผู้ประกอบวิชาชีพไอทีจำเป็นต้องควบคุมอนาคตทางอาชีพของตน
การศึกษาพบว่าผู้ประกอบวิชาชีพไอทีทุกระดับจะต้องเพิ่มความรับผิดชอบสำหรับอนาคตทางอาชีพของตนเอง เปิดรับโอกาสที่เข้ามาจากเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ AI และ IoT (ตั้งแต่การบริหารจัดการอุปกรณ์ไปจนถึงความปลอดภัย)
- ผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลกจำนวน 35% เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างมากว่า ทีมไอทีขององค์กรไม่มีทักษะที่เหมาะสมเพื่อเสริมความมั่นคงในงานของตนเองในอนาคต
- เมื่อให้ระบุทักษะที่เห็นว่าจำเป็นในอนาคตเพื่อความก้าวหน้าทางวิชาชีพ คำตอบที่มีผู้ตอบมากที่สุด คือความปลอดภัยทางไซเบอร์ คิดเป็นผู้ตอบทั่วโลกที่ 22%
- AI และความปลอดภัยของ IoT อยู่ในลำดับรองลงมา คือ 18% ขณะที่ AI เป็นคำตอบสูงสุดในฝรั่งเศสและออสเตรเลีย ส่วนความปลอดภัยของ IoT เป็นคำตอบสูงสุดในเยอรมนี
AI อาจเป็นเพื่อนหรือศัตรูก็ได้
AI สามารถเปลื่ยนแปลงทักษะไอทีที่จำเป็นต่อการทำงานทางด้านไอที โดย AI มีแนวโน้มจะแทนที่งานและตำแหน่งงานไอทีจำนวนหนึ่ง แต่ไม่ได้หมายความว่าแผนกไอทีจะจบสิ้นไป พนักงานจำเป็นต้องมีทักษะที่เหมาะสมเพื่อทำงานควบคู่ไปกับ AI และพร้อมยอมรับผลกระทบในอนาคต ดังนั้นองค์กรจะต้องปลดปล่อยศักยภาพออกมาอย่างเต็มที่
- เมื่อถามถึงตำแหน่งงานปัจจุบันที่ถูกแทนที่ด้วย AI แล้วในปัจจุบัน คำตอบอันดับต้นคือ Desktop Support (23%) Data Analyst (20%) Software Testers (17%) System Architects (14%) และ Network Engineers (11%)
- มีการคาดเดาว่าภายใน 10 ปีตัวเลขเหล่านี้จะเพิ่มสูงขึ้น นั่นคือ Desktop Support (37%) Data Analyst (34%) Software Testers (33%) System Architects (31%) และ Network Engineers (31%)
- AI จะส่งผลกระทบต่อตำแหน่ง CIO ด้วยเช่นกัน ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบครึ่งระบุว่ามีความสนใจเพิ่มขึ้นจากการทำธุรกิจ
- ผู้ตอบแบบสอบถาม 56% เชื่อว่า การพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับ AI จะเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยรักษางานไว้ได้ในอนาคต
บทบาทสำคัญของคณะกรรมการบริหารในการพัฒนาทักษะไอทีระยะยาว
คณะกรรมการบริหารขององค์กรมักจะเป็นผู้กำหนดแนวทางและตัดสินใจในเรื่องการใช้เวลาพัฒนาทักษะต่างๆของพนักงาน แต่โดยส่วนมากองค์กรจะไม่มีการสนับสนุนอย่างเหมาะสมให้ คณะกรรมการจะต้องมั่นใจว่าการพัฒนะทักษะและการฝึกอบรมจะควบคู่ไปกับการวางแผนธุรกิจด้านอื่นๆ
- ผู้ตอบแบบสอบถาม 44% คิดว่าคณะกรรมการบริหารไม่เห็นว่าการใช้ทรัพยากรเพื่อพัฒนาทักษะใหม่ๆนั้นมีสำคัญอย่างที่ควรจะเป็น ตัวเลขรายประเทศได้แก่ ออสเตรีเลีย (59%) สหราชอาณาจักร (50%) สหรัฐอเมริกา (42%) เยอรมนี (41%) สิงคโปร์ (40%) และฝรั่งเศส (34%) มีตัวเลขเชิงบวกมากขึ้นเล็กน้อย
- ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบหนึ่งในห้าคิดว่า คณะกรรมการบริหารมองว่าการมีความรู้และทักษะเป็นค่าใช้จ่ายทางธุรกิจ มากกว่าเป็นสินทรัพย์ ตัวเลขนี้สูงขึ้นถึง 35% ในออสเตรเลีย
- อย่างไรก็ตาม ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากในฝรั่งเศส (63%) และเยอรมนี (62%) เห็นว่าความรู้และทักษะเป็นสินทรัพย์
- ผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า มีการวางแผนงานธุรกิจล่วงหน้าประมาณ 2 ปี ส่วนการจัดหาพนักงานมีการวางแผนล่วงหน้าสูงสุดแค่ปีเดียว
- องค์กรพยายามแก้ปัญหาต่างๆของฝั่งไอที แต่กลับละเลยการพัฒนาทักษะและประสบการณ์ของแผนกไอที ทำให้ไม่มีความก้าวหน้าอย่างที่ควรจะเป็น
ข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อมูลในการศึกษาวิจัยนี้ ยังได้เปิดเผยถึงโปรไฟล์ผู้บริหารไอทีระดับโลกอีกสี่รายการ ซึ่งได้มีการบุกเบิกริเริ่มโครงการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลและการบริหารทักษะของคนในทีมในประสิทธิภาพระดับต่างๆกัน
การศึกษาวิจัยนี้จัดทำขึ้นโดยสถาบันวิจัยอิสระชื่อ Vanson Bourne ในเดือนมีนาคม 2017 สำรวจผู้บริหารไอทีจำนวน 630 คนในองค์กรที่มีพนักงานมากกว่า 500 คน ในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี ออสเตรเลีย และสิงคโปร์