บ๊อช ประเทศไทย แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในพันธกิจที่ยึดถือมาอย่างยาวนาน ผ่านโชว์เคสที่ชูไฮไลต์ด้านการพัฒนานวัตกรรมเชิงพาณิชย์ เทคโนโลยี และบริการต่างๆ อันเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยธุรกิจหลัก 6 หน่วย ภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีเพื่อชีวิต” (Invented for Life) นำเสนอต่อสื่อมวลชนเป็นครั้งแรกในธีม Innovation House ที่กรุงเทพฯ เมื่อเร็ว ๆ นี้
ปีที่ผ่านมา บ๊อชได้ลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนากว่า 5 พันล้านยูโร (ประมาณ 192,000 ล้านบาท) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ10 ของยอดขายรวมของกลุ่มบริษัทบ๊อช เมื่อเร็วๆ นี้ บ๊อชได้เปิดศูนย์วิจัยแห่งใหม่ที่เมืองเรนนิงเก้น ประเทศเยอรมนีซึ่งใช้เงินลงทุนมูลค่า 310 ล้านยูโร และจะดำเนินงานโดยยึดคติพจน์ที่ว่า ‘Connected for millions of Ideas” หรือ “เชื่อมโยงกัน ปันนับล้านไอเดีย” โดยทำหน้าที่เป็นฮับศูนย์กลางเครือข่ายการวิจัยและพัฒนาระดับโลกของบ๊อช ปัจจุบัน บ๊อชมีเครือข่ายวิศวกรซอฟต์แวร์ 15,000 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาโซลูชั่น Internet of Things (IoT) 3,000 คน และมีแผนที่จะว่าจ้างบัณฑิตที่ผ่านการอบรมแล้วอีกกว่า 12,000 คนทั่วโลก
บ๊อชจึงไม่เป็นแต่เพียงผู้นำตลาดโลกในด้านอุปกรณ์ตรวจจับเครื่องกลระดับไมโคร (micromechanical sensors) แต่ยังขยายขอบเขตไปสู่ธุรกิจด้านซอฟต์แวร์ด้วยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา บ๊อชเล็งเห็นศักยภาพมหาศาลในธุรกิจบริการที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่องจากการขับเคลื่อนด้วยอินเทอร์เน็ต (connectivity)
ภายในงาน Bosch Innovation House บ๊อชได้นำเสนอข้อมูลจากแผนกธุรกิจหลักทั้งหก โดยชูประเด็นหลักด้านความก้าวหน้าใหม่ๆ ของโซลูชั่นแห่งการขับเคลื่อน (mobility solutions) รวมถึงเทคโนโลยีการเชื่อมต่อด้วยอินเทอร์เน็ต (connected technology) ซึ่งมีบทบาทผลักดันให้เกิดนวัตกรรมต่างๆ อีกมากมาย
โซลูชั่นแห่งการขับเคลื่อน (Mobility Solutions)
แผนกอะไหล่ทดแทนยานยนต์ในประเทศไทยได้อวดโฉมเทคโนโลยีอันล้ำหน้าทางด้านอะไหล่ยานยนต์ต่างๆ มากมาย อาทิ แบตเตอรีชนิดต่างๆ ที่มีพลังงานจุมากกว่าเดิมเพื่อรองรับสถานการณ์ที่จำเป็นต่างๆ รวมถึงใบปัดน้ำฝนที่ผสานเทคโนโลยียางปัดน้ำฝนอันล้ำสมัยกับการเคลือบแบบพิเศษที่มีสิทธิบัตรเฉพาะ และหัวเทียนชนิดต่างๆ ที่ผ่านกรรมวิธีเชื่อมด้วยแสงเลเซอร์ ทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าเก่าและมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
บ๊อชยังได้สนับสนุนแคมเปญ ‘Stop the Crash’ ของหน่วยงานทดสอบมาตรฐานความปลอดภัยด้านยานยนต์ระดับโลกอย่าง Global NCAP (Global New Car Assessment Program) เพื่อส่งเสริมการขับขี่อย่างปลอดภัย จากข้อมูลของ NCAP พบว่า ทุกๆ วัน อุบัติภัยบนท้องถนนได้คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 3,000 คนทั่วโลก บ๊อชเป็นผู้คิดค้นและจดสิทธิบัตรระบบเบรค ABS (Anti-Lock Braking System) รายแรกของโลกในการควบคุมรถและคงเสถียรภาพการทรงตัวให้คงอยู่ได้ ระบบนี้เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ของโซลูชั่นแห่งการขับเคลื่อน สำหรับงาน BOSCH Innovation House ผู้เข้าเยี่ยมชมจะได้สัมผัสกับระบบจำลองที่ทำให้รับรู้ความรู้สึกจริงเมื่อได้ขับขี่ในระบบที่แตกต่างกันระหว่างมีและไม่มีระบบเบรก ABS อนึ่ง ระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัวของรถ (Electronic Stability Program: ESP) ยังถือเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีพื้นฐานสำหรับระบบการช่วยเหลือผู้ขับขี่ ซึ่งมีหลากหลาย เช่น ระบบเบรกในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่จะมีส่วนช่วยผู้ขับขี่ให้รอดพ้นจากอันตรายในกรณีที่เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ
เทคโนโลยีการเชื่อมต่อด้วยอินเทอร์เน็ต (connected technology)
แผนกขับขี่และควบคุม(Drive and Control unit) ของบ๊อชมีส่วนช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าด้านวิศวกรรมโรงงานและเครื่องกลต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วโลก ด้วยเทคโนโลยีอันล้ำสมัย ผสานเข้ากับความรู้และชำนาญทางอุตสาหกรรมที่โดดเด่น สิ่งเหล่านี้ช่วยเสริมสมรรถนะการทำงานให้กับเครื่องจักร ประสิทธิภาพของผู้ผลิต และผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์นั้นโดยตรง (end user) ปัจจุบันบ๊อชเดินหน้าเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 (industry 4.0) ซึ่งเป็นยุคที่มนุษย์ เครื่องจักร และอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงถึงกัน แขนกลต่างๆ ที่นำมาแสดงในงานนิทรรศการแสดงให้เห็นว่า การควบคุมสายการผลิตต่างๆ สามารถทำได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่มุมใดของโลก โดยผ่านทางอินเทอร์เน็ต
การขับเคลื่อนด้วยอินเทอร์เน็ตนั้นแทรกซึมอยู่ในทุกวงการธุรกิจ บ๊อชจึงมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงเมืองทั้งเมืองเข้าด้วยกัน และได้นำยานยนต์ต่างๆ เข้าสู่ระบบออนไลน์ ช่วยให้สามารถควบคุมระบบการทำความร้อนได้ด้วยแอพพลิเคชั่น และรวบรวมกลุ่มซัพพลายเออร์ให้เข้ามาอยู่ในซัพพลายเชน นอกจากนี้ ยังได้คิดค้นเตาไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ภายในบ้านที่สามารถเชื่อมต่อกันผ่านอินเทอร์เน็ต ในงานนี้ แผนกอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนของบ๊อชยังได้แสดงผลงานเทคโนโลยีอุปกรณ์ตรวจจับ (sensor technology) ที่ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าหลากหลายในชีวิตประจำวันด้วย ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีอันล้ำสมัยช่วยให้เครื่องดูดฝุ่นรุ่นล่าสุดของบ๊อชสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพบนพื้นทุกประเภท หรือเตารีดที่ควบคุมการเปิด / ปิดด้วยระบบสัมผัสช่วยให้การใช้พลังงานเป็นไปอย่างคุ้มค่าที่สุด
ส่วนแผนกเครื่องมือไฟฟ้า ได้เปิดศักราชใหม่ของ ‘ระบบชาร์จแบตแบบไร้สาย’ ขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ด้วยระบบการชาร์จระบบไฟฟ้าเหนี่ยวนำ (inductive charging) แบบไร้สาย ที่ช่วยประหยัดเวลาให้กับผู้ใช้ โดยสามารถชาร์จแบตเตอรีในระหว่างเปิดเครื่องทำงานได้ และอีกนวัตกรรมเด็ดอีกอย่างของบ๊อชก็คือ อุปกรณ์เครื่องวัดเลเซอร์ที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบดิจิตอลอื่นๆ ด้วยโซลูชั่นอัจฉริยะสามารถส่งข้อมูลและบันทึกผลการวัดต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย
ระบบรักษาความปลอดภัยของบ๊อชนั้น มีบทบาทสำคัญในยามที่อัตราการเกิดอาชญากรรมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมไปถึงเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เทคโนโลยีอันล้ำสมัยด้านระบบรักษาความปลอดภัยของบ๊อชช่วยให้สามารถบันทึกและจับภาพที่คมชัดอย่างยอดเยี่ยม ผ่านเครือข่ายกล้องวงจรปิดจอกว้างที่เชื่อมโยงถึงกัน สร้างความอุ่นใจให้กับชีวิตของผู้คนได้ดียิ่งขึ้น
“ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่สามารถเรียกดูข้อมูลได้ทางเว็บไซต์ (web-enabled product) และเข้าถึงผ่านบริการระบบอินเทอร์เน็ต จะเป็นทัพหน้าที่แข็งแกร่งของเราในการพัฒนาระบบขับเคลื่อนและการเชื่อมต่อกันผ่านอินเทอร์เน็ต (connectivity) เรายังคงมุ่งมั่นในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีเทคโนโลยีล้ำสมัย โซลูชั่นที่สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ รวมทั้งโซลูชั่นด้านซอฟต์แวร์ต่างๆ สำหรับระบบทำความร้อนอัจฉริยะ และระบบที่ใช้ในอาคาร ระบบที่รองรับการเชื่อมต่อกันระหว่างอุตสาหกรรม (connected industry) และระหว่างอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ (connected mobility)
บ๊อช ประเทศไทยจะไม่หยุดยั้งในการขับเคลื่อนด้านนวัตกรรมและการเชื่อมโยงถึงกัน ให้เกิดขึ้นในทุกๆ หน่วยงานภายในองค์กร และจะคงบทบาทการเป็นผู้นำการกำหนดทิศทางของเทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้ต่อไปในภายภาคหน้า” นายฮงกล่าวสรุป