เอคเซนเชอร์เผยรายงานส่งสัญญาณเตือนภาคธุรกิจในการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล

รายงานฉบับใหม่ของเอคเซนเชอร์ (ชื่อย่อในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ACN) เตือนองค์กรธุรกิจต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคว่าอาจมีความสุ่มเสี่ยง พร้อมแนะแนวทางสำคัญในการคุ้มครองข้อมูลผู้บริโภคให้เหมาะสม สร้างความเชื่อมั่น และขยายธุรกิจได้ในขณะเดียวกัน

รายงานเรื่อง “การป้องกันและเพิ่มมูลค่าข้อมูลส่วนบุคคล” (Guarding and Growing Personal Data Value) ยอมรับว่าข้อมูลส่วนบุคคลมีประโยชน์ในการสนับสนุนนวัตกรรมในการให้บริการลูกค้า การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และพัฒนาตลาดของธุรกิจ อย่างไรก็ดี การใช้ข้อมูลเหล่านี้ก็นับเป็นความท้าทาย เพราะกระแสในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ลูกค้า หน่วยงานกำกับ และหน่วยงานตรวจสอบ เป็นต้น ได้เปลี่ยนแปลงไป

“ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าถือเป็น “สมบัติล้ำค่า” สำหรับทุกธุรกิจ แต่ความสามารถขององค์กรในการจัดเก็บ วิเคราะห์ และทำรายได้จากสินทรัพย์นี้ในอนาคตอาจมีความสุ่มเสี่ยง เนื่องจากมุมมองเปลี่ยนไป ความต้องการเปลี่ยนไป กฎระเบียบเปลี่ยนไป รวมทั้งยังมีโอกาสที่จะถูกโจมตีระบบด้วย” นนทวัฒน์ พุ่มชูศรี กรรมการผู้จัดการ เอคเซนเชอร์ ประเทศไทย กล่าว “แต่เหนือสิ่งอื่นใด การบริหารจัดการ การรับผิดชอบ และป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลนั้น เป็นสิ่งสำคัญสูงสุดที่จะนำมาซึ่งความไว้วางใจด้านดิจิทัล หากไม่สามารถดูแลได้ อาจส่งผลต่อโมเดลการดำเนินของธุรกิจ หมายความว่าองค์กรธุรกิจจำเป็นต้องจัดระบบรองรับ และสามารถคุ้มครองข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับความไว้วางใจให้เข้าถึง”

รายงานฉบับนี้ใช้ข้อมูลวิจัยที่จัดทำโดย เอคเซนเชอร์ อินสทิทิวต์ ออฟ ไฮ เพอร์ฟอร์มมานซ์ ซึ่งได้รวบรวมความคิดเห็นของนักธุรกิจทั่วโลกเกือบ 600 คน จาก 8 กลุ่มอุตสาหกรรม สัมภาษณ์นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญในสาขา และค้นคว้าแหล่งข้อมูลทุติยภูมิต่าง ๆ ผลปรากฏว่า เกือบร้อยละ 90 ของผู้ตอบกล่าวว่า ความสามารถในการให้บริการและดูแลข้อมูลดิจิทัลเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการเสริมสร้างชื่อเสียงทางธุรกิจ รวมทั้งการบริหารข้อมูลส่วนบุคคลอย่างรับผิดชอบ ทั้งนี้ ร้อยละ 74 ของผู้ตอบแบบสำรวจเปิดเผยว่า องค์กรของพวกเขาก็กำลังปฏิบัติตามแนวทางนี้เช่นกัน

รายงานฉบับนี้ระบุถึงแนวโน้มต่าง ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อภาพรวมของธุรกิจที่ใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งมีประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้:

  • วิกฤตด้านความไว้วางใจในความปลอดภัยของข้อมูล: ลูกค้าจะไม่ทำธุรกิจกับบริษัทที่ไม่น่าไว้วางใจในการจัดการข้อมูล หรือไม่มีความปลอดภัยในการรักษาข้อมูล
  • ลูกค้าแสดงให้เห็นว่าพวกเขากังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว: ปฏิกิริยาของลูกค้าในการปกป้องข้อมูลของตนอาจเป็นปัจจัยบ่งชี้ว่า องค์กรจะสามารถใช้ข้อมูลส่วนบุคคลได้มากแค่ไหน และในระดับไหน
  • ลูกค้าเรียกร้องการแบ่งปันด้านข้อมูลมากขึ้น: เกือบร้อยละ 60 ของผู้ตอบที่มาจากธุรกิจการผลิตและแบรนด์สินค้าต่าง ๆ ระบุว่า ลูกค้าแปรข้อมูลให้เป็นมูลค่ากันมากขึ้น เช่น โดยการขายข้อมูลให้แก่บริษัทตัวกลาง เป็นต้น
  • เทคโนโลยีใหม่ ๆ และกิจการสตาร์ตอัพ ช่วยให้ผู้คนออกมาจากเครือข่ายสาธารณะได้ (Go “off grid”): การเติบโตของกิจการในยุคที่มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ ช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพข้อมูลลูกค้าที่องค์กรจะได้รับ
  • กฎระเบียบทำให้เกณฑ์การเก็บข้อมูลเปลี่ยนไป: รัฐบาลมีมาตรการเพิ่มขึ้น เพื่อให้สอดรับกับความกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล
  • หน่วยงานเฝ้าระวังยกระดับการตรวจสอบแนวปฏิบัติในการใช้ข้อมูลมากขึ้น: กลุ่มเครือข่ายเช่น  Fair Data จากอังกฤษ และ Electronic Frontier Foundation จากสหรัฐฯ มีการเพ่งเล็งตรวจสอบแนวทางการการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลโดยธุรกิจต่าง ๆ มากขึ้น

“แทนที่องค์กรธุรกิจจะไปต้านกระแสเหล่านี้ กลับควรใช้มาตรการเชิงรุกที่จะช่วยปรับตัวให้รองรับสถานการณ์ในอนาคตข้างหน้า” นนทวัฒน์กล่าวเสริม “มาตรการที่ว่านี้รวมถึงการลงทุนในทาเลนต์และเทคโนโลยีที่จะเสริมสร้างสมรรถนะการปกป้องข้อมูลให้ดีขึ้น ปรับโมเดลการปฏิบัติการใหม่โดยเน้นการจัดการความเสี่ยงเป็นหลัก เพื่อให้สามารถคาดการณ์ ตรวจจับ ตอบสนอง และฟื้นฟูสถานการณ์การคุกคามด้านความปลอดภัย รวมทั้งให้สามารถดำเนินการตามแนวทางที่จะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นด้านดิจิทัลในประเด็นต่าง ๆ ได้”

5 แนวทางที่รายงานฉบับนี้แนะนำ ได้แก่:

  • ผู้พิทักษ์ด้านดิจิทัล (Digital stewardship)ทำให้คนมั่นใจได้ว่าการบริหารข้อมูลส่วนบุคคลจะเป็นไปตามที่ผู้ให้ข้อมูลคาดหวัง โดยองค์กรควรแสดงให้เห็นว่า ความสามารถในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลจะช่วยให้องค์กรมีความแตกต่างจากคู่แข่ง ตัวอย่างเช่น บริษัท ดอยช์ เทเลคอม (Deutsche Telekom) นั้นจับมือกับ Web.de, T-Online และ GMX ซึ่งเป็นผู้ให้บริการอีเมล เพื่อเปิดตัวบริการอีเมลที่ปลอดภัยสำหรับลูกค้า โดยมีการเก็บข้อมูลผู้ใช้ไว้ในเยอรมนี ซึ่งสอดรับกับความวิตกกังวลเรื่องการสอดแนมอีเมลจากบุคคลหรือหน่วยงานภายนอก บริการได้รับการตอบรับดีเยี่ยม มีจำนวนผู้ใช้รายใหม่เพิ่มขึ้นถึงหกหลักในช่วงที่มีกรณีการเปิดเผยข้อมูลของเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดนในปี 2013
  • ความโปร่งใสด้านดิจิทัล (Digital transparency)แสดงให้เห็นว่าองค์กรเปิดกว้างในด้านการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล  ธุรกิจแสดงความโปร่งใสได้โดยทำให้ลูกค้าและบุคคลทั่วไปเห็นว่า มีการใช้และจัดเก็บข้อมูลอย่างไร ตัวอย่างเช่น Nectar ซึ่งเป็นโครงการ loyalty program สำหรับลูกค้า 18 ล้านคนนั้น เปิดให้ลูกค้าเห็นว่ามีการรวบรวมและใช้ข้อมูลอย่างไรบ้าง นับเป็นตัวอย่างอันโดดเด่นด้านความโปร่งใสที่รัฐบาลอังกฤษหยิบยกขึ้นมา
  • การให้อำนาจด้านดิจิทัล (Digital empowerment)ให้อำนาจลูกค้าควบคุมข้อมูลของตนเองมากขึ้น โดยการใช้สองแนวทางแห่งการให้อำนาจ ได้แก่ ให้ลูกค้าสามารถอัพเดทข้อมูลของตนที่เก็บไว้ได้ และใช้ระบบอนาลิติกส์ช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจได้ดีขึ้น ช่วยเสริมสร้างความพึงพอใจของลูกค้าและเปิดโอกาสให้มีช่องทางรายได้ใหม่ ๆ เข้ามาด้วย
  • มูลค่าทางดิจิทัล (Digital equity)ทำให้ลูกค้าเข้าใจและเพิ่มพูนประโยชน์ให้แก่ลูกค้าตามศักยภาพ เพื่อตอบแทนการให้ข้อมูลของลูกค้า บริษัทสามารถเพิ่มมูลค่าทางดิจิทัลได้โดยให้มูลค่าที่เป็นตัวเงินมากขึ้นหรือให้บริการตอบแทนลูกค้ามากขึ้น สำหรับข้อมูลของลูกค้าที่ได้รับ ตัวอย่างเช่น Kreditech กิจการสตาร์ตอัพของเยอรมันที่ประเมินข้อมูลเครดิต และได้ให้สินเชื่อไปกว่า 1.5 ล้านสินเชื่อก้อนย่อย ๆ นับตั้งแต่เปิดตัวเมื่อปี 2012 โดยอ้างอิงจากข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้จากเครือข่ายสังคมหรือบัญชีอีคอมเมิร์ซ
  • การมีส่วนร่วมด้านดิจิทัล (Digital inclusion): การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในการเสริมผลบวกต่อสังคมให้ทวีคูณยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม ข้อมูลส่วนบุคคลนั้น หากมีการแบ่งปันในระดับที่เหมาะสม จะสามารถสร้างคุณค่าให้แก่สังคมได้ เช่นในปี 2013 ที่บริษัทออเรนจ์ซึ่งเป็นกิจการโทรคมนาคมของฝรั่งเศส ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานมันสมองของโกตดิวัวร์ในการวางแผนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยใช้ข้อมูลโทรศัพท์มือถือ ซึ่งแม้ว่าโครงการนี้จะถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการพัฒนาเมืองให้สอดคล้องกับความต้องการทางเศรษฐกิจ แต่ก็ทำให้ออเรนจ์สามารถปรับการดำเนินงานให้สอดคล้องกับโกตดิวัวร์ได้

รายงานฉบับนี้วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จาก (1) การสำรวจความคิดเห็นออนไลน์ของกลุ่มนักธุรกิจ 578 คนใน 7 ประเทศ ได้แก่ บราซิล จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย อังกฤษ และสหรัฐฯ ซึ่งมาจาก 8 กลุ่มอุตสาหกรรมด้วยกัน (2) การสัมภาษณ์นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญในอังกฤษ และ (3) การวิจัยข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งครอบคลุมถึงการทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยต่าง ๆ กรณีศึกษา และแนวปฏิบัติการเด่นของอุตสาหกรรมที่ผู้เชี่ยวชาญจากเอคเซนเชอร์ใช้เป็นมาตรฐาน การสำรวจออนไลน์นั้นจัดทำ Kadence International ในช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม ปี 2015 สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ดูได้ที่ www.accenture.com/digitalresponsibility.

ข้อมูลเกี่ยวกับเอคเซนเชอร์
เอคเซนเชอร์ เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์ ให้คำปรึกษาทางธุรกิจ ดิจิทัล การบริหารเทคโนโลยีและการปฏิบัติการชั้นนำของโลก และด้วยประสบการณ์ การทำงานอย่างลึกซึ้ง ผนวกกับศักยภาพที่สมบูรณ์แบบในกว่า 40 อุตสาหกรรมซึ่งครอบคลุมทุกสายงานของธุรกิจ พร้อมด้วยเครือข่ายการให้บริการที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำให้เอคเซนเชอร์สามารถร่วมมือกับลูกค้า เชื่อมต่อธุรกิจและเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ยกระดับองค์กรของลูกค้าให้เป็นองค์กรที่มีศักยภาพและสมรรถภาพสูง สามารถสร้างคุณค่าอันยั่งยืนแก่ผู้ถือหุ้นได้ ปัจจุบันเอคเซนเชอร์ มีพนักงานประมาณ 373,000 คนในกว่า 120 ประเทศ เอคเซนเชอร์มุ่งพัฒนานวัตกรรมที่ช่วยให้การใช้ชีวิตและการทำงานมีคุณภาพดีขึ้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.accenture.com

Latest

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

Windows Search ห่วย ใช้ Listary ช่วยคุณได้

คิดว่าหลายคนที่ใช้วินโดวส์เป็นหลัก น่าจะรู้สึกเหมือนผม คือรำคาญระบบค้นหา หรือช่อง search ของวินโดวส์ เพราะช้า แถมหาอะไรก็ไม่ค่อยเจอ ...

Newsletter

Don't miss

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

Windows Search ห่วย ใช้ Listary ช่วยคุณได้

คิดว่าหลายคนที่ใช้วินโดวส์เป็นหลัก น่าจะรู้สึกเหมือนผม คือรำคาญระบบค้นหา หรือช่อง search ของวินโดวส์ เพราะช้า แถมหาอะไรก็ไม่ค่อยเจอ ...

รวม 22 คีย์ลัด Windows Key ที่ทำให้ชีวิตง่ายขึ้นพันเปอร์เซ็นต์

ปุ่ม Windows Key หน้าตาแบบนี้ ไม่ได้มีไว้ใช้แค่เรียกเมนู Start ขึ้นมาเท่านั้นนะครับ แต่ตัวมันใช้เป็นคีย์ลัดสำหรับการการทำงานบนวินโดวส์ได้หลายอย่างมาก วันนี้ผมขอรวบรวมคีย์ลัดของปุ่มนี้...

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime monitoring สมัยนี้มีหลากหลายเจ้า ปกติจะเก็บค่าบริการกันแบบ subscription รายเดือน แต่ถ้าใครไม่อยากจ่ายตังค์ วันนี้ผมมีโซลูชั่น สำหรับใครที่มีการใช้งาน NAS อยู่แล้ว เราจะเอา NAS มาทำเป็น uptime monitoring...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ ใช้มาหลอกเรา ส่งข้อความมาทาง inbox แจ้งว่าเพจทำผิดกฎ หรือ ละเมิดกฎเฟซบุ๊ก ให้กดลิงค์ เพื่อยืนยันตัวตน ไม่งั้นจะบล็อกเพจถาวร พอเรากดลิงค์เข้าไป จะเจอกับหน้าเพจ (คล้าย) เฟซบุ๊ก ซึ่งมีฟอร์มให้เราใส่ข้อมูลต่างๆ รวมถึง ชื่อเพจ อีเมล...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here