ปี 2561 Kaspersky Lab บล็อกกว่า 30 ล้านภัยคุกคามออนไลน์ในประเทศไทย ช่วย 3 ใน 10 ของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในไทยไม่ให้ถูกคุกคาม

Kaspersky Lab เปิดตัว Kaspersky Security Bulletin ของปี2562ด้วยสถิติภาพรวมภัยคุกคามในประเทศไทยของปีที่แล้ว รายงานระบุว่าอินเทอร์เน็ตยังคงเป็นหนึ่งในแหล่งของภัยคุกคามทางไซเบอร์ในประเทศ บริษัทให้บริการป้องกันด้านความปลอดภัยด้านอินเทอร์เน็ตระดับโลกได้ควบคุมหรือตรวจจับภัยทางอินเทอร์เน็ตได้ถึง30,203,943ชนิดในประเทศไทย

รายงานจากข้อมูลของ Kaspersky Security Network (KSN)ระบุว่าเมื่อปี 2561 ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตของไทยกว่า 31.8%ได้ถูกโจมตีโดยภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนจากปี 2560ที่ Kaspersky Lab ได้ตรวจจับภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตได้เพียง12,696,011ชนิด และมีผู้ใช้ที่ได้รับการโจมตีเพียง 29.0%

มร.ซูกูรุ อิชิมารุ นักวิจัยด้านความปลอดภัยของ Kaspersky Lab ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่า การเพิ่มขึ้นของภัยคุกคามออนไลน์ในประเทศไทยล้อตามเทรนด์ทั่วโลก ด้วยอัตราการเติบโตโดยภาพรวมของการติดตั้งของแพคเกจภัยคุกคามที่เป็นอันตราย และโทรจัน ที่อันตรายต่อการทำธุรกรรมทางการเงินหรือธนาคารบนมือถือ 

หลาย ๆ ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังกลายเป็นประเทศติดอันดับท็อปเท็นในโลกที่มีอัตราการถูกโจมตีจากภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตสูง ตัวอย่างเช่น โทรจันของการทำธุรกรรมทางการเงินบนมือถือที่ชื่อว่า DanaBotได้ถูกตรวจจับเมื่อไตรมาสที่ 2 ปี 2561และยังเพิ่มขึ้นและพัฒนาขยายอย่างรวดเร็ว 

 “ปัจจุบันนี้ ประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 73 ของโลกที่จัดอันดับจากระดับอันตรายจากภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต ที่เราได้ตรวจจับจากผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ถึงแม้ว่าจะถือได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ปลอดภัยกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน แต่ทางเราก็ยังคงกระตุ้นให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศใช้การป้องกันความปลอดภัยจากภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต จากการที่เราได้ป้องกันกว่า 30 ล้านชนิด เมื่อปีที่แล้ว พิสูจน์ได้ว่าประเทศไทยยังคงเป็นเป้าหมายของการโจรกรรมทางไซเบอร์ ดังนั้นควรจะเสริมเกราะป้องกันและเปลี่ยนนิสัยการใช้งานอินเตอร์เน็ต อย่าตกเป็นเหยื่อโดยไม่รู้ตัว” มร. โย เซียง เทียง ผู้จัดการทั่วไป Kaspersky Labภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  

การโจมตีผ่านเบราเซอร์เป็นวิธีการหลักของการโจรกรรมที่เผยแพร่โปรแกรมที่อันตราย อาชญากรรมไซเบอร์ส่วนใหญ่จะหาช่องโหว่ของเบราเซอร์และปลั๊กอินด้วยการให้ดาวน์โหลด การติดไวรัสจะเกิดขึ้นเมื่อมีผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่มีไวรัสโดยที่ไม่มีการป้องกันหรือผู้ใช้ไม่มีความรู้มาก่อน

กลวิธีนี้ใช้โจมตีกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งมัลแวร์ที่ไม่มีไฟล์(File-less) จะอันตรายที่สุด มันจะตั้งรหัสที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้หรือWMI การสมัครรับข้อมูล ทำให้ไม่เหลือข้อมูลใด ๆ บนดิสก์เลย 

สินค้าของ Kaspersky Labที่ได้พัฒนาเพื่อต่อสู้กับภัยคุกคามต่างๆ ที่หลบซ่อนอยู่ ใช้องค์กระกอบในการตรวจจับที่เรียกว่า Behavior Detectionที่เป็นประโยชน์จากต้นแบบ ML-basedและการตรวจสอบพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่าง ๆ ถึงแม้ว่าไม่ทราบรหัสก็ตาม อีกหนึ่งเทคโนโลยีสำคัญที่พัฒนาโดย Kaspersky Labก็คือ Exploit Prevention ที่จะเปิดเผยและบล็อกมัลแวร์ในทันทีเมื่อเจอมัลแวร์ที่อาศัยช่องโหว่ของซอฟต์แวร์

การโจมตีทางออนไลน์อีกรูปแบบหนึ่ง เป็นแบบทั่วไปที่ต้องการให้ผู้ใช้มีส่วนร่วม นั่นคือ ผู้ใช้ต้องดาวน์โหลดไฟล์ที่เป็นอันตรายมาไว้ในคอมพิวเตอร์ จะเกิดขึ้นเมื่ออาชญากรไซเบอร์ทำให้เหยื่อเชื่อว่าพวกเขากำลังดาวน์โหลดโปรแกรมที่ถูกกฎหมายอยู่

เป้าหมายหลักของอาชญากรจะต้องทำให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดมัลแวร์อันตรายเหล่านั้น ซึ่งเป็นโปรแกรมหรือแอปที่เป็นตัวที่จะขโมยข้อมูลต่าง ๆ มัลแวร์นี้สามารถปลอมตัวเป็นแอปอะไรก็ได้ไม่ว่าจะเป็นเกมส์ที่กำลังนิยมหรือแอปที่ใช้ตรวจสภาพอากาศหรือการจราจร ซึ่งไม่ควรที่จะเปิดอีเมลที่น่าสงสัย เช่นการแข่งขันหรือข้อเสนอที่ไม่น่าจะเป็นไปได้

ข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์ จากทีมผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของ Kaspersky Labที่จะช่วยปกป้องเงินและข้อมูลของคุณเมื่อคุณออนไลน์ 

  • อย่าคิดไปเองว่าลิ้งค์จะปลอดภัย คุณควรจะพิมพ์URL ด้วยตัวเอง แทนที่จะคลิกจากลิ้งค์ อย่าเข้าชมเว็บไซต์ที่คลิกเข้าไปจากอีเมล ข้อความหรือจากโซเชียล เน็ตเวิร์ก ต่าง ๆ  ข้อความจากห้องแชท แบนเนอร์โฆษณาที่เป็นเว็บไซต์ที่น่าสงสัย ลิ้งค์ต่าง ๆ ที่ส่งมาจากคนที่คุณไม่รู้จัก 
  • ระวังการสื่อสารปลอม องค์กรส่วนใหญ่จะไม่ขอให้ลูกค้าส่งข้อมูลส่วนตัวทางอีเมล หรือต้องขออนุมัติในการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ขององค์กร และใส่ข้อมูลส่วนตัวในหน้าต่างpop-up 
  • ตรวจสอบ URL เมื่อคุณเข้าเว็บไซต์ที่จำเป็นต้องกรอกข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญ ให้ตรวจสอบดูที่อยู่URLว่าตรงกับเว็บไซต์ที่เราต้องการหรือตั้งใจเข้าไปหรือไม่ หากพบว่า URLทำขึ้นมาจากตัวอักษรและตัวเลขแบบสุ่ม หรือดูน่าสงสัย อย่าใส่ข้อมูลใด ๆ เด็ดขาด

  • ใช้การเข้ารหัส ต้องมั่นใจว่าเมื่อคุณจำเป็นต้องให้ข้อมูลส่วนตัวจะต้องทำการเข้ารหัสทุกครั้ง ต้องตรวจสอบ URLทุกครั้งให้ขึ้นต้นด้วย ‘https’นอกจากนี้ address bar และbrowser’s status barจะต้องแสดงสัญลักษณ์เล็ก ๆ ว่าล็อค 
  • ใช้คอมพิวเตอร์ของตัวเอง และเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตของตัวเอง หลีกเลี่ยงการใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะและสัญญาณไวไฟสาธารณะ เครื่องคอมพิมเตอร์สาธารณะอาจจะมีสปายแวร์อยู่จำนวนมาก ในสัญญาณไวไฟสาธารณะอาจมีความเสี่ยงในการถูกดักจับข้อมูลจากผู้ให้บริการเครือข่ายหรือจากอาชญากรไซเบอร์ และอาจถูกโจมตีด้วยไวรัสเครือข่าย
  • ใช้รหัสผ่านที่คาดเดายากบนอุปกรณ์และบัญชีออนไลน์ของคุณ ใช้รหัสผ่านความยาวตั้งแต่12 ตัวอักษรขึ้นไปในทุกที่ที่ทำได้ และใช้รหัสที่ต่างกัน ในแต่ละบริการหรือบัญชี
  • กำจัดช่องโหว่ — ในระบบปฏิบัติการและแอปพลิเคชันของคุณด้วยการอัพเดท เป็นการช่วยให้ลดช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการและแอปพลิเคชัน ที่จะทำให้ถูกโจมตีจากโปรแกรมที่เป็นอันตรายได้ 
  • ป้องกันอุปกรณ์ของคุณจากมัลแวร์และความเสี่ยงด้านความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต โซลูชั่นที่ป้องกันมัลแวร์สามารถป้องกันคุณจากไวรัสคอมพิวเตอร์ เวิร์ม โทรจันและไวรัสต่าง ๆ ในบางโซลูชั่นประกอบด้วยเทคโนโลยีพิเศษที่ให้ความปลอดภัยอีกระดับเมื่อคุณช้อปปิ้งออนไลน์และทำธุรกรรมทางธนาคาร 

Latest

ใช้ NAS ให้เป็น Google Photo server ด้วย immich

หลายคนชอบใช้ google photo ในการแบ็กอัพรูปจากมือถือ เพราะมีลูกเล่นให้ใช้เยอะแยะ แต่ติดที่ว่าเนื้อที่มักไม่เคยพอ และต้องจ่ายรายปี ต่ำๆ ก็ต้อง...

รัน Stable Diffusion เร็วขึ้น 10x ด้วย AMD GPU

ปกติแล้วตัว Stable Diffusion (ต่อไปขอเรียกสั้นๆ ว่า SD) สามารถติดตั้งและใช้งานได้เลยบน Nvidia GPU...

สร้างภาพ AI บนวินโดวส์ + การ์ดจอ AMD ด้วย Amuse AI

คนใช้การ์ดจอ AMD จะมีความเป็นลูกเมียน้อยอยู่นิดนึง เพราะโปรแกรมและโมเดลสร้างภาพส่วนใหญ่ จะออกแบบมาให้ใช้กับ CUDA ของ Nvidia เป็นหลัก แต่ต่อไปนี้คนใช้...

ใช้ windows 11 อย่างเซียน ด้วย PowerToys (ฟรี)

PowerToys เป็นชุดเครื่องมือฟรีจาก Microsoft ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้ Windows โดยเฉพาะ Windows 11 ซึ่ง...

Newsletter

Don't miss

ใช้ NAS ให้เป็น Google Photo server ด้วย immich

หลายคนชอบใช้ google photo ในการแบ็กอัพรูปจากมือถือ เพราะมีลูกเล่นให้ใช้เยอะแยะ แต่ติดที่ว่าเนื้อที่มักไม่เคยพอ และต้องจ่ายรายปี ต่ำๆ ก็ต้อง...

รัน Stable Diffusion เร็วขึ้น 10x ด้วย AMD GPU

ปกติแล้วตัว Stable Diffusion (ต่อไปขอเรียกสั้นๆ ว่า SD) สามารถติดตั้งและใช้งานได้เลยบน Nvidia GPU...

สร้างภาพ AI บนวินโดวส์ + การ์ดจอ AMD ด้วย Amuse AI

คนใช้การ์ดจอ AMD จะมีความเป็นลูกเมียน้อยอยู่นิดนึง เพราะโปรแกรมและโมเดลสร้างภาพส่วนใหญ่ จะออกแบบมาให้ใช้กับ CUDA ของ Nvidia เป็นหลัก แต่ต่อไปนี้คนใช้...

ใช้ windows 11 อย่างเซียน ด้วย PowerToys (ฟรี)

PowerToys เป็นชุดเครื่องมือฟรีจาก Microsoft ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้ Windows โดยเฉพาะ Windows 11 ซึ่ง...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

ใช้ NAS ให้เป็น Google Photo server ด้วย immich

หลายคนชอบใช้ google photo ในการแบ็กอัพรูปจากมือถือ เพราะมีลูกเล่นให้ใช้เยอะแยะ แต่ติดที่ว่าเนื้อที่มักไม่เคยพอ และต้องจ่ายรายปี ต่ำๆ ก็ต้อง 7-8 ร้อยกว่าบาทต่อปีเลยทีเดียว แต่ถ้าหากคุณมีเครื่อง NAS อยู่ที่บ้าน ผมจะมาบอกข่าวดีว่า เราสามารถทำให้ NAS แบ็กอัพรูปถ่ายจากมือถือเป็นเหมือน google photo ได้ด้วยแอพที่ชื่อว่า immich immich มีความสามารถใกล้เคียงกับ google photo...

รัน Stable Diffusion เร็วขึ้น 10x ด้วย AMD GPU

ปกติแล้วตัว Stable Diffusion (ต่อไปขอเรียกสั้นๆ ว่า SD) สามารถติดตั้งและใช้งานได้เลยบน Nvidia GPU โดยไม่ต้องปรับแต่งอะไรทั้งสิ้น แต่พอเป็นเครื่อง AMD GPU ตัว SD จะรันไม่ได้ ต้องไปรันบน CPU แทน ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าประสิทธิภาพสู้รันบน GPU ไม่ได้เลย บล็อกนี้เลยจะมาแสดงวิธีการติดตั้งและรัน SD บนเครื่องที่ใช้การ์ดจอ...

สร้างภาพ AI บนวินโดวส์ + การ์ดจอ AMD ด้วย Amuse AI

คนใช้การ์ดจอ AMD จะมีความเป็นลูกเมียน้อยอยู่นิดนึง เพราะโปรแกรมและโมเดลสร้างภาพส่วนใหญ่ จะออกแบบมาให้ใช้กับ CUDA ของ Nvidia เป็นหลัก แต่ต่อไปนี้คนใช้ AMD ไม่ต้องน้อยใจอีกต่อไป เพราะ Amuse AI คือโปรแกรมที่ออกแบบมาให้ใช้กับแพลตฟอร์มของ AMD โดยเฉพาะครับ สำหรับการ์ดจอนั้น ทาง Amuse AI แนะนำให้ใช้รุ่น RX 7000 ที่มี...

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here