วันนี้คือวันสุดท้ายแล้วนะครับ ที่ไมโครซอฟท์จะหยุดให้การสนับสนุนทุกๆ ด้านสำหรับผลิตภัณฑ์ที่อยู่มานานอย่างวินโดวส์ XP ที่มีอายุปาเข้าไป 13 ปีแล้ว มีอะไรที่เราควรรู้บ้างสำหรับเหตุการณ์นี้
โดยทั่วไปแล้วระบบคอมพิวเตอร์ที่ดีต้องมีระบบป้องกันไวรัส 2 ส่วนที่สำคัญติดตั้งอยู่ในคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง นั่นคือโปรแกรมแอนตี้ไวรัสและแพทช์อัพเดต โปรแกรมแอนตี้ไวรัสนั้นหลายคนน่าจะรู้จักกันดีอยู่แล้ว อีกทั้งในตลาดก็มีมากมายหลายยี่ห้อให้เลือกใช้ หากเปรียบคอมพิวเตอร์เป็นเมือง โปรแกรมแอนตี้ไวรัสก็เปรียบได้กับทหารที่คอยตรวจตรา ป้องกัน และกำจัดผู้บุกรุก แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าทหารก็คือกำแพงเมือง หากกำแพงเมืองไม่แข็งแกร่งเพียงพอ ต่อให้มีทหารจำนวนมากเท่าใด ก็ไม่อาจรับประกันได้ว่าเมืองจะไม่ถูกบุกรุก และแพทช์อัพเดตก็เปรียบเสมือนกำแพงเมืองนั่นเองครับ
ที่ผ่านมา วินโดวส์เอ็กซ์พีคอยเสริมสร้่างความแข็งแกร่งและอุดช่องโหว่ของกำแพง เมืองอย่างสม่ำเสมอ ด้วยแพทช์อัพเดตที่ปล่อยออกมาเป็นระยะๆ นั่นทำให้วินโดวส์เอ็กซ์พีสามารถรับมือกับไวรัสและแฮกเกอร์ได้ดี มีความเสถียรในการทำงานสูง พิสูจน์ได้จากความนิยมในการใช้งานวินโดวส์เอ็กซ์พีที่มีจำนวนมากทั้งผู้ใช้ ตามบ้าน บริษัท และองค์กร
แต่จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าวินโดวส์เอ็กซ์พีจะหยุดอัพเดตแพทช์ ไม่มีการอุดรอยโหว่ ไม่มีการสร้างความแข็งแกร่งของกำแพงเพื่อป้องกันผู้บุกรุกอีกต่อไป! อย่าลืมว่าความนิยมในตัววินโดวส์เอ็กซ์พีนั้นได้นำพาให้ตัวเองกลายเป็นเป้า หมายหลักของไวรัสและแฮกเกอร์ที่จ้องจะบุกรุกเพื่อขโมยข้อมูล ทำลายระบบ และความประสงค์ร้ายอื่นๆ อีกมากมายที่แน่นอนว่าระบบวินโดวส์เอ็กซ์พีต้องเกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก
ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้วินโดวส์เอ็กซ์พี หลังวันที่ 8 เมษายน 2557
หลายๆ บริษัทและหลายๆ องค์กรทราบข่าวเรื่องของวินโดวส์เอ็กซ์พีจะไม่ได้รับการสนับสนุน (End of Support) อีกต่อไป หลังจากวันที่ 8 เมษายน 2557 กันบ้างแล้วเป็นระยะเวลาหนึ่ง เนื่องจากทางไมโครซอฟท์เองได้ประชาสัมพันธ์ออกไปเป็นระยะๆ รวมถึงการแจ้งข่าวไปกับบริษัทที่ปรึกษาและวางระบบ (SI) ให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดีหลายๆ บริษัทก็ยังไม่สามารถตัดสินใจได้ว่า ควรจะปรับเปลี่ยนและอัพเกรดระบบคอมพิวเตอร์ไปใช้ระบบปฏิบัติการที่ใหม่กว่า อย่างวินโดวส์ 8 ดีหรือไม่ เนื่องจากกังวลเรื่องของต้นทุนที่เพิ่มขึ้น , ปัญหาความเข้ากันได้กับแอพปัจจุบันที่องค์กรใช้อยู่ รวมถึงกระบวนการไมเกรตที่ไม่แน่ใจว่าต้องใช้ระยะเวลานานเพียงใด ฯลฯ ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ทำให้บริษัทต่างๆ เกิดความลังเล และบางครั้งอาจก่อให้เกิดความคิดที่ว่า “ใช้ได้ ก็ใช้ไปก่อน” ซึ่งเป็นความคิดที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ และอาจนำความเสียหายมาสู่บริษัทและองค์กร ซึ่งคิดเป็นมูลค่าสูงกว่าการตัดสินใจอัพเกรดระบบหลายเท่านัก
[pull_quote_right] บทความนี้จะชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงและความเสียหาย ที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนหากบริษัทและองค์กรนั้นๆ ยังคงใช้วินโดวส์เอ็กซ์พีต่อไป หลังจากวันที่ 8 เมษายน 2557 โดยไม่ได้รับการสนับสนุนใดๆ จากไมโครซอฟท์[/pull_quote_right]
1. ความเสี่ยงที่ระบบคอมพิวเตอร์ล่มและให้บริการลูกค้าไม่ได้จะสูงขึ้น
วินโดวส์ เอ็กซ์พีหลังวันที่ 8 เมษายน 2557 จะไม่ได้รับทั้งแพท์แก้ไข และ การแก้ปัญหาทางเทคนิคอีกต่อไป ดังนั้นความเสี่ยงที่ระบบจะถูกโจมตีย่อมสูงขึ้น โอกาสที่ระบบคอมพิวเตอร์ของบริษัทจะถูกแฮก ไวรัส หรือมัลแวร์ (Malware หรือ Malicious Software คือซอฟต์แวร์อันตราย ที่สามารถสร้างความเสียหายให้กับคอมพิวเตอร์ได้ เช่น ทำให้ระบบทำงานบกพร่อง หรือ ขโมยข้อมูล เป็นต้น ผู้ใช้มักเต็มใจติดตั้งซอฟต์แวร์ประเภทนี้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ที่พบบ่อยเช่น ทูลบาร์ต่างๆ นั่นเอง) สร้างความเสียหายจนหยุดให้บริการย่อมมีความเป็นไปได้สูง
- ความ เสี่ยงจากการติดไวรัส/มัลแวร์ เมื่อวินโดวส์เอ็กซ์พีไม่ได้รับการติดตั้งแพทช์อัพเดตช่องโหว่ใดๆ เพิ่มเติมอีก หลังวันที่ 8 เมษายน 2557 ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเท่าตัวทันที โดยเฉพาะความเสี่ยงที่อาจติดไวรัส/มัลแวร์ที่อาศัยช่องโหว่ของวินโดวส์ เอ็กซ์พีและอินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์ (IE) เป็นเครื่องมือในการแฝงตัวเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ภายใน ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากความเสี่ยงนี้ มีทั้งเรื่องน่ารำคาญอย่างการทำให้ประสิทธิภาพเครื่องลดลง รวมไปถึงความเสียหายที่มากขึ้นอย่างเช่น ข้อมูลหายหรือรั่วไหล เป็นต้น
- ความเสี่ยงจากการถูกแฮ็กข้อมูล ช่องโหว่ที่เกิดขึ้นในระบบวินโดวส์เอ็กซ์พีที่ไม่ได้รับการแพทช์อัพเดตอีก ยังช่วยให้แฮกเกอร์มีโอกาสที่จะเข้ามาแฮ็กข้อมูลในระบบได้ง่ายขึ้น และเนื่องจากวินโดวส์เอ็กซ์พีเองนั้นเกิดขึ้นมานานและมีผู้นิยมใช้จำนวนมาก แฮ็กเกอร์ในยุคของวินโดวส์เอ็กซ์พีนี้ก็เลยมีจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย แฮ็กเกอร์มือใหม่ที่เริ่มจากการเจาะระบบวินโดวส์เอ็กซ์พีจนกลายมาเป็นมือ อาชีพในปัจจุบันก็มีจำนวนไม่น้อย นี่เป็นเหตุผลที่วินโดวส์เอ็กซ์พีไม่มีความปลอดภัยเลย และมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะถูกเจาะระบได้อย่างง่ายดาย หลังจากหมดอายุลงในวันที่ 8 เมษายน 2557
- ความเสี่ยงที่ระบบคอมพิวเตอร์ล่มและหยุดให้บริการ หลังจากที่ถูกโจมตีอย่างหนัก ก็มีความเป็นไปได้สูงที่ระบบการให้บริการของบริษัทที่รันอยู่บนวินโดวส์ เอ็กซ์พีจะถูกทำให้ล่มด้วยวิธีการต่างๆ นาๆ และยิ่งหากบริษัทนั้นๆ ไม่ได้มีไซต์สำรองหรือเตรียมแผนรับมือกับวิกฤติครั้งนี้ไว้ล่วงหน้าอย่าง รอบคอบด้วยแล้ว ความเสียหายที่เกิดขึ้นส่งผลให้ระบบการให้บริการออนไลน์ต้องหยุดชะงักและล่ม จนกู้กลับได้ยากนั้น อาจมีมูลค่าสูงอย่างที่นึกไม่ถึง ทั้งที่เป็นวัดเป็นตัวเงินได้และที่ไม่สามารถวัดได้อย่างภาพลักษณ์ของบริษัท เป็นต้น
2. สิ้นสุดการอัพเดตสำหรับวินโดวส์เอ็กซ์พี
การ ที่วินโดวส์เอ็กซ์พีไม่ได้รับการสนับสนุน นั่นหมายความว่า คุณสมบัติที่สำคัญอย่าง Windows Update ก็จะหยุดให้บริการสำหรับวินโดวส์เอ็กซ์พีไปด้วย Windows Update นั้นสำคัญอย่างไร? แพทช์แก้ไขปัญหาต่างๆ ที่หลายๆ บริษัทใช้อุดช่องโหว่ที่เกิดขึ้นกับเครื่องในการทำงาน ไม่ใช่แค่ระบบวินโดวส์แต่รวมไปถึงบราวเซอร์ IE ที่หลายๆ บริษัทนิยมใช้ ก็จะไม่ถูกอัพเดตจากแพทช์แก้ไข เมื่อไม่ได้รับการอัพเดตแก้ไขจากแพทช์ของไมโครซอฟท์ นั่นหมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ภายในบริษัทหรือองค์กรจะเกิดความเสี่ยงขึ้นทันทีจากการถูกแฮ ก ไวรัสและมัลแวร์
3. หยุดการสนับสนุนและให้บริการ
หลัง วันที่ 8 เมษายน 2557 ฝ่ายบริการทางเทคนิคและคอลล์เซนเตอร์ของไมโครซอฟท์ จะไม่ให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาสำหรับวินโดวส์เอ็กซ์พีอีกต่อไป
อยากรู้ว่าต้องแก้ไขอย่างไร คลิกหน้า 2 เพื่ออ่านวิธีแก้ไขและป้องกันเลยครับ