ผู้บริโภคควรพึงระวัง! ครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคจากประเทศไทยที่ตอบแบบสอบถามเคยพบเจอดาวน์โหลดแอพฯปลอมหรือแอพฯที่มีความเสี่ยงบนอุปกรณ์พกพา จากผลการสำรวจทางออนไลน์ล่าสุดของบริษัทเทรนด์ไมโครผู้นำระดับโลกในการพัฒนาโซลูชั่นซอฟต์แวร์ด้านการรักษาความปลอดภัย กล่าวว่าเพื่อช่วยให้การต่อสู้กับโมบายแอพฯที่อันตรายและโมบายแอพฯ ที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศที่ชื่นชอบการเล่นเกมอย่างเช่นประเทศไทย เทรนด์ไมโครจึงได้ร่วมมือกับนักพัฒนาโมบายเกมทั่วเอเชีย จัดตั้ง “กลุ่มพันธมิตรเกมที่ปลอดภัย” หรือ Safe Gaming Allianceการประกาศความร่วมมือในครั้งนี้แสดงถึงแผนการของ เทรนด์ไมโครในการมุ่งเน้นอุตสาหกรรมเกมมือถือ ต่อยอดจากประสบการณ์เชิงลึกของบริษัทฯ ในด้านระบบโมบายและโซเชียลเน็ตเวิร์ก
ภายใต้ความมุ่งมั่นดังกล่าว เทรนด์ไมโครได้เปิดตัว“Dr. Safety” ซึ่งเป็นโมบายแอพฯสำหรับการรักษาความปลอดภัยอย่างเหนือชั้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยร่วมมือกับนักพัฒนาเกม เพื่อสร้างโลกแห่งโมบายเกมที่ปลอดภัยมากขึ้น แอพฯดังกล่าวเปิดตัวเป็นครั้งแรกที่ไต้หวัน และขณะนี้พร้อมใช้งานในประเทศอื่นๆ ในเอเชีย-แปซิฟิกแล้วแอพฯนี้ประกอบด้วยเทคโนโลยีเกมที่ปลอดภัย 6 เทคโนโลยี รวมถึงฟีเจอร์แนะนำเกมที่ผ่านการรับรองด้านความปลอดภัย ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคสำหรับการดาวน์โหลดแอพฯเกมที่ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อประสบการณ์การเล่นเกมโมบายที่ดีที่สุด
นักพัฒนาโมบายเกมที่เข้าร่วมกลุ่ม Safe Gaming Alliance ได้แก่ Monkey Wrench Games และPigsss Games จากประเทศไทย รวมถึงนักพัฒนาจากทั่วภูมิภาค เช่น AppXplore, CreatioSoft, FunPlus, Games Solution Centre ของสิงคโปร์, Gamiana, Gumi Asia, Softstar Entertainment และTuttifrutti Interactive
“ด้วยอัตราการเติบโตของผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือและสมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในเมืองไทยจึงมีการใช้งานการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการโจมตีทางไซเบอร์เพิ่มมากขึ้น แอพฯเกมมือถือเป็นเซ็คเตอร์หนึ่งที่มียอดใช้จ่ายสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้นอาชญากรไซเบอร์จึงมีแนวโน้มที่จะหาหนทางสร้างรายได้จากเซ็คเตอร์นี้ ด้วยการทำงานร่วมกับพันธมิตรในระดับท้องถิ่น เช่น Monkey Wrench Games และ Pigsss GAMES เราจึงสามารถนำเสนอแพลตฟอร์มที่ปลอดภัยและน่าเชื่อถือสำหรับผู้บริโภคชาวไทย เพื่อป้องกันการดาวน์โหลดแอพฯเกมมือถือที่ปลอมแปลงหรือมีความเสี่ยง ซึ่งมาพร้อมกับคอนเทนต์อันตราย” มร. เทอเรนซ์ ตัง ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายธุรกิจคอนซูเมอร์ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกของเทรนด์ไมโคร
เดวิท อึ้ง ประธานฝ่ายบริหารของ Gumi Asia กล่าวว่า “สำหรับ Gumi Asia เราเชื่อว่าไม่เพียงแต่การสร้างเกมมือถือให้ผู้เล่นชื่นชอบเท่านั้น แต่ความปลอดภัยในเกมมือถือที่เล่นนั้นก็เป็นสิ่งจำเป็นที่พวกเขาต้องการ เรามีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มพันธมิตรเกมที่ปลอดภัย Safe Gaming Alliance และเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามอย่างต่อเนื่องไปสู่เกมที่มีรูปแบบที่ปลอดภัยสำหรับผู้เล่นเกมมือถือ”
สถานการณ์ของโมบายเกมในไทย และแนวโน้มในอนาคต
ในเอเชีย เทคโนโลยีโมบายและโซเชียลเน็ตเวิร์คหลอมรวมเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน จึงคาดว่าอุตสาหกรรมเกมจะเติบโตอย่างรวดเร็วในภูมิภาคนี้ รายงานจาก Newzoo บริษัทวิจัยสัญชาติดัทช์ ระบุว่ารายได้จากเกมมือถือจะเติบโตในอัตรา 27.3 เปอร์เซ็นต์ต่อปีจนถึงปี 2559 นอกจากนี้ รายงานดังกล่าวยังระบุว่าภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดสำหรับเกมมือถือ ด้วยส่วนแบ่ง 48 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ทั่วโลก
นอกจากนั้น ผลโพลล์ออนไลน์ล่าสุดของเทรนด์ไมโคร ซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 2,000 คนจากสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย และฟิลิปปินส์ ยืนยันว่า ผู้บริโภคในเอเชียมีความต้องการเล่นเกมมือถือเป็นอย่างมากในเวลาที่ยาวนาน ดังนั้นผู้บริโภคจึงมีความเสี่ยงต่อภัยคุกคามบนระบบโมบาย ข้อมูลสำคัญที่ได้รับจากผลโพลล์ออนไลน์มีดังนี้:
- ประเทศไทยครองอันดับ 3 ด้านการดาวน์โหลดแอพฯ เกมส์มือถือ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่ตอบแบบสอบถาม – 81% ของผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทยเล่นเกมมือถืออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ขณะที่ 53% เล่นเกมมือถือทุกวัน ในส่วนของการดาวน์โหลดแอพฯเกมมือถือ ผู้บริโภค 40% ดาวน์โหลดแอพฯเกมทุกสัปดาห์ ขณะที่ 27 % ดาวน์โหลดเกมทุกเดือน
- ประเทศไทยมีการใช้จ่ายสำหรับแอพฯเกมมือถือสูงสุด เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่ตอบแบบสอบถาม – 63 % ของผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยยินดีที่จะจ่ายเงินมากกว่า 10 ดอลลาร์ (320 บาท) เพื่อซื้อเกมมือถือหนึ่งเกม จึงนับเป็นประเทศที่มียอดใช้จ่ายบนเกมมือถือมากที่สุด
- โดยเฉลี่ยแล้ว พ่อแม่น้อยกว่าครึ่งที่ตอบแบบสอบถามมีส่วนร่วมในไลฟ์สไตล์การใช้โมบายของลูก – มีผู้ตอบแบบสอบถามจากประเทศไทยเพียงแค่ 44 %เท่านั้นที่รับรู้ว่าลูกของตัวเองเล่นเกมอะไรบนอุปกรณ์พกพา และมีผู้ตอบแบบสอบถามเพียง 30 %ที่เล่นเกมมือถือกับสมาชิกครอบครัวและเพื่อนฝูง
- ผู้ตอบแบบสอบถามจากประเทศไทยมากกว่าครึ่งหนึ่งเสี่ยงต่อภัยคุกคามบนมือถือ– มีผู้ตอบแบบสอบถามจากประเทศไทยเพียงแค่ 43%ที่ติดตั้งแอพฯรักษาความปลอดภัยหรือแอพฯป้องกันไวรัสบนโทรศัพท์มือถือ เมื่อถามว่าผู้ใช้เคยพบเจอหรือดาวน์โหลดแอพฯปลอมหรือแอพที่มีความเสี่ยงหรือไม่ ปรากฏว่า 50 %ระบุว่าเคย ขณะที่ 25 % ระบุว่าไม่เคย และอีก25 %ไม่รู้ว่าตนเองเคยดาวน์โหลดแอพฯปลอมหรือไม่
- ผู้บริโภคส่วนใหญ่ในประเทศไทยไม่ได้ตรวจสอบว่าแอพฯเป็นของแท้หรือไม่ – มีเพียง 16%ของผู้ตอบแบบสอบถามจากประเทศไทยที่ตรวจสอบแอพฯหลังจากที่ดาวน์โหลดจากแอพฯสโตร์
ระวังภัยคุกคามบนมือถือ!
รายงานความปลอดภัยประจำไตรมาสแรกของปี 2557 ของเทรนด์ไมโครชี้ว่า จำนวนของโมบายมัลแวร์และแอพฯความเสี่ยงสูงแตะระดับ 2 ล้าน สถานการณ์ของภัยคุกคามบนมือถือเริ่มใกล้เคียงกับสถานการณ์ของภัยคุกคามบนพีซี โดยมีการตรวจพบช่องโหว่ใหม่ๆ ครั้งแล้วครั้งเล่าตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2556 เป็นต้นมา เช่น ช่องโหว่ “มาสเตอร์คีย์” บนระบบปฏิบัติการAndroid™ ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์เกือบทั้งหมด ทำให้โมบายมัลแวร์ถูกเข้าใจว่าเป็นแอพฯที่ “ถูกต้องเหมาะสม” และหลังจากนั้นไม่นานนัก ช่องโหว่ในอุปกรณ์เสริม เช่น ซิมการ์ด และอุปกรณ์ชาร์จ iPhone®ของปลอม ก็เริ่มปรากฏให้เห็น และต่อมาก็พบจุดบกพร่องของแพลตฟอร์มที่ทำให้อุปกรณ์เข้าสู่วังวนของการรีบูตอย่างไม่รู้จบ หรือทำให้ข้อมูลผู้ใช้เกิดรั่วไหล และล่าสุด ช่องโหว่ Heartbleed ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่ออุปกรณ์พกพา
เป็นที่ทราบกันดีว่า ปัจจุบันอาชญากรไซเบอร์กำลังปรับเปลี่ยนแอพฯเกมมือถือยอดนิยมด้วยเจตนาร้าย โดยแอพฯเหล่านี้นอกจากจะโฮสต์อยู่บนไซต์อันตรายแล้ว ยังเผยแพร่อยู่ในแอพฯสโตร์ที่ถูกกฎหมายอีกด้วย ตัวอย่างที่ดีอย่างหนึ่งก็คือ กรณีล่าสุดของเกม Flappy Bird ที่ถูกปรับเปลี่ยนและแฝงโค้ดอันตรายเพื่อให้กลายเป็นโทรจัน ปรากฏว่าแอพฯปลอมดังกล่าวถูกดาวน์โหลดหลายต่อหลายครั้งโดยผู้ใช้ที่ไม่รู้เรื่องรู้ราวภายในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังจากที่แอพฯทางการถูกเพิกถอนออกจากแอพฯสโตร์
“ที่ Monkey Wrench Games เป้าหมายของเราคือการสร้างเกมมือถือที่แปลกใหม่ สนุกสนาน และมีคุณภาพสูง เราต้องการให้ลูกค้ามั่นใจว่าเกมของเราสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยบนโทรศัพท์มือถือ ด้วยเหตุนี้เราจึงรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ Safe Gaming Alliance เพื่อช่วยสร้างสภาพแวดล้อมการเล่นเกมที่ปลอดภัยมากขึ้นบนอุปกรณ์พกพา” นาย ภาณุภัค เมธาไชยสิทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของ Monkey Wrench Games เกมสตูดิโออิสระของไทย กล่าว
เล่นเกมอย่างปลอดภัยบนอุปกรณ์พกพาด้วย Dr. Safety
Dr. Safety คือโมบายแอพฯฟรีที่ประกอบด้วยฟังก์ชั่นแนะนำแอพฯเกม ช่วยให้เกมเมอร์เล่นเกมที่แนะนำได้อย่างสบายใจ และไม่ต้องกังวลว่าจะดาวน์โหลดแอพฯปลอมหรือถูกขโมยไอเท็มในเกม Dr. Safety มีความสามารถในการตรวจจับ 100% จึงสามารถปกป้องผู้ใช้ให้ปลอดภัยจากภัยคุกคามภายนอก และสามารถลบโมบายแอพฯอันตรายออกจากอุปกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะช่วยปรับปรุงความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้บน Facebook และระบุแอพฯอันตรายที่ขโมยข้อมูล รวมถึงแอพฯธนาคารปลอม ทั้งนี้ Dr. Safety ตรวจจับได้ 100% จากผลการทดสอบ AV-TEST และได้รับการรับรองโดย PCSL และ AV-Comparatives
ฟีเจอร์การป้องกัน 6 ฟีเจอร์ใน Dr. Safety ได้แก่:
- ปกป้องบัญชีเกม–สแกนแอพฯและไฟล์ทั้งหมดของคุณ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีอันตราย
- ปกป้องความเป็นส่วนตัว–ระบุว่าแอพฯใดเก็บรวบรวมและขโมยข้อมูลส่วนตัวของคุณ โดยใช้เครือข่ายการปกป้องอัจฉริยะของเทรนด์ไมโคร (Trend Micro Smart Protection Network)
- ป้องกันการฟิชชิ่ง–ปิดกั้นเว็บไซต์อันตราย รวมถึงฟิชชิ่ง และเว็บไซต์ธนาคารปลอม
- ป้องกันโจรกรรม–ค้นหาอุปกรณ์ของคุณในกรณีที่เกิดสูญหาย
- ป้องกันการรบกวน–ปิดกั้นการติดต่อที่ไม่พึงประสงค์ด้วยรายการหมายเลขโทรศัพท์ที่ปลอดภัยและบัญชีดำ (แบล็คลิสต์)
- แนะนำเกมที่รับรองว่าปลอดภัย–ดาวน์โหลดแอพฯได้อย่างมั่นใจ รวมทั้งเล่นเกมและใช้ยูทิลิตี้ที่แนะนำได้อย่างไร้กังวล
Dr. Safety พร้อมดาวน์โหลดแล้วที่ Google Playและรองรับภาษาอังกฤษ บาฮาซ่าอินโดนีเซีย จีน โปรตุเกส (บราซิล) รัสเซีย ไทย ตุรกี และเวียดนาม