ที่งาน CES 2016 งานแสดงเทคโนโลยีในครัวเรือนที่ใหญ่ ที่สุดในโลก ผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงจากเซนไฮเซอร์ ได้เปิดตัวเทคโนโลยี อิมเมอร์ซีฟ ออดิโอ 3 มิติ (3D immersive audio) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการให้เสียงแบบ 3 มิติ ที่ทันสมัยที่สุดของ การให้เสียงแบบออดิโอที่มีความแม่นยำระดับสูง “เสียง 3 มิติ ถือเป็นอีกขั้นของความเป็นเลิศ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงประสบการณ์ในการฟังของผู้ใช้ในทุกการใช้งาน ตั้งแต่การเล่นเกมเสมือนจริง ไปจนถึงการอัดเสียงและกระจายเสียง” แดเนียล เซนไฮเซอร์ และ ดร.อันเดรอัส เซนไฮเซอร์ ซีอีโอร่วมของเซนไฮเซอร์ กล่าว “เราทำการพัฒนาการมิกซ์ และอัดเสียงระบบ 9.1 รวมถึง การออกแบบเสียงให้กับงานที่มีชื่อเสียงต่างๆมาช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว ตอนนี้เราทุ่มเทความ พยายามของเราทั้งหมดเพื่อการนำเสนอคุณภาพเสียงที่น่าอัศจรรย์ให้กับผลิตภัณฑ์ และ แอปพลิเคชั่นใหม่ๆที่จะมอบประสบการณ์ของเทคโนโลยีเสียงแห่งอนาคตให้กับผู้ใช้” ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์และกิจกรรมของเทคโนโลยีเสียงแบบอิมเมอร์สซีฟ ออดิโอ 3 มิติ ของเซนไฮเซอร์ จะดำเนินกิจการภายใต้เครื่องหมายการค้าใหม่ชื่อว่า “แอมบีโอ”
เทคโนโลยีอิมเมอร์ซีฟ ออดิโอ 3 มิติ กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในแวดวง ของการอัดเสียง การมิกซ์เสียง และฟังเสียง อย่างมืออาชีพ ไซมอน ฟรังเกลน นักแต่งเพลง โปรดิวเซอร์ และนักดนตรีชาว อังกฤษ ที่ผลงานของเขาเป็นที่รู้จัก อย่างกว้างขวาง ในภาพยนตร์อย่าง ไททานิค อวตาร และล่าสุด อย่างเรื่องสเปกเตอร์ ให้ความเห็นว่า “ทุกครั้งที่ผมมิกซ์เสียงแบบ อิมเมอร์ซีฟ ผมจะสัมผัส ความคมชัด ของเสียงต่างๆ ที่มีในแทร็ก นั้นได้อย่างชัดเจนพื้นที่เสียง ที่มากขึ้น ทำให้เสียงแต่ละเสียงไม่ว่าจะเป็นเสียงร้อง หรือเสียงเครื่องดนตรีมีพื้นที่ของเสียงนั้นๆ เอง มากกว่าการอัดแบบสเตอริโอมิกซ์ แบบเดิมๆ ที่ให้ไม่ได้ ดังนั้นออดิโอ 3 มิติจึงถือเป็น ประสบการณ์ใหม่ของผู้ฟังอย่างแท้จริง นั่นคือไม่เพียงแค่การเข้าถึงเสียงดนตรีเท่านั้น แต่รวมถึง โอกาสของโสตสัมผัสที่ลึกถึงรายละเอียดและการเรียบเรียงองค์ประกอบที่นักดนตรี นักเรียบ –เรียง และโปรดิวเซอร์ ถ่ายทอดลงในการอัดเสียงด้วย แม้แต่มืออาชีพอย่างตัวผมเองก็เคยฟัง แทร็กดนตรีที่เคยคิดว่ารู้จักดีแล้ว เพียงเพื่อที่จะค้นพบว่ายังมีอีกหลายสิ่งที่การมิกซ์แบบ สเตอริโอหรือโมโนทำไม่ได้ เมื่อคุณได้ฟังผ่านเทคโนโลยีล่าสุดนี้ดนตรีจะเปลี่ยน ไปตลอดกาล”
ประสบการณ์การฟังออดิโอ 3 มิติ ของแอมบีโอ (AMBEO 3D Audio)
ในห้องทดสอบเสียงระบบ 9.1 ผู้เข้าร่วมชมได้ทดลองระบบออดิโอ 3 มิติ ของแอมบีโอด้วย ตนเองเป็นครั้งแรกภายในบูท เกรเกอร์ ซีลินสกี ผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงของเซนไฮเซอร์ ได้นำเสนอต้นฉบับของการบันทึกเสียงในระบบ 9.1 และการรีมิกซ์ดนตรีจากเพลงแบบเก่า ในระบบ 9.1 เพื่อนำประสบการณ์นี้มาสู่การฟังดนตรีในชีวิตประจำวันได้นั้น ผู้เข้าร่วมชมได้รับ การเชื้อเชิญให้นำดนตรีเสียงแบบสเตอริโอของตนเองมาด้วย แล้วนำมามิกซ์ใหม่ผ่านอัลกอริทึม ที่เป็นกรรมสิทธิ์เฉพาะของเซนไฮเซอร์ และบรรเลงผ่านคุณภาพเสียงในระบบ 9.1 อันยอดเยี่ยม
เกมเสมือนจริง อีเดน (EDEN VR Game)
เทคโนโลยีออดิโอ 3 มิติ ของเซนไฮเซอร์ ได้รับความไว้วางใจจาก โซลพิกซ์ ผู้เชี่ยวชาญในการผลิตเกม ซึ่งมีประสบการณ์ด้านการผลิตเกมแบบเสมือนจริงมาเป็นเวลานาน กับเกมอีเดนด้วยอัลกอริทึมที่เป็นกรรมสิทธิ์เฉพาะของเซนไฮเซอร์ เสียงต่างๆในเกมสามารถ ส่งผลให้ผู้ฟังจินตนาการได้ถึงเสียงที่เกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อม รอบๆตัวทุกเสียงได้อย่างเสมือนจริง ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมงาน CES ได้สัมผัสประสบการณ์ที่ว่าในพื้นที่เดโม “ซาวน์เร็นเดอริงเอนจิ้น 3 มิติ ของเซนไฮเซอร์ในเกมอีเดน ช่วยให้การเปลี่ยนผ่านจากเสียงในชีวิตจริง ไปสู่เสียงเสมือนจริง เป็นไปอย่างราบรื่น” อันเดรอัส เซนไฮเซอร์ ระบุ “เอนจิ้นประเภทนี้จะกลายเป็นอนาคต ของระบบเสียงแบบ 3 มิติ ในการสร้างโลกเสมือนในที่สุด”
ไมค์เสมือนจริง (Virtual reality mic)
อีกส่วนหนึ่งของโซนประสบการณ์ออดิโอ 3 มิติ ถูกจัดไว้สำหรับไมโครโฟนเสมือนจริง ที่ออกแบบโดยทีมโปรดิวเซอร์คอนเทนต์เสมือนจริง รวมถึงบริษัทที่ทำโปรดักชั่นด้านนี้ โดยเฉพาะอย่าง บริษัทวิชวลไลซ์ ซึ่งได้ร่วมผลิตคอนเทนต์ด้วย เป็นไมโครโฟนที่จับเส้นเสียง คุณภาพสูงใน 4 ควอดรันต์ (จตุภาค) โดยไมโครโฟนชนิดนี้จะกลายเป็นปัจจัยสำคัญ ของโปรดักชั่นเสมือนจริงในอนาคต และจะเปิดตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2559 นี้ ตามด้วยไมโครโฟนพร้อมซอฟต์แวร์แบบปลั๊ก-อิน สำหรับขั้นตอนโพสต์โปรดักชั่นของ คอนเทนต์ประเภทเสมือนจริงในปี 2560
การจำลองสถานที่ (Venue Modeling)
อีกไฮไลต์หนึ่งในโซนออดิโอ 3 มิติ ได้แก่ ซอฟต์แวร์การสร้างแบบจำลองสถานที่ โดยเวอร์ชั่น ทดลอง (เดโม) ของซอฟต์แวร์ดังกล่าวได้จำลองแบบห้องของคลับ หลากหลายแห่ง เช่น ไมตี้ ในซานฟรานซิสโก และเดอะเร็กซ์คลับ ในปารีส ซึ่งช่วยให้ดีเจสามารถจำลองสถานการณ์ เสมือนเล่นจริงท่ามกลางผู้ชมของพวกเขาได้ เทคโนโลยีของการจำลองสถานที่นี้จะกลายเป็น ก้าวสำคัญในการสะท้อนรูปแบบเสียงที่จะเกิดขึ้นจากรูปแบบของห้อง ซึ่งไม่เหมือนกับ อุปกรณ์ปลั๊ก-อินสะท้อนเสียงแบบอื่นๆ ปลั๊ก-อินแบบเสมือนจริงนี้ (Virtual Studio Technology) จะช่วยให้ดีเจและศิลปินที่คลั่งไคล้และดื่มด่ำกับการแสดงสด ตลอดจนโปรดิวเซอร์จัดงาน ได้จำลองการแสดง งานดนตรีได้เสมือนอยู่ในสถานที่จริง โดยปลั๊ก-อินดังกล่าวนี้จะช่วย ออกแบบลักษณะเสียงให้เหมาะสมกับกับบรรยากาศภายในของสถานที่นั้นๆ และด้วยฐานข้อมูล สถานที่ ที่เพิ่มมากขึ้นและการเชื่อมต่อกับปลั๊ก-อินเสมือนจริงนี้ จะทำให้ดีเจสามารถเตรียมตัว ก่อนการแสดงได้ อย่างที่ต้องการ ซึ่งปลั๊ก-อินแบบนี้จะมีใช้จริงราวกลางปี 2559 นี้