ซีเกทจับมือองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) นำเยาวชนไทยเข้าสู่โลกของวิทยาศาสตร์ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2

บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เปิดตัว “โครงการส่งเสริมการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระหว่างองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ และซีเกท ประเทศไทย ปีที่ 2” ซึ่งประกอบด้วย โครงการเรียนรู้วิทยาศาสตร์พาน้องๆ ด้อยโอกาสชมพิพิธภัณฑ์ และกิจกรรมค่ายวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์และ STEM โดยมีเป้าหมายในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ผ่านประสบการณ์และการลงมือปฏิบัติจริงและสร้างแรงบันดาลใจให้พวกเขาศึกษาต่อทางด้าน STEM  ทั้ง อพวช. และซีเกทหวังว่าจะเปิด   โลกทัศน์และยกระดับกระบวนการคิดของน้องๆ ด้วยข้อมูลในพิพิธภัณฑ์ตลอดจนความเชี่ยวชาญจากบุคลากรของ อพวช.และซีเกท ประเทศไทย

“โครงการเรียนรู้วิทยาศาสตร์พาน้องๆ ด้อยโอกาสเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์” มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนจากโรงเรียนที่ขาดแคลนงบประมาณได้รับความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ ผ่านการศึกษานอกห้องเรียน ตลอดจนสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนสนใจและตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยจะมีน้องๆ กว่า 2,200 คน เยี่ยมชมนิทรรศการในแหล่งเรียนรู้ของอพวช. คลองห้า จังหวัดปทุมธานี ได้แก่ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาและพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศpic-3

ส่วน “กิจกรรมค่ายวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์และ STEM” ประกอบด้วย 4 ค่าย ได้แก่

  1. “ค่าย Robot Maker” เป็นค่ายที่เปิดโอกาสให้น้องๆ ได้เรียนรู้ขั้นตอนในการพัฒนาหุ่นยนต์ พร้อมใช้ทักษะในการใช้โปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์และเซ็นเซอร์ ท้ายที่สุด ผู้เข้าค่ายแต่ละกลุ่มต้องพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันที่แสดงให้เห็นทักษะและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ค่ายนี้จัดขึ้นสำหรับน้องๆ เยาวชนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – มัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 40 คน ระหว่างวันที่ 10-12  ธันวาคม ศกนี้
  2. “ค่าย IT Career”” เป็นค่าย 2 วัน 1 คืน ที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้แก่น้องๆ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 60 คน ที่สนใจทางด้านไอทีให้ได้มีโอกาสเรียนรู้ข้อมูลของอาชีพ รวมทั้งกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อจะประกอบอาชีพในสายงานไอทีผ่านความสนุกสนานกับกิจกรรมที่หลากหลาย ซึ่งเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้จากค่ายไปประกอบการตัดสินใจในการเลือกศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไปได้ ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 5-6 พฤศจิกายน ศกนี้
  3. “ค่ายเพลินคิด with STEM+” เป็นค่าย 2 วัน 1 คืน ซึ่งช่วยให้เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รู้จักและเข้าใจวิธีการเรียนรู้ในรูปแบบ STEM สำหรับน้องๆ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 60 คน ระหว่างวันที่ 19-20 พฤศจิกายน ศกนี้
  4. “ค่าย Smart Math” เป็นค่าย 2 วัน 1 คืน ซึ่งเปิดโอกาสให้น้องๆ ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 60 คนได้มีความเข้าใจเรื่องของคณิตศาสตร์  รวมทั้งเรียนรู้การประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์นอกจากการใช้ตัวเลข  ค่ายนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-27 พฤศจิกายน ศกนี้pic-4

รศ. นพ. สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แสดงความยินดีกับอพวช.และซีเกท โดยกล่าวว่าผมชื่นชมในความร่วมมือของทั้งอพวช.และซีเกทในการจัดโครงการการเสริมทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่เด็กและเยาวชนอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่สอง ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังก้าวสู่ยุคการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ จากประเทศที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนพื้นฐานของทรัพยากรและแรงงานราคาถูก ไปสู่การเป็นประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและรองรับแนวทางการพัฒนาประเทศเพื่อเข้าสู่ Thailand 4.0 ตามนโยบายของรัฐบาล”

นางกรรณิการ์ วงศ์ทองศิริ  รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า “รัฐบาลให้ความสำคัญกับการศึกษารูปแบบสะเต็มเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics)  มาบูรณาการเพื่อนำไปสู่การคิดแก้ปัญหาและการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาชาติอย่างยั่งยืน อพวช. ในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงได้ขานรับนโยบาย การขับเคลื่อนการเรียนรู้สะเต็มศึกษา ในการจัดกิจกรรมในรูปแบบ เล่น-เรียน-รู้ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม อย่างบูรณาการ โดยความร่วมมือกับซีเกทในครั้งนี้ นับเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมการส่งเสริมสนับสนุนโยบายของรัฐบาล เพื่อเสริมสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต่อไปในอนาคต อันจะเป็นการปูพื้นฐานเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับเยาวชนของประเทศในระดับเวทีโลกต่อไป”

ในโครงการความร่วมมือระหว่าง อพวช. และซีเกท ปีที่ 2 นี้ เป็นโครงการที่สานต่อความสำเร็จจากความร่วมมือในปีแรก ซึ่งในปีนี้ ซีเกทได้มอบงบประมาณจำนวน 1.49 ล้านบาทให้แก่ อพวช. จากเดิมที่เปิดโอกาสให้โรงเรียนและน้องๆ ใน จ.ปทุมธานี เข้าร่วมกิจกรรม ในปีนี้ ได้มีการขยายกลุ่มเป้าหมายออกไปให้ครอบคลุมพื้นที่ที่ห่างไกลมากขึ้น ส่วนค่ายก็เพิ่มจำนวนจากค่ายหุ่นยนต์เพียงสองค่าย เป็นสี่ค่ายซึ่งเป็นค่ายที่มีความหลากหลายและเน้นไปที่เด็กๆ ที่ไม่ค่อยมีโอกาสสัมผัสกับค่ายแบบนี้มาก่อน ซึ่งเด็กส่วนหนึ่งที่มาเข้าค่ายก็เป็นน้องๆ จากโรงเรียนที่ตั้งอยู่ใกล้โรงงาน     ซีเกทโคราชเพื่อให้มีโอกาสได้รับประสบการณ์จากค่ายเหล่านี้

นายนรเชษฐ์ แซ่ตั้ง ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ โรงงานเทพารักษ์ บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “จะเห็นได้ว่างานด้าน STEM มีความสำคัญต่อประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อประเทศเราเป็นหนึ่งในสมาชิกของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งมีความต้องการแรงงานที่มีความเกี่ยวข้องกับ STEM เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ตำแหน่งงานที่ต้องใช้แรงงานที่มีทักษะนั้นก็กำลังเป็นที่ต้องการมาโดยตลอด และผู้ที่ทำงานในสาขาเหล่านี้ก็สามารถสร้างโอกาสในการเติบโตจากสายงานดังกล่าวได้ในระยะยาว ดังนั้น เราจึงอยากจะสร้างแรงบันดาลใจให้แก่น้องๆ เยาวชนตั้งแต่อายุยังน้อย ได้มีโอกาสสัมผัสการเรียนรู้ด้าน STEM และก้าวสู่การเป็นกำลังสำคัญของภาคแรงงานที่มีทักษะและความชำนาญ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในอนาคต”

 

Latest

ใช้ NAS ให้เป็น Google Photo server ด้วย immich

หลายคนชอบใช้ google photo ในการแบ็กอัพรูปจากมือถือ เพราะมีลูกเล่นให้ใช้เยอะแยะ แต่ติดที่ว่าเนื้อที่มักไม่เคยพอ และต้องจ่ายรายปี ต่ำๆ ก็ต้อง...

รัน Stable Diffusion เร็วขึ้น 10x ด้วย AMD GPU

ปกติแล้วตัว Stable Diffusion (ต่อไปขอเรียกสั้นๆ ว่า SD) สามารถติดตั้งและใช้งานได้เลยบน Nvidia GPU...

สร้างภาพ AI บนวินโดวส์ + การ์ดจอ AMD ด้วย Amuse AI

คนใช้การ์ดจอ AMD จะมีความเป็นลูกเมียน้อยอยู่นิดนึง เพราะโปรแกรมและโมเดลสร้างภาพส่วนใหญ่ จะออกแบบมาให้ใช้กับ CUDA ของ Nvidia เป็นหลัก แต่ต่อไปนี้คนใช้...

ใช้ windows 11 อย่างเซียน ด้วย PowerToys (ฟรี)

PowerToys เป็นชุดเครื่องมือฟรีจาก Microsoft ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้ Windows โดยเฉพาะ Windows 11 ซึ่ง...

Newsletter

Don't miss

ใช้ NAS ให้เป็น Google Photo server ด้วย immich

หลายคนชอบใช้ google photo ในการแบ็กอัพรูปจากมือถือ เพราะมีลูกเล่นให้ใช้เยอะแยะ แต่ติดที่ว่าเนื้อที่มักไม่เคยพอ และต้องจ่ายรายปี ต่ำๆ ก็ต้อง...

รัน Stable Diffusion เร็วขึ้น 10x ด้วย AMD GPU

ปกติแล้วตัว Stable Diffusion (ต่อไปขอเรียกสั้นๆ ว่า SD) สามารถติดตั้งและใช้งานได้เลยบน Nvidia GPU...

สร้างภาพ AI บนวินโดวส์ + การ์ดจอ AMD ด้วย Amuse AI

คนใช้การ์ดจอ AMD จะมีความเป็นลูกเมียน้อยอยู่นิดนึง เพราะโปรแกรมและโมเดลสร้างภาพส่วนใหญ่ จะออกแบบมาให้ใช้กับ CUDA ของ Nvidia เป็นหลัก แต่ต่อไปนี้คนใช้...

ใช้ windows 11 อย่างเซียน ด้วย PowerToys (ฟรี)

PowerToys เป็นชุดเครื่องมือฟรีจาก Microsoft ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้ Windows โดยเฉพาะ Windows 11 ซึ่ง...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

ใช้ NAS ให้เป็น Google Photo server ด้วย immich

หลายคนชอบใช้ google photo ในการแบ็กอัพรูปจากมือถือ เพราะมีลูกเล่นให้ใช้เยอะแยะ แต่ติดที่ว่าเนื้อที่มักไม่เคยพอ และต้องจ่ายรายปี ต่ำๆ ก็ต้อง 7-8 ร้อยกว่าบาทต่อปีเลยทีเดียว แต่ถ้าหากคุณมีเครื่อง NAS อยู่ที่บ้าน ผมจะมาบอกข่าวดีว่า เราสามารถทำให้ NAS แบ็กอัพรูปถ่ายจากมือถือเป็นเหมือน google photo ได้ด้วยแอพที่ชื่อว่า immich immich มีความสามารถใกล้เคียงกับ google photo...

รัน Stable Diffusion เร็วขึ้น 10x ด้วย AMD GPU

ปกติแล้วตัว Stable Diffusion (ต่อไปขอเรียกสั้นๆ ว่า SD) สามารถติดตั้งและใช้งานได้เลยบน Nvidia GPU โดยไม่ต้องปรับแต่งอะไรทั้งสิ้น แต่พอเป็นเครื่อง AMD GPU ตัว SD จะรันไม่ได้ ต้องไปรันบน CPU แทน ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าประสิทธิภาพสู้รันบน GPU ไม่ได้เลย บล็อกนี้เลยจะมาแสดงวิธีการติดตั้งและรัน SD บนเครื่องที่ใช้การ์ดจอ...

สร้างภาพ AI บนวินโดวส์ + การ์ดจอ AMD ด้วย Amuse AI

คนใช้การ์ดจอ AMD จะมีความเป็นลูกเมียน้อยอยู่นิดนึง เพราะโปรแกรมและโมเดลสร้างภาพส่วนใหญ่ จะออกแบบมาให้ใช้กับ CUDA ของ Nvidia เป็นหลัก แต่ต่อไปนี้คนใช้ AMD ไม่ต้องน้อยใจอีกต่อไป เพราะ Amuse AI คือโปรแกรมที่ออกแบบมาให้ใช้กับแพลตฟอร์มของ AMD โดยเฉพาะครับ สำหรับการ์ดจอนั้น ทาง Amuse AI แนะนำให้ใช้รุ่น RX 7000 ที่มี...

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here