เมาส์ไร้สายใหม่ล่าสุด นี่อาจเป็นคู่หูตัวใหม่สำหรับโน้ตบุ๊กของคุณ
Rapoo ชื่อนี้อาจไม่คุ้นหู แต่สำหรับตลาดโลก Rapoo คือผู้ผลิตอุปกรณ์ต่อพ่วงชนิดไร้สายที่มีชื่อเสียง ด้วยประสบการณ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทคีย์บอร์ดและเมาส์ไร้สายที่ยาวนานถึง 10 ปี (บริษัทก่อตั้งตั้งแต่ปี 2002) จึงน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งว่า เมาส์และคีย์บอร์ดไร้สายที่มาจาก Rapoo นี้จะมีความโดดเด่นและแตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ ทั่วไปในตลาดได้อย่างไรบ้าง
สำหรับ Rapoo 7100P นี้คือเมาส์ไร้สายที่ชูจุดเด่นในเรื่องของคลื่นความถี่ที่ใช้ โดยเมาส์รุ่นนี้หนีไปใช้ย่านความถี่สูงอย่าง 5GHz ซึ่งแตกต่างจากอุปกรณ์ไร้สายตัวอื่นๆ ที่มักจะใช้ความถี่ที่ย่าน 2.4GHz ด้วยเหตุผลที่ทาง Rapoo อ้างมาว่า การใช้ย่านความถี่ 5GHz นั้นจะลดผลกระทบที่เกิดจากคลื่นรบกวนได้มาก ซึ่งในทางทฤษฎีแล้วก็เห็นจะจริง เนื่องจาก ความถี่ 5GHz ยังเป็นความถี่ที่มีอุปกรณ์ใช้กันน้อย โอกาสที่จะถูกรบกวนจากอุปกรณ์ข้างเคียงก็น้อยตามไปด้วย
สเปกของ Rapoo 7100P
Sensor | Invisible Optical |
Frequency | 5GHz |
Battery | AA x2 |
Button | 4 buttons – left,right,forward,backward |
Scroll wheel | 4D |
On-Off button | Yes |
Resolution | 500 dpi , 1000 dpi |
Receiver | USB Nano |
Size | 66×105 mm. |
Weight | 70G (batteries include) |
สำหรับ Rapoo 7100P ที่จำหน่ายอยู่จะมีสีทั้งหมด 4 สี คือสีดำ แดง เขียว และ เทา แต่ละสีก็จะมีลวดลายของตัวเอง สำหรับรุ่นที่เราได้มาทดสอบนี้คือสีดำ ขนาดของเมาส์ไม่เล็ก และ ไม่ใหญ่จนเกินไป พอดีกับอุ้งมือสำหรับผู้ชายอาจจะเล็กไปนิด แต่ถ้าสุภาพสตรีใช้งานน่าจะพอเหมาะพอดี ในส่วนกริปที่จับใช้วัสดุที่ติดมือประเภทยาง ไม่ลื่นหลุดมือขณะใช้งาน ส่วนที่สัมผัสกับอุ้งมือใช้วัสดุที่เป็นพลาสติกอย่างดี เคลือบผิวแบบด้าน จึงไม่เกิดรอยเหงื่อและรู้สึกกระชับอุ้งมือ แม้จะใช้งานเป็นเวลานานๆ อีกด้วย
ส่วนด้านล่างที่สัมผัสกับพื้นผิว มีไกลเดอร์ 3 จุด ช่วยในการเคลื่อนไหวของเมาส์ให้ลื่น ไม่มีสะดุด ปุ่มเปิดปิดตัวเมาส์ก็จำเป็น หากไม่ได้ใช้เป็นเวลานาน และสุดท้ายช่องเปิดสำหรับใส่ถ่าน AA จำนวน 2 ก้อน ซึ่งทาง Rapoo เคลมว่าสามารถใช้งานต่อเนื่องได้ยาวนานถึง 18 เดือนเลยทีเดียว
ในช่องใส่ถ่านมีที่เก็บตัวรับสัญญาณที่เป็นนาโน สะดวกเมื่อต้องพกพาไปยังที่อื่นๆ
ปุ่มที่ใช้งานบ่อยๆ ในเมาส์ตัวนี้ก็คือ คลิกซ้าย คลิกขวา ซึ่งตอบสนองได้ดี นอกจากนี้ก็มีปุ่มเดินหน้า (forward) และ ถอยหลัง (backward) อยู่บริเวณนิ้วโป้ง ซึ่งไม่ค่อยได้ใช้ซักเท่าไร ปุ่มต่างๆ เหล่านี้สามารถโปรแกรมให้ทำหน้าที่อื่นๆ ได้ จากซอฟต์แวร์ของ Rapoo สำหรับสกรอลล์เป็นแบบ 4D หมายถึงควบคุมได้ 4 ทิศทาง ปุ่มสกรอลล์สามารถดันซ้าย-ขวา และกดลงไปตรงๆ เหมือนการคลิกได้ด้วย สุดท้ายคือปุ่มปรับความละเอียดหรือความไวในการเคลื่อนที่ของเมาส์โดยปรับได้ 2 ระดับ 500 dpi และ 1000 dpi โดยใช้วิธีกดปุ่มสลับไปมา ในการใช้งานจริง 1000dpi เป็นค่าที่เหมาะสมดีแล้ว ในการใช้งานทั่วไป
น้ำหนักรวมแบตเตอรี่อยู่ที่ 70 กรัมเท่านั้น
โปรแกรม Rapoo ที่มาพร้อมกับเมาส์หลักๆ คือเอาไว้ทำหน้าที่โปรแกรมการทำงานของปุ่มต่างๆ บนเมาส์ให้ตรงกับความต้องการผู้ใช้ โดยสามารถโปรแกรมได้ทุกปุ่ม รวมทั้งคลิกซ้าย-ขวา ในโปรแกรมจะมีโปรไฟล์เบื้องต้นให้เลือกใช้มากมาย แถมยังมีฟังก์ชั่นที่เกี่ยวกับการใช้งานเฟซบุ๊กอีกด้วย
ของเขาดีจริง
จากที่ได้ทดสอบมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ต้องยอมรับว่าของเขาดีจริงครับ ทั้งถนัดมือ ลื่นไหล ไม่มีสะดุด แม้ไม่อาจจะฟันธงได้ว่าการที่เมาส์ใช้ความถี่ที่ 5GHz นั้นจะช่วยในเรื่องของประสิทธิภาพจริงหรือไม่ เพราะไม่มีเครื่องวัดให้เห็นเป็นรูปธรรม แต่จากที่สัมผัสได้จากการใช้งานจริง เราไม่พบปัญหาใดๆ ที่เกิดจากเมาส์ตัวนี้
ในส่วนระยะทางที่ทำงานได้ ทาง Rapoo เคลมไว้ว่า 10 เมตร จากการทดสอบพบว่า ในระยะไม่เกิน 6 เมตรเมาส์ยังคงตอบสนองได้ดี แต่เกินจากนี้จะเริ่มมีปัญหา ส่วนพื้นผิวในการใช้งานก็รองรับเกือบทุกชนิด ยกเว้นกระจกและวัสดุที่แสงทะลุได้
ราคา 650 บาท
บริษัท ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
โทร. 02 553 8888
www.synnex.co.th
Performance | 10 |
– ทำงานดี ไม่มีสะดุด | |
Feature | 9 |
– โปรแกรมปุ่มได้- ปรับความเร็วได้ | |
Design | 9 |
– วัสดุดี จับถนัดมือ | |
Best Value | 10 |
– ราคาคุ้มค่า | |
First Impression | 8 |
– แพ็กเกจสวยงาม สะดุดตา |