ในขณะที่ราคาไดร์ฟ SSD กำลังลดลงเรื่อยๆ ไดร์ฟ SSD ในรูปแบบ TLC ที่มีราคาถูกและความจุสูงกำลังจะเข้ามาแทนที่ไดร์ฟแบบ MLC SSD และกำลังได้รับความนิยมในตลาดคอนซูเมอร์มากขึ้น ด้วยชิป NAND Flash แบบ TLC ที่เป็นที่นิยมอยู่ในอุตสาหกรรมสื่อบันทึกข้อมูลมานาน แต่อยู่ในรูปแบบอื่น เช่นแฟลชไดร์ฟ USB เมมโมรีการ์ด หรืออื่น ๆ เมื่อเทคโนโลยีคอนโทรลเลอร์และเฟิร์มแวร์ต่าง ๆ ได้พัฒนามามากขึ้น เราก็กำลังจะได้พบกับชิป NAND Flash แบบ TLC ในไดร์ฟ SSD มากขึ้นเช่นกัน
TLC คืออะไร?
สิ่งที่สาวกไอโฟนอาจจะไม่คุ้นเคยนั้นคือ TLC เมื่อครั้งที่ iPhone 6 เปิดตัวมาพร้อมกับชิป TLC ทำให้เกิดคลื่นลูกใหญ่ใหม่ในตลาดอย่างกว้างขวาง ด้วยความแพร่หลายของเฟิร์มแวร์ และล่าสุดที่ iPhone 6s มาพร้อมกับหน่วยความจำในส่วน buffer ที่มากขึ้น ความกังวลของผู้ใช้ต่างก็คลายหายไป
ทุกวันนี้ชิป NAND Flash นั้นมีสถาปัตยกรรมเทคโนโลยี 4 แบบด้วยกันคือ SLC, MLC, TLC และ QLC ความแตกต่างคือจำนวนบิท (bits) ที่สามารถเก็บได้ในเซลหน่วยความจำนั้น ๆ
(แผนผัง: สถาปัตยกรรมของชิป NAND Flash)
ในโลกปัจจุบัน SSD หลายรุ่นต่างก็ใช้ชิป NAND Flash แบบ SLC ที่มีข้อจำกัดที่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้เพียง 1 บิท ต่อ 1 เซลทำให้ไดร์ฟลักษณะดังกล่าว ไม่มีข้อได้เปรียบด้านความจุต่อเซลหน่วยความจำ ทำให้มีค่าใช้จ่ายต้นทุนสูง การนำเอาไดร์ฟ SSD แบบ SLC ไปใช้งานนั้นถูกจำกัดอยู่เพียงแค่แวดวงอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ ความมั่นคง และอุตสาหกรรมการผลิตทั่วไปเท่านั้น เนื่องจากต้นทุนที่สูงของไดร์ฟลักษณะนี้ ทำให้ถึงแม้ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับเซิฟเวอร์ในหลายองค์กร ก็ยังคงเลือกใช้ไดร์ฟแบบ MLC
สำหรับไดร์ฟแบบ MLC นับได้ว่าเป็นไดร์ฟสำหรับคอมพิวเตอร์ ระดับคอนซูเมอร์เกรดทั่วไปที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลายในช่วงปี 2008 จนถึง 2015 นับเป็นเวลาถึงแปดปีมาแล้วนับตั้งแต่การเกิดพัฒนาการของชิป NAND Flash ซึ่ง TLC ที่มีคุณสมบัติสามารถเก็บข้อมูลถึง 3 บิท ต่อเซลความจำ 1 เซล หมายถึงทำให้สามารถทำความจุได้มากขึ้นในต้นทุนที่ต่ำกว่า เมื่อเทียบกับแบบ MLC โดย เมื่อเทียบจากความจุระดับเท่ากัน ไดร์ฟที่ใช้เทคโนโลยี MLC จะมีการใช้ชิป NAND Flash มากกว่าไดร์ฟแบบ TLC ทำให้ TLC ได้เปรียบด้านต้นทุนในการผลิตที่ต่ำกว่า
ความทนทานของไดร์ฟแบบ TLC
ก่อนที่จะกล่าวถึงความทนทานของไดร์ฟแบบ TLC เราควรเริ่มจากคำอธิบายว่า ทำไม SSD ถึงมีปัญหาเรื่องอายุการใช้งาน ชิ้นส่วนที่สำคัญที่สุดของ SSD คือชิป NAND Flash และชิปตัวนี้จะเป็นตัวชี้วัดถึงอายุการใช้งานของไดร์ฟ SSD โดยมีพื้นฐานมาจากโครงสร้างพื้นฐานของตัวชิป ข้อมูลที่อยู่ในชิป ถูกจัดเก็บในรูปแบบของประจุไฟฟ้า เก็บอยู่ระหว่างชั้นของฉนวน การประจุไฟเข้าชิป (Charging) หรือการเขียนข้อมูล หรือการคายประจุไฟ (discharging) หรือการลบข้อมูล จะต้องทำผ่านชั้นฉนวนดังกล่าว และส่งผ่านประจุไฟฟ้าที่มีศักย์มากพอที่จะทะลวงผ่านชั้นฉนวนลงไปได้ เมื่อประจุไฟฟ้าดังกล่าวสามารถผ่านชั้นฉนวนลงไปได้หมายถึงชั้นฉนวนดังกล่าวก็จะมีการสึกหรอไปตามสภาพการใช้งาน เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราถึงมีค่า P/E cycle ระบุในสเป็คของไดร์ฟชนิดนี้ การคำนวณอายุการใช้งานหรือ “Service Life” คิดจากจำนวนครั้งที่ข้อมูลสามารถเขียนและลบได้
สำหรับคนที่มีคำถามเกี่ยวกับความทนทานของไดร์ฟ TLC คำถามเหล่านี้ส่วนใหญ่มักเป็นคำถามจาก อายุการใช้งาน (P/E Cycle) ของ TLC ที่สั้นกว่าแบบ MLC เหตุผลที่เป็นเช่นนี้เนื่องจาก TLC มีต้องใช้ศักย์ไฟฟ้าในการเขียนข้อมูลลงเซลความจำสูงกว่า MLC เนื่องจาก TLC สามารถจุข้อมูลลงเซลความจำลงไปได้ถึง 3 บิทต่อเซล 3 บิทต่อเซลความจำ จะต้องใช้การจำแนกระดับศักย์ไฟฟ้าในเซลดังกล่าวมากถึง 8 ระดับศักย์ไฟฟ้า ซึ่งเมื่อเทียบกับแบบ MLC ที่จุได้เพียง 2 บิทต่อเซล จึงใช้ระดับศักย์ไฟฟ้าเพียง 4 ระดับในการจำแนกรูปแบบข้อมูล แน่นอนว่าการใช้ไฟฟ้า 8 ระดับศักย์ไฟฟ้าจะต้องมีค่าแรงดันไฟฟ้า (Voltage) ที่มากกว่า 4 ระดับ ทำให้ชั้นฉนวนนั้นเสื่อมสภาพเร็วกว่าการใช้แรงดันไฟฟ้าที่ต่ำกว่า
การใช้งานที่เหมาะสมสำหรับไดร์ฟ SSD
จากข้อมูลเบื้องต้น เราได้เห็นว่าทั้งไดร์ฟแบบ SLC MLC และ TLC ล้วนมีข้อจำกัดด้านอายุการใช้งานทั้งสิ้นในขณะที่ชิป NAND Flash ถูกใช้งานทั้งการอ่านและการเขียนข้อมูล สักวันหนึ่งตัวชิปก็จะถึงจุดที่ไม่สามารถใช้งานได้และเสื่อมสภาพลง เหมือนกับแผ่นกระดาษที่สามารถถูกลบด้วยยางลบได้ แต่หากลบมาก ๆ ครั้งเข้า กระดาษก็อาจจะบางลงจนขาดได้ในที่สุด
หลาย ๆ คนอาจเกิดคำถามขึ้นว่าเพราะเหตุใดเราถึงไม่ใช้ฮาร์ดดิสก์แบบจานแม่เหล็กหมุนทั่วไป ฮาร์ดดิสก์นั้นไม่มีข้อจำกัดด้านอายุการใช้งานเช่นเดียวกับไดร์ฟแบบ SSD แต่ยังคงมีความสึกหรอที่เกิดจากโครงสร้างกลไกที่มีส่วนเคลื่อนไหวภายใน และยังไม่รวมถึงความจริงที่ว่า HDD ทั่วไปมีความเร็วในการอ่านและเขียน เพียงแค่ 1 ใน 5 เท่าของไดร์ฟ SSD ส่วนใหญ่เท่านั้น นอกจากนี้ SSD ยังเบากว่า เสียงรบกวนน้อยกว่า ต้านทานการสั่นสะเทือนได้ดีกว่า และได้เข้ามาเป็นที่นิยมในตลาดคอนซูเมอร์ เช่นเดียวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้งๆ ที่โทรศัพท์แบบฟีเจอร์โฟนที่มีคุณสมบัติทนทาน ตอบสนองการใช้งานสมบุกสมบันได้ดี แต่ตลาดก็ยังคงต้องการสมาร์ทโฟนที่เปราะบางกว่า แต่มีประสิทธิภาพ และฟีเจอร์ที่ดีกว่า
ไม่ว่าคุณกำลังจะใช้ไดร์ฟแบบ SSD หรือ HDD สิ่งที่ควรทำเป็นประจำคือ การสำรองข้อมูลเป็นประจำ หากต้องการยืดอายุการใช้งานของ SSD พยายามหลีกเลี่ยงการใช้งานที่ต้องมีการอ่านและเขียนอย่างต่อเนื่อง เช่นการดาวโหลดไฟล์จากระบบ Bittorrent หรือการทำ defragment นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้งซอฟท์แวร์ที่ช่วยลดจำนวนการอ่านและเขียนลงได้อย่างเช่น PlexTurbo ที่ช่วยยืดอายุการใช้งาน
ความก้าวหน้าในเทคโนโลยี TLC ช่วยเพิ่มความทนทาน
TLC กำลังจะมาแทนที่ MLC ในตลาดคอนซูเมอร์ และเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ง่ายว่า ผู้ใช้ทั่วไปอาจจะกำลังกังวลถึงอายุการใช้งานของไดร์ฟแบบ TLC ในขณะที่ไดร์ฟแบบ MLC ที่ได้รับความนิยมอยู่แล้วก็เคยมีข้อกังขาเกี่ยวกับอายุการใช้งานเมื่อเทียบกับแบบ SLC อย่างไรก็ดี ปริมาณผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ความกังวลดังกล่าวก็ค่อยๆเลือนรางหายไปตามกาลเวลา ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีชิปแบบ TLC ทำให้ไดร์ฟ TLC ในปีนี้ คาดการกันว่าจะเข้ามาเป็นผู้เล่นสำคัญในตลาดไดร์ฟ SSD ระดับคอนซูเมอร์ในตลาดภายในปีนี้อย่างแน่นอน
ในช่วงปีที่ผ่านมา Plextor ได้มุ่งที่จะพัฒนาอายุการใช้งานของไดร์ฟแบบ TLC ด้วยการนำชิป TLC NAND Flash คุณภาพดี เลือกคอนโทรลเลอร์ที่เหมาะสมที่สุด คอนโทรลเลอร์เปรียบเสมือนเป็นมันสมองของไดร์ฟ ผนวกกับเฟิร์มแวร์ที่ช่วยยืดอายุการใช้งานด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงสุด
ขณะนี้เป็นข่าวว่า Plextor อาจเตรียมตัวเปิดตัวไดร์ฟ SSD แบบ TLC ที่มีอายุการใช้งาน P/E Cycles 2,000 ซึ่งเป็นค่าที่สูงกว่าค่ามาตรฐานในตลาด (TLC ส่วนใหญ่มี P/E Cycles ที่ 500 ถึง 1,000 )นอกจากนี้ไดร์ฟ TLC รุ่นใหม่ของ Plextor จะสามารถใช้งานร่วมกับซอฟท์แวร์ PlexTurbo ซึ่งจะไม่ช่วยเพียงแค่เพิ่มความเร็วในการอ่านและเขียนของตัวไดร์ฟเท่านั้น แต่ยังช่วยลดจำนวนครั้งในการเขียนข้อมูลลงบนเซลความจำ ที่จะช่วยยืดอายุการใช้งานได้อีกด้วย