เมื่อเร็วๆ นี้ เน็ตแอพ บริษัทชั้นนำในการจัดการและบริหารข้อมูลระดับโลก และเติบโตเร็วที่สุดในประเทศไทย เผยเทรนด์เทคโนโลยีในปี 2559 ซึ่งจะเป็นปีที่มุ่งสู่ความเรียบง่ายในการทำงานด้านไอที โดยผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นจะตอบสนองความต้องการของตลาดด้วยระบบการจัดการที่ง่าย ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าและสามารถจัดการข้อมูลได้ครบวงจร
นายวีระ อารีรัตนศักดิ์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เน็ตแอพ เผยให้เห็น 7 เทรนด์สำคัญที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
- โครงสร้างพื้นฐานสำเร็จรูปแบบครบวงจร (Converged Infrastructure)จะช่วยลดการทำงานที่ซับซ้อนของฮาร์ดแวร์ต่างๆ ลดอุปสรรคในการจัดการข้อมูลบนดาต้า เซนเตอร์ ทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้สัมผัสกับนวัตกรรมใหม่ของซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบไอทีแก่องค์กรต่างๆ ให้รวดเร็วขึ้น ในขณะที่ลดค่าใช้จ่ายให้น้อยลง จากการสำรวจพบว่า 40% ในหลายองค์กรวางแผนลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานตลอดปี 2558 ที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลต่อเนื่องและเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนยิ่งขึ้นในปีนี้
- เสริมทัพความเรียบง่ายและรวดเร็วในการทำงาน ด้วยระบบปฏิบัติการแบบครบวงจร (Converged)ซึ่งจะเป็นหนึ่งในภาคส่วนที่เติบโตเร็วที่สุดในโครงสร้างพื้นฐานไอทีของแต่ละองค์กร เพราะจะสามารถแก้ปัญหาลำดับต้นๆ ที่หลายองค์กรเผชิญอยู่นั่นคือ ขาดแคลนพื้นฐานและทักษะความเชี่ยวชาญด้านไอที แนวคิด DevOps (Development and Operation) จะช่วยลดปัญหา ข้อขัดแย้ง รวมทั้งยังช่วยปรับปรุงการทำงานร่วมกันภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ หลายองค์กรจะเพิ่มการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานสำเร็จรูปแบบครบวงจร อันเนื่องมาจากการเติบโตของแนวคิดDevOps ซึ่งนำมาปรับใช้ในองค์กรอย่างแพร่หลาย โครงสร้างพื้นฐานสำเร็จรูปแบบครบวงจรสามารถช่วยลดเวลาในการทำงานโดยการปรับปรุงบางกระบวนการให้เป็นอัตโนมัติและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การจัดการฮาร์ดแวร์ การเปลี่ยนแปลงนี้จะช่วยให้ฝ่ายไอทีสามารถกลับมาทำงานที่จะช่วยให้องค์กรเดินหน้าและบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจได้อย่างสำเร็จลุล่วง
- รูปแบบศูนย์ข้อมูลแบบ All-Flashจะถูกนำไปใช้งานจริง ข้อมูลจากไอดีซีเผยให้เห็นการเติบโตของตลาด Flash ทั่วโลกนั้นเพิ่มสูงขึ้นถึง 11,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (ประมาณ 406,800 ล้านบาท) ในปี 2557 ขณะที่มีรายงานเพิ่มเติมว่า Flash storage นั้นเติบโตสูงถึง 101% อย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 ในเขตเศรษฐกิจยูโรเมดิเตอรเรเนียน (EMEA) ในปีนี้คาดว่าความจุของ Flash จะเริ่มมีขนาดที่ใหญ่กว่า Disk Drives
และด้วยราคาที่ถูกกว่าจะทำให้ Flash ใช้การได้กับแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่มีการใช้อย่างแพร่หลายอีกด้วย ระบบการจัดการและเก็บข้อมูลบน Flash จะทำให้มีผู้ใช้งานเลือกนำไปใช้เพิ่มขึ้น เพราะใช้งานได้ง่าย ไม่ซับซ้อน และ ขจัดปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับ Disk Drives
- การใช้งานบน Flash จะขยายตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าการเลือกใช้ระบบงานที่ให้ความเร็วสูง (Performance Applications) เพราะการใช้ Flash ทำให้ระบบงานรวดเร็วขึ้น ซึ่งสมัยก่อนไม่มี Flash จึงต้องใช้ Applications เพิ่มเติม เพื่อให้ระบบงานรวดเร็ว โลกไอทีจะมุ่งหน้าสู่ Flash ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ อันเนื่องมาจากราคาที่ถูกกว่านั่นเอง คาดการณ์ว่ายอดขาย Flash จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า เนื่องมาจากการตัดราคากันของบริษัทยักษ์ใหญ่ซึ่งกำลังช่วงชิงตำแหน่งในการเป็นผู้นำตลาด ด้วยราคาที่ถูกลง ทำให้หลายองค์กรเริ่มหันมาใช้ Flash กันมากขึ้นเพื่อช่วยขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น
- การบริหารจัดการข้อมูลจะเปิดเส้นทางใหม่สู่การใช้งานบน Hybrid Cloud เป็นที่แน่นอนแล้วว่าเทรนด์การใช้งานบน Hybrid Cloud กำลังเติบโตขึ้น ขณะที่ภาคธุรกิจกำลังขยายตัว หน่วยงานด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศจึงต้องเรียนรู้และปรับตัวตามไปด้วย เพื่อสนับสนุนผู้ใช้งานซึ่งต้องการความยืดหยุ่น การตอบสนองอย่างรวดเร็ว และต้องการเลือกใช้ผู้ให้บริการคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud)กระบวนการเข้าสู่โครงสร้างของ Hybrid Cloud นั้น การส่งผ่านข้อมูลระหว่างคลาวด์อย่างไร้รอยต่อถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ซึ่งจะช่วยให้หน่วยงานภาคไอที เติมเต็มระบบคลาวด์ส่วนตัวภายในองค์กรด้วยผู้ให้บริการคลาวด์อื่นได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยไม่ต้องเผชิญความเสี่ยง หรือเงื่อนไขที่ซับซ้อน ตลอดจนปราศจากข้อกังวลเรื่องข้อมูลสำคัญขององค์กรจะสูญหาย
- บทบาทหน้าที่ของสตอเรจจากที่เคยเป็นที่เก็บข้อมูลจะเปลี่ยนไปสู่การเป็นผู้ควบคุมดูแลข้อมูลเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที ขณะที่หลายองค์กรกำลังเข้าสู่โมเดลการส่งข้อมูลบนคลาวด์ซึ่งช่วยลดต้นทุน เพิ่มความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพในการทำงาน สตอเรจจะเปลี่ยนผ่านจากการเป็นผู้สร้างและจัดการข้อมูลไปสู่การเป็นผู้ควบคุมดูแลการให้บริการบนคลาวด์ส่วนตัวภายในองค์กรและผู้ให้บริการคลาวด์จากที่ต่างๆ ในปีนี้ หน้าที่ของสตอเรจในการจัดเก็บข้อมูลแบบเดิมๆ จะพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ควบคุมดูแลข้อมูลทั้งหมดที่อยู่บน Hybrid Cloud
- นวัตกรรมการจัดการข้อมูลจะขจัดปัญหาความปลอดภัยบนคลาวด์และข้อกังวลเรื่องอำนาจในการจัดการข้อมูลความกังวลเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลและอำนาจในการเข้าถึงข้อมูลเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้หลายองค์กรต้องวางแผนการจัดการข้อมูลบนคลาวด์อย่างรอบคอบ แน่นอนว่าเหล่าผู้จัดการข้อมูลควรจะต้องทราบว่าข้อมูลที่อยู่บนคลาวด์นั้นถูกเก็บไว้ที่ไหนและใครเป็นผู้จัดการดูแลข้อมูลเหล่านั้นอยู่ ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ความปลอดภัยในการเก็บข้อมูลดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ความยืดหยุ่น ความอิสระในการโยกย้ายข้อมูล ซึ่งเกิดมาจากการผสมผสานระบบcolocation (การนำสตอเรจไปฝากไว้ที่ดาต้าเซนเตอร์ที่ใดที่หนึ่ง) โดยสามารถควบรวมคลาวด์ที่ตั้งอยู่ภายในองค์กรและผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่ระดับโลกซึ่งมีเซิร์ฟเวอร์อยู่ในต่างประเทศให้กลายเป็นโซลูชั่นเพียงหนึ่งเดียวได้อย่างไร้รอยต่อ ด้วยศักยภาพในการสลับระหว่างผู้ให้บริการคลาวด์ในพริบตาเดียว โดยไม่ต้องมีการย้ายข้อมูลจากคลาวด์ที่หนึ่งไปอยู่อีกที่หนึ่ง เอื้อประโยชน์ให้กับองค์กรต่างๆ เพราะลดเวลาการทำงานด้านไอทีแต่เพิ่มเวลาให้โฟกัสกับนวัตกรรมใหม่ๆ โดยไม่สูญเสียความปลอดภัยและอำนาจในการควบคุมข้อมูล