5. ทำมาสเตอร์อิมเมจ
ขั้นตอนนี้เราจะสร้างมาสเตอร์อิมเมจ จากเครื่องมาสเตอร์ที่เตรียมไว้ ขั้นตอนนี้ให้เราเปิดเครื่องมาสเตอร์เพียงเครื่องเดียว เครื่องลูกอื่นๆ ที่รอการโคลนยังไม่ต้องเปิดเครื่อง ที่เครื่องมาสเตอร์ก่อนอื่นให้เปลี่ยนการบูตเครื่องเป็น PXE booting (บูตจากแลน) ในไบออสเสียก่อน
เมนูในไบออสเครื่องส่วนใหญ่ไม่ต่างกัน นั่นคือ onboard LAN Boot ROM กำหนดให้เป็น Enabled
จากนั้นไปกำหนด Boot Priorities อันดับแรกให้เป็น PXE ดังภาพ เสร็จแล้วก็เซฟและรีบูตอีกครั้ง
เครื่องจะเชื่อมต่อและเริ่มบูตจากแลน เมื่อบูตสำเร็จจะปรากฏเมนูดังภาพ ให้เลือกเมนูที่สองคือ Clonezilla: save disk sda as image …
หลังจากนี้เครื่องจะเริ่มทำมาสเตอร์อิมเมจเก็บไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ทันที โดยระยะเวลาที่ใช้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของฮาร์ดดิสก์ทั้งหมด ส่วนขนาดของอิมเมจไฟล์ จะขึ้นอยู่กับขนาดของดาต้าจริงที่มีอยู่ในเครื่องครับ
6. กำหนดค่าและสั่งให้ Clonezilla ทำงาน (เริ่มการโคลน)
หลังจากทำมาสเตอร์อิมเมจเสร็จเรียบร้อย เราต้องกลับมาที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์และจัดการกำหนดค่าและสั่งให้ทำงานในโหมด Restore เพื่อเริ่มการโคลนไปยังเครื่องลูก โดยใช้คำสั่งเดิมเรียก Clonezilla อีกครั้ง ดังนี้
sudo /opt/drbl/sbin/dcs
ทำกระบวนการเดิม กดปุ่มเอนเตอร์มาเรื่อยๆ จนมาถึงเมนูดังภาพนี้ ให้เลือกโหมดเป็น Restore-disk
กดเอนเตอร์เลือกค่าปริยายมาเรื่อยๆ จนถึงเมนูนี้ให้เลือกเป็น –p reboot เมื่อโคลนเสร็จ ให้รีบูตใหม่เพื่อเข้าโอเอสเลย
กดเอนเตอร์ข้ามมาเรื่อยๆ จนมาถึงเมนูนี้ ให้เลือกไปที่ไฟล์อิมเมจที่ต้องการจะโคลน ซึ่งก็คือชื่อไฟล์ที่เราตั้งไว้ตอนสร้างอิมเมจครับ
เลือกฮาร์ดดิสก์ที่ต้องการโคลน ระบบจะใส่ค่าไว้ให้เป็น sda โดยปริยาย (ขออภัยครับ รูปไม่ตรง)
ที่เมนูนี้เลือกเป็นแบบ Multicast
สำหรับที่เมนูนี้ แต่ละข้อมีความหมายดังนี้ครับ
– Clients-to-wait หมายถึง จำนวนเครื่องลูกทั้งหมดที่ต้องการโคลน เช่นต้องการโคลน 10 เครื่อง เราก็กำหนดค่าตรงนี้เป็น 10 เมื่อไรก็ตามที่ทั้ง 10 เครื่องบูตเข้ามาพร้อมกัน การโคลนจะเริ่มทันที แต่ถ้ายังไม่ครบโปรแกรมจะก็รอจนกว่าจะครบ ถึงจะเริ่มการโคลนให้ การกำหนดค่าตรงนี้ ต้องเท่ากับ หรือ น้อยกว่าค่าไอพีที่เรากำหนดไปแล้วตอนคอนฟิกค่าให้กับ drbl เซิร์ฟเวอร์นะครับ
– Time-to-Wait หมายถึง กำหนดระยะเวลาดีเลย์ ก่อนที่จะโคลน เช่นกำหนดไว้ 10 วินาที เมื่อครบ 10 วินาที โปรแกรมจะเริ่มโคลนให้กับเครื่องที่บูตเข้าเสร็จก่อน ส่วนเครื่องอื่นๆ ที่บูตเข้ามาทีหลัง จะไม่ถูกโคลน
– clients+time-to-wait หมายถึงทั้ง 2 ข้อรวมกัน นั่นคือ กำหนดทั้งจำนวนเครื่องและระยะเวลา เมื่อครบเงื่อนไขทั้ง 2 ข้อ ถึงจะเริ่มการโคลน
ในที่นี้ผมแนะนำให้ใช้ clients-to-wait หากคุณทราบจำนวนเครื่องที่ต้องการโคลนแน่นอน และอยู่ในระบบเครือข่ายปิดที่ควบคุมได้
ใส่จำนวนเครื่องที่ต้องการโคลน
หลังจากกำหนดค่าเรียบร้อย โปรแกรม clonezilla จะเริ่มคอนฟิกใหม่อีกครั้ง จะมีข้อความขึ้นให้เรากดปุ่มเอนเตอร์อีก 1-2 ครั้ง เมื่อขึ้นข้อความ done ก็หมายถึงพร้อมสำหรับการโคลนแล้วครับ