4. กำหนดค่าและสั่งให้ Clonezilla ทำงาน (ทำมาสเตอร์อิมเมจ)
ขั้นตอนนี้เราจะเริ่มสั่งให้ Clonezilla ทำงาน โดยการทำมาสเตอร์อิมเมจจากเครื่องมาสเตอร์ที่เราได้เตรียมไว้แล้ว ใส่คำสั่งนี้เพื่อเรียกหน้าต่าง Clonezilla ทำงาน ดังนี้
sudo /opt/drbl/sbin/dcs
เลือก All Select all the clients
เลือก Clonezilla-start
เลือก Expert mode
เลือก save-disk หากต้องการโคลนฮาร์ดดิสก์ทั้งลูก หรือ save-parts หากเลือกโคลนเป็นพาร์ทิชั่น ในที่นี้ผมต้องการโคลนทั้งลูก จึงเลือก save-disk ครับ
เลือก now_in_server คือการกำหนดชื่อและฮาร์ดดิสก์ลงไปเลยที่เซิร์ฟเวอร์ในตอนนี้ เพื่อที่ตอนเครื่องลูกบูตเข้ามาจะได้ไม่ต้องเสียเวลาไปกำหนดอีก
ชื่ออิมเมจไฟล์จะตั้งตามวัน-เวลาปัจจุบัน เปลี่ยนได้ตามชอบใจครับ
ชื่อของฮาร์ดดิสก์ที่ต้องการโคลน คนที่เล่นลินุกซ์อยู่แล้วคงคุ้นเคยกับการมองฮาร์ดดิสก์เป็นแบบ hda , sda, ฯลฯ ในที่นี้เครื่องมาสเตอร์ผมมีฮาร์ดดิสก์แค่ลูกเดียว ก็ใช้ค่าปริยาย sda ได้เลย
หากต้องการโคลนระบบวินโดวส์ เมนูนี้ให้เลือกที่ –q ดังภาพครับ ตัวโปรแกรมจะใช้ ntfsclone ในการทำงาน แต่ถ้าโคลนลินุกซ์หรือระบบอื่นๆ ก็เลือก –q2
ที่หน้านี้สามารถใส่พารามิเตอร์เพิ่มได้ แต่เราไม่จำเป็นต้องปรับเพิ่มอะไรอีก กดปุ่ม ok ผ่านไปได้เลย
เลือก skip checking ถ้าเราโคลนระบบวินโดวส์ แต่ถ้าโคลนระบบอื่นๆ ให้เลือก –fsck-src-part
เลือก Yes, check the saved image
ที่หน้านี้เลือกข้อใดก็ได้ครับ ในที่นี้ผมเลือก –p poweroff หมายถึงพอโคลนเสร็จแล้ว ให้ปิดเครื่องมาสเตอร์ไปเลย
เลือกรูปแบบการบีบอัดการโคลน ปกติแล้วเลือกเป็นค่าปริยายคือ –z1p ครับ
ขั้นตอนสุดท้าย กำหนดขนาดไฟล์อิมเมจว่าต้องการให้มากสุดที่เท่าไร หากเกินจากที่กำหนดโปรแกรมจะแยกไฟล์เป็นส่วนๆ ตามขนาดที่กำหนดโดยอัตโนมัติ ค่าปริยายคือ 1000000 หรือ 1 ล้านเมกะไบต์ หรือหมายถึงไม่ต้องแยกไฟล์เป็นส่วนๆ นั่นเอง
กด Enter เพื่อเริ่มการตั้งค่าได้เลย รอสักครู่ แสดงข้อความ done! เมื่อไร แสดงว่าเสร็จเรียบร้อยครับ