Skype for Business เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้นำด้านระบบโทรศัพท์สำหรับองค์กรจากการประเมินใน Magic Quadrant
จากงานการประเมิน Magic Quadrant ของ Gartner ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยและให้คำแนะนำด้าน IT ในสหรัฐฯ ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับแพลตฟอร์มของโทรศัพท์ภายในองค์กรว่ากำลังถูกทดแทนด้วยซอฟต์แวร์ โดยไมโครซอฟท์ถือเป็นเจ้าตลาดที่สำคัญด้วยส่วนแบ่งถึง 5.1% ของตลาดโลกในปี 2556 และมีอัตราการเติบโตถึง 106% ไมโครซอฟท์ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ Lync เพื่อตอบโจทย์ด้านการสื่อสารในองค์กร ทำงานทดแทนระบบ PBX ที่สามารถเป็นได้ทั้งโทรศัพท์ตั้งโต๊ะ, Media Gateways, Session Border Controllers (SBCs) และ Paging Systems มีความสามารถในการใช้งานทั้งภาพและเสียงข้ามแพลตฟอร์มกันได้ ไม่ว่าจะใช้งานบนโทรศัพท์มือถือ เช่น Windows Phone, iOS หรือ Android ทำให้ไมโครซอฟท์กลายเป็นผู้นำตลาดแพลตฟอร์ม Unified Communication (UC) ที่แข็งแกร่ง และมีคู่ค้าด้านการสื่อสารที่คอยให้การสนับสนุนมากถึง 79 แห่ง มีตั้งแต่ผู้ประกอบการโทรคมนาคมขนาดใหญ่ไปจนถึงระดับภูมิภาค ทำให้ Lync 2013 เป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจในการเปลี่ยนผ่านจาก PBX เดิมสู้ระบบการสื่อสายด้วยซอฟต์แวร์
ข้อได้เปรียบ
– องค์กรที่ซื้อสิทธิ์การใช้งานของ Microsoft Lync แบบ Volume Licensing มักจะได้เปรียบในแง่ของราคาเทียบกับโซลูชันโทรศัพท์ในรูปแบบอื่นๆ
– ไมโครซอฟท์เป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่งสำหรับ UC กล่าวคือ สามารถใช้ Lync สำหรับการแชทผ่าน IM การสนทนาด้วยเสียงและวิดีโอ และการประชุมผ่านเว็บ ได้ทุกรูปแบบ โดย Lync 2013 สามารถใช้งานได้บนโทรศัพท์มือถือ Windows Phone, Apple iPhone และ Android ถือเป็นโซลูชันที่ยอดเยี่ยมที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้าม
– Lync เมื่อรวมเข้ากับ Skype ช่วยให้ไมโครซอฟท์สามารถนำเสนอรูปแบบที่หลากหลายได้มากขึ้น มีการบริการสำหรับองค์กร และแข่งขันกับบริการแบบ Freemium อื่นๆ จาก Google หรือ Zoom and Fuze ได้
ข้อควรระวัง
– ลูกค้าของ Lync และ Gartner ที่ไม่ได้ทำข้อตกลงแบบ Volume licensing อาจจะแข่งขันในเรื่องของราคา Lync กับโซลูชันโทรศัพท์อื่นๆ ได้ค่อนข้างยาก
– การติดตั้ง Microsoft Lync มีความซับซ้อน และไม่รองรับอุปกรณ์ PBX ซึ่งเป็นระบบโทรศัพท์พื้นฐานที่มีอยู่เดิม ต้องเปลี่ยนมาใช้การติดต่อผ่านระบบของ Microsoft Lync ทั้งหมดแทน
– จากรายงานของลูกค้าของ Gartner แจ้งว่า Microsoft Lync มีปัญหากับโทรศัพท์พื้นฐาน คือ ติดต่อยาก สายขาด และมีข้อจำกัดในการใช้งานกับลูกค้าภายนอก เช่น มีปัญหากับเพลงในขณะพักสาย การจัดการไดเรกทอรีบนโทรศัพท์ และระบบสื่อสารท้องถิ่นที่ไม่รองรับการทำงานของ Lync
อย่างไรก็ตาม ด้วยลักษณะการใช้งานของผู้ใช้ที่เปลี่ยนไป มีความต้องการทำงานที่คล่องตัวเพิ่มมากขึ้น ฝ่ายไอทีเองก็ต้องการความพร้อม เพื่อรองรับอุปกรณ์พกพาเข้ามาใช้ในองค์กรมากขึ้น ทำให้องค์กรต่างๆ เริ่มหันมามองโซลูชันที่สามารถผสานรวมโทรศัพท์มือถือกับระบบโทรศัพท์สำหรับบริษัทเข้าด้วยกันได้อย่างลงตัว และโซลูชันของไมโครซอฟท์ก็เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการโซลูชันที่ตอบโจทย์เหล่านี้ และมีองค์กรต่างๆ ให้ความสนใจอยู่ไม่น้อย
ตำแหน่งของ Skype for Business ใน Magic Quadrant ด้านการสื่อสารครบวงจร
ในงานวิจัยของ Magic Quadrant ของ Gartner ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับ Unified Communications (UC) ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะเพียงแค่การสื่อสาร แต่ครอบคลุมการทำงานแบบครบวงจร เพื่อการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรให้สามารถร่วมมือกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ว่าซอฟต์แวร์ Microsoft Lync (เปลี่ยนชื่อเป็น Skype for Business) สามารถตอบโจทย์การทำงานได้อย่างตรงจุด โดยใช้ความสามารถของ Office Applications, Active Directory และ Skype ซึ่งครอบคลุมการทำงานในธุรกิจทุกๆ ส่วน รองรับการใช้งานผ่านคลาวด์ด้วย Lync Online ที่เป็นส่วนหนึ่งของ Office 365 พร้อมด้วยเครือข่ายของคู่ค้าที่พร้อมให้การสนับสนุน จึงทำให้ Lync มีอัตราการขยายตัวอย่างรวดเร็ว
ข้อได้เปรียบ
– Microsoft Lync มีความน่าสนใจในแง่ของความสามารถที่หลากหลาย นำไปใช้สำหรับการแชทผ่าน IM การระบุตัวตนของผู้ใช้ และสามารถใช้ในการประชุมที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมากได้เป็นอย่างดี สามารถสื่อสารได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งถือเป็นจุดสำคัญที่ผู้ประกอบการต่างๆ ต้องการเพื่อความคล่องตัวในการทำธุรกิจ
– Microsoft Lync ช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสารกันผ่านวิดีโอได้เป็นอย่างดี สนับสนุนการใช้วีดิโอในการทำงานร่วมกับมาตรฐานอื่นๆ อีกทั้งฟังก์ชันต่างๆ ที่มีอยู่หลากหลายซึ่งผสานรวมการทำงานร่วมกันได้แบบครบวงจร ส่งผลให้การสื่อสารธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น ปรับใช้งานให้เข้ากับความต้องการต่างๆ ขององค์กรได้ตรงจุดมากขึ้น
ข้อควรระวัง
– ลูกค้าของ Gartner ยังไม่พึงพอใจกับการใช้งาน Lync บนระบบที่ไม่ใช่มาจากไมโครซอฟท์ เช่น Mac ดังนั้น ไมโครซอฟท์อาจจะต้องคำนึงถึงเรื่องความคล่องตัวในการใช้โซลูชันกับแอปและอุปกรณ์ที่หลากหลายให้มากขึ้น เช่น ในเรื่องของการแชร์ข้อมูลระหว่างแอปต่างๆ ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นของไมโครซอฟท์ และยิ่งถ้าสามารถใช้งานร่วมกับระบบ PBX เดิมได้ด้วย ก็จะยิ่งเพิ่มความสะดวกใจให้กับองค์กรที่จะค่อยๆ เปลี่ยนจากระบบ PBX เดิม ให้หันมาใช้ Lync เป็นระบบการสื่อสารภายในองค์กรได้อีกด้วย
– ลูกค้าของ Gartner ที่ปรับใช้ Lync กับพนักงานภายในบริษัท พบว่า พนักงานต้องการความสมบูรณ์พร้อมในทันทีที่ปรับใช้งาน ซึ่งเป็นเรื่องค่อนข้างยาก (ตัวอย่างปัญหา เช่น มีความแตกต่างกันทั้งโทรศัพท์ เกตเวย์ เซิร์ฟเวอร์ การให้การความช่วยเหลือแบบรีโมท และการตรวจสอบระบบเครือข่าย เป็นต้น) แต่ถ้าไมโครซอฟท์ปรับแก้ในจุดนี้ได้ Lync ในท้ายที่สุดก็จะกลายเป็นโซลูชันที่ทุกองค์กรจำเป็นต้องมี
จะเห็นได้ว่า ทุกวันนี้ความต้องการการสื่อสารที่ครบวงจรไม่ได้จำกัดเฉพาะอุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่งเท่านั้น แต่เริ่มครอบคลุมมากขึ้น บริษัทใดที่สามารถให้บริการการสื่อสารที่ครอบคลุมมากกว่า มีประสิทธิภาพที่ดีกว่า ก็จะมีโอกาสเติบโตในตลาดมากกว่าเช่นกัน และ Microsoft Lync ก็เป็นหนึ่งในซอฟต์แวร์ให้บริการด้านสื่อสารที่องค์กรต่างๆ ไม่ควรมองข้าม
ไมโครซอฟท์เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้นำด้านการสื่อสารแบบครบวงจรและทำงานร่วมกัน (Unified Communication & Collaboration)ในไตรมาสที่ 2 ปีพ.ศ. 2557 จากการประเมินผลในรายงาน Forrester Wave
Forrester บริษัทวิจัยธุรกิจและเทคโนโลยีได้ประเมินผลองค์กรต่างๆ ที่ให้บริการด้านการสื่อสารแบบครบวงจร (UC&C) โดยมีผู้จัดจำหน่ายโซลูชันที่สำคัญๆ อยู่มากมาย ซึ่งในรายงานนี้จะมีรายละเอียดผลการวิจัยเกี่ยวกับผู้ขายแต่ละราย รวมถึงความร่วมมือกับผู้ให้บริการรายอื่นๆ ที่ช่วยในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานและการดำเนินงาน (I&O) ตามที่ลูกค้าต้องการไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อแบบหนึ่งต่อหนึ่ง การแชทผ่าน IM อีเมล หรือการสนทนาด้วยภาพและเสียง
จากรายงานการวิจัย มีบริษัทที่อยู่ในกลุ่มผู้นำได้แก่ Microsoft, Avaya, Cisco และ Unify ซึ่งผู้ค้าเหล่านี้มีโปรแกรมที่ใช้งานได้ดีสำหรับนักพัฒนาในแง่ของการขยายแพลตฟอร์ม เพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรายได้ที่เพิ่มขึ้น ลดระยะเวลาการทำงานลง และการปรับปรุงระบบตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งผู้ค้าเหล่านี้ไม่ได้ดูแลเพียงแค่นักพัฒนาเท่านั้น แต่ยังดูแลไปถึงผู้ใช้และคู่ค้าเป็นอย่างดีด้วย
จากการประเมินความสามารถของ Microsoft Lync Client ถือได้ว่าเป็นซอฟต์แวร์ที่มีความน่าสนใจอย่างมาก สามารถเข้าถึงการสื่อสารได้จากอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งแท็บเล็ต สมาร์ทโฟน แล็ปท็อป และเดสก์ท็อป ซึ่งใช้ระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกันได้ มีอินเทอร์เฟซสำหรับผู้ใช้ที่คุ้นเคยและเข้าใจได้ง่าย ทำงานได้อย่างรวดเร็ว มีการทำงานที่ครบวงจรในด้านการสื่อสารและการประชุม ช่วยให้นักพัฒนาสามารถปรับแต่งและสร้างแอปพลิเคชันเพื่อใช้งานร่วมกันได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว เพื่อเติมเต็มความสามารถของ Microsoft UC & C ที่เป็นศูนย์กลางการติดต่อสื่อสารและการวางแผนทรัพยากรในองค์กร
จากผลการประเมินเหล่านี้ จะพบว่าไมโครซอฟท์ได้ก้าวมาถูกทางแล้วสำหรับกลยุทธ์ด้านการสื่อสารครบวงจร ถ้าไมโครซอฟท์ปรับแก้จุดที่ลูกค้าประสบปัญหาได้ เชื่อว่าในอนาคตไม่นานหลังจากนี้ Microsoft Lync (กำลังเปลี่ยนชื่อเป็น Skype for Business เร็วๆ นี้) จะกลายเป็นหนึ่งในโปรแกรมสำคัญที่ทุกองค์กรต้องมี
หากต้องการอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาไปที่ The Forrester Wave™: On-Premises Unified Communications And Collaboration, Q2 2014