เหนือกว่าด้วยเทคโนโลยีล่าสุดจาก Windows

ผู้ใช้ในปัจจุบันคาดหวังที่จะได้รับการอัปเดตจากระบบปฏิบัติการ ที่พร้อมรองรับนวัตกรรมใหม่ๆ อยู่เสมอ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ต้องไม่ส่งผลกระทบใดๆ กับการทำงานด้วย เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก โดยเฉพาะกับธุรกิจบางประเภท เช่น ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล การจราจรทางอากาศ หรือระบบการซื้อขายทางการเงิน หรือแม้กระทั่งในหมู่ผู้ใช้งานทั่วไปต่างก็ต้องการเสถียรภาพ และความเข้ากันได้ ระหว่างระบบปฏิบัติการรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจต่างๆ จึงจำเป็นต้องเข้มงวดกับนโยบายการอัปเดตโปรแกรม และอาจใช้เวลานานในการตัดสินใจอัปเดตในแต่ละครั้ง

เสียงจากผู้ใช้และความท้าทาย

สืบเนื่องมาจากการที่ไมโครซอฟท์ได้รับฟังความคิดเห็นต่างๆ มากมายจากผู้ใช้งาน โดยเฉพาะกับกลุ่มผู้ใช้ที่เข้าร่วมป็นสมาชิกโปรแกรม Windows Insider ทำให้ไมโครซอฟท์มองเห็นภาพของปัญหาในหลายๆ ด้าน เช่น ปัญหาเรื่องความเข้ากันได้ของแอปพลิเคชันต่างๆ ที่ใช้กันภายในองค์กรหลังจากการอัปเกรดระบบปฏิบัติการ เรื่องการปรับการใช้งานที่มีความซับซ้อน ค่าใช้จ่ายสูง เรื่องช่องโหว่ด้านความปลอดภัย หรือในเรื่องความสะดวกในการขอความช่วยเหลือ เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ถือเป็นความท้าทายที่สำคัญต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์

จากเสียงสะท้อนของผู้ใช้งาน นำไปสู่การแก้ไข และพัฒนาผลิตภัณฑ์ของทางไมโครซอฟท์ โดยไมโครซอฟท์ได้ช่วยปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้มีความคล่องตัวมากขึ้น เข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ดีขึ้น และพร้อมสำหรับการแก้ปัญหาด้านเสถียรภาพของระบบให้สามารถเข้ากันได้กับแอปพลิเคชันเก่าๆ ขององค์กรได้ดีขึ้น ประกอบกับการเพิ่มระยะเวลาในการสนับสนุนแบบระยะยาว ช่วยให้องค์การสามารถทดสอบการใช้งานได้ทันกับการอัปเกรด สามารถคาดการณ์ช่วงเวลาในการอัปเดตระบบได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่พัฒนามาจากความคิดเห็นของผู้ใช้ทั้งสิ้น

นอกจากนี้ เพื่อให้ระบบที่ใช้งานมีความปลอดภัยอยู่เสมอ ทางไมโครซอฟท์จึงได้ให้ทางเลือกในการสนับสนุน Windows 10 เป็นรูปแบบต่างๆ ในการรับอัปเดตจากไมโครซอฟท์ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้ ทั้งยังสามารถผสมผสานรูปแบบที่มีให้เหล่านี้เพื่อรองรับการทำงานทางธุรกิจได้ด้วย โดยผู้ใช้สามารถอัปเดตระบบได้ผ่านทางบริการของ Windows Server Update Services (WSUS) ซึ่งสามารถควบคุมการจัดการต่างๆ ได้อย่างเต็มรูปแบบ ผ่านโซลูชันการจัดการที่มีอยู่เดิม เช่น System Center Configuration Manager หรือจะอัปเดตอัตโนมัติผ่านทาง Windows Update ก็ได้เช่นกัน 

“คุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการผ่านทางกระแสตอบรับจากทั้งภายนอกและภายในกลุ่มผู้ใช้”


Untitled-1

เพิ่มความมั่นใจแก่ผู้ใช้ทางธุรกิจด้วยทางเลือกการรับอัปเดตอุปกรณ์หลังจากที่มีการทดสอบคุณสมบัติจากในตลาดแล้ว

ไมโครซอฟท์มีวิธีการใหม่ๆ ในการอัปเดตให้กับลูกค้าธุรกิจ ซึ่งทำให้ลูกค้าสามารถอัปเดตคุณลักษณะการทำงานใหม่ๆ ได้อยู่เสมอ พร้อมทั้งยังช่วยให้ฝ่ายไอทีสามารถตรวจสอบการอัปเดตระบบการทำงานต่างๆ ได้อย่างสะดวกจาก Windows Insider Program อีกด้วย

เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ไมโครซอฟท์ได้ปรับปรุงรูปแบบการกระจายผลิตภัณฑ์ใน Windows Insider Program ใหม่ โดยจัดให้มีการนำเสนอคุณลักษณะใหม่ของ Windows 10 ให้กับลูกค้าก่อน เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นในการใช้งาน และนำมาใช้เพื่อพัฒนาระบบปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง ผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกของ Windows Insider Community จะมีบทบาทสำคัญในการสร้างและพัฒนา Windows 10 ตลอดจนเป็นผู้ใช้กลุ่มแรกที่จะได้เห็นสิ่งใหม่ๆ ที่ได้พัฒนาขึ้นบน Windows 10

Windows Insider Program ของทางไมโครซอฟท์นับเป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้คนนับล้านได้เห็น ได้ให้ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนา และส่งต่อคุณสมบัติต่างๆ ให้กับผู้ใช้หลายร้อยล้านคนทั่วโลก เป็นวิถีทางใหม่ในการดึงลูกค้าให้เข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ และยังสร้างความรู้สึกเสมือนได้เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์อีกด้วย

รูปแบบใหม่ของการนำเสนอการอัปเดตผลิตภัณฑ์ Windows 10 นี้แบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

 

  1. Windows Insider Preview Branch : รูปแบบการรับอัปเดตของกลุ่มผู้ใช้งานที่เป็นสมาชิก ก่อนมีการเปิดตัว Windows 10 อย่างเป็นทางการ รูปแบบนี้เหมาะสำหรับกลุ่มผู้ใช้ที่มีความเชี่ยวชาญทางเทคนิค ชอบทดลองและเสนอแนะสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ ช่วยต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์และองค์ความรู้โดยรวมให้กับทั้งผู้ใช้และทีมพัฒนาของไมโครซอฟท์2015-05-27_14-54-06

 

  1. Current Branch (CB) : รูปแบบการรับอัปเดตของผู้ใช้งานทั้งที่เป็นลูกค้าทั่วไปและลูกค้าองค์กร ที่พร้อมทดลองใช้งานการอัปเดตได้ตลอดเวลา ยินดีที่จะติดตั้งโปรแกรมอัปเดตอย่างสม่ำเสมอทันทีที่ได้รับ โดยรับโปรแกรมอัปเดตผ่าน Windows Update รูปแบบนี้เหมาะสำหรับกลุ่มผู้ใช้งานที่มีข้อมูลที่ไม่ขึ้นอยู่กับระบบมากนัก พร้อมทดลองคุณลักษณะใหม่ๆ ว่าช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างไร ทำให้มีโอกาสทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นก่อนใคร2015-05-27_14-54-19

 

  1. Current Branch for Business (CBB) : รูปแบบการรับอัปเดตของผู้ใช้งานที่เป็นลูกค้าองค์กรธุรกิจ ที่ยินดีใช้งานการอัปเดตที่ได้รับซึ่งผ่านการทดสอบมาระยะหนึ่งแล้ว แต่สามารถเลือกที่จะชะลอการปรับใช้งานไปได้ระยะหนึ่งโดยใช้เครื่องมือ Desktop Management ระดับมาตรฐาน รูปแบบนี้จะต่างกับ CB ตรงที่ว่า ผู้ใช้อาจมีข้อมูลที่สำคัญมากในระดับหนึ่ง จึงต้องการเสถียรภาพจากการใช้งานคุณลักษณะใหม่ค่อนข้างมาก จึงยอมรอเวลาเพื่อดูผลตอบรับจากกลุ่มผู้ใช้ในรูปแบบ CB ก่อน เพื่อความมั่นใจในการปรับใช้งานคุณลักษณะใหม่ๆ2015-05-27_14-54-35

 

  1. Long Term Servicing Branch (LTSB) : รูปแบบการรับอัปเดตของผู้ใช้งานเฉพาะที่เป็นลูกค้าองค์กรเท่านั้น โดยเป็นองค์กรที่มีการดำเนินงานที่ไม่ต้องการรับความเสี่ยงจากการอัปเดตตลอดเวลา (เช่น มีระบบ ATM เป็นต้น) ดังนั้น ลูกค้าจึงสามารถชะลอการปรับใช้งานโปรแกรมอัปเดตเป็นระยะๆ ไปได้ถึงสิบปี รูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่ให้ความยืดหยุ่นแก่ลูกค้าองค์กรมากที่สุด ช่วยให้องค์กรมีเวลาในการตรวจสอบ ทดสอบ และรับฟังความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะจากผู้ใช้งานที่รับอัปเดตแบบ CB หรือ CBB ก่อนได้ เพื่อการตัดสินใจที่ดีที่สุด และมีความเสี่ยงน้อยที่สุดในด้านเสถียรภาพและความปลอดภัยของระบบที่มีความสำคัญต่อองค์กร

 2015-05-27_14-54-52

ผู้ใช้งาน Windows 10 ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าองค์กรหรือลูกค้าทั่วไปสามารถเลือกรับอัปเดตของ Windows 10 ในรูปแบบใดก็ได้ใน 4 แบบข้างต้น (ยกเว้นแบบ LTSB ที่มีให้เฉพาะกับลูกค้าที่ใช้ Windows 10 Enterprise edition เท่านั้น) ที่ตรงกับความต้องการหรือตอบโจทย์ในการดำเนินธุรกิจของตนเอง

ด้วยวิธีการรับอัปเดตในรูปแบบใหม่นี้ ช่วยให้ลูกค้าสามารถบริหารต้นทุนได้อย่างง่ายดายขึ้น อีกทั้งยังสามารถควบคุมการติดตั้งใช้งานอัปเดตต่างๆ ได้ตามความจำเป็นทางธุรกิจได้อีกด้วย

 

ความเข้ากันได้ของแอปพลิเคชันหลังจากอัปเกรดเป็น Windows 10 และทางเลือกการใช้งาน

ไมโครซอฟท์มุ่งมั่นในการค้นหาวิธีการที่จะทำให้แน่ใจได้ว่าแอปพลิเคชันที่มีอยู่สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเข้าใจดีถึงปัญหาที่องค์กรพบเจอในช่วงเปลี่ยนจาก Windows XP เป็น Windows 7 ดังนั้น ไมโครซอฟท์จึงพยายามอย่างหนักเพื่อให้แน่ใจว่า Windows 7, Windows 8 และ Windows 10 จะเข้ากันได้อย่างยอดเยี่ยม ซึ่งรวมถึงเรื่องของฮาร์ดแวร์ด้วย โดย Windows 10 ได้รับการออกแบบให้มีข้อกำหนดด้านฮาร์ดแวร์โดยรวมเป็นแบบเดียวกับ Windows 7 และ Windows 8 เพื่อให้สามารถใช้ Windows 10 ได้บนอุปกรณ์ที่มีอยู่ได้อย่างสมบูรณ์

 

ก้าวต่อไปของเรา

ในขณะที่ลูกค้ากำลังประเมิน Windows 10 ไม่ว่าจะในแง่มุมของการลงทุนทางธุรกิจ การควบคุมการติดตั้งใช้งานอัปเดตต่างๆ ตามความจำเป็นของธุรกิจ หรือการวางแผนการบริหารต้นทุนด้านไอทีก็ตาม ไมโครซอฟท์หวังเพียงจะกระตุ้นให้ลูกค้าเริ่มทำโพรไฟล์ให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ของผู้ใช้ เนื่องจากจะช่วยให้อุปกรณ์ของลูกค้าองค์กรทั้งหมดมีความปลอดภัยมากขึ้นตามมาตรฐานและอัปเดตอยู่เสมอ ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของงธุรกิจในยุคปัจจุบันได้อย่างทันท่วงที และยังหวังด้วยว่าจะมีการพูดคุยกับลูกค้าและคู่ค้าเพื่อเปลี่ยนการนำเสนอ Windows ให้เป็นรูปแบบการบริการในเร็ววันนี้

 

เข้าร่วมกับโครงการ Windows Insider Program และทดลองใช้ Windows 10 Technical Preview

ไมโครซอฟท์คาดหวังที่จะให้ผู้ใช้ทั้งหลายมาเข้าร่วมโครงการ Windows Insider Program เพื่อทดลองใช้ Windows 10 Technical Preview เพื่อให้ข้อเสนอแนะและสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการเกี่ยวกับระบบ Windows ความคิดเห็นต่างๆ ของผู้ใช้จะถูกนำไปเป็นเป้าหมายในการพัฒนาระบบปฏิบัติการ Windows รุ่นนี้ให้ดีที่สุดสำหรับลูกค้า

Latest

สร้างภาพ AI บนวินโดวส์ + การ์ดจอ AMD ด้วย Amuse AI

คนใช้การ์ดจอ AMD จะมีความเป็นลูกเมียน้อยอยู่นิดนึง เพราะโปรแกรมและโมเดลสร้างภาพส่วนใหญ่ จะออกแบบมาให้ใช้กับ CUDA ของ Nvidia เป็นหลัก แต่ต่อไปนี้คนใช้...

ใช้ windows 11 อย่างเซียน ด้วย PowerToys (ฟรี)

PowerToys เป็นชุดเครื่องมือฟรีจาก Microsoft ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้ Windows โดยเฉพาะ Windows 11 ซึ่ง...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

Windows Search ห่วย ใช้ Listary ช่วยคุณได้

คิดว่าหลายคนที่ใช้วินโดวส์เป็นหลัก น่าจะรู้สึกเหมือนผม คือรำคาญระบบค้นหา หรือช่อง search ของวินโดวส์ เพราะช้า แถมหาอะไรก็ไม่ค่อยเจอ ...

Newsletter

Don't miss

สร้างภาพ AI บนวินโดวส์ + การ์ดจอ AMD ด้วย Amuse AI

คนใช้การ์ดจอ AMD จะมีความเป็นลูกเมียน้อยอยู่นิดนึง เพราะโปรแกรมและโมเดลสร้างภาพส่วนใหญ่ จะออกแบบมาให้ใช้กับ CUDA ของ Nvidia เป็นหลัก แต่ต่อไปนี้คนใช้...

ใช้ windows 11 อย่างเซียน ด้วย PowerToys (ฟรี)

PowerToys เป็นชุดเครื่องมือฟรีจาก Microsoft ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้ Windows โดยเฉพาะ Windows 11 ซึ่ง...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

Windows Search ห่วย ใช้ Listary ช่วยคุณได้

คิดว่าหลายคนที่ใช้วินโดวส์เป็นหลัก น่าจะรู้สึกเหมือนผม คือรำคาญระบบค้นหา หรือช่อง search ของวินโดวส์ เพราะช้า แถมหาอะไรก็ไม่ค่อยเจอ ...

รวม 22 คีย์ลัด Windows Key ที่ทำให้ชีวิตง่ายขึ้นพันเปอร์เซ็นต์

ปุ่ม Windows Key หน้าตาแบบนี้ ไม่ได้มีไว้ใช้แค่เรียกเมนู Start ขึ้นมาเท่านั้นนะครับ แต่ตัวมันใช้เป็นคีย์ลัดสำหรับการการทำงานบนวินโดวส์ได้หลายอย่างมาก วันนี้ผมขอรวบรวมคีย์ลัดของปุ่มนี้...

สร้างภาพ AI บนวินโดวส์ + การ์ดจอ AMD ด้วย Amuse AI

คนใช้การ์ดจอ AMD จะมีความเป็นลูกเมียน้อยอยู่นิดนึง เพราะโปรแกรมและโมเดลสร้างภาพส่วนใหญ่ จะออกแบบมาให้ใช้กับ CUDA ของ Nvidia เป็นหลัก แต่ต่อไปนี้คนใช้ AMD ไม่ต้องน้อยใจอีกต่อไป เพราะ Amuse AI คือโปรแกรมที่ออกแบบมาให้ใช้กับแพลตฟอร์มของ AMD โดยเฉพาะครับ สำหรับการ์ดจอนั้น ทาง Amuse AI แนะนำให้ใช้รุ่น RX 7000 ที่มี...

ใช้ windows 11 อย่างเซียน ด้วย PowerToys (ฟรี)

PowerToys เป็นชุดเครื่องมือฟรีจาก Microsoft ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้ Windows โดยเฉพาะ Windows 11 ซึ่ง PowerToys มีฟีเจอร์หลากหลายที่ช่วยทำให้การทำงานของคุณสะดวกและรวดเร็วขึ้น มาดูว่าแต่ละเครื่องมือมีอะไรบ้างและสามารถใช้ทำอะไรได้บ้าง PowersToys โหลดฟรีจาก Microsoft Store ผู้ใช้วินโดวส์ 11 สามารถเข้าไปโหลดแอปตัวนี้ได้ฟรี จาก Microsoft Store ตามภาพ เมื่อติดตั้งเรียบร้อย PowerToys จะรัน auto...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here