หลายคนอาจจะเคยสงสัย ว่าทำไมอาชญากรไซเบอร์ถึงต้องการแฮกและควบคุมบัญชีเฟซบุ๊ก นั่นก็เพราะอย่างน้อยที่สุด แฮกเกอร์จะได้กดถูกใจเพจหรือโพสต์แปลกประหลาด และโปรโมทสินค้าและบริการที่น่าสงสัยด้วยชื่อบัญชีคุณ แต่เฟซบุ๊กก็รู้เท่าทันกลโกงลักษณะนี้ จึงร่วมมือกับแคสเปอร์สกี้ แลป เพื่อปกป้องผู้ใช้ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์จากภัยร้ายไซเบอร์
ซึ่งแน่นอนว่า ตัวเฟซบุ๊กเองไม่ใช่แหล่งซอฟต์แวร์อันตราย แต่เป็นแหล่งเป้าหมายที่สามารถติดมัลแวร์ได้จากหลากหลายช่องทาง ยกตัวอย่างเช่น เฟซบุ๊กเป็นเป้าหมายหลักของการฟิชชิ่ง พบว่าฟิชชิ่งกลโกงจำนวนหนึ่งในห้าพุ่งเป้าโจมตีเฟซบุ๊กโดยเฉพาะ ผู้ใช้จึงควรระวังเมื่อได้รับอีเมลแจ้งเตือนต่างๆ เพราะอาจเป็นอีเมลปลอมได้ นอกจากนี้ ยังมีโทรจันจำนวนมากที่เล็งโจมตีผู้ใช้เฟซบุ๊กอีกด้วย
ในการป้องกันผู้ใช้จากอาชญากรรมในโลกไซเบอร์ เมื่อทีมเฟซบุ๊กตรวจพบพฤติกรรมน่าสงสัยหรือบัญชีที่อาจติดมัลแวร์ ก็จะแนะนำให้ผู้ใช้สแกนดีไวซ์ของตนด้วยฟรีแอนตี้มัลแวร์
หนึ่งในโปรแกรมที่จะช่วยแก้ปัญหาให้บัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊ก คือ “Kaspersky Malware Scan for Facebook” เมื่อเริ่มขั้นตอนสแกน ขอแนะนำให้ผู้ใช้รอให้โปรแกรมดำเนินการให้เสร็จสิ้น หากระบบพบปัญหาด้านความปลอดภัย จะปรากฏคำแนะนำเพื่อแก้ไขในขั้นตอนสุดท้าย โปรแกรมของแคสเปอร์สกี้ แลป นี้สามารถป้องกันผู้ใช้เฟซบุ๊กได้มากกว่า 260,000 ราย ในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา
สุดท้ายนี้ แคสเปอร์สกี้ แลป ขอแนะนำให้ผู้ใช้เฟซบุ๊กหมั่นสังเกตกิจกรรมน่าสงสัยและสแกนทันทีโดยไม่ต้องรอทีมเฟซบุ๊กแจ้งเตือน เช่น การกดถูกใจเพจที่ไม่คุ้นเคย สถานะที่ไม่ได้โพสต์เอง หรือสงสัยว่าเครื่องคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนอาจจะติดมัลแวร์ โดยสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์หลากหลายของแคสเปอร์สกี้ แลป ได้ที่เว็บ www.free.kaspersky.com โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
และที่สำคัญ! อย่าลืมตรวจสอบการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวและการตั้งค่าความปลอดภัยของบัญชีเฟซบุ๊ก รวมถึงการศึกษาเคล็ดลับและอัพเดทข้อมูลความปลอดภัยจากสื่อต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ