จากรายงาน Kaspersky Security Bulletin ปี 2561 Kaspersky Lab ตรวจพบการติดไวรัสจำนวนทั้งหมด91,664,758ในประเทศไทยเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งรายงานจากเครือข่ายความปลอดภัยของKasperskyและเปิดเผยเพิ่มเติมถึงความอันตรายของอุปกรณ์ที่ถอดได้อีกด้วย
ภัยคุกคามที่ตรวจพบจะเป็นการติดไวรัสออนไลน์ที่เกิดจากการถูกโจมตีโดยมัลแวร์ที่แพร่ผ่านทางUSBไดรฟ์ที่ถอดได้ แผ่นซีดี หรือ ดีวีดี และผ่านทางออฟไลน์อื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นจากไฟล์ที่เป็นไวรัส
ในช่วงเดือนมกราคม ถึง ธันวาคม 2561 กว่า 57.3%หรือ 6 ใน10 ของผู้ใช้ในประเทศไทยถูกโจมตีโดยภัยคุกคามในพื้นที่ ซึ่งทำให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่ 81 ที่มีจำนวนการติดเชื้อไวรัสมากที่สุดในปีที่แล้ว
“จำนวนของภัยคุกคามที่ตรวจพบโดยโซลูชั่นของ Kaspersky Labในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี 2561 สูงขึ้นจากปี 2560ถึง 3.8%ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศที่ปลอดภัยกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค แต่อย่างไรก็ตามก็จำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญในการลดความเสี่ยงจากอันตรายเหล่านี้” มร. โย เซียง เทียง ผู้จัดการทั่วไป Kaspersky Labภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว
มร. โย เซียง เทียง ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “ในรายงานภัยคุกคาม ICS ล่าสุด เราได้กล่าวถึงความผิดพลาดของคนที่ใช้งานไดรฟ์ที่ถอดได้ที่ติดไวรัส ทำให้อาชญากรไซเบอร์ได้ประโยชน์และเข้าโจมตีได้ทั้งแบบง่ายและการโจมตีที่ซับซ้อน ดังนั้นองค์กรต้องให้ความสำคัญกับพฤติกรรมและการตระหนักรู้ของพนักงาน ความผิดพลาดเพียงนิดเดียวจากการใช้งาน USBที่ติดไวรัส อาจทำให้โรงงานผลิตทั้งหมดเป็นอันตรายได้”
มร. ซูกูรุ อิชิมารุ นักวิจัยด้านความปลอดภัยของ Kaspersky Labประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยมีภัยคุกคามเพิ่มขึ้นในปีที่แล้วคือการตรวจพบRisktool, NetTool และ Adwareเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจัดเป็นอันดับ5แรกที่ตรวจพบในประเทศในปี 2561
การป้องกันจากการถูกโจมตีไม่ใช่เพียงแค่จำเป็นต้องมีโซลูชั่นที่ป้องกันไวรัสเท่านั้น แต่จะต้องมี firewall, anti-rootkitและการควบคุมไดรฟ์ที่ถอดได้ต่าง ๆ อีกด้วย
ทีมผู้เชี่ยวชาญของ Kaspersky Labได้ให้ข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคาม ดังนี้
- อย่าใช้แฟลชไดรฟ์ที่ไม่รู้จักการสำรองไฟล์และระบบต่าง ๆ เป็นสิ่งที่สำคัญ แต่ต้องระวังไว้เสมอเมื่อนำแฟลชไดรฟ์ของคนอื่นมาใช้กับคอมพิวเตอร์ของคุณ ไดรฟ์ต่าง ๆ อาจจะมีมัลแวร์ ซึ่งหากคุณใช้เพียงแค่ครั้งเดียวก็จะทำให้ติดไวรัสทั้งเครือข่ายได้ ดังนั้น ไม่ควรใช้อุปกรณ์ที่ไม่ใช่ของตัวเอง ควรสแกนไวรัสและโปรแกรมที่เป็นอันตรายอื่น ๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้ติดไวรัสจากอุปกรณ์อื่น ๆ
- อย่าผัดวันประกันพรุ่งในการอัปเดตซอฟแวร์คุณควรหมั่นอัปเดตโปรแกรมที่จำเป็นต่าง ๆ อาทิ Windows, Java, Flash และ Officeเพื่อเป็นการลดช่องโหว่ในการโจมตีของอาชญากรไซเบอร์ ถึงแม้จะมีโปรแกรม Antivirus อยู่แล้ว แต่ช่องโหว่ด้านความปลอดภัยของโปรแกรมจะทำให้ถูกโจมตีได้ หากไม่มีการอัปเดต คุณจะพลาดจากการแก้ไข และทำให้เป็นการเปิดช่องโหว่ให้ระบบเกิดการโจมตีและละเมิดข้อมูลที่สำคัญได้
- อัปเดตซอฟแวร์ Antivirusอยู่เสมอซอฟแวร์ด้านความปลอดภัยไม่สามารถต่อต้านได้กับทุกภัยคุกคาม แต่จะตรวจพบและกำจัดมัลแวร์ส่วนใหญ่ได้ ดังนั้นคุณต้องมั่นใจว่าอัปเดตอยู่เสมอ