พัฒนาขึ้นไปอีกขั้น กับซีพียูจากอินเทล ในตระกูลคอร์ไอ เจนเนอร์เรชั่น 4 ที่ใช้โค้ตเนม “HASWELL” สำหรับเครื่องพีซีตั้งโต๊ะ ที่ต้องการทั้งประสิทธิภาพ ความเร็ว และความสามารถที่หลากหลาย ของตัวซีพียู เพื่อการใช้งานได้ด้านต่างๆ ได้ ไม่มีติดขัด
พัฒนามาถึง เจนเนอร์เรชั่น 4 แล้วสำหรับซีพียูในตระกูลคอร์ไอ จากทางอินเทล ที่มีชื่อโค้ตเนมใหม่ว่า “Haswell” ออกมาแทนที่ซีพียูเดิมในโค้ตเนม “Ivy Bridge” ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อปีก่อน โดยซีพียูเจเนอร์เรชั่นใหม่นี้ จะอยู่ในช่วงของการพัฒนาแบบย้อนกลับ หรือ ช่วง “Tock” จึงอาจจะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงของตัวซีพียูมากนัก โดย ตัวซีพียูรุ่นนี้ยังคงใช้กระบวนการผลิตที่ 22 นาโนเมตร เหมือนเดิม แต่ปรับเปลี่ยนสถาปัตยกรรมใหม่ พร้อมเพิ่มชุดคำสั่ง AVX2 และ FMA3 ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของซีพียูให้ดีขึ้นประมาณ 5-10% จากเดิม และยังช่วยลดการใช้พลังงานของซีพียูลงได้ถึง 20 เท่า จากการเพิ่มสถานะการทำงานของซีพียูแบบ “กึ่งหลับ” (active idle) หรือ S0ix ที่ยังทำงานรับส่งข้อมูลได้เหมือนเดิมแต่กินไฟน้อยกว่าอย่างน่าทึ่ง
อีกทั้งยังมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของ หน่วยประมวลผลภาพกราฟิกในตัวซีพียูใหม่ เป็น “Intel HD Graphics 4600” ที่สามารถประมวลผลงานกราฟิกสามมิติต่างๆ ได้ดีขึ้นกว่าเดิมถึง 1.5 เท่า รองรับการเล่นเกมส์สามมิติใหม่ๆ ในปัจจุบันได้ดีขึ้น พร้อมรองรับชุดคำสั่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น DirectX 11.1, OpenGL 4 และ OpenCL 1.2 ตามมาตรฐานปัจจุบันได้ทั้งหมด และยังสามารถรองรับการแสดงผลภาพความละเอียดสูงระดับ 2K และ 4K ได้อีกด้วย
โดยซีพียูที่ได้มาทดสอบนี้เป็นซีพียู Intel Core i7 4770k ที่มีความเร็วในการทำงานที่ 3.5GHz พร้อมความสามารถของ Intel Turbo Boost เพิ่มความเร็วในการทำงานขึ้นไปสูงสุดที่ 3.9 GHz โดยทำงานแบบ 4 แกนประมวลผล รองรับการทำงานพร้อมกันสูงสุดถึง 8 เธรด และมีหน่วยความจำแคชในตัวซีพียูที่มากถึง 8MB เพื่อการใช้งานที่ต้องความรวดเร็วในการประมวลผลโดยเฉพาะ
เปลี่ยนซีพียูใหม่แล้ว เมนบอร์ดก็ต้องเปลี่ยนใหม่ด้วยเช่นกัน เรื่องหน้าเศร้าของผู้ใช้ ที่ต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่ทุกๆ ครั้ง ที่มีการซีพียู โดยเมนบอร์ดรุ่นใหม่ที่จะมาใช้งานกับซีพียูตระกูล “Haswell” จะต้องใช้ชิปเซ็ตในซีรีย์ 8 เป็นตัวควบคุมการทำงาน พร้อมซ็อคเก็ตของซีพียูแบบใหม่ที่เป็นแบบ “LGA1150” จากเดิมที่เป็นแบบ “LGA1156”
โดยเมนบอร์ดที่ได้มาทดสอบครั้งนี้ เป็นเมนบอร์ดของอินเทลเอง ในรุ่น DZ87KLT-75K ที่ใช้ชิปเซ็ต Intel Z87 ในการควบคุมการทำงานของเมนบอร์ด ซึ่งออกแบบมาสำหรับซีพียูในรุ่นท็อปๆ ในตระกูล “Haswell” ที่ใช้ซ็อคเก็ตแบบ “LGA1150” โดยเฉพาะ
ด้านบนมีฮีทซิงค์อลูมิเนียมสีน้ำเงิน สกรีนรูปหัวกระโหลก ที่บ่งบอกถึงตัวเมนบอร์ด ที่เป็นรุ่นสำหรับการโอเวอร์คล็อกของอินเทลโดยเฉพาะ ด้านล่างเป็นภาคจ่ายไฟ ไปยังส่วนต่างๆ ของเมนบอร์ด ที่ใช้เป็นแบบกึ่ง Digital ด้วยชิป Mosfet แบบ Driver Mosfet และ Ferrite Core Chock และ Solid Capacitor ทั้งหมด 8 เฟส อาจจะไม่เยอะแต่เพียงพอสำหรับการใช้งานกับซีพียู “Haswell”
ตัวหน่วยความจำ บนเมนอบร์ดรุ่นนี้ยังคงใช้หน่วยความจำแบบ DDR3 อยู่ ที่ทำงานบนบัสแบบ Dual Channel lสามารถติดตั้งหน่วยความจำได้สูงสุด 32 GB ตามมาตรฐานของ CPU
ด้านล่างเป็นส่วนของอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ โดยส่วนที่น่าสนใจคือ ช่อง PCI-Express x16 ที่ใส่มาให้ถึง 3 ช่อง แต่เป็นแบบ 3.0 เพียงช่องเดียวเท่านั้น โดยรองรับการทำงานแบบมัลติจีพียู ด้วยเทคโนโลยี AMD CrossfireX 3Ways แบบ 8x + 4x + 4x ส่วน SLI จะรองรับได้เพียงแค่ 2Ways แบบ 8x + 8x เท่านั้น ข้อจำกัดค่อนข้างเยอะทีเดียวสำหรับเมนบอร์ดรุ่นนี้ ส่วนพอร์ตอื่นๆ ที่ให้มาเป็นแบบ PCI-Express 2.0 x1 จำนวน 3 พอร์ต และ PCI 32bit แบบเดิมอีกหนึ่งสล็อตด้านล่าง ที่หลายๆ ค่ายในตอนนี้เริ่มตัดทิ้งออกไปบ้างแล้ว
ในส่วนของการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ประเภท HDD และ ODD ตัวเมนบอร์ดเปลี่ยนมาใช้พอร์ตแบบ S-ATAIII ความเร็ว 6.0 Gb/s ทั้งหมดเเล้ว โดยแบ่งเป็นการควบคุมผ่านชิปเซ็ต Z87 ทั้งหมด 6 พอร์ต ในชุดสีฟ้า และมีชิปควบคุมแยกอีก 2 พอร์ตในส่วนสีเทา รวมทั้งหมด 8 พอร์ต และยังมีสล็อต PCIe Mini Card ให้ในตัวเมนบอร์ดอีก 1 ช่อง สำหรับ ไดร์ฟ Solid-State แบบ mSATA
ส่วนพอร์ตอื่นๆ ที่เหลือ ในบริเวณ Back I/O Pane ก็จะคล้ายๆ กับที่มีอยู่ในเมนบอร์ดทั่วๆ ไป เช่น พอร์ต USB2.0 สีเหลือง ที่มีให้ถึง 2 ช่อง, พร้อม USB3.0 สีฟ้าอีก 6 ช่อง, Dual Gigabite LAN, HDMI, miniDP, และ Analog Audio Jack 5 อีกช่อง
มาในส่วนของการทดสอบความสามารถของซีพียู Intel Core i7 4770K เริ่มด้วนการดูสเปคคร่าวๆ ของตัวเครื่อง ด้วยโปรแกรม CPU-Z ซึ่งเวอร์ชั่นที่ใช้นี้ยังไม่มีข้อมูลของตัวซีพียู รุ่นใหม่นี้ จึงอาจจะแสดงข้อมูลบางอย่างผิดพลาดอยู่บ้าง อย่างเช่น ชื่อรุ่น แต่รายละเอียดหลายๆ อย่างยังคงถูกต้องและชัดเจน ทีเดียว
สำหรับประสิทธิภาพการทำงาน จากการทดสอบคร่าวๆ ของวินโดว์ ให้คะแนนตัวซีพียูออกมาถึง 8.1 คะแนนเลย มีตกเอาใส่ส่วนของกราฟิก 2D ที่ได้เพียง 5.7 คะแนน และ 6.6 คะแนนสำหรับกราฟฟิก 3D ดูเหมือนเรื่องของกราฟิกจะยังคงเป็นจุดอ่อนของทางอินเทลอยู่ไม่น้อย
จากนั้นดูต่อที่โปรแกรมทดสอบ PCmark7 โปรแกรมทดสอบโดยภาพรวมของตัวเครื่อง ในการทำงานด้านต่างๆ ซึ่งผลที่ออกมาอยู่ในกเกณฑ์ค่อนข้างดี ทีเดียว
จากนั้นลองดูส่วนของความสามารถในการประมวลผลของตัวซีพียู โดยเฉพาะด้วยโปรแกรมคำนวนค่าพาย อย่าง Super PI ทั้งแบบ 1M และ 32M ต่อด้วยการทดสอบการเข้ารหัสไฟล์ด้วยโปรแกรม WinRAR ทั้งแบบ Multithread และ แบบปกติ
การทดสอบการเรนเดอร์ภาพกราฟิกด้วยซีพียู ล้วนๆ ไม่เกี่ยวข้องกับตัวกราฟิกการ์ด
มาดูในส่วนของการจัดการอุปกรณ์ต่อพ่วงอย่างฮาร์ดดิสก์ดูบ้าง ตัวเมนบอร์ดก็ยังสามารถจัดการได้ดี ความเร็วไม่ตกหรือลดลงไปเลย
จากนั้นดูในส่วนขงการทดสอบด้านกราฟิก ด้วยโปรแกรม GPU-Z เพื่อดู ซึ่งตัวโปรแกรมสามารถให้ข้อมูลและรายละเอียดของตัวกราฟิกการ์ดใหม่ ได้อย่างถูกต้อง
เริ่มทดสอบด้วยโปรแกรม 3D Mark 7 โปรแกรมทดสอบความสามารถของกราฟิกการ์ดล้วนๆ ผลที่ออกมาทำได้พอกับกราฟิกการ์ด ระดับพื้นฐานทั่วไป ไม่โดดเด่นนัก
หลังจากนั้นลงทดสอบด้วยโปรแกรมทดสอบในตระกูลของ Unigine ทั้งตัว Heaven, Sanctuary, Tropic, และ Valley คะแนนออกมาไม่สูงนัก แต่ไม่ถึงกับเลวร้าย เอาเป็นพอใช้งานได้ก็แล้วกัน
ปิดท้ายด้วยการทดสอบการเข้ารหัสไฟล์วีดิโอความละเอียดสูงแบบ FullHD ด้วย X264 ผลที่ออกมาาจจะแพ้ซีพียูที่มีจำนวนคอร์สูงกว่า แต่ถ้าในระดับเดียวกันแล้ว ยังไงก็ดีกว่าแน่นอน
ราคา 11,480 บาท
บริษัท ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด
โทร. 0-2553-8888
www.synnex.co.th
Performance | Score 10 |
– ความเร็วสูงสุด 3.9GHz | |
Feature | Score 9 |
– มาพร้อม Intel HD Graphics 4600 | |
Design | Score 10 |
– ใช้สถาปัตยกรรมการผลิตที่ 22nm | |
Best Value | Score 7 |
– ราคายังค่อนข้างสูงอยู่มาก | |
First Impression | Score 8 |
– โดดเด่นด้วยความสามารถในการทำงาน |