จากรุ่นแรกที่เคยแอบเอามาให้ดูเป็นน้ำจิ้มก่อนหน้านี้ https://www.techonmag.com/intel-computestick-reviewed/ สำหรับ Intel Compute Stick เครื่องคอมพิวเตอร์ตัวจิ๋วที่ได้ชื่อว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เล็กที่สุดในโลกรุ่นหนึ่ง ด้วยขนาดที่เล็กมากๆ เพียง 103 x 37.6 x 12.5 มม. หรือใหญ่กว่าแฟลชไดรฟ์ที่ใช้งานกันอยู่เพียงเล็กน้อยๆ เท่านั้นเอง และที่สำคัญตอนนี้มีจำหน่ายในบ้านเราแล้วจ้า
ในรุ่นสำหรับจำหน่ายมีการเปลี่ยนแปลงดีไซน์ออกไปเล็กน้อย ที่แน่ๆ เห็นได้ชัดเลยคือขนาดที่ใหญ่ขึ้นมาพอสมควร ตามข่าวบอกว่ามีการเปลี่ยนระบบระบายความร้อนใหม่ ใส่พัดลมตัวจิ๋วลงไป พร้อมฮีทซิงค์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อรับมือกับความร้อนในการทำงานได้ดีมากขึ้น
การดีไซน์ด้านบนเป็นพอร์ต HDMI ไซต์มาตรฐานสำหรับเชื่อมต่อกับจอมอนิเตอร์ หรือเครื่องรับโทรทัศน์โดยตรง เสียบใช้งานได้ทันทีไม่ต้องต่อสายสัญญาณอื่นๆเพิ่ม (ยกเว้นสายไฟนะ) รองรับตั้งแต่จอภาพธรรมดา จอ HD ไปจนถึงระดับ 4K ได้ แต่ประสิทธิภาพก็จะขึ้นอยู่กับขนาดของจอด้วย (ยิ่งจอภาพความละเอียดสูงประสิทธิภาพยิ่งลดลง)
โดยวิธีการใช้งานหลังจากที่เสียบ Intel Compute Stick เข้าที่ช่อง HDMI หลังจอให้ต่อสาย Micro USB ที่ใช้เป็นสายไฟเสียบเข้ากับอแดปเตอร์ และ Intel Compute Stick ที่ช่อง MIcro USB ตรงกลาง ด้านข้างจะเป็นพอร์ต USB2.0 ให้ 1 พอร์ต (จริงๆ ควรจะเป็นพอร์ต USB3.0 ได้เเล้วนะ) และปุ่นเปิด-ปิดเครื่องอยู่ทางด้านขวา
ส่วนด้านซ้ายจะมีช่องอ่านการ์ด MicroSDXC 3.0 รองรับ UHS-I ให้ 1 ช่อง สำหรับโหลดรูปภาพจากกล้องมาเห็บไว้หรือเอาไปใช้สำหรับงานพรีเซนต์ก็สะดวกดีไม่น้อย
ดูวิธีการใช้งานชัดๆ อีกครั้งแค่เสียบ Intel Compute Stick เข้ากับจอมอนิเตอร์ หรือเครื่องรับโทรทัศน์บนพอร์ต HDMI จากนั้นต่อสายไฟซึ่งเป็นแบบ Micro USB สีดำตรงกลาง สังเกตไฟสีฟ้าจะติดขึ้นมาก็สามารถเปิดใช้งานได้ในทันที พอร์ต USB ที่เหลือ ไว้เสียบ Flashdrive ได้ แต่จะเสียบเมาส์และคีย์บอร์ดคงลำบาก เพราะจะเสียบอะไรเพิ่มไม่ได้เลย เว้นแต่จะมี Hub ช่วย หรือใช้เมาส์คีย์บอร์ดแบบ Bluetooth ก็น่าจะช่วยได้เยอะ
พูดถึง Bluetooth สำหรับ Intel Compute Stick รองรับการเชื่อมต่อแบบไร้สาย ผ่าน Bluetooth 4.0 และผ่านสัญญาณ Wireless 802.11 B/G/N ในตัว รับส่งข้อมูลสูงสุดตามสเปคได้ที่ 300 Mbps คิดว่ายังน้อยไปหน่อย พื้นที่เก็บข้อมูลในตัวน้อยขนาดนี้ น่าจะใช้ Gigabite Wireless เช่น AC ได้แล้ว เพื่อการโอนถ่ายข้อมูลได้สะดวกและรวดเร็วกว่า
เรื่องของขนาด Intel Compute Stick ดีไซน์มาเพื่อการพกพา ด้วยขนาดที่เล็กและเบาเพียง 55 กรัม ถ้ารวมอะแดปเตอร์และสาย Micro USB ด้วยจะอยู่ที่ 154 กรัม หรือราวๆ ขีดครึ่งเท่านั้นเอง เหมาะสำหรับการพกพาใช้งานนอกสถานที่ได้อย่างสะดวก โดยไม่รู้สึกเกะกะ
แต่จริงๆ แล้วจะไม่ต้องพกอะแดปเตอร์แปลงไฟไปก็ได้ เพราะตัวเครื่องนี้ใช้ไฟเพียง 5 โวลต์ เท่ากับที่ปล่อยอยู่ในสาย USB ปกติ จึงสามารถใช้อะแดปเตอร์ร่วมกับแท็ปเล็ตที่ชาร์จไฟผ่านพอร์ต USB หรือ PowerBank ก็ได้ แต่สเปคที่ชาร์จจะต้อง Output 10 วัตต์ 5V. 2A รวมไปถึงการใช้ไฟจากพอร์ต USB2.0 ที่อยู่บนเค่รื่องรับโทรทัศน์ก็ได้เช่นกัน 😮 แค่พก Compute Stick กับสาย Micro USB Type B สั้นๆ อีกเส้นหนึ่งก็สามารถใช้งานได้แล้ว
สเปคของ Intel Compute Stick ตารางสเปค Intel Compute Stick รุ่น STCK1A32WFC หรือจำง่ายๆ คือรุ่นที่มาพร้อมวินโดว์ โดยเดือนหน้าจะมีรุ่นที่มาพร้อมระบบปฏิบัติการ Ubuntu 14.04 LTS 64-bit ตามมา ซึ่งจะมีความแตกต่างเรื่องสเปคส่วนของ RAM และ ROM อยู่เล็กน้อย
โดยสเปคของ Intel Compute Stick รุ่นนี้ ใช้ซีพียู Intel Atom Z3735F โค้ตเนม Bay Trail ความเร็ว 1.33 GHz สูงสุด 1.83 GHz แคช 2MB ทำงานแบบควอทคอร์หรือ 4 คอร์ 4 เทรด รองรับ 64bit แต่ระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งมาให้เป็น Windows 8.1 32bit
ใสส่วนของแรม เป็นแรมแบบ DDR3L ขนาด 2GB แบบ Single Channel CL 9-9-9-24 @ 1333 MHz โดยจะเป็นชิปฝังติดกับบอร์ดไม่สามารถเปลี่ยนได้
ในส่วนของกราฟิกเป็น Intel HD Graphics ที่รวมอยู่ในตัวซีพียูแล้ว ความเร็ว 311 MHz Burst Frequency 646 MHz สามารถใช้งานกราฟิกทั่วๆ ไปได้ เล่นเกมส์เล็กๆน้อยๆ เอาอยู่แต่ถ้าสามมิติมีน็อคไปเหมือนกัน
ในส่วนของ ROM มีพื้นที่ให้จัดเก็บข้อมูลขนาด 32 GB ใช่ชิปของ Samsung รุ่น MBG4GC (eMMC) รุ่นยอดนิยม
ทดสอบประสิทธิภาพ
เริ่มจากโปรแกรมทดสอบประสิทธิภาพเครื่องคอมพิวเตอร์และแท็ปเล็ตโดยรวมกับ PC Benchmark
ตามด้วย SuprePi สำหรับทดสอบการคำนวนเลขทศนิยมของซีพียู
และ Cinebench R11.5 ในการประมวลผลกราฟิกของซีพียู
ผลทดสอบ CPU และ RAM จาก Aida64
ถัดมาเป็นการทดสอบความเร็วของ ROM ด้วยโปรแกรม CrytalDiskMark ซึ่งค่อนข้างเร็วพอสมควรด้วยความเร็วในการอ่านที่ 162.1 ?MB/s และความเร็วในการเขียนที่ 70.16 MB/s
และ ATTO Disk Benchmark ซึ่งจะบอกลักษณะการโอนถ่ายข้อมูล ซึ่งเท่าที่ดูจากความเร็วในการเขียนจะ Max อยู่ที่ 70-80 MB/s ตามเส้นสีแดง แต่มีความเร็วในการอ่านที่สูงดีทีเดียว ทดลองเปิดเครื่องปกติใช้เวลาโหลดระบบปฏิบัติการราวๆ 15 วินาทีเท่านั้นเอง
ส่วนกราฟิกไม่ได้มีผลทดสอบเท่าที่ลองจาก 3Dmark 8 และ PcMark 8 สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมถึง 3DMark สำหรับแท็ปเล็ตด้วยทดสอบไม่ผ่านความร้อนสูงเกิน ทดสอบด้วย Heaven Benchmark ที่ความละเอียดจอ 720P(จอ 32″) เฟรมเรทออกมาประมาณ 5-10 fps และที่ความละเอียด 1080p(จอ 42″) ไม่ผ่านด้วยความาร้อนสูงเกินเช่นกัน เข้าใจว่าขนาดหน้าจอก็จะมีผลกับการใช้งานด้านกราฟิกพอสมควร แต่ว่าสำหรับการดูหนังจากไฟล์วีดิโอหรือ Youtube ไม่มีปัญหารับชมได้ทั้งแบบ 1080p หรือ 4K ลื่ยไหลดีทีเดียวไม่มีกระตุกเลย สรุปก็คือ Intel Compute Stick รุ่นนี้ไม่แนะนำให้ใช้งานกับกราฟิกสามมิติ ใช้งานกับโปรแกรม เกมส์ ดูหนังฟังเพลงธรรมดาทั่วไปโอเคอยู่
ปิดท้ายด้วยอุปกรณ์ที่มาในแพ็คเกจประกอบด้วย Intel Compute Stick อะแดปเตอร์ พร้อมหัวแปลงปลั๊กไฟ 4 แบบ สาย Micro USB และ สาย HDMI อย่างสั้นใช้สำหรับหน้าจอมอนิเตอร์ติดผนัง ที่มีพื้นที่น้อยไม่สามารถเสียบ Intel Compute Stick ได้ ก็ต่อสายนี้จะได้งอหรือวางหลบไปทางอื่นแทนได้ เอาใจใส่ลูกค้าดีทีเดียว
ราคา 5,890 บาท
บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด
โทร. 0-2648-6000
www.intel.com