ในวันนี้ ผู้บริหารของ อินเทล คอร์เปอเรชั่น ได้เปิดเผยแผนงานที่ส่งเสริมการใช้อุปกรณ์โมบายล์ให้เร็วขึ้นในวงกว้าง ซึ่งครอบคลุมพอร์ตโฟลิโอของผลิตภัณฑ์ที่กำลังเติบโตของบริษัทฯ เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ตและอัลตร้าบุ๊ก เป็นต้น
ไมค์ เบล รองประธานและผู้จัดการทั่วไปแผนกโมบายล์แอนด์คอมมูนิเคชั่น กรุ๊ป และ เคิร์ก สกาวเกน รองประธานและผู้จัดการทั่วไปของแผนกพีซี ไคลเอนด์ กรุ๊ป ของอินเทล กล่าวว่า การเปิดตัวในครั้งนี้ ประกอบด้วยแพลตฟอร์มใหม่ของสำหรับตลาดสมาร์ทโฟนที่กำลังเติบโต รายละเอียดของคว๊อดคอร์ เอสโอซี แบบ 22 นาโนเมตร ที่จะเปิดตัวในเร็วๆ นี้ สำหรับแท็บเล็ตและอัลตร้าบุ๊กจะมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้นและใช้งานได้ง่ายขึ้น ภายใต้ดีไซน์คอนเวอร์ทิเบิลที่ทันสมัยและน่าใช้มากยิ่งขึ้น
“คุณจะพบกับความโดดเด่นต่างๆ จากอินเทลในอุปกรณ์โมบายล์ตามร้านใกล้บ้านคุณ โดยเราตั้งเป้าในการยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่อย่างก้าวกระโดดที่สุดในประวัติศาสตร์ของอินเทล โดยใช้อินเทล® คอร์™ โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 4 พร้อมด้วยการเพิ่มอินเตอร์เฟซรุ่นใหม่หลากหลายชนิดในอุปกรณ์ประมวลผล ผ่านการสัมผัส เสียง ระบบจำแนกใบหน้า และการปฏิสัมพันธ์กับท่าทางอีกด้วย นอกจากนี้ เรายังเพิ่มประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่ใน อะตอม™โปรเซสเซอร์ อีกด้วย เพราะเราต้องการเพิ่มความหลากหลายให้กับอุปกรณ์โมบายล์ในปี 2556 นี้อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน” สกาวเกนกล่าว”
สมาร์ทโฟน อินเทล อินไซด์
อินเทลเปิดเผยความก้าวหน้าเป็นครั้งแรกเมื่อหนึ่งปีก่อนในงานซีอีเอส โดยทางบริษัทได้เปิดตัวแพลตฟอร์ม อะตอม™โปรเซสเซอร์ (ชื่อเดิมคือ “เล็กซิงตัน”) และดีไซน์ต้นแบบสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ที่เน้นตลาดสมาร์ทโฟนราคาประหยัดเป็นหลัก แหล่งข่าวในอุตสาหกรรมคาดการณ์ว่าตลาดในเซ็กเมนท์นี้จะมีจำนวนสูงถึง 500 ล้านเครื่องภายในปี 2558 นี้ โดยมีบริษัทที่ออกมาประกาศสนับสนุนแพลตฟอร์มนี้ประกอบด้วย เอเซอร์* ลาวา อินเตอร์เนชันแนล* และ ซาฟารีคอม*
แพลตฟอร์มใหม่นี้มีจุดเด่นของผลิตภัณฑ์รุ่นคลาสสิกของอินเทลมาใช้กับตลาดสมาร์ทโฟนที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งประกอบด้วยประสิทธิภาพระดับสูงเพื่อรองรับการท่องเว็บอย่างรวดเร็ว การใช้มัลติมีเดียชั้นยอด และการใช้แอพลิเคชั่นแอนดรอยด์ต่างๆ
“นอกเหนือจากแพลตฟอร์มอะตอมที่ใช้พลังงานลดลง ซึ่งช่วยให้อินเทลสามารถสนองตอบต่อความต้องการของตลาดกลุ่มใหม่ๆ ได้แล้ว แพลตฟอร์มนี้ยังรองรับการขยายขอบเขตของกลุ่มผลิตภัณฑ์ของเราให้ครอบคลุมกลุ่มสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ อีกด้วย” เบลล์กล่าว “เราเชื่อมั่นว่าประสบการณ์ที่มาพร้อมกับอินเทลอินไซด์จะกลายเป็นตัวเลือกแรกของผู้ใช้อุปกรณ์โมบายล์เป็นครั้งแรกในตลาดที่กำลังเติบโต รวมทั้งกลุ่มลูกค้าเดิมของเราที่ต้องการใช้อุปกรณ์ราคาประหยัด โดยยังคงประสิทธิภาพและรูปแบบการใช้งานที่ยอดเยี่ยมเหมือนเดิม”
คุณค่าใหม่ๆ ของแพลตฟอร์มนี้ ประกอบด้วยคุณสมบัติระดับไฮเอนด์หลายชนิด เช่น อินเทลอะตอม โปรเซสเซอร์ Z2420 ที่มีเทคโนโลยี อินเทล ไฮเปอร์-เธรดดิ้ง ความเร็วสูงถึง 1.2 GHz ฮาร์ดแวร์การเข้าและถอดรหัสระบบแสดงผล 1080p รวมทั้งรองรับการทำงานของกล้องสองตัวที่มีคุณสมบัติการถ่ายภาพชั้นสูงในตัว พร้อมด้วย burst mode ที่ช่วยให้ผู้ใช้อุปกรณ์สามารถถ่ายรูปต่อเนื่องได้ถึง 7 รูปในเวลาไม่ถึงหนึ่งวินาทีและได้รูปภาพที่มีความละเอียดถึง 5 เมกะพิกเซล นอกจากนั้น แพลตฟอร์มดังกล่าวยังมีโมเด็ม Intel® XMM 6265 HSPA+ ที่รองรับคุณสมบัติซิมคู่/ดูอัล สแตนบาย สำหรับผู้บริโภคที่มองหาความคุ้มค่าของอุปกรณ์เป็นหลักอีกด้วย
นอกจากนั้น เบลล์ยังพูดถึงแพลตฟอร์ม อินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ Z2580 (ชื่อหรัสเดิมคือ “โคลเวอร์เทรล+”) ที่จะเปิดตัวในเร็วๆ นี้ โดยตั้งเป้าหมายที่ตลาดสมาร์ทโฟนประสิทธิภาพสูงและเมนสตรีมเป็นหลัก แพลตฟอร์มนี้ประกอบด้วย อะตอม โปรเซสเซอร์ แบบดูอัลคอร์ ที่มีเทคโนโลยี อินเทล ไฮเปอร์-เธรดดิ้ง พร้อมด้วยคุณสมบัติกราฟิกแบบดูอัลคอร์อีกด้วย แพลตฟอร์มใหม่นี้จะให้ประสิทธิภาพสูงกว่าโซลูชั่นรุ่นปัจจุบัน (แพลตฟอร์มอินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ Z2460) ถึงสองเท่า แต่ใช้พลังงานประหยัดกว่าและช่วยยืดอายุแบตเตอรี่อีกด้วย
แท็บเล็ตรุ่นต่อไปในอนาคตที่ใช้อินเทล® อะตอม™โปรเซสเซอร์ แบบคว๊อดคอร์
เบลล์ยืนยันว่าอุปกรณ์แท็บเล็ตและแท็บเล็ต คอนเวอร์ทิเบิล ที่ใช้เทคโนโลยีของอินเทลจะกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยกล่าวย้ำว่าในตอนนี้มีแท็บเล็ตหลากดีไซน์ที่ใช้ อะตอม โปรเซสเซอร์ Z2760 พร้อมวินโดวส์* 8 วางจำหน่ายในร้านค้าทั่วไปและบนโลกออนไลน์เป็นจำนวนมากจากผู้ผลิตรายต่างๆ เช่น เอเซอร์* เอซุส* เดลล์* ฟูจิตซึ* เอชพี* เลอโนโว* แอลจี* และซัมซุง* เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีแท็บเล็ตดีไซน์ใหม่ๆ ที่จะเริ่มทยอยออกวางจำหน่ายภายใน ช่วงไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้าอีกด้วย การใช้วินโดวส์* 8 ที่รองรับการทำงานอุปกรณ์โมบายล์ได้ดีขึ้นและเชื่อมต่อได้มากขึ้น พร้อมด้วยแพลตฟอร์มอะตอมที่รองรับการใช้งานแบตเตอรี่ได้ตลอดทั้งวัน ดังนั้นแพลตฟอร์มนี้จึงใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าแพลตฟอร์มของคู่แข่งอย่างแน่นอน
นอกจากนั้น เขายังเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับอะตอม เอสโอซี แบบ 22 นาโนเมตร รุ่นถัดไป ที่มีชื่อรหัสว่า “เบย์เทรล” ซึ่งจะเริ่มวางจำหน่ายในช่วงปลายปี 2556 นี้ โดยที่ อะตอม เอสโอซี แบบคว๊อดคอร์รุ่นแรกจะเป็นอะตอม โปรเซสเซอร์ ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่เคยมีมา โดยมีประสิทธิภาพในการประมวลผลสูงกว่าสองเท่าเมื่อเทียบกับแท็บเล็ตรุ่นปัจจุบันของอินเทล นอกจากนั้นแพลตฟอร์มนี้ยังมีระบบรักษาความปลอดภัยในตัวที่ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นอีกด้วย การปรับปรุงต่างๆ เหล่านี้จะรองรับรูปแบบการใช้งานในเชิงธุรกิจและส่วนตัวที่ดีกว่าเดิม ในรูปของอุปกรณ์ที่บางแค่ 8 มม. ที่มีอายุการใช้แบตเตอรีได้ทั้งวัน และสแตนบายได้หลายสัปดาห์ ในราคาที่ลดลง
“เราพัฒนาเบย์เทรลโดยใช้ผลงานที่เคยทำไว้กับการพัฒนาเอสโอซีในปัจจุบันและเพิ่มความเร็วให้สูงขึ้นอย่างรวดเร็วโดยใช้ประโยชน์จากปมเด่นเรื่องระบบประมวลผลคอร์ของอินเทลเอง” เบลล์กล่าว “นอกจากนั้น เรายังใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์และความชำนาญที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดพร้อมรูปแบบการใช้งานที่ดีที่สุดอีกด้วย”
การใช้พลังงานที่ลดลงสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้อัลตร้าบุ๊ก
ตั้งแต่กลางปี 2555 เป็นต้นมา อินเทลเป็นผู้นำอุตสาหกรรมโดยการพัฒนาอุปกรณ์อัลตร้าบุ๊กที่ตั้งเป้าไปที่ระบบประมวลผลโมบายล์แบบใหม่ที่สมบูรณ์แบบมากกว่าเดิม ภายใต้ดีไซน์ที่เพรียวบาง โดดเด่น แยกชิ้นได้ และคอนเวอร์ทิเบิลมากขึ้น ดังนั้น เพื่อส่งเสริมการออกแบบที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆเหล่านี้ ในเดือนกันยายน 2555 อินเทลจึงได้ประกาศเพิ่มโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ให้กับโปรเซสเซอร์ตระกูลอินเทล คอร์ เจนเนอเรชั่น 4 และตั้งเป้าการใช้พลังงานไว้ที่ 10 วัตต์ โดยยังคงให้ประสิทธิภาพในระดับที่ยอดเยี่ยมอย่างที่ผู้คนต้องการต่อไป
นอกจากนี้ สกาวเกน ยังประกาศอีกว่า อินเทลพัฒนาโปรเซสเซอร์ใช้พลังงานน้อยรุ่นใหม่สำหรับโปรเซสเซอร์ตระกูลอินเทล คอร์ เจนเนอเรชั่น 3 แล้ว โดยชิปเหล่านี้ซึ่งมีวางจำหน่ายแล้วใช้พลังงานเพียงแค่ 7 วัตต์ ทำให้ผู้ผลิตสามารถออกแบบเครื่องแบบคอนเวอร์ทิเบิลที่บางลงและเบากว่าเดิมได้ โดยในตอนนี้มีกำลังมีการพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่ๆ ที่ใช้โปรเซสเซอร์ใช้พลังงานต่ำรุ่นใหม่นี้อยู่ โดยอุปกรณ์เหล่านี้จะให้ประสิทธิภาพระดับเดียวกับพีซีภายใต้โครงสร้างของอุปกรณ์โมบายล์ เช่น แท็บเล็ตและอัลตร้าบุ๊กคอนเวอร์ทิเบิล เป็นต้น เครื่องรุ่นแรกๆ ที่วางจำหน่ายในตลาด เช่น อัลตร้าบุ๊ก รุ่นเลอโนโว ไอเดีย แพ็ด โยคะ* 11S และอัลตร้าบุ๊กแบบแยกชิ้นได้รุ่นต่อไปของเอเซอร์ เป็นต้น โดยสกาวเกนได้นำอุปกรณ์ทั้งสองรุ่นที่ใช้โปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ของอินเทลมาสาธิตบนเวทีด้วย
อินเทลคอร์โปรเซสเซอร์รุ่นที่ 4 รองรับการใช้แบตเตอนรี่ได้ตลอดทั้งวันอย่างแท้จริง ซึ่งถือเป็นการปรับปรุงอายุการใช้งานแบตเตอรี่แบบก้าวกระโดดในประวัติศาสตร์ของอินเทล สกาวเกนเปิดเผยว่าอุปกรณ์รุ่นใหม่จะสามารถใช้แบตเตอรี่ได้ต่อเนื่องนาน 9 ชั่วโมง ดังนั้นผู้คนจึงไม่จำเป็นต้องพกสายไฟและแบตเตอรี่น้ำหนักมากติดตัวอีกต่อไป
“อินเทล คอร์ โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 4 คือชิปรุ่นแรกของอินเทลที่พัฒนาขึ้นมาใหม่โดยตั้งเป้าไปที่อัลตร้าบุ๊กเป็นหลัก” สกาวเกนกล่าว “เราคาดว่า คอร์ โปรเซสเซอร์ รุ่นใช้พลังงานน้อยนี้จะมีความก้าวหน้ากว่าเดิมอย่างมาก และเข้ามาช่วยปรับปรุงอุปกรณ์แบบหน้าจอสัมผัสจนนำไปสู่อัลตร้าบุ๊ก คอนเวอร์ทิเบิล และ แท็บเล็ตที่บางลง เบาขึ้น และยังคงให้ประสิทธิภาพเต็มเปี่ยมเพื่อรองรับการทำงานปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ เช่น การควบคุมโดยใช้การสัมผัส เสียง และท่าทาง เป็นต้น”
สกาวเกนสาธิตศักยภาพของอินเทล คอร์ โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 4 แบบประหยัดพลังงานรุ่นใหม่โดยใช้อัลตร้าบุ๊กดีไซน์ใหม่ที่แยกชิ้นส่วนได้ (ชื่อรหัสว่า “นอร์ทเคป”) ซึ่งแปลงไปเป็นแท็บเล็ตขนาด 10 มม.และยังคงใช้แบตเตอรี่ได้นานติดต่อกันกว่า 13 ชั่วโมงเมื่อเสียบต่อบนแท่น
นอกจากนั้น เขายังทำการสาธิตความก้าวหน้าของการที่ผู้บริโภคโต้ตอบกับอุปกรณ์ประมวลผลของตนเอง อาทิ กล้อง 3-D ที่สามารถโต้ตอบได้อย่างเป็นธรรมชาติ นอกจากนั้นอินเทลยังได้แสดงแอพพลิเคชั่นที่ทำงานบนอัลตร้าบุ๊กซึ่งสามารถปรับแต่งวัตถุต่างๆ ตามธรรมชาติโดยใช้การเคลื่อนไหวอย่างอิสระของมือ นิ้ว ใบหน้า และเสียง การสาธิตแอพพลิเคชั่นต่อมาเกี่ยวกับระบบประชุมร่วมผ่านวิดีโอในวงกว้างและการเขียนบล็อก เป็นต้น แอพพลิเคชั่นเหล่านี้ใช้ Intel Perceptual Computing SDK 2013 Beta โดยอินเทลคาดว่า ในปีนี้จะมีอัลตร้าบุ๊กและอุปกรณ์แบบออลอินวัน (AIO) รุ่นล่าสุดที่มีแอพพลิเคชั่นสั่งงานโดยใช้เสียง (คราก้อนแอสซิแตนท์*) และ ระบบจำแนกใบหน้า (ฟาสต์แอคเซส* ) เปิดตัวมากขึ้นเพื่อรองรับการใช้งานที่สะดวกยิ่งขึ้นและเป็นอิสระจากการใช้รหัสผ่าน
อินเทลมอบ “เวลาของครอบครัว”ให้แก่ผู้บริโภค
ในช่วงที่ทำการบรรยาย สเกาเกนได้สาธิตระบบ AIO แบบปรับตัวได้ ซึ่งมีแบตเตอรี่ในหน้าจอเลย ซึ่งผู้ใช้สามารถถอดออกมาแล้วเคลื่อนย้ายไปมาภายในบ้านหรือสำนักงานได้อย่างสะดวก ระบบ AIO แบบปรับตัวได้คือคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงที่มีหน้าจอสัมผัสขนาดใหญ่ที่ใช้เป็นอุปกรณ์เล่นเกมซึ่งรองรับการทำงานของสมาชิกในบ้านได้ทุกคน (ผู้ใช้หลายคน)ได้ หรือใช้เป็นอุปกรณ์สร้างสรรค์ผลงานศิลปะแบบอินเตอร์แอคทีฟ หรืออุปกรณ์แบ่งปันประสบการณ์ร่วมกับผู้ใช้จำนวนมากก็ได้ พูดง่ายๆ คือ อุปกรณ์เหล่านี้น่าจะช่วยนำเอา “คืนการเล่นเกม” หรือเวลาสนุกของครอบครัวกลับมาสู่ทุกบ้านผ่านการแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกันระหว่างสมาชิกในครอบครัวและเพื่อนฝูงที่จะมาโต้ตอบ เล่นเกม และมีความสุขร่วมกันได้
นอกจากนั้นอินเทลยังพยายามผลักดันให้ผู้ใช้อุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีอินเทลได้มีโอกาสเข้าถึงคอนเทนท์ ผ่านการทำงานร่วมกับผู้ให้บริการรายการโทรทัศน์และวิดีโอทั่วโลก เช่น คอมคาสต์และวีเกสเทเลคอม เพื่อมอบความสะดวกในการชมโทรทัศน์ที่ช่วยให้ผู้บริโภคชมรายการทีวีแบบสดๆ หรือตามความต้องการได้ อินเทลกำลังทำงานร่วมกับคอมคาสต์เพื่อนำสัญญาณของระบบเอ็กซ์ฟินิตี้* ทีวีไปสู่จอภาพจำนวนมากภายในบ้าน อาทิ อุปกรณ์อัลตร้าบุ๊ก พีซี AIO พลังอินเทล และแท็บเล็ตชนิดต่างๆ เป็นต้น
การทำงานดังกล่าวเกิดขึ้นได้เนื่องจาก มัลติสกรีนวิดีโอเกตเตอร์รุ่น เอ็กซ์จี 5 ที่ใช้โปรเซสเซอร์อินเทล พูมา 6 เอ็มจี ที่พัฒนาโดย ARRIS อุปกรณ์หมวดใหม่นี้จะช่วยให้จอภาพทุกจอภายในบ้านสามารถเข้าถึงคอนเทนท์ความบันเทิงชั้นยอดแบบสดๆ และตามความต้องการได้ โดยเริ่มนำร่องกับการทำงานร่วมกับวีเกสเทเลคอม เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคในฝรั่งเศส ซึ่งใช้ระบบบีบ็อกซ์ทีวี ได้รับประสบการณ์แบบนี้ผ่านอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีอินเทลด้วย ผู้บริโภคจะดูรายการทีวีสดหรือวิดีโอตามความต้องการได้ทุกที่ผ่านเครือข่ายของวีเกสเทเลคอม