นายมารุต มณีสถิตย์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ พีทีอี ลิมิเต็ด หรือ เอชดีเอส กล่าวว่า พฤติกรรมการทำงานขององค์กรที่เปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคโมบิลิตี้ ความต้องการในการเข้าถึงข้อมูลแบบเรียลไทม์ การแชร์ไฟล์และใช้ข้อมูลให้ตรงกัน (ซิงค์) ของพนักงานจากทุกที่ทุกเวลา ตลอดจนแนวโน้มรูปแบบของการใช้งานในอุปกรณ์พกพาที่เพิ่มขึ้น องค์กรจึงต้องหากลยุทธ์ในการบริหารจัดการการเคลื่อนย้ายข้อมูลที่สำคัญเหล่านี้ โซลูชั่นไฮบริดคลาวด์ (Hybrid Cloud) จะช่วยตอบโจทย์องค์กรในการใช้ประโยชน์ประสานระหว่างคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) ซึ่งมีความคล่องตัว ประหยัด ง่ายต่อการใช้งาน และไพรเวทคลาวด์ (Private Cloud) ที่มีจุดเด่นในเรื่องความปลอดภัยภายใต้ความควบคุมของฝ่ายไอที นอกจากนี้ ไฮบริดคลาวด์ยังช่วยองค์กรในเรื่องความสมดุลระหว่างค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน (OPEX) และค่าใช้จ่ายในการลงทุน (CPEX) อีกด้วย
Object Storage จึงเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมในการสนับสนุนระบบคลาวด์ เนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มที่สำคัญในการบริหารการเคลื่อนย้ายข้อมูล และระบบบรรณารักษ์ข้อมูล (Metadata) ซึ่งซอฟแวร์สามารถบริหารข้อมูลทั้งแบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง ช่วยในการเรียก, สืบค้น และจัดตั้งกฎข้อบังคับข้อมูลในระบบคลาวด์ ทำให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการข้อมูล และคอนเทนท์จากองค์กรข้ามอุปกรณ์ หรือสาขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น ฮิตาชิฯ จึงได้เปิดตัวเทคโนโลยีล่าสุดของ Hitachi Content Platform (HCP) ซึ่งเป็นทั้ง Object Storage และซอฟแวร์ ที่ชูความสามารถเป็น Hybrid Storage Cloud Gateway ในการทำ Adaptive cloud tiering ที่สามารถแบ่งชั้นข้อมูลและเนื้อหา (tier data and content) จาก meta-data ของข้อมูลตามข้อกำหนดขององค์กร เพื่อกำหนดที่จัดเก็บข้อมูลไปยังบริการ คลาวด์สาธารณะ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อได้ทั้ง Microsoft Windows® Azure, Amazon S3, Verizon Cloud , Google Cloud Platform รวมทั้งระบบบริการ cloud-based archiving ซึ่งเป็นคลาวด์สาธารณะของฮิตาชิฯเอง (ปัจจุบันให้บริการในสหรัฐอเมริกา) หรือ สามารถเชื่อมไปยังคลาวด์สาธารณะของผู้ให้บริการในประเทศไทยได้อีกด้วย ช่วยในการบริหารทรัพยากรข้อมูลได้อย่างคุ้มค่า แต่ยังคงการควบคุมมาตรฐาน การควบคุมการเข้าถึง และด้านความปลอดภัยต่างๆจากองค์กรของลูกค้าเอง
จุดเด่นความสามารถสำคัญของ HCP Cloud Gateway ครอบคลุมถึง
- การบริหารจัดแบ่งพื้นที่การใช้งานในระบบขนาดใหญ่ (Large-scale multi-tenancy)
- รองรับการบริหารความจุสูงสุดได้ถึง 80PB of storage, 80 nodes และ รองรับ User Object ได้ถึง 64 พันล้าน user objects ในระบบเดียว อีกทั้งในการเพิ่ม node หรือ storage สามารถเพิ่มได้โดยอิสระต่อกัน โดยไม่ต้องหยุดการให้บริการใดๆ
- สนับสนุน Representative state transfer (REST) และรองรับ S3 API ซึ่งคุณสมบัตินี้ ทำให้ HCP สามารถนำข้อมูลจาก cloud applications ได้ และส่งข้อมูลออก ร่วมไปถึงการย้ายข้อมูล ข้ามระบบคลาวด์ต่างกันได้
- Custom metadata ของแต่ละ Object เปิดให้สามารถเข้าถึง เนื้อหาของ Content ได้มากขึ้น, Fixed content archiving. และ บริหารข้อมูลภายใต้การป้องกันการแก้ไขในแบบ “write once, read many” (WORM) และ file versioning technology ได้
- ลดการซ้ำซ้อนในการปกป้องข้อมูล Backup-free data protection and content preservation.
และ ล่าสุด ทางฮิตาชิฯ ยังได้ประกาศชูอีก 4 เทคโนโลยีที่มาใหม่กับ HCP Cloud Gateway นี้ ได้แก่
- อุปกรณ์เสริม Node HCP S10 – เป็นอุปกรณ์แบบ plug-and-play ที่มีความจุขนาดใหญ่ เพื่อบริหาร พื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่ต้องการป้องกันในระยะยาว (long-term protection) เพื่อลดต้นทุนให้ต่ำลงภายใต้การบริหารของ HCP cloud-tiering สามารถกำหนด Policy แบ่งชั้นเนื้อหาตามความสำคัญ เพื่อย้ายไปจัดเก็บยังระบบของผู้ให้บริการคลาวด์สาธารณะอื่นๆ
- รองรับการนำ HCP ไปผสานร่วมกับ OpenStack ที่ทำงานในระบบคลาว์ โดยได้ประโยชน์จากความสามารถต่างๆของ HCP เสริม เช่น Retention, versioning, Metadata Indexing และอื่นๆ
- รองรับ Mobile access ไปยังระบบ NAS ปัจจุบันขององค์กร เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร จากทรัพย์สินเดิมที่ลงทุนไปแล้ว
- รองรับ Elastic NAS เพื่อให้ NAS สามารถยืดหยุดมากขึ้นเผื่อพื้นที่ในการรองรับงานได้งานขึ้น ไม่มากหรือน้อยเกินความจำเป็น
นอกจากโซลูชั่นไฮบริดคลาวด์ ฮิตาชิฯ ยังมีคลาวด์โซลูชั่นแบบครบวงจร ตามลักษณะความต้องการของลูกค้า ได้แก่
- โซลูชั่นไพรเวทคลาวด์ (Private Cloud Solution)
- HDS Consult, Design, Transition: บริการให้คำปรึกษา ออกแบบการสร้างระบบ
- HDS Cloud Automation Suite: ด้วยชุดสำเร็จรูปในการติดตั้งระบบไพรเวทคลาวด์ ที่เรียกว่า Hitachi Unified Compute Platform (UCP) อาทิ UCP VMware เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการสร้างหรือเริ่มต้นระบบคลาวด์ แต่ต้องการลงทุนในฮาร์ดแวร์น้อยๆ และสามารถนำไปใช้งานคลาวด์ (Automate Cloud) ได้จริง
- HDS Solutions for Private Cloud: ช่วยปรับเปลี่ยนระบบไอทีเก่าที่ลูกค้ามีอยู่เดิม ตั้งแต่ขั้นตอนการควบรวม (Consolidate) การทำเวอร์ชวลไลเซชั่น (Virtualization) ด้วยโซลูชั่น อาทิเช่น กลุ่ม Hitachi Unified Storage VM, Hitachi NAS Platform, Hitachi Virtual Storage Platform รวมถึง Hitachi Content Platform (HCP) ที่มีความสามารถเป็นไฮบริดคลาวด์ และซอฟแวร์ Hitachi cloud services management portal ในการสร้าง self-service ในการทำคลาวด์
- Hitachi Cloud Managed Solutions
- Hitachi Cloud-Compute as a Service (Managed Private Cloud) ช่วยในการจัดสรรบุคลากรผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยบริหารจัดการดาต้าเซ็นเตอร์ไพรเวทคลาวด์ของลูกค้า ตลอดจนวางแผนรองรับการเติบโตของธุรกิจ ทั้งที่สถานที่องค์กรลูกค้า และแบบบริหารจากระบบทางไกล ที่ฮิตาชิฯ ร่วมกับพันธมิตรระดับโลกอย่าง Equinix
- Hitachi Cloud – Storage as a Service โมเดลที่ช่วยเปลี่ยนระบบไอทีเดิมให้เป็นระบบคลาวด์ พร้อมด้วยการลงทุนและบริหารจัดการ โดยฮิตาชิฯ
- โซลูชั่นคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud Solutions) บริการ Hitachi Cloud Services ที่ปัจจุบันให้บริการในสหรัฐอเมริกา
- Hitachi Cloud Service Provider Program เป็นโปรแกรมที่ ฮิตาชิฯ สามารถร่วมมือกับผู้ให้บริการคลาวด์ ในการลงทุนร่วมกัน กล่าวคือ ผู้ให้บริการลงทุนในส่วนของการตลาด พื้นที่ให้บริการ และฮิตาชิฯลงทุนในส่วนของ ผลิตภัณฑ์ หรือโซลูชั่นสำหรับให้บริการคลาวด์
“ทั้งนี้ องค์กรควรจะต้องเลือกใช้กลยุทธ์ รูปแบบ และการบริการ คลาวด์ให้เหมาะสมกับความต้องการ จุดเด่นโซลูชั่นคลาวด์ของฮิตาชิ คือ ความคุ้มทุนในราคาที่ถูกกว่า ซึ่งในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการลดราคาเพื่อไปแข่งขัน แต่ด้วยเทคโนโลยีของฮิตาชิฯ สามารถทำให้องค์กรใช้ทรัพยากรไอที จำนวนเซิฟเวอร์ และสตอเรจน้อยกว่า ประหยัดกว่า และนำไปใช้งานได้มีประสิทธิภาพเช่นกัน จึงทำให้องค์กรสามารถลดค่าใช้จ่ายในส่วนอื่นๆด้วย เช่น ค่าไฟ, ค่าพื้นที่ ส่งผลให้มีต้นทุนต่ำ และสามารถนำใช้ระบบคลาวด์ได้ทันตามความต้องการของธุรกิจ ด้วยความน่าเชื่อถือในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลด้วยสินค้าคุณภาพมาตรฐานของฮิตาชิฯ” นายมารุต กล่าวทิ้งท้าย