ฮิตาชิเปิดตัว “Lumada” แพลตฟอร์มหลัก สำหรับอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT)

  รายงานข่าวจากฮิตาชิ อินไซต์ กรุ๊ป (Hitachi Insight Group) กลุ่มธุรกิจใหม่ในเครือบริษัท ฮิตาชิ ซึ่งมีหน้าที่ผลักดันธุรกิจและกลยุทธ์ด้านอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) ทั่วโลกของฮิตาชิ  ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เปิดตัว “Lumada แพลตฟอร์มหลักด้าน IoT” ภายใต้การผสานรวมเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์ในกลุ่มโซลูชั่นของบริษัท ฮิตาชิ ที่ได้รับการยอมรับในตลาด ทำให้ Lumada กลายเป็นแพลตฟอร์มหลักด้าน IoT ระดับองค์กร ที่มีฟังก์ชันการทำงานครอบคลุมและมาพร้อมสถาปัตยกรรมแบบเปิดที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการ ทำให้การสร้างและปรับแต่งโซลูชั่น IoT เป็นเรื่องง่าย แพลตฟอร์มนี้เป็นการรวมความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการดำเนินงาน (Operational : OT) และเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology: IT) เข้าด้วยกันอย่างลงตัว ผสานการจัดระเบียบข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบสตรีมมิ่ง ระบบการจัดการเนื้อหาอัจฉริยะ โมเดลการจำลองสถานการณ์ และเทคโนโลยีซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่มีประสิทธิภาพและได้รับการยอมรับของบริษัทฮิตาชิ

ทั้งนี้ Lumada จะช่วยให้เกิดการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกใน IoT ที่อุปกรณ์ต่างๆสามารถส่งข้อมูลระหว่างกันเองได้ ทำให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง นำเสนอบริการตามความต้องการได้เร็วขึ้น รวมทั้งสนับสนุนการตัดสินใจได้ดีขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมในโลกแห่งความเป็นจริง เช่น ประสิทธิภาพในการผลิตและความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนสามารถลดต้นทุนการดำเนินงาน และปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์ และยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น โดยแพลตฟอร์มนี้เป็นระบบพื้นฐานที่ใช้ในการพัฒนาโซลูชั่น IoT ทั้งหมดของฮิตาชิ และยังช่วยให้สามารถสร้างระบบนิเวศของธุรกิจ IoT ได้อย่างสมดุล

การปรับเปลี่ยนธุรกิจองค์กรเป็นระบบดิจิทัล หรือ Digital Transformation ถือเป็นแนวทางที่สำคัญสำหรับภาครัฐและเอกชนที่ต้องการปรับกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและครอบคลุมรอบด้าน รวมทั้งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการตอบสนองลูกค้าและประชาชนที่เข้ามารับบริการได้ดียิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้การประยุกต์ใช้โซลูชั่น IoT ที่สามารถนำเสนอข้อมูลเชิงลึกอันมีค่า เพื่อการสนับสนุนการแปรรูปองค์กรให้เป็นระบบดิจิทัล จึงกำลังมีความสำคัญเชิงกลยุทธ์อย่างยิ่งในเกือบทุกอุตสาหกรรมและตลาดทั่วโลก อย่างไรก็ตามการสร้างโซลูชั่น IoT ที่สามารถสร้างมูลค่าที่แท้จริงได้นั้นอาจไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะหากไม่มีสถาปัตยกรรมหลักที่เหมาะสม หรือไม่มีความเข้าใจที่แท้จริงในด้านการสร้างแบบจำลองสถานการณ์และการทำให้หน่วยงานปฏิบัติงานและกระบวนการทำงานกลายเป็นระบบดิจิทัลได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าแพลตฟอร์ม IoT มีความจำเป็น แต่ก็มักจะถูกนำมาใช้กับโซลูชั่น IoT ในระดับที่มีความซับซ้อนและไม่มีความยืดหยุ่น ทำให้เป็นเรื่องยากที่จะปรับเปลี่ยนและไม่สามารถรองรับส่วนประกอบของธุรกิจดิจิทัลและระบบนิเวศของตลาดในระดับที่ใหญ่ขึ้นได้อย่างสมบูรณ์

Lumada ได้รับการออกแบบขึ้นเป็นพิเศษเพื่อจัดการกับความท้าทายในการสร้างโซลูชั่น IoT โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและความชำนาญของบริษัท ฮิตาชิ ในด้าน OT และ IT และด้วยสถาปัตยกรรมที่เปิดกว้างและสามารถปรับเปลี่ยนได้ ทำให้สามารถนำแพลตฟอร์มนี้ไปปรับใช้กับกลุ่มอุตสาหกรรมและการใช้งานในรูปแบบต่างๆ ได้หลายรูปแบบ ทั้งยังเป็นแพลตฟอร์มที่ยืดหยุ่นและสามารถปรับขยายได้ที่บริษัท ฮิตาชิ รวมถึงลูกค้าและพันธมิตรสามารถนำมาใช้ในการปรับแต่งโซลูชั่นของตนหรือสร้างโซลูชั่นร่วมกันได้อย่างง่ายดาย

มร. คริสเตียน เรโนด์ ผู้อำนวยการด้านการวิจัย IoT บริษัท 451 รีเสิร์ช กล่าวว่า “แพลตฟอร์ม IoT มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการพัฒนาและปรับใช้โซลูชั่น IoT อย่างไรก็ตาม แพลตฟอร์มนี้อาจก่อให้เกิดความซับซ้อนรูปแบบใหม่ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคในการนำโซลูชั่นไปใช้ประโยชน์ได้ แม้ว่าจะยังคงเป็นช่วงเริ่มต้นของตลาดแพลตฟอร์ม IoT แต่ก็เป็นตลาดที่มีผู้เล่นอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นเรื่องยากสำหรับผู้จำหน่ายรายใหม่ที่จะสร้างความแตกต่างให้กับตนเอง แต่ด้วยความเชี่ยวชาญรอบด้านของบริษัท ฮิตาชิ ทั้งในด้าน OT และ IT ทำให้บริษัทมีความเข้าใจความต้องการพื้นฐานในการสร้างและปรับใช้โซลูชั่น IoT ในระดับใหญ่ได้อย่างโดดเด่นไม่เหมือนใคร สิ่งนี้ทำให้บริษัท ฮิตาชิ สามารถช่วยลูกค้าให้สามารถได้รับข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจที่สามารถนำไปลงมือปฏิบัติได้จริงและพร้อมแปรเปลี่ยนให้กลายเป็นมูลค่าที่แท้จริงทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น”

Lumada นำเสนอเฟรมเวิร์กที่ครอบคลุมสำหรับโซลูชั่น IoT ที่สำคัญในการสร้างระบบข้อมูล รวมถึงรองรับอุปกรณ์และการเชื่อมต่อระหว่างกัน การผสานรวมแอพพลิเคชั่น การรวมและจัดระเบียบข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูลแบบกลุ่มและแบบสตรีม การวิเคราะห์ขั้นสูง ปัญญาประดิษฐ์ เครื่องมือจำลองสถานการณ์ การสร้างแผนงานที่ละเอียดสำหรับโซลูชั่นที่สามารถนำไปใช้ซ้ำได้ตามต้องการ และการบริการสำหรับองค์กรขนาดใหญ่

การรวมความเชี่ยวชาญหลายทศวรรษของกลุ่มบริษัทฮิตาชิ ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และเทคโนโลยีดำเนินงาน (OT) เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งครอบคลุมถึงหลากหลายเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นในกลุ่มโซลูชั่นของบริษัท ทำให้ Lumada สามารถนำเสนอคุณภาพที่สำคัญ 3 ด้าน อันส่งผลให้แพลตฟอร์มนี้แตกต่างจากแพลตฟอร์ม IoT ในตลาดปัจจุบัน นั่นคือ

  • ระบบแบบเปิด: Lumada นำเสนอสถาปัตยกรรมแบบเปิดที่ยืดหยุ่น ทำให้การรวมระบบการทำงานเข้ากับเทคโนโลยีต่างๆ จากระบบนิเวศของพันธมิตรด้าน IoT ของฮิตาชิเป็นเรื่องง่าย และยังเป็นการสร้างรากฐานที่สามารถปรับขยายได้สำหรับการสร้างโซลูชั่นที่เฉพาะเจาะจงของธุรกิจอุตสาหกรรมได้อย่างหลากหลายรูปแบบ แพลตฟอร์มนี้ได้รับการออกแบบขึ้นเป็นพิเศษเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมนวัตกรรมแบบเปิด การสร้างโซลูชั่นร่วมกัน และการพัฒนาโซลูชั่นที่รวดเร็วระหว่างพันธมิตรของบริษัท ฮิตาชิ, ผู้ติดตั้งระบบทั่วโลก (GSI) และลูกค้า
  • ปรับเปลี่ยนได้:Lumada นำเสนอแนวทางที่ยืดหยุ่นยิ่งขึ้นในการพัฒนาโซลูชั่น IoT ภายใต้สถาปัตยกรรมที่พร้อมรองรับการทำงานของระบบที่แตกต่างกัน ทำให้สามารถนำ IoT ไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ รวมทั้งยังสนับสนุนเทคโนโลยีของพันธมิตรให้มีความคล่องตัวยิ่งขึ้นเมื่อปรับใช้ ส่งผลให้การสร้างโซลูชั่นและการปรับขยายระบบเป็นเรื่องง่ายขึ้น คุณสมบัตินี้พร้อมให้การสนับสนุนที่ครอบคลุมสำหรับระบบนิเวศดิจิทัลในอุตสาหกรรมต่างๆ

    ทั้งนี้ แกนหลักของ Lumada มาพร้อมแผนงานโดยละเอียดที่สามารถนำไปเป็นแม่แบบประยุกต์ใช้งานซ้ำได้ รวมทั้งสามารถปรับแต่งให้ รองรับอุตสาหกรรมและรูปแบบการใช้งานได้อย่างหลากหลาย เช่น งานวิเคราะห์การซ่อมบำรุงเชิงพยากรณ์ การแลกเปลี่ยนข้อมูลของเมือง ระบบสาธารณสุขที่เชื่อมโยงถึงกัน ระบบขนส่งอัจฉริยะ น้ำมันและก๊าซ พลังงานที่ยั่งยืน และอื่นๆ อีกมากมาย แพลตฟอร์มนี้จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกและผสานรวมส่วนประกอบที่เหมาะสมกับความต้องการเฉพาะของตนในการนำไปใช้งานเพื่อให้การปรับแต่งเป็นเรื่องง่ายและกระบวนการสร้างโซลูชั่นมีความราบรื่นมากขึ้นเพื่อนำไปสู่การให้บริการตามความต้องการได้อย่างรวดเร็วที่สุด

  • ความถูกต้องที่เชื่อถือได้: หลักจริยธรรมด้านดิจิทัลและความปลอดภัยของข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดสำหรับบริษัท ฮิตาชิ โดย Lumada สร้างขึ้นจากเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์ที่เชื่อถือได้ของบริษัท ฮิตาชิ ซึ่งครอบคลุมถึงระบบบริหารข้อมูล ระบบเวอร์ชัวไลเซชั่น และระบบวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกที่ทันสมัยของซอฟต์แวร์ Pentaho ที่มีการปรับใช้ในกว่า 1,600 ของลูกค้าองค์กรในปัจจุบัน รวมถึง Hitachi Streaming Data Platform (HSDP) ที่ถูกนำไปใช้ในเทคโนโลยีและโซลูชั่นต่างๆ ของฮิตาชิอย่างครอบคลุม นอกจากนี้ Lumada ยังมาพร้อมระบบควบคุมด้านต่างๆ ของบริษัท ฮิตาชิ ได้แก่ ระบบการผลิต อัลกอริธึม และตัวควบคุมที่พร้อมสนับสนุนการใช้งานของแอพพลิเคชั่นอุตสาหกรรมในหลากหลายรูปแบบ และระบบบริหารจัดการเนื้อหาอัจฉริยะสำหรับระบบบรรณารักษ์ข้อมูลขนาดใหญ่ที่ซับซ้อน (Advanced Metadata) อีกด้วย

กลุ่มโซลูชั่น IoT ของฮิตาชิประกอบด้วยโซลูชั่นและบริการสำหรับงานด้านความมั่นคงสาธารณะและการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ พลังงานหมุนเวียน และการพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืน ระบบขนส่งอัจฉริยะ การเกษตรและการผลิตที่ต้องอาศัยความถูกต้องและแม่นยำ การบำบัดน้ำและการพัฒนาเมือง การก่อสร้าง การทำเหมือง และอื่นๆ อีกมากมาย และ ฮิตาชิ ยังได้ร่วมมือกันกับพันธมิตรผู้นำด้านนวัตกรรมในตลาดด้านต่างๆ ในการพัฒนาโซลูชั่นใหม่ ๆ บนแพลตฟอร์ม Lumada

สำนักงานใหญ่ของฮิตาชิ อินไซต์ กรุ๊ป ตั้งอยู่ในซานตาคลารา, แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา ทำหน้าที่ผลักดันธุรกิจและกลยุทธ์ด้านอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) ทั่วโลกของบริษัท ฮิตาชิ ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน และทำหน้าที่ส่งต่อวิสัยทัศน์สำหรับนวัตกรรมเพื่อสังคม หรือ Social Innovation ด้วยการพัฒนาโซลูชั่นดิจิทัล ให้ขับเคลื่อนผลลัพธ์ทางธุรกิจให้เพิ่มมากขึ้น พร้อมสนับสนุนการพัฒนาอย่างชาญฉลาด มีความปลอดภัย การสาธารณสุขอัจฉริยะ และสังคมมีประสิทธิภาพมากขึ้น กลุ่มบริษัทฮิตาชิ เป็นผู้รับผิดชอบในการวิจัยและพัฒนา (R & D) และนำโซลูชั่น IoT ของฮิตาชิออกไปสู่ตลาด (GTM)  และบริการที่ให้ข้อมูลเชิงลึกที่สามารถดำเนินการให้กับลูกค้า ในตลาดที่สำคัญ 4 ประเภท ได้แก่  เมืองอัจฉริยะ พลังงานอัจฉริยะ การสาธารณสุขอัจฉริยะ และอุตสาหกรรมอัจฉริยะ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.hitachiinsightgroup.com/en-us/pdf/press-release/hitachi-insight-group-formed-to-accelerate-hitachi-global-iot-business.pdf

เกี่ยวกับ ฮิตาชิ อินไซต์ กรุ๊ป

                        ฮิตาชิ อินไซต์ กรุ๊ป มีความมุ่งมั่นที่จะผลักดันธุรกิจ และการเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่ระบบดิจิทัล โซลูชั่นดิจิทัลจะถูกขับเคลื่อนโดยการเชื่อมต่อข้อมูลอันชาญฉลาดจาก IoT เพื่อที่จะส่งมอบข้อมูลเชิงลึก สนับสนุนข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่ดียิ่งขึ้น และด้วยผลลัพธ์ที่โดดเด่น ชาญฉลาด ปลอดภัย ส่งผลให้สังคมมีประสิทธิภาพ และสมบูรณ์มากขึ้น จากการใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญทางด้านภาคอุตสาหกรรมของฮิตาชิ ทั้งด้านการดำเนินการและเทคโนโลยีสารสนเทศ  ฮิตาชิ อินไซต์ กรุ๊ปจึงมีความพร้อมที่จะให้บริการลูกค้าทั้งภาครัฐและเอกชน โดยครอบคลุมตลาด 4 ประเภท ได้แก่  เมืองอัจฉริยะ พลังงานอัจฉริยะ การสาธารณสุขอัจฉริยะ และอุตสาหกรรมอัจฉริยะ โดยฮิตาชิ อินไซต์ กรุ๊ป ตั้งอยู่ที่ซานตาคลารา,แคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และมีการดำเนินงานทั่วโลก สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเข้าไปดูได้ที่ www.hitachiinsightgroup.com

เกี่ยวกับบริษัท ฮิตาชิ จำกัด

บริษัท ฮิตาชิ จำกัด (ชื่อในตลาดหุ้นโตเกียว: 6501) มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ส่งมอบนวัตกรรมที่ตอบความท้าทายของสังคม ด้วยทีมงานที่มีความสามารถและประสบการณ์ซึ่งเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก โดยในปีงบประมาณ 2557 (จนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558) บริษัทฯ มียอดขายรวม 9,761 พันล้านเยน (81.3 พันล้านดอลลาร์) ทั้งนี้ บริษัทฮิตาชิให้ความสำคัญกับธุรกิจที่เน้นด้านนวัตกรรมเพื่อสังคมมากกว่าเดิม ซึ่งรวมถึงระบบโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสารสนเทศและโทรคมนาคม ระบบไฟฟ้า ระบบเครื่องจักรก่อสร้าง วัสดุและอุปกรณ์ที่ครอบคลุมการทำงานระดับสูง ระบบยานยนต์ ธุรกิจเพื่อดูแลสุขภาพ  และอื่นๆ สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทฮิตาชิ สามารถเยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์https://www.hitachi.com

Latest

สร้างภาพ AI บนวินโดวส์ + การ์ดจอ AMD ด้วย Amuse AI

คนใช้การ์ดจอ AMD จะมีความเป็นลูกเมียน้อยอยู่นิดนึง เพราะโปรแกรมและโมเดลสร้างภาพส่วนใหญ่ จะออกแบบมาให้ใช้กับ CUDA ของ Nvidia เป็นหลัก แต่ต่อไปนี้คนใช้...

ใช้ windows 11 อย่างเซียน ด้วย PowerToys (ฟรี)

PowerToys เป็นชุดเครื่องมือฟรีจาก Microsoft ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้ Windows โดยเฉพาะ Windows 11 ซึ่ง...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

Windows Search ห่วย ใช้ Listary ช่วยคุณได้

คิดว่าหลายคนที่ใช้วินโดวส์เป็นหลัก น่าจะรู้สึกเหมือนผม คือรำคาญระบบค้นหา หรือช่อง search ของวินโดวส์ เพราะช้า แถมหาอะไรก็ไม่ค่อยเจอ ...

Newsletter

Don't miss

สร้างภาพ AI บนวินโดวส์ + การ์ดจอ AMD ด้วย Amuse AI

คนใช้การ์ดจอ AMD จะมีความเป็นลูกเมียน้อยอยู่นิดนึง เพราะโปรแกรมและโมเดลสร้างภาพส่วนใหญ่ จะออกแบบมาให้ใช้กับ CUDA ของ Nvidia เป็นหลัก แต่ต่อไปนี้คนใช้...

ใช้ windows 11 อย่างเซียน ด้วย PowerToys (ฟรี)

PowerToys เป็นชุดเครื่องมือฟรีจาก Microsoft ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้ Windows โดยเฉพาะ Windows 11 ซึ่ง...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

Windows Search ห่วย ใช้ Listary ช่วยคุณได้

คิดว่าหลายคนที่ใช้วินโดวส์เป็นหลัก น่าจะรู้สึกเหมือนผม คือรำคาญระบบค้นหา หรือช่อง search ของวินโดวส์ เพราะช้า แถมหาอะไรก็ไม่ค่อยเจอ ...

รวม 22 คีย์ลัด Windows Key ที่ทำให้ชีวิตง่ายขึ้นพันเปอร์เซ็นต์

ปุ่ม Windows Key หน้าตาแบบนี้ ไม่ได้มีไว้ใช้แค่เรียกเมนู Start ขึ้นมาเท่านั้นนะครับ แต่ตัวมันใช้เป็นคีย์ลัดสำหรับการการทำงานบนวินโดวส์ได้หลายอย่างมาก วันนี้ผมขอรวบรวมคีย์ลัดของปุ่มนี้...

สร้างภาพ AI บนวินโดวส์ + การ์ดจอ AMD ด้วย Amuse AI

คนใช้การ์ดจอ AMD จะมีความเป็นลูกเมียน้อยอยู่นิดนึง เพราะโปรแกรมและโมเดลสร้างภาพส่วนใหญ่ จะออกแบบมาให้ใช้กับ CUDA ของ Nvidia เป็นหลัก แต่ต่อไปนี้คนใช้ AMD ไม่ต้องน้อยใจอีกต่อไป เพราะ Amuse AI คือโปรแกรมที่ออกแบบมาให้ใช้กับแพลตฟอร์มของ AMD โดยเฉพาะครับ สำหรับการ์ดจอนั้น ทาง Amuse AI แนะนำให้ใช้รุ่น RX 7000 ที่มี...

ใช้ windows 11 อย่างเซียน ด้วย PowerToys (ฟรี)

PowerToys เป็นชุดเครื่องมือฟรีจาก Microsoft ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้ Windows โดยเฉพาะ Windows 11 ซึ่ง PowerToys มีฟีเจอร์หลากหลายที่ช่วยทำให้การทำงานของคุณสะดวกและรวดเร็วขึ้น มาดูว่าแต่ละเครื่องมือมีอะไรบ้างและสามารถใช้ทำอะไรได้บ้าง PowersToys โหลดฟรีจาก Microsoft Store ผู้ใช้วินโดวส์ 11 สามารถเข้าไปโหลดแอปตัวนี้ได้ฟรี จาก Microsoft Store ตามภาพ เมื่อติดตั้งเรียบร้อย PowerToys จะรัน auto...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here