ฟูจิ ซีร็อกซ์ พรินเตอร์ ประกาศรุกตลาดสแกนเนอร์ในประเทศไทย ตั้งเป้าส่วนแบ่ง 20% ภายในปี 2561

กลุ่มธุรกิจพรินเตอร์ บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้านนวัตกรรมการพิมพ์ระดับโลก ประกาศรุกตลาดสแกนเนอร์ในประเทศไทย เปิดตัว 5 สแกนเนอร์ใหม่ ในตระกูล “DocuMate” เจาะตลาด 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มสุขภาพ กลุ่มภาครัฐ กลุ่มการศึกษา และกลุ่มธนาคาร ผ่านกลยุทธ์การทำตลาดแบบ Total Document Solution โดยใช้ช่องทางจำหน่ายหลักในปัจจุบันเข้ามาเสริมแกร่งไปพร้อมๆ กับเครื่องพรินเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร กระดาษ และหมึกพิมพ์ ที่มีอยู่ครบครัน พร้อมนำเสนอโซลูชั่น “สแกนออนดีมานด์” ช่วยธุรกิจลดต้นทุน ไปพร้อมๆ ช่วยยกระดับการจัดการเอกสารแบบดิจิทัลอย่างมืออาชีพ ขานรับนโยบาย Thailand 4.0 ใช้นวัตกรรมสร้างสรรค์ความได้เปรียบในทางธุรกิจที่ใช้โมบายล์และเทคโนโลยีคลาวด์เป็นแพลตฟอร์มจัดเก็บข้อมูล ตั้งเป้าชิงส่วนแบ่ง 20% ภายในปี 2561

ข้อมูลจาก IDC มูลค่าของตลาดสแกนเนอร์ในกลุ่มตลาด Personal Workgroup และ Work Group มีมากถึง 80% สะท้อนให้เห็นเทรนด์“Digitizing Document” มาแรง สำหรับตลาดสแกนเนอร์ในประเทศไทยจากปี 2557 มา ปี 2558 เติบโตอยู่ที 42% แสดงถึงธุรกิจต่างๆ เริ่มปรับตัวและมองหาโซลูชั่นงานสแกนเพื่อลดต้นทุนและจัดการเอกสาร 

นายรังสรรค์ นรัจฉริยางกูร ผู้จัดการประจำประเทศไทย กลุ่มธุรกิจพรินเตอร์ บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “สำหรับประเทศไทยดิจิทัล 4.0 คือการนำนวัตกรรมมาเป็นเครื่องมือทางธุรกิจ เพื่อสร้างความได้เปรียบและขับเคลื่อนธุรกิจในทุกภาคส่วน นวัตกรรมการสแกนที่ผ่านมาเน้นเรื่องการสแกนเพื่อแบ่งปัน แต่ในปัจจุบันความต้องการสแกนเอกสารมีมากกว่าแค่แบ่งปัน แต่เป็นการสแกนเพื่อการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในงานวิเคราะห์ งานการตลาด งานเอกสารด้านกฎหมาย และเก็บเพื่อเป็นหลักฐานหรือข้อมูล หรือแบบฟอร์มต่างๆ        ดังนั้น การจัดการและการจัดเก็บไปสู่ระบบดิจิทัลจึงเติบโตมากขึ้น ทำให้ภาพรวมการเติบโตของสแกนเนอร์ทั่วโลกและเอเชียมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสแกนเนอร์ขนาดใหญ่สำหรับองค์กรธุรกิจ นอกเหนือจากเครื่องพิมพ์คุณภาพในรุ่นต่างๆ โซลูชั่นงานพิมพ์ที่หลากหลาย และกระดาษภายใต้แบรนด์ ฟูจิ ซีร็อกซ์ วันนี้สแกนเนอร์จะเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์สำคัญ ที่จะช่วยเติมเต็มความเป็นผู้นำในตลาดแบบ Total Document Solution โดยเฉพาะรูปแบบ “สแกนออนดีมานด์” ที่เราเชื่อว่าจะเป็นอนาคตของยุคเอกสารดิจิทัลในเมืองไทย”

นายรังสรรค์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาฟูจิ ซีร็อกซ์ยังเป็นผู้นำในเครื่องพรินเตอร์สีเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 1 ใน 4 และในปีหน้า 2560 บริษัทฯ ตั้งเป้าจะมีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอย่างน้อย 10% และ 20% ในปีถัดไปสำหรับกลุ่มสแกนเนอร์ที่เข้ามาใหม่ ซึ่งปีที่ผ่านมาตลาดรวมเครื่องสแกนเนอร์แบบคอมเมอร์เชียล หรือเวิร์คกรุ๊ปในไทยคาดว่าจะมีราว 7,000 เครื่อง เรามองว่าธุรกิจสแกนเนอร์สำหรับองค์กรธุรกิจในประเทศไทยจะเติบโตเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจากนโยบายภาครัฐด้านดิจิทัล อีโคโนมี ไทยแลนด์ 4.0 หรือการขับเคลื่อนจากภาคเอกชนเองที่ต้องการใช้ข้อมูลในรูปแบบบิ๊ก ดาต้า เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลการตลาดเพื่อสร้างกลยุทธ์ทางการแข่งขันที่ได้เปรียบคู่ต่อสู้  ข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัลทำให้เกิดความรวดเร็วในกระบวนได้เป็นอย่างมาก และวันนี้เทคโนโลยีคลาวด์ ทำให้เราสามารถแชร์ข้อมูลได้จากทุกที่ทั่วโลก”

สแกนเนอร์ DocuMate เรือธง ใหม่ทั้ง 5 รุ่น

  • DocuMate 3220: ประสิทธิภาพงานสแกนระดับสูง สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก ที่ต้องการใช้งานสแกนเพื่อธุรกิจ สั่งสแกนงานได้ในปุ่มเดียวและส่งไปถึงปลายทางได้ 9 จุด และยังมี Automatic Document Feeder (ADF) เพื่อสแกนแบบฟอร์มต่างๆ รวมถึงเอกสารจำนวนมากได้รวดเร็ว ราคา 14,500 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
  • DocuMate 3125: สแกนงานได้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพสูง ติดตั้งง่าย และมีระบบ Ultrasonic double-feed detection เตือนผู้ใช้งานเวลากระดาษติด ราคา 18,500 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
  • DocuMate 4440i: เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการสแกนเอกสารจำนวนมาก ซึ่งตัวเครื่องรองรับได้ถึง 5,000 หน้าต่อวัน ด้วยความเร็วในการสแกนสูงถึง 40 หน้า/นาที พร้อมเทคโนโลยีที่ได้รับรางวัลอย่าง Kofax VRS ช่วยให้งานสแกนแม่นยำ และยังมี Optical Character Recognition (OCR) เพื่อใช้แก้ไขแอกสารได้โดยง่าย ราคา 29,900 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
  • DocuMate 4830i: รองรับงานสแกนปริมาณมาก สามารถสแกนเอกสารขนาด A3 หรือเอกสารที่มีความยาวได้สูงสุดถึง 3 เมตร มาพร้อมซอฟท์แวร์เทคโนโลยี Visioneer Acuity Image เพื่อตอบสนองการใช้งาน และปรับงานสแกนตามความต้องการ ราคา 130,000 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
  • DocuMate 4799: ประสิทธิภาพเต็มขั้น ทนทาน ความเร็วสแกนระดับสูง มาพร้อมระบบ Triple Ultrasonic DFD ปรับเฉดสีแบบอัตโนมัติ มีความรวดเร็วการสแกนสูงถึง 112 หน้า/นาที และ 224 หน้า/นาที เมื่อสแกนแบบ 2 หน้า ราคา 399,000 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

Software งานสแกนประสิทธิภาพสูง

  • Visioneer OneTouch: ระบบสแกนเอกสารที่ส่งงานไปยังผู้รับปลายทางที่หลากหลาย ทั้งอีเมล์ ไฟล์ word เครื่องพิมพ์ และโฟลเดอร์
  • Visioneer Acuity: ให้ผู้ใช้งานสามารถปรับแต่งงานสแกนเอกสารดิจิทัลได้ทั้งแบบกำหนดเองและแบบอัตโนมัติ
  • Nuance PDF Converter and Nuance OmniPage: แปลงงานสแกนเอกสารไปเป็น ไฟล์ในรูปแบบ Microsoft Office แก้ไขข้อความ หรือปรับเอกสารให้มีการใช้งานยืดหยุ่นยิ่งขึ้น
  • Nuance PaperPort: เพิ่มหน้าใหม่ในไฟล์สแกนเดิม ไม่ต้องสแกนใหม่หมดทั้งชุด
  • Kofax VRS: ตรวจจับภาพที่ไม่ได้คุณภาพ พร้อมปรับปรุงภาพให้คมชัดขึ้นแบบอัตโนมัติ ใช้งานง่าย  ช่วยประหยัดต้นทุน
  • Dokmee Capture: ช่วยให้การสแกนเอกสารจำนวนมากที่ดูเหมือนยากให้ง่ายขึ้น โดยตัวซอฟท์แวร์จะเลือกการสแกนจากคำที่กำหนด หรือบาร์โค้ด เพื่อแยกการจัดเก็บเอกสารอย่างอัตโนมัติ

สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ฟูจิ ซีร็อซ์ พรินเตอร์ 02-660-8000 ต่อ 0211-0227 หรือที่ www.fujixeroxprinters.in.th และผ่านตัวแทนจำหน่ายหลักที่ได้รับการแต่งตั้งทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ บริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด มหาชน และบริษัท เดอะแวลลูซิสเตมส์ จำกัด

Latest

ใช้ NAS ให้เป็น Google Photo server ด้วย immich

หลายคนชอบใช้ google photo ในการแบ็กอัพรูปจากมือถือ เพราะมีลูกเล่นให้ใช้เยอะแยะ แต่ติดที่ว่าเนื้อที่มักไม่เคยพอ และต้องจ่ายรายปี ต่ำๆ ก็ต้อง...

รัน Stable Diffusion เร็วขึ้น 10x ด้วย AMD GPU

ปกติแล้วตัว Stable Diffusion (ต่อไปขอเรียกสั้นๆ ว่า SD) สามารถติดตั้งและใช้งานได้เลยบน Nvidia GPU...

สร้างภาพ AI บนวินโดวส์ + การ์ดจอ AMD ด้วย Amuse AI

คนใช้การ์ดจอ AMD จะมีความเป็นลูกเมียน้อยอยู่นิดนึง เพราะโปรแกรมและโมเดลสร้างภาพส่วนใหญ่ จะออกแบบมาให้ใช้กับ CUDA ของ Nvidia เป็นหลัก แต่ต่อไปนี้คนใช้...

ใช้ windows 11 อย่างเซียน ด้วย PowerToys (ฟรี)

PowerToys เป็นชุดเครื่องมือฟรีจาก Microsoft ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้ Windows โดยเฉพาะ Windows 11 ซึ่ง...

Newsletter

Don't miss

ใช้ NAS ให้เป็น Google Photo server ด้วย immich

หลายคนชอบใช้ google photo ในการแบ็กอัพรูปจากมือถือ เพราะมีลูกเล่นให้ใช้เยอะแยะ แต่ติดที่ว่าเนื้อที่มักไม่เคยพอ และต้องจ่ายรายปี ต่ำๆ ก็ต้อง...

รัน Stable Diffusion เร็วขึ้น 10x ด้วย AMD GPU

ปกติแล้วตัว Stable Diffusion (ต่อไปขอเรียกสั้นๆ ว่า SD) สามารถติดตั้งและใช้งานได้เลยบน Nvidia GPU...

สร้างภาพ AI บนวินโดวส์ + การ์ดจอ AMD ด้วย Amuse AI

คนใช้การ์ดจอ AMD จะมีความเป็นลูกเมียน้อยอยู่นิดนึง เพราะโปรแกรมและโมเดลสร้างภาพส่วนใหญ่ จะออกแบบมาให้ใช้กับ CUDA ของ Nvidia เป็นหลัก แต่ต่อไปนี้คนใช้...

ใช้ windows 11 อย่างเซียน ด้วย PowerToys (ฟรี)

PowerToys เป็นชุดเครื่องมือฟรีจาก Microsoft ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้ Windows โดยเฉพาะ Windows 11 ซึ่ง...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

ใช้ NAS ให้เป็น Google Photo server ด้วย immich

หลายคนชอบใช้ google photo ในการแบ็กอัพรูปจากมือถือ เพราะมีลูกเล่นให้ใช้เยอะแยะ แต่ติดที่ว่าเนื้อที่มักไม่เคยพอ และต้องจ่ายรายปี ต่ำๆ ก็ต้อง 7-8 ร้อยกว่าบาทต่อปีเลยทีเดียว แต่ถ้าหากคุณมีเครื่อง NAS อยู่ที่บ้าน ผมจะมาบอกข่าวดีว่า เราสามารถทำให้ NAS แบ็กอัพรูปถ่ายจากมือถือเป็นเหมือน google photo ได้ด้วยแอพที่ชื่อว่า immich immich มีความสามารถใกล้เคียงกับ google photo...

รัน Stable Diffusion เร็วขึ้น 10x ด้วย AMD GPU

ปกติแล้วตัว Stable Diffusion (ต่อไปขอเรียกสั้นๆ ว่า SD) สามารถติดตั้งและใช้งานได้เลยบน Nvidia GPU โดยไม่ต้องปรับแต่งอะไรทั้งสิ้น แต่พอเป็นเครื่อง AMD GPU ตัว SD จะรันไม่ได้ ต้องไปรันบน CPU แทน ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าประสิทธิภาพสู้รันบน GPU ไม่ได้เลย บล็อกนี้เลยจะมาแสดงวิธีการติดตั้งและรัน SD บนเครื่องที่ใช้การ์ดจอ...

สร้างภาพ AI บนวินโดวส์ + การ์ดจอ AMD ด้วย Amuse AI

คนใช้การ์ดจอ AMD จะมีความเป็นลูกเมียน้อยอยู่นิดนึง เพราะโปรแกรมและโมเดลสร้างภาพส่วนใหญ่ จะออกแบบมาให้ใช้กับ CUDA ของ Nvidia เป็นหลัก แต่ต่อไปนี้คนใช้ AMD ไม่ต้องน้อยใจอีกต่อไป เพราะ Amuse AI คือโปรแกรมที่ออกแบบมาให้ใช้กับแพลตฟอร์มของ AMD โดยเฉพาะครับ สำหรับการ์ดจอนั้น ทาง Amuse AI แนะนำให้ใช้รุ่น RX 7000 ที่มี...

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here