ETDA โปรโมตระบบ TeDA รองรับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่น่าเชื่อถือ

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงไอซีทีร่วมมือหน่วยงานรัฐ เร่งต่อยอดการใช้งานระบบการจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความน่าเชื่อถือ (Trusted e-Document Authority หรือ TeDA) พัฒนาระบบ Centrally-Signed Email หนุนเปลี่ยนระบบการชำระเงิน (Payment System) เข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร ทั้งในส่วนการชำระเงิน และการจัดเก็บภาษี เล็งยกระดับประเทศไทย ให้ติดอันดับที่สูงขึ้นของประเทศที่มีคุณภาพด้านระเบียบข้อบังคับที่มีผลต่อความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ ลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของภาคธุรกิจไทย

สุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ ETDA กล่าวว่า เพื่อสนับสนุนการเติบโตของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Transaction) ไปจนถึงการอำนวยความสะดวกทางการค้าด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Trade Facilitation) เพื่อรองรับการทำการค้าและธุรกรรมทางออนไลน์ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เอ็ตด้าในฐานะของหน่วยงานที่มีหน้าที่พัฒนา Soft Infrastructure ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานเบื้องหลังการธุรกรรมเหล่านี้ กำลังเดินหน้าผลักดันโครงการระบบการจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความน่าเชื่อถือ (Trusted e-Document Authority หรือ TeDA)  เพื่อเปลี่ยนเอกสารกระดาษให้เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีผลตามกฎหมาย เพื่อลดขั้นตอน พร้อมสร้างความเชื่อมั่นในการทำการค้าการลงทุนให้กับประเทศแบบครบวงจร

“ก่อนหน้านี้ มีคำพิพากษาฎีกาตัดสินเป็นบรรทัดฐานว่า เอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์มีผลตามกฎหมาย และลายมือชื่อซึ่งหมายถึงพาสเวิร์ดมีผลเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น เอ็ตด้าจึงพิจารณาว่าลายมือชื่อที่สามารถเชื่อถือได้จะช่วยยกระดับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ จึงเป็นที่มาของโครงการ TeDA โดยรูปแบบของ TeDA มีคุณสมบัติที่ทำให้สามารถมั่นใจได้ว่าข้อมูลใด ๆ ที่ปรากฏบนหน้าจอจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในภายหลัง เพราะจะมีทั้งการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) และการประทับรับรองเวลาอิเล็กทรอนิกส์ (e-Time Stamp) เพื่อยืนยันช่วงเวลาในการทำธุรกรรมอย่างชัดเจน ซึ่งก่อให้เกิดผลผูกพันในทางกฎหมาย” สุรางคณา กล่าว

01-etda-teda-1ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการในการติดต่อขอรับบริการ หรือทำธุรกรรมกับภาครัฐได้โดยสะดวก เอ็ตด้าอยู่ระหว่างการเข้าไปช่วยสนับสนุนให้ข้อมูลด้านเทคนิคให้กับหน่วยงานรัฐ เพื่อช่วยให้การใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ภายในหน่วยงานเป็นไปอย่างเป็นระบบ และมีความน่าเชื่อถือ โดยโครงการที่เอ็ตด้ากำลังเข้าไปให้ความช่วยเหลือในการพัฒนา ได้แก่ ระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ผ่านระบบที่เรียกว่าCentrally-Signed Email ที่จะเริ่มให้บริการในเดือนมกราคม 2560 นี้ รวมไปถึงระบบขอรับหนังสือรับรองการอนุญาตการผลิต และนำเข้า ให้กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โครงการ e-Trade Facilitation ซึ่งเป็นโครงการสนับสนุนการใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ปลอดภัยในกระบวนการนำเข้า-ส่งออกสินค้า ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการเพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานในส่วนการค้าข้ามพรมแดน (Cross-Border Trade) และอื่น ๆ

เอ็ตด้าเชื่อมั่นว่าโครงการ TeDA จะมีส่วนช่วยในการเพิ่มศักยภาพ พร้อมทั้งยกระดับคุณภาพ และประสิทธิภาพของระเบียบข้อบังคับที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศของประเทศไทยให้เพิ่มสูงมากขึ้น รวมทั้งจะมีส่วนช่วยในการสนับสนุนการค้า การติดต่อของภาคธุรกิจเพื่อเพิ่มรายได้ และมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างสมบูรณ์

ดร.อนุชิต อนุชิตานุกุล ที่ปรึกษาคณะทำงานระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงการคลัง กล่าวว่า ในการที่จะผลักดันให้ประเทศก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลนั้น การปรับปรุงระบบการชำระเงิน (Payment System) ถือเป็นแกนหลัก (backbone) สำคัญที่ต้องการการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งในส่วนของภาครัฐ และภาคเอกชน โดยการปรับระบบการชำระเงินถือเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างระบบการชำระเงินระดับประเทศ (National e-Payment) ที่จะทำให้การจัดเก็บเงิน ทั้งในส่วนของภาคการชำระเงิน และภาคการจัดเก็บภาษี อยู่บนระบบอิเล็กทรอนิกส์ครบทั้งวงจร

“ในการทำให้ระบบสมบูรณ์ การออกใบกำกับภาษีถือเป็นอีกส่วนสำคัญที่ต้องปรับเปลี่ยนการส่งเอกสารใบกำกับภาษีให้อยู่บนอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงต้องสามารถใช้เป็นหลักฐานยืนยันเพื่อการตรวจสอบจากองค์กรรัฐได้อีกด้วย ดังนั้น จึงมีโครงการที่เรียกว่า “Centrally-Signed Email” ที่เอ็ตด้า และสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรนิกส์ร่วมพัฒนา เพื่อให้ผู้ประกอบการทั้ง B2B และ B2C สามารถส่งใบกำกับภาษีให้กับหน่วยงานรัฐ หรือสรรพากรผ่านระบบอีเมลกลางของภาครัฐ พร้อมลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์เพื่อยืนยันความถูกต้องได้โดยสะดวก โดยระบบจะเริ่มเปิดให้บริการในต้นปีหน้าเป็นต้นไป”ดร.อนุชิต กล่าว04-etda-teda-1

ระบบ Centrally-Signed Email ซึ่งพัฒนาขึ้นบนพื้นฐานของโครงการ TeDA นี้ จะเปิดทางเลือกใหม่ให้กับผู้ประกอบการในการจัดส่งใบกำกับภาษี ขณะที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับหน่วยงานรัฐในการเรียกดูเอกสารเพื่อการตรวจสอบ การใช้ระบบอีเมลถือเป็นขั้นต้นของการให้บริการที่จะทำให้การเก็บส่ง และเรียกตรวจสอบเอกสารเข้ามาสู่รูปแบบ (format) ของอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างรวดเร็วที่สุด โดยผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องลงทุนในเทคโนโลยีลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) ด้วยตัวเอง

ทั้งนี้ โครงการ TeDA จัดทำขึ้น เพื่อให้เป็นโครงการต้นแบบในการจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์แบบถาวรที่มีความน่าเชื่อถือ โดยจัดตั้งระบบรับรองและจัดเก็บเอกสาร ด้วยเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานกุญแจสาธารณะ (Public Key Infrastructure: PKI) ในการยืนยันตัวบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ ร่วมกับการบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ คุณสมบัติเฉพาะที่ระบบ TeDA มี เพื่อรองรับความต้องการของหน่วยงานต่างๆ ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการดำเนินการโครงการ ได้แก่

  • แบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ (โปรโจค TeDA Form) การสร้างแบบฟอร์มในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรฐาน ISO32000 : Portable Document Formatเพื่อให้เป็นฟอร์มที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้โดยอัตโนมัติ
  • การประทับเวลาอิเล็กทรอนิกส์ (โปรโจค TeDA Time) เพื่อรับรองการมีอยู่ของเอกสาร ณ วันเวลาที่ร้องขอจาก Time Stamping Authority (TSA)เพื่อเป็นกลไกยืนยันเวลาของการทำธุรกรรมและตรวจสอบได้ว่าเอกสารถูกแก้ไขหรือไม่
  • การรับรองเอกสารด้วยลายมือชื่อดิจิทัล (โปรโจค TeDA Sign) เพื่อให้สามารถบอกได้ว่าเอกสารถูกรับรองโดยบุคคลใด โดยการทำ Digital Signatureด้วยเทคโนโลยี PKI และทำให้สามารถตรวจสอบได้ว่าเอกสารถูกแก้ไขหรือไม่
  • การจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ระยะยาว (โปรโจค TeDA Safe & Long-term-Archive) การจัดเก็บเอกสาร หรือเก็บเฉพาะหลักฐานในการพิสูจน์เอกสาร(Evidence Record) เพื่อพิสูจน์ความถูกต้องแท้จริงของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่ต้องจัดเก็บระยะยาว โดยสามารถเข้าถึงไฟล์ได้ง่าย ด้วย Web Application Client สามารถทำ time stamp ภายหลังจาก Certificate หมดอายุ หรือ Algorithm ที่ใช้หมดความน่าเชื่อถือ เพื่อรับรองว่าเอกสารไม่ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไข

โดยรวม เอกสารอิเล็กทรอนิกส์สามารถลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง และค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา ทั้งยังสามารถค้นหาได้ง่ายเมื่อต้องนำกลับมาใช้ รวมถึงสามารถพิสูจน์ความน่าเชื่อถือ และตรวจสอบได้ว่าเอกสารถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือไม่ โดยเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีคุณสมบัติตามที่ได้กล่าวมา มีผลตามตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 เหล่านี้เป็นประโยชน์ที่ได้ จากการเปลี่ยนผ่านจากกระดาษสู่ระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

ตัวอย่างการนำไปใช้งานในหน่วยงานต่าง ๆ ระบบที่ใช้งานแล้ว ได้แก่

  1. ระบบออกใบรับรองการเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภา โดยใช้เทคโนโลยี TeDA Form, TeDA Time และ TeDA Sign
  2. ระบบขอหนังสือรับรองการอนุญาตการผลิตและนำเข้า องค์การอาหารและยา โดยใช้เทคโนโลยี TeDA Form

และระบบที่กำลังพัฒนา ได้แก่

  1. โครงการ e-Trade Facilitation เช่น การออกใบอนุญาต (e-Certificate) นำเข้า-ส่งออกอ้อยและน้ำตาล โดยใช้เทคโนโลยี TeDA Form, TeDA Time และ TeDA Sign
  2. ระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ Centrally-Signed Email โดยใช้เทคโนโลยี TeDA Time และ TeDA Safe

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมของโครงการ TeDA ได้ที่เว็บไซต์ www.teda.th

Latest

ใช้ NAS ให้เป็น Google Photo server ด้วย immich

หลายคนชอบใช้ google photo ในการแบ็กอัพรูปจากมือถือ เพราะมีลูกเล่นให้ใช้เยอะแยะ แต่ติดที่ว่าเนื้อที่มักไม่เคยพอ และต้องจ่ายรายปี ต่ำๆ ก็ต้อง...

รัน Stable Diffusion เร็วขึ้น 10x ด้วย AMD GPU

ปกติแล้วตัว Stable Diffusion (ต่อไปขอเรียกสั้นๆ ว่า SD) สามารถติดตั้งและใช้งานได้เลยบน Nvidia GPU...

สร้างภาพ AI บนวินโดวส์ + การ์ดจอ AMD ด้วย Amuse AI

คนใช้การ์ดจอ AMD จะมีความเป็นลูกเมียน้อยอยู่นิดนึง เพราะโปรแกรมและโมเดลสร้างภาพส่วนใหญ่ จะออกแบบมาให้ใช้กับ CUDA ของ Nvidia เป็นหลัก แต่ต่อไปนี้คนใช้...

ใช้ windows 11 อย่างเซียน ด้วย PowerToys (ฟรี)

PowerToys เป็นชุดเครื่องมือฟรีจาก Microsoft ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้ Windows โดยเฉพาะ Windows 11 ซึ่ง...

Newsletter

Don't miss

ใช้ NAS ให้เป็น Google Photo server ด้วย immich

หลายคนชอบใช้ google photo ในการแบ็กอัพรูปจากมือถือ เพราะมีลูกเล่นให้ใช้เยอะแยะ แต่ติดที่ว่าเนื้อที่มักไม่เคยพอ และต้องจ่ายรายปี ต่ำๆ ก็ต้อง...

รัน Stable Diffusion เร็วขึ้น 10x ด้วย AMD GPU

ปกติแล้วตัว Stable Diffusion (ต่อไปขอเรียกสั้นๆ ว่า SD) สามารถติดตั้งและใช้งานได้เลยบน Nvidia GPU...

สร้างภาพ AI บนวินโดวส์ + การ์ดจอ AMD ด้วย Amuse AI

คนใช้การ์ดจอ AMD จะมีความเป็นลูกเมียน้อยอยู่นิดนึง เพราะโปรแกรมและโมเดลสร้างภาพส่วนใหญ่ จะออกแบบมาให้ใช้กับ CUDA ของ Nvidia เป็นหลัก แต่ต่อไปนี้คนใช้...

ใช้ windows 11 อย่างเซียน ด้วย PowerToys (ฟรี)

PowerToys เป็นชุดเครื่องมือฟรีจาก Microsoft ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้ Windows โดยเฉพาะ Windows 11 ซึ่ง...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

ใช้ NAS ให้เป็น Google Photo server ด้วย immich

หลายคนชอบใช้ google photo ในการแบ็กอัพรูปจากมือถือ เพราะมีลูกเล่นให้ใช้เยอะแยะ แต่ติดที่ว่าเนื้อที่มักไม่เคยพอ และต้องจ่ายรายปี ต่ำๆ ก็ต้อง 7-8 ร้อยกว่าบาทต่อปีเลยทีเดียว แต่ถ้าหากคุณมีเครื่อง NAS อยู่ที่บ้าน ผมจะมาบอกข่าวดีว่า เราสามารถทำให้ NAS แบ็กอัพรูปถ่ายจากมือถือเป็นเหมือน google photo ได้ด้วยแอพที่ชื่อว่า immich immich มีความสามารถใกล้เคียงกับ google photo...

รัน Stable Diffusion เร็วขึ้น 10x ด้วย AMD GPU

ปกติแล้วตัว Stable Diffusion (ต่อไปขอเรียกสั้นๆ ว่า SD) สามารถติดตั้งและใช้งานได้เลยบน Nvidia GPU โดยไม่ต้องปรับแต่งอะไรทั้งสิ้น แต่พอเป็นเครื่อง AMD GPU ตัว SD จะรันไม่ได้ ต้องไปรันบน CPU แทน ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าประสิทธิภาพสู้รันบน GPU ไม่ได้เลย บล็อกนี้เลยจะมาแสดงวิธีการติดตั้งและรัน SD บนเครื่องที่ใช้การ์ดจอ...

สร้างภาพ AI บนวินโดวส์ + การ์ดจอ AMD ด้วย Amuse AI

คนใช้การ์ดจอ AMD จะมีความเป็นลูกเมียน้อยอยู่นิดนึง เพราะโปรแกรมและโมเดลสร้างภาพส่วนใหญ่ จะออกแบบมาให้ใช้กับ CUDA ของ Nvidia เป็นหลัก แต่ต่อไปนี้คนใช้ AMD ไม่ต้องน้อยใจอีกต่อไป เพราะ Amuse AI คือโปรแกรมที่ออกแบบมาให้ใช้กับแพลตฟอร์มของ AMD โดยเฉพาะครับ สำหรับการ์ดจอนั้น ทาง Amuse AI แนะนำให้ใช้รุ่น RX 7000 ที่มี...

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here