เอ็ตด้า (ETDA) จัดรอบชิงสุดยอดนักไซเบอร์เข้าชิงชัยแชมป์อาเซียน พร้อมงานสัมมนาด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่องค์กรต้องรู้

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า)  กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เร่งสร้างการตระหนักรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์  จัดเวทีชิงชนะเลิศสุดยอดนักไซเบอร์ด้านความมั่นคงปลอดภัยระดับประเทศไทย ในงาน ไทยแลนด์ ซีทีเอฟ คอมเพททิชั่น 2015 (Thailand CTF Competition 2015) เพื่อเข้าชิงแชมป์ระดับอาเซียน พร้อมทั้งระดมผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัย  ไซเบอร์ ในงานสัมมนาชื่อ ซีเคียวริตี้ เฮลท์ เช็ค เดย์ (Security Health Check Day) ในวันอังคารที่ 6 ตุลาคม 2558 เวลา 08.30-16.30 น. ณ  ศูนย์ประชุมสเปซ ชั้น 12  อาคารเดอะ ไนน์ ทาวเวอร์ แกรนด์ โดยมี ดร. อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีกระทรวงไอซีที กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง นโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล กับความท้าทายด้านความมั่นคงไซเบอร์ และเป็นประธานมอบรางวัลให้แก่แชมป์ประเทศไทย

ดร. อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า จากปัญหาภัยคุกคามด้านไซเบอร์ที่มีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ ทั้งการฉ้อโกง การหลอกลวงออนไลน์ การคุกคามโดยเจาะระบบ การโจมตีระบบเพื่อให้หยุดทำงาน รวมถึงการใช้โปรแกรมไม่พึงประสงค์ในการก่ออาชญากรรมไซเบอร์ ก่อการร้าย และก่อวินาศกรรมรูปแบบใหม่

 

ภัยคุกคามไซเบอร์เหล่านี้ ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต หรือความมั่นคงในภาพรวมของประเทศ ตลอดจนนโยบายของรัฐบาลที่กำลังขับเคลื่อนสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ คือการสร้างความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมทางออนไลน์ อันเป็นภารกิจสำคัญของไทยเซิร์ต ภายใต้ เอ็ตด้า ที่เป็นหน่วยงานหลักในการรับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์และช่วยบูรณาการการทำงานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์กับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในประเทศและนานาชาติ โดยเฉพาะ เซิร์ตในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

 

“ในขณะเดียวกัน การเฟ้นหาคนเก่งๆ ด้าน ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์หรือไซเบอร์ซีเคียวริตี้มีความจำเป็นอย่างยิ่ง จึงได้เกิดโครงการการแข่งขัน ไทยแลนด์ ซีทีเอฟ คอมเพททิชั่น 2015 (Thailand CTF

 

 

Competition 2015) เพื่อคัดเลือกตัวแทนประเทศไทย 2 ทีม จำนวน 6 คน ไปแข่งไซเบอร์ ซี เกม (Cyber SEA Game) ให้ได้สุดยอดคนเก่งทางด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ของอาเซียน ทั้งนี้ทีมที่ชนะในวันนี้ถึงแม้ว่าจะ

ชนะในเวทีอาเซียนได้หรือไม่ก็ตาม อย่างน้อยก็เป็นการแสดงความพร้อมของประเทศไทยว่าเราสนับสนุนเรื่องนี้อย่างเต็มที่ ผมอยากให้พวกเราทุกคนซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ ภูมิใจที่มีจุดยืนเดียวกันว่า ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เป็นเรื่องสำคัญ และจะช่วยกันดูแลโลกไซเบอร์ต่อไป”

 

ด้าน สุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ เอ็ตด้า เปิดเผยว่า จากตัวเลขจำนวนเบอร์มือถือในประเทศไทยที่ปัจจุบันสูงเกือบ 98 ล้านเลขหมาย หนึ่งคนมีมากกว่าหนึ่งเบอร์ มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเกือบ 28 ล้านคน โดยมีคนใช้ไลน์ถึง 33 ล้านบัญชี มีการใช้เฟซบุ๊ก ถึง  35 ล้านบัญชี ขณะเดียวกันก็มีมูลค่าการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์หรือ อีเปย์เม้นท์ กว่า 800 ล้านล้านบาท ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมและเศรษฐกิจดิจิทัล

 

อย่างไรก็ตาม ในความสะดวกสบายเหล่านี้ มีความเสี่ยงและอันตรายที่แฝงมาด้วย ซึ่งองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนจำเป็นต้องหันมาให้ความสำคัญยิ่งขึ้น กับการป้องกันองค์กรของตนจากความเสี่ยงและอันตรายดังกล่าว  ซึ่งจากรายงานไตรมาสที่ 2 ปี 2558 ของบริษัท แคสเปอร์สกี้ พบว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับ 7 ของโลกที่มีความเสี่ยงต่อการโจมตีด้วยมัลแวร์หรือที่เรารู้จักกันว่า ไวรัสคอมพิวเตอร์

 

“ดังนั้นความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ถือเป็นภารกิจสำคัญอย่างยิ่งในสังคมดิจิทัล และบุคลากรด้านนี้ยังมีจำนวนไม่มากนักและเป็นที่ต้องการของทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยยังขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านดังกล่าวอยู่มาก และ เอ็ตด้าได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรด้านนี้อย่างต่อเนื่อง โดยได้จัดการแข่งขันสุดยอดนักไซเบอร์ด้านความมั่นคงปลอดภัย ในงาน ไทยแลนด์ ซีทีเอฟ คอมเพททิชั่น2015 (Thailand CTF Competition 2015)  เพื่อส่งเสริมและสร้างความตระหนักรู้เรื่องความมั่นคงปลอดภัยให้กับเยาวชนยุคใหม่ในวงกว้าง พร้อมเป็นเวทีในการแสดงฝีมือให้กับคนรุ่นใหม่” สุรางคณา กล่าว

 

การแข่งขันเพื่อค้นหาสุดยอดนักไซเบอร์ด้านความมั่นคงปลอดภัย Thailand CTF Competition 2015 ได้เชิญชวนนิสิตนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา รวมถึงประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 15 –  29 ปี ที่สนใจด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ เข้าชิงชัยสุดยอดฝีมือด้านความมั่นคงปลอดภัยระดับประเทศไทย เข้าร่วมแข่งขันงาน CTF (Capture The Flag) ระดับอาเซียน ในงานไซเบอร์ ซี เกม (Cyber Sea Game)

 

 

ณ ประเทศอินโดนีเซีย โดยหลังจากผ่านรอบดังกล่าวแล้ว จะได้รับสิทธิเพื่อเข้าร่วมแข่งขันระดับโลกในงาน เซคคอน ซีทีเอฟ 2015 (SECCON CTF 2015) ณ ประเทศญี่ปุ่น ต่อไป

 

สำหรับผู้เข้าแข่งขันต้องใช้ความสามารถในการคิด วิเคราะห์แก้ไขปัญหาโจทย์ด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้  โดยมีผู้สมัครเข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 121 ทีม และผ่านการคัดเลือกรอบแรกแล้ว 8 ทีม เพื่อเข้าแข่งชันชิงแชมป์ประเทศไทยในวันนี้

 

นอกจากนี้  เอ็ตด้า ยังจัดงานสัมมนา ซิเคียวริตี้ เฮลท์ เช็ค เดย์ (Security Health Check Day)   เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงจากปัญหาภัยคุกคามไซเบอร์ รวมถึงการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น  โดยได้ระดมผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ มาแลกเปลี่ยนความรู้ให้องค์กรต่าง ๆ เนื่องจากภัยคุกคามไซเบอร์เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต หรือความมั่นคงในภาพรวมของประเทศ รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยสู่ยุคเศรษฐกิจ ดิจิทัล

Latest

ใช้ NAS ให้เป็น Google Photo server ด้วย immich

หลายคนชอบใช้ google photo ในการแบ็กอัพรูปจากมือถือ เพราะมีลูกเล่นให้ใช้เยอะแยะ แต่ติดที่ว่าเนื้อที่มักไม่เคยพอ และต้องจ่ายรายปี ต่ำๆ ก็ต้อง...

รัน Stable Diffusion เร็วขึ้น 10x ด้วย AMD GPU

ปกติแล้วตัว Stable Diffusion (ต่อไปขอเรียกสั้นๆ ว่า SD) สามารถติดตั้งและใช้งานได้เลยบน Nvidia GPU...

สร้างภาพ AI บนวินโดวส์ + การ์ดจอ AMD ด้วย Amuse AI

คนใช้การ์ดจอ AMD จะมีความเป็นลูกเมียน้อยอยู่นิดนึง เพราะโปรแกรมและโมเดลสร้างภาพส่วนใหญ่ จะออกแบบมาให้ใช้กับ CUDA ของ Nvidia เป็นหลัก แต่ต่อไปนี้คนใช้...

ใช้ windows 11 อย่างเซียน ด้วย PowerToys (ฟรี)

PowerToys เป็นชุดเครื่องมือฟรีจาก Microsoft ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้ Windows โดยเฉพาะ Windows 11 ซึ่ง...

Newsletter

Don't miss

ใช้ NAS ให้เป็น Google Photo server ด้วย immich

หลายคนชอบใช้ google photo ในการแบ็กอัพรูปจากมือถือ เพราะมีลูกเล่นให้ใช้เยอะแยะ แต่ติดที่ว่าเนื้อที่มักไม่เคยพอ และต้องจ่ายรายปี ต่ำๆ ก็ต้อง...

รัน Stable Diffusion เร็วขึ้น 10x ด้วย AMD GPU

ปกติแล้วตัว Stable Diffusion (ต่อไปขอเรียกสั้นๆ ว่า SD) สามารถติดตั้งและใช้งานได้เลยบน Nvidia GPU...

สร้างภาพ AI บนวินโดวส์ + การ์ดจอ AMD ด้วย Amuse AI

คนใช้การ์ดจอ AMD จะมีความเป็นลูกเมียน้อยอยู่นิดนึง เพราะโปรแกรมและโมเดลสร้างภาพส่วนใหญ่ จะออกแบบมาให้ใช้กับ CUDA ของ Nvidia เป็นหลัก แต่ต่อไปนี้คนใช้...

ใช้ windows 11 อย่างเซียน ด้วย PowerToys (ฟรี)

PowerToys เป็นชุดเครื่องมือฟรีจาก Microsoft ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้ Windows โดยเฉพาะ Windows 11 ซึ่ง...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

ใช้ NAS ให้เป็น Google Photo server ด้วย immich

หลายคนชอบใช้ google photo ในการแบ็กอัพรูปจากมือถือ เพราะมีลูกเล่นให้ใช้เยอะแยะ แต่ติดที่ว่าเนื้อที่มักไม่เคยพอ และต้องจ่ายรายปี ต่ำๆ ก็ต้อง 7-8 ร้อยกว่าบาทต่อปีเลยทีเดียว แต่ถ้าหากคุณมีเครื่อง NAS อยู่ที่บ้าน ผมจะมาบอกข่าวดีว่า เราสามารถทำให้ NAS แบ็กอัพรูปถ่ายจากมือถือเป็นเหมือน google photo ได้ด้วยแอพที่ชื่อว่า immich immich มีความสามารถใกล้เคียงกับ google photo...

รัน Stable Diffusion เร็วขึ้น 10x ด้วย AMD GPU

ปกติแล้วตัว Stable Diffusion (ต่อไปขอเรียกสั้นๆ ว่า SD) สามารถติดตั้งและใช้งานได้เลยบน Nvidia GPU โดยไม่ต้องปรับแต่งอะไรทั้งสิ้น แต่พอเป็นเครื่อง AMD GPU ตัว SD จะรันไม่ได้ ต้องไปรันบน CPU แทน ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าประสิทธิภาพสู้รันบน GPU ไม่ได้เลย บล็อกนี้เลยจะมาแสดงวิธีการติดตั้งและรัน SD บนเครื่องที่ใช้การ์ดจอ...

สร้างภาพ AI บนวินโดวส์ + การ์ดจอ AMD ด้วย Amuse AI

คนใช้การ์ดจอ AMD จะมีความเป็นลูกเมียน้อยอยู่นิดนึง เพราะโปรแกรมและโมเดลสร้างภาพส่วนใหญ่ จะออกแบบมาให้ใช้กับ CUDA ของ Nvidia เป็นหลัก แต่ต่อไปนี้คนใช้ AMD ไม่ต้องน้อยใจอีกต่อไป เพราะ Amuse AI คือโปรแกรมที่ออกแบบมาให้ใช้กับแพลตฟอร์มของ AMD โดยเฉพาะครับ สำหรับการ์ดจอนั้น ทาง Amuse AI แนะนำให้ใช้รุ่น RX 7000 ที่มี...

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here