เอปสันเผยผลสำรวจเกี่ยวกับการตื่นตัวต่อผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ชี้ให้เห็นถึงการขาดการรับรู้ต่อปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบันและจะส่งผลกระทบที่รุนแรงยิ่งขึ้นในอนาคต
นายยรรยง มุนีมงคลทร ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “เอปสัน สำนักงานใหญ่ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการจัดทำ Epson Climate Reality Barometer ซึ่งเป็นการสำรวจเกี่ยวกับประสบการณ์และการรับรู้ต่อภาวะการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภคในเอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ จำนวน 15,264 คน โดยมีเป้าหมายในการยกระดับการรับรู้ของสาธารณชนต่อผลกระทบจากการเปลี่ยน แปลงทางสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน กระตุ้นภาคธุรกิจให้ตัดสินใจสร้างการเปลี่ยนแปลง และให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้มีอำนาจกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งยังเป็นการสนับสนุนการจัดงานประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 (The 26th UN Climate Change Conference of the Parties; COP 26) ซึ่งจะจัดขึ้นที่ประเทศอังกฤษ ระหว่าง 31 ตุลาคม ถึง 12 พฤศจิกายนนี้”
ตัวอย่างคำถามจากการสำรวจซึ่งได้รับคำตอบที่น่าสนใจ เช่น เมื่อกลุ่มตัวอย่างถูกถามว่าในช่วงชีวิตนี้ จะได้เห็นมนุษย์เอาชนะวิกฤตสภาพภูมิอากาศหรือไม่ ขณะที่ 27% ตอบว่าไม่ได้ แต่มีถึง 46% ที่มองโลกในแง่ดี โดยมี 3 เหตุผลที่ถูกใช้อธิบายมากที่สุดคือ ปัจจุบันผู้คนตื่นตัวต่อปัญหานี้เพิ่มขึ้นมากแล้ว คิดเป็น 33% เชื่อว่าความก้าว หน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะช่วยแก้ปัญหาได้ 28% และการเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียนคือคำตอบ 19% นอกจากนี้ยังมีกลุ่มตัวอย่างอีก 5% ที่ไม่เชื่อว่ามีภาวะวิกฤติทางสภาพภูมิอากาศ ซึ่งในกลุ่มนี้มาจากประเทศสหรัฐอเมริกา 11% เยอรมนี 7% และอังกฤษ 6%
คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ยังระบุอีกว่าปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศจากฝีมือมนุษย์เกิดขึ้นมานับพันปีและขยายวงกว้างไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นปรากฏการณ์ July 2021 ที่ร้อนที่สุดในโลกตั้งแต่มีการจดบันทึกสถิติ ไฟป่าในยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเชีย หรือน้ำท่วมหนักในประเทศจีน โคลัมเบีย และเยอรมนี ดังนั้นจากผลสำรวจของเอปสัน จึงสรุปได้ว่าการมองโลกในแง่ดี ท่ามกลางหลักฐานที่ชัดเจนเช่นนี้ เป็นการขาดการรับรู้ต่อภาวะความเป็นจริงของวิกฤตสภาพภูมิอากาศในขณะนี้
ผลสำรวจยังระบุอีกว่าราว 3 ใน 4 ของกลุ่มตัวอย่างมองเห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศกับเหตุการณ์ต่างๆ เช่น อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น (77%) สภาพอากาศแบบสุดขั้ว (74%) และ ไฟป่า (73%) แต่กลับลดลงมาเหลือประมาณครึ่งหนึ่ง เมื่อถูกถามถึงความเชื่อมโยงกับปัญหาอื่นๆ อย่างความอดยาก (57%) การอพยพใหญ่ (55%) และการระบาดหนักของแมลง (51%) จึงตั้งสันนิษฐานได้ว่าการมองแง่ดีในกรณีนี้ อาจทำให้มองไม่เห็นถึงขอบเขตของผลกระทบทั้งหมดจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ
เมื่อถูกถามถึงความรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหา 27% ของกลุ่มตัวอย่างเชื่อว่าเป็นหน้าที่ของรัฐบาล 18% ระบุว่าเป็นของภาคธุรกิจ และอีก 18% มองว่าเป็นความรับผิดชอบส่วนบุคคล แต่มีจำนวนน้อยมากที่ชี้ว่าเป็นความรับผิด ชอบร่วมกันของทุกฝ่าย นอกจากนี้ ผู้คนส่วนใหญ่ยินดีที่จะปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์เพื่อช่วยลดภาวะวิกฤต โดยการสำรวจระบุว่ามีถึง 78% ที่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนหรือมีแผนที่จะเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน แต่มี 29% ที่ได้เริ่มใช้จริงแล้ว มี 82% ที่เห็นด้วยกับการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความยั่งยืน แต่มี 45% ที่ใช้อยู่แล้ว ขณะที่ 58% เห็นด้วยกับการกินอาหารที่เน้นพืช โดยมี 27% ที่เปลี่ยนมากินอาหารมังสวิรัติ หรือแม้แต่ในด้านการเลือกซื้อสินค้า 63% ที่มีความคิดจะเลิกใช้สินค้าที่ไม่มีส่วนสนับสนุนในด้านความยั่งยืน แต่มี 29% ที่ได้เปลี่ยนนิสัยการซื้อสินค้าตามนี้
ด้านนายยาสึโนริ โอกาวะ ประธานบริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “การสำรวจที่ค้นพบว่ามีการขาดการรับรู้ความจริงเกี่ยวกับปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศ มีส่วนสำคัญอย่างมากกับการแก้ปัญหาฉุกเฉิน โดยเอปสันมีเป้าหมายที่จะสร้างความตระหนักรู้และสร้างเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ควบคู่กับความร่วมมือกันระหว่างเอปสัน พันธมิตร คู่ค้า และผู้ใช้งานสินค้าเอปสันทั่วโลก ซึ่งเอปสันได้กำหนดให้ “ความยั่งยืน” เป็นหัวใจของแผนธุรกิจ และทุ่มทรัพยากรสำคัญเพื่อส่งเสริมการสร้างความยั่งยืนมาโดยตลอด ด้วยความเชื่อมั่นว่าเราจะสามารถสร้างอนาคตที่ดีกว่าวันนี้ได้”