สุรศักดิ์ เหรียญประกายแสง ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัทโบรเดค ได้เปิดเผยทัศนะเกี่ยวกับเทคโนโลยี Ethernet Fabrics ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญสู่ระบบคลาวด์ ที่สามารถปรับเพื่อรองรับการใช้งานในดาต้าเซ็นเตอร์ในอนาคตได้อย่างมีระบบ และกล่าวถึงอนาคตเน็ตเวิร์กแบนไร้เลเยอร์ ดังนี้
เมืองใหญ่แต่ละแห่ง ไม่ได้สร้างเสร็จแค่ชั่วข้ามวันข้ามคืน แต่ต้องทุ่มแรงเทใจวางผังและสร้างสมกันมายาวนานกว่าจะกลายเป็นตำนานความสำเร็จในที่สุด
โลกเน็ตเวิร์กทุกวันนี้ ก็เช่นเดียวกัน ทุกองค์กรกำลังแสวงหาความสำเร็จจากการใช้คอมพิวเตอร์ระบบคลาวด์ และพยายามสร้างเน็ตเวิร์กใหม่ที่เล็กลงแต่ดีกว่าเดิม เรียบง่ายขึ้น แต่ทำงานได้เร็วกว่าเก่า ที่จะรองรับการใช้งานกับคลาวด์ต่อไป
แต่ที่หลายคนอาจมองข้ามไปก็คือ งานนี้ไม่มีทางลัดหรืออุปกรณ์วิเศษอื่นใดที่จะทำให้การใช้ระบบคลาวด์สำเร็จขึ้นมาได้ในชั่วข้ามวัน แต่ในทางกลับกัน เราจะต้องวางแผนกันให้ละเอียด และเดินหน้าไปทีละก้าวอย่างมั่นคงต่างหาก
Ethernet Fabrics – พื้นฐานสำคัญสู่ระบบคลาวด์
เทคโนโลยีนี้จะช่วยลดขั้นตอนที่แต่ละองค์กรไอทีจะย้ายการใช้งานสู่ระบบคลาวด์ โดย Ethernet fabrics ได้ปฏิวัติแนวคิดศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ใหม่หมด โดยแฟบริก Virtual Cluster Switching (VCS) ที่ช่วยรองรับการทำโหลดบาลานซ์ผ่านระบบอัตโนมัติ ตลอดจนการเชื่อมโยงการทำงานในแบบโลจิคัลระหว่างสวิตช์สองตัวในแฟบริกเน็ตเวิร์ก ผลก็คือมีเน็ตเวิร์กใหม่ที่ซับซ้อนน้อยลง เหมาะสำหรับงานแบบมัลติพาธและการใช้งานอัตโนมัติใน LAN ของดาต้าเซ็นเตอร์ ซึ่งแฟบริกที่ใช้งานจะช่วยให้มั่นใจได้เสมอว่าเน็ตเวิร์กจะทนทานต่อการใช้งานสูง ไม่ล่มง่าย มีอัตราการหน่วงสัญญาณที่ต่ำลงและพร้อมใช้งานสูง
ก้าวสู่เส้นทางใหม่แต่ไม่ทิ้งสิ่งเก่า
ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนมาใช้งาน Ethernet Fabrics จะต้องวางดีไซน์ LAN ในศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์กันใหม่ แต่ผู้บริหารเน็ตเวิร์กจะสามารถเบาใจได้ว่า ไม่จำเป็นเสมอไปที่จะต้องทิ้งโครงสร้างระบบ LAN ที่มีอยู่เดิมไปเสียทั้งหมด โดยเราสามารถค่อยๆ ปรับศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ไปสู่แบบใหม่ได้ในแบบค่อยเป็นค่อยไป
ในทัศนะของโบรเคดนี้ เราอยากแนะนำว่า ให้ค่อยๆ เปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยี Ethernet Fabric ในแบบเป็นขั้นเป็นตอนจะดีกว่า โดยเราจะปรับสถาปัตยกรรมระบบ LANs ในดาต้าเซ็นเตอร์เดิมให้เปลี่ยนเป็น VCS เพื่อให้สวิตช์ทุกตัวในเน็ตเวิร์กสามารถลิงก์กันได้อัตโนมัติและดูแลจัดการได้ทั้งระบบแบบเป็นหนึ่งเดียว ไม่ต้องมาคอยนั่งปรับแก้ตั้งค่าระบบแบบแมนนวลตลอดเวลา และเป็นเน็ตเวิร์กแบบแบน ที่เรียบง่าย เชื่อมโยงในแบบสื่อสารตรงได้กับทุกโหนดเพื่อสนับสนุนการย้ายเวอร์ช่วลแมชชีน (VM) และเน็ตเวิร์กแบบผสมผสานที่ดีขึ้น
แฟบริก VCS ทำงานในดาต้าเซ็นเตอร์แบบเก่าได้อย่างไร?
แฟบริก VCS ของเราจะทำมัลติพาธที่แตกต่างกันออกปในแต่ละเลเยอร์ของเน็ตเวิร์กในดาต้าเซ็นเตอร์แบบเก่า โดยในเลเยอร์ 1 เราสามารถทำโหลดบาลานซ์แบบอัตโนมัติข้ามระหว่างสองลิงก์หรือมากกว่า (สูงสุด 8 ลิงก์) ระหว่างสวิตช์สองตัว
ส่วนในเลเยอร์ 2 เราจะใช้ระบบ Transparent Interconnection of Lots of Links หรือที่ย่อว่า TRILL และในอนาคตในไม่ช้า เราจะสามารถขยายการเชื่อมต่อไปสู่ Spanning Tree และท้ายสุดในเลเยอร์ 3 นั้น ถ้าผู้ใช้ตัองการที่จะวางเส้นทางทราฟฟิกออกไปจากแฟบริก และไปยังส่วนที่เหลือของเน็ตเวิร์ก เราก็อนุญาตให้สามารถใช้งานอินสแตนส์ของเส้นทางได้หลายจุดไปยังส่วนอื่นๆ ของเน็ตเวิร์กที่มีได้ในแบบที่เป็นหนึ่งเดียว ทำงานเหมือนเป็นเกตเวย์เดียว
แฟบริกจะเข้าแทนที่การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด ด้วยสถาปัตยกรรมการเชื่อมต่อหลายจุดที่ยืดหยุ่นกว่าและปรับขยายการใช้งานได้สะดวก รวมทั้งจะช่วยเพิ่มอัตราการส่งผ่านข้อมูลให้สูงขึ้นมาก ใช้งานได้หลากหลาย ลดการใช้งานอุปกรณ์เน็ตเวิร์กราคาแพง และการดูแลเน็ตเวิร์กที่ซ้ำซ้อนเปลืองแรงงาน นอกจากนี้แฟบริกของเรายังรองรับการใช้งานในอนาคตได้อย่างยาวนาน โดยสวิตช์ของเราที่นำไปติดตั้งในดาต้าเซ็นเตอร์ตอนนี้ ก็จะยังทำงานได้ดีกับตัวเน็ตเวิร์กที่ใช้ในอีกสิบปีข้างหน้าได้ด้วย
ภาพเปรียบเทียบสถาปัตยกรรม Ethernet แบบเดิม และ Ethernet Fabrics
เรื่องการใช้งาน SDN ?
ถ้าหากเป้าหมายของระบบแฟบริกคือการใช้งานเน็ตเวิร์กในแบบอัตโนมัติและการทำมัลติพาธ คำถามต่อไปที่พบบ่อยก็คือ จำเป็นต้องใช้ระบบ Software-defined Networking หรือ SDN ด้วยไหม และถ้าจำเป็นต้องใช้ จะนำไปใช้ในส่วนไหนของดาต้าเซ็นเตอร์ยุคหน้า?
เรื่อง SDN นี้ เราดูกันง่ายๆ ก็คือ การใช้งานตรงนี้ เราจะได้เปรียบโดยสามารถมีส่วนกำหนดควบคุมการทำงานของเน็ตเวิร์กได้โดยผ่านการใช้งานโปรโตคอล OpenFlow ซึ่งจะทำให้ลูกค้าผู้ใช้งานมีอิสระมากขึ้นในการปรับขยายและการทำงานร่วมกับระบบ VCS อีกด้วย
ภาพเปรียบเทียบโครงสร้างพื้นฐานแบบเดิม และการนำ SDN บนมาตรฐาน OpenFlow มาใช้
สู่อนาคตเน็ตเวิร์กแบน ไร้เลเยอร์
นี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไอทีที่ระบบเน็ตเวิร์กแบบหลายเลเยอร์กำลังจะถูกลดบทบาทลง เพราะหลายบริษัทหลายองค์กรเริ่มมองเห็นคุณค่าที่เหนือกว่าในการใช้งานโครงสร้างเน็ตเวิร์กแบบผสมผสาน ใช้งานระบบเวอร์ช่วล เน้นเซอร์วิส และปรับขยายได้ โดยเน็ตเวิร์กแบบแบนไร้เลเยอร์นี้ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดภาระงานดูแลระบบ และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานกับตัวเน็ตเวิร์กด้วยโครงสร้างที่เรียบง่ายขึ้นและระบบอัตโนมัติ
ในการมุ่งสู่อนาคตใหม่นี้เราขอแนะให้ค่อยๆ ปรับลดเลเยอร์ของระบบเน็ตเวิร์กที่กำลังใช้งานอยู่อย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อความประหยัดและไม่สูญเสียการใช้งานกับอุปกรณ์ที่ลงทุนไปแล้วเช่นกัน