มูลนิธิอาเซียน และ เอสเอพี ประกาศผลผู้ได้รับรางวัลในรอบชิงชนะเลิศการแข่งขัน ASEAN Data Science Explorers หรือ ASEANDE ระดับประเทศไทย ประจำปี 2562 ซึ่งมีขึ้น ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้แก่ ทีมจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทีมจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และทีมจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยผลการตัดสินมาจากการพิจารณาระดับความเร่งด่วนของปัญหาทางสังคมที่แต่ละทีมนำเสนอ สตอรี่บอร์ดแนวทางการแก้ไขปัญหา และความกระจ่างชัดของรูปแบบการนำเสนอ ทั้งนี้ทีมผู้ชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง คือ ทีม “NT” จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระดับภูมิภาคในเดือนตุลาคมปีนี้รายละเอียดผู้เข้ารอบชิงชนะเลิศการแข่งขัน ASEANDE ระดับประเทศไทย มีดังต่อไปนี้ทีมผู้ชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง คือ ทีม “NT” ประกอบด้วย นางสาวนพวรรณ รักถิ่นกำเนิด และ นางสาวบาวเจิง โงเล นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จากวิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับโครงการ Workforce gender gaps ซึ่งมุ่งแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเพศในสถานที่ทำงานทีมรองชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง คือ ทีม “Humble” ประกอบด้วย นายกันตพงศ์ ชนะฤทธิชัย นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จากคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ และ นายณัฐพล ศรีกนกสินธุ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จากวิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กับโครงการ Quality Education ซึ่งให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนด้านการแบ่งปันและบริหารจัดการองค์ความรู้อย่างยั่งยืนทีมรองชนะเลิศอันดับที่สอง คือ ทีม “Ant CC” ประกอบด้วย นางสาวปัณณพร ตงพิพัฒน์ และ นางสาวพนิตตา ตั้งศรีสุข นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับโครงการ Achieving Better English Education in ASEAN ซึ่งมุ่งยกระดับความรู้ภาษาอังกฤษของกลุ่มประเทศอาเซียนการแข่งขันรอบดังกล่าว เป็นหนึ่งในการแข่งขัน ASEANDSE ระดับประเทศ ประจำปี 2562 จำนวน 10 รอบ ซึ่งมีขึ้นทั่วภูมิภาคอาเซียนในเดือนกันยายน โดยเป็นการแข่งขันของทีมที่มีคะแนนสูงสุดของแต่ละประเทศจำนวน 10 ทีม เพื่อค้นหาทีมที่จะเป็นตัวแทนของแต่ละประเทศไปแข่งขันต่อในรอบชิงชนะเลิศระดับภูมิภาค ทั้งนี้ด้วยซอฟต์แวร์ดาต้าอนาลิติกส์ คลาวด์ ของเอสเอพี เยาวชนผู้เข้าแข่งขันได้พัฒนาโซลูชั่น ซึ่งใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเป็นพื้นฐานในการระบุและเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาทางสังคม ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) ได้แก่ (1) สุขภาพที่ดีและความเป็นอยู่ที่ดี, (2) การศึกษาที่มีคุณภาพ, (3) ความเท่าเทียมทางเพศ, (4) การทำงานที่ดีและการเติบโตทางเศรษฐกิจ, (5) อุตสาหกรรม นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน และ (6) เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน โดยการแข่งขันรอบตัดสินชิงชนะเลิศรอบภูมิภาคในปีนี้ จะมีขึ้น ณ กรุงเทพมหานคร ซึ่งสอดคล้องกับวาระการเป็นประธานอาเซียนของประเทศไทยในปี 2561 เยาวชนไทยที่คว้ารางวัลชนะเลิศระดับประเทศ คือ ทีม “UTCC ASEAN RANGER” ประกอบด้วย นายอัมรินทร์ อุดมผล และนายธีระพงษ์ ศรีสุพรรณ จากคณะบริหารธุรกิจ (วิทยาลัยนานาชาติ) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งนำเสนอโครงการ Let’s talk: Closely เจาะจงปัญหาความขาดแคลนของบุคลากรทางด้านสุขภาพจิตในกลุ่มประเทศอาเซียน อันส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของอัตราการฆ่าตัวตายของเด็กนักเรียนในภูมิภาค ทั้งนี ้เยาวชนผู้เข้าแข่งขันทั้งสองจากไทยได้แสดงความยินดีที่ได้เข้าร่วมโครงการ ASEANDSE และได้เรียนรู้ทักษะพื้นฐานด้านความเป็นผู้นำ การทำงานเป็นทีม และเทคโนโลยีดิจิตอลในปีนี้ มีเยาวชนกว่า 2,500 คนจากทั่วภูมิภาคอาเซียน ที่เข้าร่วมโครงการอบรมทักษะด้านดาต้าอนาลิติกส์ จากการใช้ซอฟต์แวร์อนาลิติกส์ คลาวด์ ของเอสเอพี ทั้งนี้โครงการดังกล่าวเป็นความพยายามร่วมของมูลนิธิอาเซียนและเอสเอพี ในการเสริมสร้างศักยภาพของเยาวชนในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจของภูมิภาคในปัจจุบันในแบบเรียลไทม์ เพื่อระบุแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ นางสาว เวเรน่า เซียว กรรมการผู้จัดการ เอสเอพี ประจำภูมิภาคอินโดไชน่า กล่าวว่า “ในขณะที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ ยุคดิจิตอลอีโคโนมี ดาต้าได้กลายเป็นปัจจัยชี้วัดคุณภาพชีวิตของประชากรทุกคน การสร้างความเข้าใจและการเตรียมความพร้อมให้แก่คนรุ่นใหม่ในด้านการบริหารจัดการดาต้าให้เกิดคุณประโยชน์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ จากโครงการความร่วมมือระหว่างเอสเอพี และ มูลนิธิอาเซียนในครั้งนี้ นอกเหนือจากการเสริมทักษะเชิงดิจิตอลที่จำเป็น เราคาดหวังว่าจะมีส่วนช่วยยกระดับความรับผิดชอบของเยาวชนในการนำเอาทักษะเหล่านี้ไปต่อยอดเพื่อพัฒนาสังคม เพราะพวกเขาคือผู้นำในอนาคต ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนของภูมิภาค” นาง อีเลน ตัน ผู้อำนวยการบริหาร มูลนิธิอาเซียน กล่าวว่า “มูลนิธิอาเซียน รู้สึกเป็นเกียรติและภูมิใจกับความร่วมมือของเรากับเอสเอพีที่ได้ก้าวมาสู่ปีที่สามในปีนี้ เอสเอพีนั้นมีบทบาทที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในการผลักดันโครงการดังกล่าว เราต่างยึดมั่นต่อแนวทางการพัฒนาเยาวชนในช่วงหลังปี 2563 ด้วยการเสริมทักษะเชิงดิจิตอลให้แก่เยาวชนในภูมิภาคอาเซียน เพื่อให้พวกเขามีความพร้อมสำหรับอนาคต โดยโครงการแข่งขัน ASEANDSE มีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพในการคว้าโอกาสในชีวิตประจำวันแก่เยาวชนอาเซียน อีกทั้งเสริมทักษะเชิงดิจิตอลที่จำเป็นต่อการจัดการความท้าทายในยุคอุตสาหกรรม 4.0” โครงการแข่งขัน ASEANDSE คือ โครงการแข่งขันระดับภูมิภาค ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างมูลนิธิอาเซียน และ เอสเอพี ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนในภูมิภาคอาเซียนหันมามีส่วนร่วมและมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงสังคม นับตั้งแต่การริเริ่มโครงการในปี 2560 โครงการแข่งขัน ASEANDSE ได้มีส่วนช่วยพัฒนาศักยภาพด้านดาต้า อนาลิติกส์ให้แก่เยาวชนแล้วกว่า 9,000 คน จาก 230 สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั่วภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้ ในปีนี้มีจำนวนผู้สมัครเพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงเท่าตัว โดยมีผู้สมัครจำนวน 1,300 ทีม จากหลากหลายสาขาวิชา เช่น สาชาวิชารัฐศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรม เข้าร่วมพัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาทางสังคม
มูลนิธิอาเซียน และ เอสเอพี ประกาศผลผู้ได้รับรางวัลในรอบชิงชนะเลิศการแข่งขันASEAN Data Science Explorersหรือ ASEANDEระดับประเทศไทย ประจำปี 2562 ซึ่งมีขึ้น ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้แก่ ทีมจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทีมจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และทีมจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยผลการตัดสินมาจากการพิจารณาระดับความเร่งด่วนของปัญหาทางสังคมที่แต่ละทีมนำเสนอ สตอรี่บอร์ดแนวทางการแก้ไขปัญหา และความกระจ่างชัดของรูปแบบการนำเสนอ ทั้งนี้ทีมผู้ชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง คือ ทีม “NT” จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระดับภูมิภาคในเดือนตุลาคมปีนี้
รายละเอียดผู้เข้ารอบชิงชนะเลิศการแข่งขันASEANDEระดับประเทศไทย มีดังต่อไปนี้
ทีมผู้ชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง คือ ทีม “NT” ประกอบด้วย นางสาวนพวรรณ รักถิ่นกำเนิด และ นางสาวบาวเจิง โงเล นักศึกษาชั้นปีที่ 2จากวิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับโครงการ Workforce gender gapsซึ่งมุ่งแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเพศในสถานที่ทำงาน
ทีมรองชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง คือ ทีม “Humble”ประกอบด้วย นายกันตพงศ์ ชนะฤทธิชัย นักศึกษาชั้นปีที่ 3จากคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ และ นายณัฐพล ศรีกนกสินธุ์ นักศึกษาชั้นปีที่3จากวิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กับโครงการ Quality Education ซึ่งให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนด้านการแบ่งปันและบริหารจัดการองค์ความรู้อย่างยั่งยืน
ทีมรองชนะเลิศอันดับที่สอง คือ ทีม “Ant CC” ประกอบด้วย นางสาวปัณณพร ตงพิพัฒน์ และ นางสาวพนิตตา ตั้งศรีสุข นักศึกษาชั้นปีที่ 4จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับโครงการ Achieving Better English Education in ASEAN ซึ่งมุ่งยกระดับความรู้ภาษาอังกฤษของกลุ่มประเทศอาเซียน
การแข่งขันรอบดังกล่าว เป็นหนึ่งในการแข่งขัน ASEANDSEระดับประเทศ ประจำปี 2562จำนวน 10 รอบ ซึ่งมีขึ้นทั่วภูมิภาคอาเซียนในเดือนกันยายน โดยเป็นการแข่งขันของทีมที่มีคะแนนสูงสุดของแต่ละประเทศจำนวน 10ทีม เพื่อค้นหาทีมที่จะเป็นตัวแทนของแต่ละประเทศไปแข่งขันต่อในรอบชิงชนะเลิศระดับภูมิภาค ทั้งนี้ด้วยซอฟต์แวร์ดาต้าอนาลิติกส์ คลาวด์ ของเอสเอพี เยาวชนผู้เข้าแข่งขันได้พัฒนาโซลูชั่น ซึ่งใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเป็นพื้นฐานในการระบุและเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาทางสังคม ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs)ได้แก่ (1)สุขภาพที่ดีและความเป็นอยู่ที่ดี, (2) การศึกษาที่มีคุณภาพ, (3) ความเท่าเทียมทางเพศ, (4) การทำงานที่ดีและการเติบโตทางเศรษฐกิจ, (5) อุตสาหกรรม นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน และ (6)เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน โดยการแข่งขันรอบตัดสินชิงชนะเลิศรอบภูมิภาคในปีนี้ จะมีขึ้น ณ กรุงเทพมหานคร ซึ่งสอดคล้องกับวาระการเป็นประธานอาเซียนของประเทศไทย
ในปี 2561เยาวชนไทยที่คว้ารางวัลชนะเลิศระดับประเทศ คือ ทีม “UTCC ASEAN RANGER” ประกอบด้วย นายอัมรินทร์ อุดมผล และนายธีระพงษ์ ศรีสุพรรณ จากคณะบริหารธุรกิจ (วิทยาลัยนานาชาติ) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งนำเสนอโครงการ Let’s talk:Closelyเจาะจงปัญหาความขาดแคลนของบุคลากรทางด้านสุขภาพจิตในกลุ่มประเทศอาเซียน อันส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของอัตราการฆ่าตัวตายของเด็กนักเรียนในภูมิภาค ทั้งนี้เยาวชนผู้เข้าแข่งขันทั้งสองจากไทยได้แสดงความยินดีที่ได้เข้าร่วมโครงการ ASEANDSE และได้เรียนรู้ทักษะพื้นฐานด้านความเป็นผู้นำ การทำงานเป็นทีม และเทคโนโลยีดิจิตอล
ในปีนี้ มีเยาวชนกว่า 2,500 คนจากทั่วภูมิภาคอาเซียน ที่เข้าร่วมโครงการอบรมทักษะด้านดาต้าอนาลิติกส์ จากการใช้ซอฟต์แวร์อนาลิติกส์ คลาวด์ ของเอสเอพี ทั้งนี้โครงการดังกล่าวเป็นความพยายามร่วมของมูลนิธิอาเซียนและเอสเอพี ในการเสริมสร้างศักยภาพของเยาวชนในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจของภูมิภาคในปัจจุบันในแบบเรียลไทม์ เพื่อระบุแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
นางสาว เวเรน่า เซียว กรรมการผู้จัดการ เอสเอพี ประจำภูมิภาคอินโดไชน่า กล่าวว่า “ในขณะที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ ยุคดิจิตอลอีโคโนมี ดาต้าได้กลายเป็นปัจจัยชี้วัดคุณภาพชีวิตของประชากรทุกคน การสร้างความเข้าใจและการเตรียมความพร้อมให้แก่คนรุ่นใหม่ในด้านการบริหารจัดการดาต้าให้เกิดคุณประโยชน์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ จากโครงการความร่วมมือระหว่างเอสเอพี และ มูลนิธิอาเซียนในครั้งนี้ นอกเหนือจากการเสริมทักษะเชิงดิจิตอลที่จำเป็น เราคาดหวังว่าจะมีส่วนช่วยยกระดับความรับผิดชอบของเยาวชนในการนำเอาทักษะเหล่านี้ไปต่อยอดเพื่อพัฒนาสังคม เพราะพวกเขาคือผู้นำในอนาคต ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนของภูมิภาค”
นาง อีเลน ตัน ผู้อำนวยการบริหาร มูลนิธิอาเซียนกล่าวว่า “มูลนิธิอาเซียน รู้สึกเป็นเกียรติและภูมิใจกับความร่วมมือของเรากับเอสเอพีที่ได้ก้าวมาสู่ปีที่สามในปีนี้ เอสเอพีนั้นมีบทบาทที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในการผลักดันโครงการดังกล่าว เราต่างยึดมั่นต่อแนวทางการพัฒนาเยาวชนในช่วงหลังปี2563 ด้วยการเสริมทักษะเชิงดิจิตอลให้แก่เยาวชนในภูมิภาคอาเซียน เพื่อให้พวกเขามีความพร้อมสำหรับอนาคต โดยโครงการแข่งขัน ASEANDSE มีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพในการคว้าโอกาสในชีวิตประจำวันแก่เยาวชนอาเซียน อีกทั้งเสริมทักษะเชิงดิจิตอลที่จำเป็นต่อการจัดการความท้าทายในยุคอุตสาหกรรม 4.0”
โครงการแข่งขันASEANDSEคือ โครงการแข่งขันระดับภูมิภาค ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างมูลนิธิอาเซียน และ เอสเอพี ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนในภูมิภาคอาเซียนหันมามีส่วนร่วมและมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงสังคม นับตั้งแต่การริเริ่มโครงการในปี 2560 โครงการแข่งขัน ASEANDSEได้มีส่วนช่วยพัฒนาศักยภาพด้านดาต้า อนาลิติกส์ให้แก่เยาวชนแล้วกว่า 9,000คน จาก 230 สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั่วภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้ ในปีนี้มีจำนวนผู้สมัครเพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงเท่าตัว โดยมีผู้สมัครจำนวน 1,300ทีม จากหลากหลายสาขาวิชา เช่น สาชาวิชารัฐศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรม เข้าร่วมพัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาทางสังคม