ด้วยส่วนแบ่งการตลาดสมาร์ทโฟนกว่า 70 % ทำให้แอนดรอยด์เจิดจรัสเหนือคู่แข่งอย่าง iOS ที่มีส่วนแบ่งอยู่ที่ 21% ยิ่งไปกว่านั้น จากข้อมูลของบริษัทวิจัย IDC พบว่า แอนดรอยด์ยังครองตลาดแท็บเล็ตอีกด้วย ถึงจะได้รับความนิยมอย่างมาก แต่แอนดรอยด์ก็ยังมีจุดด้อยในเรื่องการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ผู้เชี่ยวชาญจากแคสเปอร์สกี้ แลป (Kaspersky Lab) เปิดเผยข้อมูลการตรวจสอบมัลแวร์ทั้งหมดที่พบในโมบายดีไวซ์ ช่วงไตรมาสแรกของปี 2013 ว่า กว่า 99.9% เป็นมัลแวร์ที่มุ่งโจมตีแอนดรอยด์โดยเฉพาะ ปัจจุบัน พบโมบายมัลแวร์จำนวน 553 ตระกูล และมีวิธีดัดแปลงแพร่กระจายกว่า 70,000 วิธี แต่ที่น่าตกใจยิ่งกว่า คือ ผู้ใช้งานโมบายดีไวซ์ส่วนมาก ไม่ตระหนักถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์และไม่หาทางป้องกันก่อนที่จะสายเกินไป
การโทรศัพท์รับส่งเมล์ และเล่นเน็ตอย่างปลอดภัย
สมาร์ทโฟน คือโทรศัพท์มือถือที่มีฟังก์ชั่นการทำงานแบบคอมพิวเตอร์ การใช้ซอฟต์แวร์เพื่อความปลอดภัยจึงจำเป็นเพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานโทรศัพท์ ส่งข้อความ และใช้งานออนไลน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นส่งอีเมล์ หรือช็อปปิ้งออนไลน์ได้อย่างปลอดภัยและทันท่วงที
การป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล การโจรกรรมหรือสูญหาย
สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตมักสูญหายหรือถูกขโมยได้ง่ายกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ การใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันจะช่วยให้ตามหาอุปกรณ์ที่หาย บล็อกการใช้งานอุปกรณ์ หรือลบข้อมูลในหน่วยความจำเครื่องได้ เพื่อป้องกันการนำข้อมูลไปหาประโยชน์จากมิจฉาชีพ
เคล็ดไม่ลับเพื่อความปลอดภัยสำหรับโมบายดีไวซ์
1. ใช้ฟังก์ชั่นล็อกหน้าจอ ด้วยรหัสหรือตั้งรูปแบบการล็อกหน้าจอ
2. ติดตั้งโปรแกรมเพื่อความปลอดภัย
3. ดาวน์โหลดแอพจาก Google Play Store เท่านั้น