งานวิจัยของฟอร์ซพอยต์เผยการทำความเข้าใจในพฤติกรรมและเจตนาของคน มีความสำคัญต่ออนาคตของการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ แต่ปัจจุบันยังมีองค์กรที่ยังไม่พร้อมอยู่อีกมาก

ฟอร์ซพอยต์ ผู้นำระดับโลกด้านระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ เปิดเผยผลการวิจัยชิ้นใหม่เรื่อง “The Human Point: An Intersection of Behaviors, Intent & Critical Business Data” โดยงานวิจัยชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่า  แม้จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จำนวน 80 เปอร์เซ็นต์จะเชื่อว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องเข้าใจในพฤติกรรมของคนเมื่อต้องเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาและข้อมูลสำคัญอื่นๆ ทางธุรกิจ แต่ก็มีเพียง 32 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ 78 เปอร์เซ็นต์ยังเชื่อว่าการเข้าใจในเจตนาของผู้ใช้ก็เป็นสิ่งสำคัญ แต่ปัจจุบันมีเพียง 28 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสำรวจเท่านั้นที่มีความสามารถดังกล่าว

งานวิจัยชิ้นนี้ได้สำรวจผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์มากกว่า 1,250 คนทั่วโลกในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งรวมถึงบริการทางการเงิน น้ำมันและก๊าซ และการดูแลสุขภาพ

ผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นด้วยว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ไม่พอใจกับการลงทุนในเทคโนโลยี ขณะที่ปริมาณข้อมูลได้ขยายตัวอย่างมากและขอบเขตของเครือข่ายเริ่มถูกรุกล้ำ ส่งผลให้การรักษาความปลอดภัยเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การสำรวจได้เปิดเผยให้เห็นถึงด้านที่มีศักยภาพซึ่งเกี่ยวข้องกับการเข้าใจในพฤติกรรมและเจตนาของผู้ใช้เมื่อดำเนินการกับทรัพย์สินทางปัญญาและข้อมูลอื่นๆ ที่เป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กร

“ในช่วงหลายปีมานี้ อุตสาหกรรมด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้ให้ความสำคัญไปที่การรักษาความปลอดภัยให้กับโครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยีเป็นหลัก ความท้าทายเริ่มเกิดขึ้นเนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานในทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าที่เคย ไม่ว่าจะเป็นด้านองค์รวม การเข้าถึง และการเป็นเจ้าของ” นายแบรนดอน ตัน ที่ปรึกษาเฉพาะด้านระบบรักษาความปลอดภัย ประจำภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้   บริษัท ฟอร์ซพอยต์  กล่าว และว่า “การเข้าใจถึงวิธีการ สถานที่ และเหตุผลที่ผู้ใช้แตะต้องกับข้อมูลและทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นความลับ จะช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถมุ่งเน้นไปที่การลงทุนและจัดลำดับความสำคัญของแนวทางด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

การค้นพบที่สำคัญ ได้แก่:

  • การลงทุนในเครื่องมือด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์: มีเพียง 4 เปอร์เซ็นต์ของผู้เชี่ยวชาญทางไซเบอร์เท่านั้นที่พึงพอใจอย่างมากกับการลงทุนด้านการรักษาความปลอดภัยทาง ไซเบอร์ที่พวกเขาได้ดำเนินการลงไป และมีเพียง 13 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เห็นด้วยว่าเครื่องมือด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่มากขึ้นจะช่วยยกระดับความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
  • การขยายตัวอย่างมหาศาลของข้อมูลและรุกล้ำขอบเขตของเครือข่าย: เครือข่ายองค์กรไม่มีขอบเขตการควบคุมอย่างเคร่งครัดอีกต่อไป เนื่องจากข้อมูลได้ขยายตัวครอบคลุมทั้งในระบบและอุปกรณ์ต่างๆ

o             28 เปอร์เซ็นต์ ระบุว่าทรัพย์สินทางปัญญาและข้อมูลสำคัญทางธุรกิจสามารถตรวจพบได้ในอุปกรณ์ส่วนตัวที่นำเข้ามาใช้งานภายในองค์กรหรือบีวายโอดี (BYOD) 25 เปอร์เซ็นต์ระบุถึงความเสี่ยงจากสื่อบันทึกข้อมูลแบบถอดได้ 21 เปอร์เซ็นต์ระบุถึงถึงความเสี่ยงจากบริการ  คลาวด์สาธารณะ

o             46 เปอร์เซ็นต์มีความกังวลอย่างมากหรือมากที่สุดเกี่ยวกับการผสมรวมแอพพลิเคชั่นส่วนตัวและธุรกิจเข้าไว้ด้วยกันในอุปกรณ์ เช่น สมาร์ทโฟน

o             มีเพียง 7 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มีความสามารถในการมองเห็นอย่างดีเยี่ยมครอบคลุมลักษณะการใช้งานข้อมูลทางธุรกิจที่สำคัญของพนักงานในอุปกรณ์ของบริษัท อุปกรณ์ของพนักงาน บริการที่บริษัทให้การอนุมัติใช้งานได้ (เช่น ไมโครซอฟต์ เอ็กซ์เชนจ์) และบริการสำหรับผู้บริโภคทั่วไป (เช่น กูเกิล ไดร์ฟ และจีเมล)

  • ช่องโหว่ที่เป็นจุดร่วมของผู้ใช้และเนื้อหา: มีหลายจุดที่ผู้ใช้สามารถดำเนินการกับข้อมูลสำคัญทางธุรกิจและทรัพย์สินทางปัญญาได้ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่อีเมล โซเชียลมีเดีย ไปจนถึงแอพพลิเคชันระบบคลาวด์ของบริษัทอื่น ฯลฯ

o             ทั้งนี้ อีเมลได้รับการจัดอันดับว่าเป็นภัยคุกคามสูงสุด (46 เปอร์เซ็นต์) นอกจากนี้ อุปกรณ์เคลื่อนที่และระบบจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์ ดูเหมือนจะเป็นส่วนที่สร้างความกังวลอย่างมากด้วยเช่นกัน

o             ขณะที่ มัลแวร์ที่ก่อให้เกิดฟิชชิ่ง การละเมิดข้อมูล และบีวายโอดี รวมถึงพฤติกรรมที่ไม่ตั้งใจของผู้ใช้ก็ติดอันดับความเสี่ยงในอันดับต้นๆ ด้วย (30 เปอร์เซ็นต์ในแต่ละรายการ)

  • การเข้าใจในพฤติกรรมและเจตนา:

o             80 เปอร์เซ็นต์เชื่อว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากหรืออย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจในพฤติกรรมของบุคคลเมื่อดำเนินการกับทรัพย์สินทางปัญญาและข้อมูลอื่นๆ แต่มีเพียง 32 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากหรือมากที่สุด

o             78 เปอร์เซ็นต์เชื่อว่าการเข้าใจในเจตนาเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากหรืออย่างยิ่ง แต่มีเพียง 28 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากหรือมากที่สุด

o             72 เปอร์เซ็นต์เห็นด้วยหรือเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าควรเพิ่มประสิทธิภาพด้านการรักษาความปลอดภัยด้วยการให้ความสำคัญกับจุดที่ผู้ใช้ต้องดำเนินการกับข้อมูลสำคัญเพื่อให้สามารถเข้าใจในพฤติกรรมและเจตนาของผู้ใช้ได้ดียิ่งขึ้น

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงานการวิจัยชิ้นนี้ รวมถึงระเบียบวิธีการวิจัย กราฟิกประกอบ และ ไฮไลต์สำคัญในแวดวงอุตสาหกรรม สามารถดูได้ที่เว็บไซต์ www.thehumanpoint.com

 

Latest

ใช้ NAS ให้เป็น Google Photo server ด้วย immich

หลายคนชอบใช้ google photo ในการแบ็กอัพรูปจากมือถือ เพราะมีลูกเล่นให้ใช้เยอะแยะ แต่ติดที่ว่าเนื้อที่มักไม่เคยพอ และต้องจ่ายรายปี ต่ำๆ ก็ต้อง...

รัน Stable Diffusion เร็วขึ้น 10x ด้วย AMD GPU

ปกติแล้วตัว Stable Diffusion (ต่อไปขอเรียกสั้นๆ ว่า SD) สามารถติดตั้งและใช้งานได้เลยบน Nvidia GPU...

สร้างภาพ AI บนวินโดวส์ + การ์ดจอ AMD ด้วย Amuse AI

คนใช้การ์ดจอ AMD จะมีความเป็นลูกเมียน้อยอยู่นิดนึง เพราะโปรแกรมและโมเดลสร้างภาพส่วนใหญ่ จะออกแบบมาให้ใช้กับ CUDA ของ Nvidia เป็นหลัก แต่ต่อไปนี้คนใช้...

ใช้ windows 11 อย่างเซียน ด้วย PowerToys (ฟรี)

PowerToys เป็นชุดเครื่องมือฟรีจาก Microsoft ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้ Windows โดยเฉพาะ Windows 11 ซึ่ง...

Newsletter

Don't miss

ใช้ NAS ให้เป็น Google Photo server ด้วย immich

หลายคนชอบใช้ google photo ในการแบ็กอัพรูปจากมือถือ เพราะมีลูกเล่นให้ใช้เยอะแยะ แต่ติดที่ว่าเนื้อที่มักไม่เคยพอ และต้องจ่ายรายปี ต่ำๆ ก็ต้อง...

รัน Stable Diffusion เร็วขึ้น 10x ด้วย AMD GPU

ปกติแล้วตัว Stable Diffusion (ต่อไปขอเรียกสั้นๆ ว่า SD) สามารถติดตั้งและใช้งานได้เลยบน Nvidia GPU...

สร้างภาพ AI บนวินโดวส์ + การ์ดจอ AMD ด้วย Amuse AI

คนใช้การ์ดจอ AMD จะมีความเป็นลูกเมียน้อยอยู่นิดนึง เพราะโปรแกรมและโมเดลสร้างภาพส่วนใหญ่ จะออกแบบมาให้ใช้กับ CUDA ของ Nvidia เป็นหลัก แต่ต่อไปนี้คนใช้...

ใช้ windows 11 อย่างเซียน ด้วย PowerToys (ฟรี)

PowerToys เป็นชุดเครื่องมือฟรีจาก Microsoft ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้ Windows โดยเฉพาะ Windows 11 ซึ่ง...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

ใช้ NAS ให้เป็น Google Photo server ด้วย immich

หลายคนชอบใช้ google photo ในการแบ็กอัพรูปจากมือถือ เพราะมีลูกเล่นให้ใช้เยอะแยะ แต่ติดที่ว่าเนื้อที่มักไม่เคยพอ และต้องจ่ายรายปี ต่ำๆ ก็ต้อง 7-8 ร้อยกว่าบาทต่อปีเลยทีเดียว แต่ถ้าหากคุณมีเครื่อง NAS อยู่ที่บ้าน ผมจะมาบอกข่าวดีว่า เราสามารถทำให้ NAS แบ็กอัพรูปถ่ายจากมือถือเป็นเหมือน google photo ได้ด้วยแอพที่ชื่อว่า immich immich มีความสามารถใกล้เคียงกับ google photo...

รัน Stable Diffusion เร็วขึ้น 10x ด้วย AMD GPU

ปกติแล้วตัว Stable Diffusion (ต่อไปขอเรียกสั้นๆ ว่า SD) สามารถติดตั้งและใช้งานได้เลยบน Nvidia GPU โดยไม่ต้องปรับแต่งอะไรทั้งสิ้น แต่พอเป็นเครื่อง AMD GPU ตัว SD จะรันไม่ได้ ต้องไปรันบน CPU แทน ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าประสิทธิภาพสู้รันบน GPU ไม่ได้เลย บล็อกนี้เลยจะมาแสดงวิธีการติดตั้งและรัน SD บนเครื่องที่ใช้การ์ดจอ...

สร้างภาพ AI บนวินโดวส์ + การ์ดจอ AMD ด้วย Amuse AI

คนใช้การ์ดจอ AMD จะมีความเป็นลูกเมียน้อยอยู่นิดนึง เพราะโปรแกรมและโมเดลสร้างภาพส่วนใหญ่ จะออกแบบมาให้ใช้กับ CUDA ของ Nvidia เป็นหลัก แต่ต่อไปนี้คนใช้ AMD ไม่ต้องน้อยใจอีกต่อไป เพราะ Amuse AI คือโปรแกรมที่ออกแบบมาให้ใช้กับแพลตฟอร์มของ AMD โดยเฉพาะครับ สำหรับการ์ดจอนั้น ทาง Amuse AI แนะนำให้ใช้รุ่น RX 7000 ที่มี...

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here