เอ็ตด้า (ETDA) เผยโฉม 8 ทีมสุดท้าย Thailand CTF Competition 2015 เตรียมตัดเชือกตุลาฯ เฟ้นหาสุดยอดไปอาเซียน

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จัดการแข่งขัน  Thailand CTF Competition 2015 เฟ้นหาสุดยอดฝีมือด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ (Cybersecurity) หรือความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระดับประเทศ ที่เพียบพร้อมทั้งความรู้และเทคนิคไขปัญหาด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ การแข่งขันออนไลน์ได้จัดขึ้นเมื่อ 5-6 กันยายนที่ผ่านมา จาก 121 ทีมทั่วประเทศ จนได้ผู้ได้คะแนนสูงสุด 8 ทีม เข้าสู่รอบตัดเชือก เพื่อชิงชัยสุดยอดฝีมือเป็นตัวแทนประเทศไทย เข้าร่วมแข่งขัน CTF (Capture The Flag) ระดับอาเซียน ในงาน Cyber Sea Game ที่อินโดนีเซีย และลุ้นเป็นตัวแทนอาเซียนไปแข่งขันระดับโลกในงาน SECCON CTF 2015 ที่ญี่ปุ่น

​​

สุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ เอ็ตด้า  เปิดเผยว่า “เอ็ตด้า รู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่เยาวชนไทยผู้มีความรู้ด้านไซเบอร์ ซิเคียวริตี้ ให้ความสนใจเข้าร่วมแข่งขันครั้งนี้เกินคาด ด้วยระยะการรับสมัครเพียง 4 วัน แต่มีทีมเข้าชิงธงถึง 121 ทีมด้วยกัน ทุกทีมต่างใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญเรื่องไซเบอร์ซิเคียวริตี้ขับเคี่ยวกันอย่างเต็มที่ จนได้ 8 ทีมเข้ารอบสุดท้าย คือ 1.ทีม Pwnladin 2.ทีม asdfghjkl  3.ทีม wizard_of_skn  4. ทีม Take_off_your_shoes 5.ทีม J0hnTh3Ripp3r 6.ทีม null 7.ทีม NyanHack และ 8. ทีม qwerty โดยการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศจะจัดในวันที่ 6 ตุลาคมนี้ เพื่อคัดเลือกตัวแทนประเทศไทย 2 ทีมเข้าแข่งขันระดับอาเซียน ซึ่งเอ็ตด้าจะสนับสนุนทั้งค่าเดินทางและที่พัก พร้อมกันนี้ยังมีทุนการศึกษารวมมูลค่ากว่า 170,000 บาท ทั้งทุนสำหรับการสอบประกาศนียบัตรหลักสูตรด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ของสถาบัน SANS สำหรับทีมผู้ชนะ และเงินรางวัลสำหรับผู้ผ่านเข้ารอบทั้ง 8 ทีม พร้อมด้วยรางวัลอื่น ๆ อีกมากมาย แต่สิ่งสำคัญที่สุดของแข่งขันครั้งนี้คือ ได้เป็นเวทีให้ทุกคนเห็นถึงศักยภาพของตนเอง และจะเป็นแรงผลักดันสำคัญในการสร้างผลงานด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ให้กับประเทศได้ต่อไป”

นอกจากนี้ เอ็ตด้าได้เดินหน้าส่งเสริมความรู้ความเชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ รวมถึงสร้างความตระหนักรู้ถึงภัยและการป้องกันภัยคุกคามต่าง ๆ อาทิ การจัดโครงการ ThaiCERT Government Monitoring System (ThaiCERT GMS) เพื่อตรวจสอบและยกระดับการดูแลด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้หน่วยงานสำคัญ พร้อมช่วยวางมาตรการป้องกันภัยคุกคามต่าง ๆ และให้การสนับสนุนกิจกรรมที่จำเป็นต่อการสร้างไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ซึ่งทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นกิจกรรมเชิงรุกเพื่อเสริมความแข็งแกร่งในการสร้างองค์ความรู้ด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ของไทย อีกทั้งสามารถยืนหยัดป้องกันภัยคุกคามต่าง ๆ บนศักยภาพของตัวเอง รองรับการเติบโตในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลสำหรับอนาคตได้อย่างแท้จริง

Latest

ใช้ NAS ให้เป็น Google Photo server ด้วย immich

หลายคนชอบใช้ google photo ในการแบ็กอัพรูปจากมือถือ เพราะมีลูกเล่นให้ใช้เยอะแยะ แต่ติดที่ว่าเนื้อที่มักไม่เคยพอ และต้องจ่ายรายปี ต่ำๆ ก็ต้อง...

รัน Stable Diffusion เร็วขึ้น 10x ด้วย AMD GPU

ปกติแล้วตัว Stable Diffusion (ต่อไปขอเรียกสั้นๆ ว่า SD) สามารถติดตั้งและใช้งานได้เลยบน Nvidia GPU...

สร้างภาพ AI บนวินโดวส์ + การ์ดจอ AMD ด้วย Amuse AI

คนใช้การ์ดจอ AMD จะมีความเป็นลูกเมียน้อยอยู่นิดนึง เพราะโปรแกรมและโมเดลสร้างภาพส่วนใหญ่ จะออกแบบมาให้ใช้กับ CUDA ของ Nvidia เป็นหลัก แต่ต่อไปนี้คนใช้...

ใช้ windows 11 อย่างเซียน ด้วย PowerToys (ฟรี)

PowerToys เป็นชุดเครื่องมือฟรีจาก Microsoft ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้ Windows โดยเฉพาะ Windows 11 ซึ่ง...

Newsletter

Don't miss

ใช้ NAS ให้เป็น Google Photo server ด้วย immich

หลายคนชอบใช้ google photo ในการแบ็กอัพรูปจากมือถือ เพราะมีลูกเล่นให้ใช้เยอะแยะ แต่ติดที่ว่าเนื้อที่มักไม่เคยพอ และต้องจ่ายรายปี ต่ำๆ ก็ต้อง...

รัน Stable Diffusion เร็วขึ้น 10x ด้วย AMD GPU

ปกติแล้วตัว Stable Diffusion (ต่อไปขอเรียกสั้นๆ ว่า SD) สามารถติดตั้งและใช้งานได้เลยบน Nvidia GPU...

สร้างภาพ AI บนวินโดวส์ + การ์ดจอ AMD ด้วย Amuse AI

คนใช้การ์ดจอ AMD จะมีความเป็นลูกเมียน้อยอยู่นิดนึง เพราะโปรแกรมและโมเดลสร้างภาพส่วนใหญ่ จะออกแบบมาให้ใช้กับ CUDA ของ Nvidia เป็นหลัก แต่ต่อไปนี้คนใช้...

ใช้ windows 11 อย่างเซียน ด้วย PowerToys (ฟรี)

PowerToys เป็นชุดเครื่องมือฟรีจาก Microsoft ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้ Windows โดยเฉพาะ Windows 11 ซึ่ง...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

ใช้ NAS ให้เป็น Google Photo server ด้วย immich

หลายคนชอบใช้ google photo ในการแบ็กอัพรูปจากมือถือ เพราะมีลูกเล่นให้ใช้เยอะแยะ แต่ติดที่ว่าเนื้อที่มักไม่เคยพอ และต้องจ่ายรายปี ต่ำๆ ก็ต้อง 7-8 ร้อยกว่าบาทต่อปีเลยทีเดียว แต่ถ้าหากคุณมีเครื่อง NAS อยู่ที่บ้าน ผมจะมาบอกข่าวดีว่า เราสามารถทำให้ NAS แบ็กอัพรูปถ่ายจากมือถือเป็นเหมือน google photo ได้ด้วยแอพที่ชื่อว่า immich immich มีความสามารถใกล้เคียงกับ google photo...

รัน Stable Diffusion เร็วขึ้น 10x ด้วย AMD GPU

ปกติแล้วตัว Stable Diffusion (ต่อไปขอเรียกสั้นๆ ว่า SD) สามารถติดตั้งและใช้งานได้เลยบน Nvidia GPU โดยไม่ต้องปรับแต่งอะไรทั้งสิ้น แต่พอเป็นเครื่อง AMD GPU ตัว SD จะรันไม่ได้ ต้องไปรันบน CPU แทน ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าประสิทธิภาพสู้รันบน GPU ไม่ได้เลย บล็อกนี้เลยจะมาแสดงวิธีการติดตั้งและรัน SD บนเครื่องที่ใช้การ์ดจอ...

สร้างภาพ AI บนวินโดวส์ + การ์ดจอ AMD ด้วย Amuse AI

คนใช้การ์ดจอ AMD จะมีความเป็นลูกเมียน้อยอยู่นิดนึง เพราะโปรแกรมและโมเดลสร้างภาพส่วนใหญ่ จะออกแบบมาให้ใช้กับ CUDA ของ Nvidia เป็นหลัก แต่ต่อไปนี้คนใช้ AMD ไม่ต้องน้อยใจอีกต่อไป เพราะ Amuse AI คือโปรแกรมที่ออกแบบมาให้ใช้กับแพลตฟอร์มของ AMD โดยเฉพาะครับ สำหรับการ์ดจอนั้น ทาง Amuse AI แนะนำให้ใช้รุ่น RX 7000 ที่มี...

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here