ตรวจเช็คภายในระบบ ไม่ต้องกลัวเป็นโรค System Checkup

การตรวจเช็คสุขภาพประจำปีก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้คุณทราบว่าสุขภาพตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งหากมีอะไรที่ผิดปกติคุณก็สามารถบำรุงรักษาส่วนผิดปกตินั้นได้อย่างทันถ่วงที เปรียบเหมือนกับพีซีที่จำเป็นต้องตรวจเช็คเช่นเดียวกัน เพราะจะได้รู้สักทีว่าอะไรกันแน่ทำให้ประสิทธิภาพของพีซีลดลง และที่สำคัญคุณสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง  โดย Khonit ([email protected])

 

ถ้าต้องการให้พีซีทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ดีอยู่เสมอและสามารถใช้งานมันไปอีกนาน ซึ่งสิ่งสำคัญที่คุณต้องทำก็คือ การทำ PM (Preventive Maintenance) หรือการทำแผนป้องกัน บำรุงรักษา และแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับพีซีของคุณ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การทำ PM ภายนอกและภายใน ซึ่งการทำ PM ภายนอกก็จะเป็นการทำ 5ส อุปกรณ์พีซีทุกตัวต้องสะอาด โดยทำความสะอาดอย่างน้อยเดือนละครั้งแค่นี้ก็พียงพอ ส่วนการทำ PM ภายในคงต้องหาโซลูชั่นหรือวิธีการ เครื่องมือแบบไหนจึงจะสามารถจัดการ ป้องกัน ดูแล ตรวจเช็ค พร้อมทั้งแก้ปัญหาระบบได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นลบไฟล์ขยะสัปดาห์ละครั้ง ลบและซ่อมแซมรีจิสทรีเสียหายสัปดาห์ละครั้งเช่นกัน อย่างไรก็ตามอย่าลืมตรวจเช็คฮาร์ดดิสก์ จัดเรียงข้อมูล ซ่อมแซมไฟล์ระบบวินโดวส์อย่างน้อยเดือนละครั้งเท่านี้ก็ทำให้พีซีมีอายุยืนยาวแล้วครับ อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นสำหรับการทำ PM ภายใน สิ่งหนึ่งที่ต้องเตรียมคงจะเป็นเครื่องมือที่จะช่วยตรวจเช็คภายใน เพื่อบอกให้คุณทราบว่าตอนนี้ภายในระบบวินโดวส์เป็นอย่างไรบ้าง ยังมีสุขภาพที่ดีอยู่หรือไม่ แต่ถ้ามีสุขภาพไม่ดี ดูเหมือนมีอาการอื่นแทรกซ้อน กินข้าวไม่ได้ ตัวร้อนเหมือนเป็นไข้ นอนไม่หลับ และวิธีการรักษา เพราะฉนั้นเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้งานก็จะบอกผลตรวจเช็คต่างๆให้คุณได้ทราบ ซึ่งช่วยให้คุณสามารถป้องกัน และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันถ่วงที เหมือนกับเครื่องมือ System Check ถ้าอยากได้สามารถดาว์นโหลดได้ฟรีที่ https://www.iolo.com/promo/welcome/scu/scu-download-index.htm ซึ่งมีขนาดไฟล์ 4 เมกะไบต์ ทั้งยังรองรับระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็กซ์พี วิสต้า และ เซเว่น

 

เลือกโปรแกรมตรวจร่างกาย..แบบไหนเหมาะสม

เมื่อคุณถึงเวลาต้องตรวจร่างกายประจำปี สิ่งหนึ่งที่คุณค้องเลือกก็คือ โปรแกรมตรวจร่างการที่คุณต้องเลือกว่าอะไรที่เหมาะสมกับคุณ หรืออะไรที่สำคัญที่ต้องตรวจเช็คประจำทุกปี ไม่เคยเว้น เหมือนกับเครื่องมือ System Checkup เป็นโปรแกรมตรวจภายในของพีซีที่ต้องมีไว้ตรวจเช็คประจำทุกเดือนไม่ให้ขาด โดยอวัยวะภายในที่ต้องตรวจเช็คก็จะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

– Internet Speed = ตรวจเช็คการตั้งค่าอินเตอร์เน็ตได้อย่างถูกต้องหรือไม่ ซึ่งมันอาจจะส่งผลต่อความเร็วในการใช้งานอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นด้านเว็บเพจ, ดาว์นโหลดไฟล์ หรือฟังเพลง เป็นต้น

– Memory Levels = ตรวจเช็คพื้นที่หน่วยความจำหรือแรมที่ถูกจองใช้งานของแต่ละโปรแกรม โดยมีโปรแกรมไหนบ้างที่ยังทำตัวเกเรไม่ยอมแบ่งปันน้ำใจให้กับเพื่อน ชอบกินคนเดียว ซึ่งโปรแกรมที่ว่านี้จะเป็นตัวหน่วงประสิทธิภาพการทำงานพีซีของคุณ

– Startup Speed = ตรวจเช็คโปรแกรมหรือเซอร์วิสที่ทำตัวไร้ประโยชน์ ชอบแอบรันตัวเองตอนสตาร์ทอัพวินโดวส์ทุกครั้ง ซึ่งมันทำให้ประสิทธิภาพการทำงานพีซีลดลง ตัวอย่างเช่น การแย่งพื้นที่ใช้งานบนหน่วยความจำ เป็นต้น

– Registry Error = ตรวจเช็ครีจิสทรีที่เกิดปัญหาขึ้น โดยปัญหานี้เกิดจากการติดตั้งหรือถอนโปรแกรมที่ไม่สมบูรณ์ และปัญหาที่เกิดจากตัวพีซีเอง

– Driver Corruption = ตรวจเช็คไดร์เวอร์ฮาร์ดแวร์ของพีซีที่เกิดปัญหาขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความไม่เข้ากันระหว่างไดร์เวอร์กับตัวฮาร์ดแวร์ ซึ่งเกิดจากการติดตั้งไดร์เวอร์ไม่ถูกต้องหรือเป็นไดร์เวอร์เวอร์ชั่นเก่าๆ

– Security Holes = ตรวจเช็คระดับความปลอดภัยในส่วนต่างๆของพีซี ตัวอย่างเช่น การอัพเดตแพชวินโดวส์, ไฟร์วอลล์, โปรแกรมป้องกันไวรัส เป็นต้น

– System Clutter = ตรวจเช็คส่วนต่างๆที่ทำให้เกิดการถ่วงหรือหน่วงของระบบ ไม่ว่าจะเป็น โปรแกรมหมดอายุ ไดร์เวอร์เก่าๆ ไฟล์ขยะจำนวนมาก รีจิสทรีที่เกิดปัญหา เป็นต้น

– Internet Clutter = ตรวจเช็คส่วนต่างๆที่ทำให้เกิดการถ่วงหรือหน่วงต่อการทำงานของอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็น การปรับแต่งการใช้งานของบราว์นเซอร์ และไฟล์อินเทอร์เน็ตเท็ม (ไฟล์ขยะที่เกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต)

– Shortcut Check = ตรวจเช็คซ็อตคัตที่อยู่บนหน้าเดสท็อปที่ไม่ถูกใช้งานหรือเกิดความเสียหายจากสาเหตุต่างๆซึ่งไม่สามารถเปิดโปรแกรมใช้งานได้ และมันจะใช้เวลาในการโหลดเข้าสู่หน้าวินโดวส์หากไม่จำกัดซ็อตคัตขยะหรือไม่ได้ใช้งานทิ้งไป

 

วันสำคัญก็มาถึง ตรวจร่างกายประจำ วัน สัปดาห์ เดือน ปี

หลังจากเลือกโปรแกรมตรวจเช็คร่างกายเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาตรวจร่างกายในส่วนต่างๆที่สำคัญบ้าง โดยโปรแกรมที่คุณเลือกก็จะเลือกตรวจเช็คในส่วนของ Internet Speed, Memory Levels, Startup Speed, Startup Speed, Registry Error, Driver Corruption, Security Holes, Internet Clutter และ Shortcut Check โดยกำหนดให้มีการตรวจเช็คทุกๆสัปดาห์เป็นอย่างน้อย เพราะยิ่งกำหนดเวลาตรวจเช็คบ่อยแค่ไหน คุณก็จะได้ทราบถึงสุขภาพพีซีของคุณว่าตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง เพราะถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นก็จะสามารถแก้ปัญหานั้นได้อย่างทันถ่วงที แต่การตรวจเช็คจำเป็นต้องขอตัวช่วย สำหรับตัวช่วยก็คงต้องเป็นอินเทอร์เน็ต เพื่อเชื่อมต่อไปยังดาด้าเบสเซิร์ฟเวอร์ ( Database Server) ซึ่งมันจะเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างดาด้าเบสเซิร์ฟเวอร์กับพีซีของคุณ โดยจะแจ้งปัญหาและวิธีแก้ปัญหาที่ตรวจพบบนพีซีให้คุณทราบ อย่างไรก็ตามก็น่าเสียดายที่เครื่องมือ System Checkup จะแจ้งปัญหาที่ตรวจพบให้ทราบเท่านั้น ส่วนใครอยากให้ System Checkup แก้ปัญหาให้คงต้องเสียตางค์แลกกับบริการนะครับ แต่เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาผมมีเทคโน (นิค) มาบอก โดยรายละเอียดก็จะมีดังต่อไปนี้

 

1. เมื่อดาว์นโหลดเครื่องมือ System Checkup เรียบร้อยแล้ว ให้ดับเบิ้ลคลิกไฟล์ SCUDownloader .exe ก็จะปรากฏหน้าต่าง License Agreement เพื่อยืนยันหรือยอมรับเงื่อนไขการใช้งานของเครื่องมือนี้ โดยให้คลิกปุ่ม I Agree, Start My Scan ดังรูปที่ 1

1

รูปที่ 1 แสดงหน้าต่าง License Agreement ของเครื่องมือ System Checkup

 

2. ในขั้นตอนนี้ System Checkup ก็จะแปลงร่างเป็นหมอตรวจเช็คส่วนต่างๆที่สำคัญของพีซี ซึ่งประกอบไปด้วย Internet Speed, Memory Levels, Startup Speed, Startup Speed, Registry Error, Driver Corruption, Security Holes, Internet Clutter และ Shortcut Check โดยในแต่ละส่วนก็ได้อธิบายไว้แล้วในตอนต้น และ System Checkup ก็จะเริ่มต้นตรวจเช็คในส่วนของ Internet Speed จนถึง Shortcut Check ตามลำดับ ดังรูปที่ 2

2

รูปที่ 2 แสดงการตรวจเช็คในแต่ละส่วนของพีซีด้วย System Checkup

3. เมื่อ System Checkup ตรวจเช็คส่วนต่างๆของพีซีเรียบร้อยแล้ว ถึงเวลาคุณหมอสรุปผลตรวจก่อนหน้านี้ให้คุณได้ฟัง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งคำแนะนำในการแก้ปัญหา ส่วนการแก้ปัญหาหรือรักษาอาการป่วยที่เกิดขึ้นด้วย System Checkup คงต้องเสียค่าใช้จ่าย เช่นกัน ดังรูปที่ 3

3

รูปที่ 3 แสดงผลตรวจเช็คปัญหาที่เกิดขึ้นกับพีซีด้วย System Checkup

 

แม้ค่ารักษาแพง…แต่หาทางอื่นมาช่วยรักษา

อย่างที่บอกไว้ข้างต้นถึงแม้ System Checkup ใจดีตรวจเช็คให้ฟรีพร้อมทั้งให้คำแนะนำในการแก้ปัญหาให้กับคุณ แต่ถ้าต้องการให้ System Checkup รักษาหรือแก้ปัญหาให้ด้วย คงต้องมีค่ารักษาพยาบาลตามมาเช่นกัน อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะมีทางแก้หากคุณต้องการรักษาหรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตัวเอง แบบว่าไม่ต้องเสียตางค์สักแดงเดียว โดยมีเทคนิคให้นำไปใช้ดังต่อไปนี้

 

1. เมื่อทราบผลตรวจหลายคนตกใจ ทำไมหลายส่วนของพีซีเกิดปัญหาขึ้น และจะทำอย่างไรดี ถ้าให้ System Checkup รักษาให้ คงต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลอย่างแน่นอน บ้างคนมีตางค์ไม่พอจ่าย จำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากที่อื่น แต่จะดีกว่าไหมถ้าไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่าย เพียงทำตามคำแนะนำของ System Checkup ปัญหาทุกอย่างก็จะคลี่คลายลง ปัญหาใหญ่ๆก็จะกลายเป็นปัญหาเล็กๆ ดังเช่นปัญหาที่เกิดขึ้นกับรีจิสทรีของระบบ โดยมีรีจิสทรีขยะมากเกินไปหรือรีจิสทรีเกิดจากความล้มเหลวของระบบ หรือการลบโปรแกรมบ้างตัวออกจากระบบ แต่ยังมีส่วนของรีจิสทรีค้างอยู่ เป็นต้น ตัวอย่างการขอคำแนะนำจาก System Checkup เมื่อเจอปัญหาให้คลิดปุ่ม View Detail จากนั้นในส่วนของ Recommendation ก็จะแสดงรายละเอียดของปัญหาและวิธีการรักษา  ดังรูปที่ 1

4

รูปที่ 1 แสดงรายละเอียดและวิธีรักษาหรือแก้ปัญหาของ System Checkup

 

2. ในขั้นตอนี้คุณก็จะได้ทราบแล้วว่าการรักษาหรือแก้ปัญหาจะทำอย่างไรดี จากปัญหาตัวอย่าง Repair Invalid Application Folder เมื่อดูรายละเอียดด้านในคุณก็จะพบว่ามีรีจิสทรีที่เกิดปัญหาอยู่ ตัวอย่างเช่น SoftwareMicrosoftWindowsCurrentVersionExplorerMenuOrderFavoritesFavorites Bar สำหรับการรักษาหรือแก้ปัญหาให้คุณพิมพ์คำสั่ง Regedit คลิกปุ่ม OK และเปิด Key Location ของรีจิสทรีขึ้นมา ดังรูปที่ 2

5

รูปที่ 2 แสดงการเปิดเครื่องมือ Registry Editor

 

3. เมื่อเปิด Key Location ของรีจิสทรีที่มีปัญหาขึ้นมา ให้คลิกขวาที่คีย์ Order และเลือกเมนู Modify จากนั้นให้เลือกข้อมูลทั้งหมด โดยทำไฮไลท์ข้อมูลทั้งหมด เมื่อเสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม Delete และคลิกปุ่ม OK แค่นี้ก็แก้ปัญหาได้แล้ว ดังรูปที่ 3

51

รูปที่ 3 แสดงการลบข้อมูลของคีย์ Order ในรีจิสทรี

 

หมายเหตุ : สำหรับ Key Location จะอยู่ในส่วนของ HKEY_CURRENT_USER อย่างไรก็ตามก่อนทำการปรับแต่งค่าใดๆในรีจิสทรี คุณควรทำแบ็คอัพรีจิสทรีไว้ก่อนทุกครั้งครับ แต่ถ้าคุณไม่ต้องแก้ปัญหาผ่านรีจิสทรีโดยตรงคุณสามารถใช้เครื่องมือจำพวก CCleaner, DiskMax, Auslogics Registry Cleaner เป็นต้น ช่วยแก้ปัญหาแทนได้นะครับ

 

สำหรับเครื่องมือ System Checkup แม้ว่าจะไม่สามารถใช้งานตัวมันเองรักษาหรือแก้ปัญหาในส่วนต่างๆที่เกิดขึ้นได้ แต่มันยังมีข้อดีที่ช่วยแนะนำให้ทราบถึงปัญหาและวิธีแก้ปัญหาให้คุณสามารถแก้ปัญหาได้ง่ายๆ เพียงแค่ทำตามคำแนะนำเท่านั้นครับ ขอให้ปัญหายุ่งๆจงหายไป..สาธุ

 

Latest

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

Windows Search ห่วย ใช้ Listary ช่วยคุณได้

คิดว่าหลายคนที่ใช้วินโดวส์เป็นหลัก น่าจะรู้สึกเหมือนผม คือรำคาญระบบค้นหา หรือช่อง search ของวินโดวส์ เพราะช้า แถมหาอะไรก็ไม่ค่อยเจอ ...

Newsletter

Don't miss

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

Windows Search ห่วย ใช้ Listary ช่วยคุณได้

คิดว่าหลายคนที่ใช้วินโดวส์เป็นหลัก น่าจะรู้สึกเหมือนผม คือรำคาญระบบค้นหา หรือช่อง search ของวินโดวส์ เพราะช้า แถมหาอะไรก็ไม่ค่อยเจอ ...

รวม 22 คีย์ลัด Windows Key ที่ทำให้ชีวิตง่ายขึ้นพันเปอร์เซ็นต์

ปุ่ม Windows Key หน้าตาแบบนี้ ไม่ได้มีไว้ใช้แค่เรียกเมนู Start ขึ้นมาเท่านั้นนะครับ แต่ตัวมันใช้เป็นคีย์ลัดสำหรับการการทำงานบนวินโดวส์ได้หลายอย่างมาก วันนี้ผมขอรวบรวมคีย์ลัดของปุ่มนี้...

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime monitoring สมัยนี้มีหลากหลายเจ้า ปกติจะเก็บค่าบริการกันแบบ subscription รายเดือน แต่ถ้าใครไม่อยากจ่ายตังค์ วันนี้ผมมีโซลูชั่น สำหรับใครที่มีการใช้งาน NAS อยู่แล้ว เราจะเอา NAS มาทำเป็น uptime monitoring...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ ใช้มาหลอกเรา ส่งข้อความมาทาง inbox แจ้งว่าเพจทำผิดกฎ หรือ ละเมิดกฎเฟซบุ๊ก ให้กดลิงค์ เพื่อยืนยันตัวตน ไม่งั้นจะบล็อกเพจถาวร พอเรากดลิงค์เข้าไป จะเจอกับหน้าเพจ (คล้าย) เฟซบุ๊ก ซึ่งมีฟอร์มให้เราใส่ข้อมูลต่างๆ รวมถึง ชื่อเพจ อีเมล...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here