กรุงเทพ 18 พฤศจิกายน 2554 – เมื่อ 40 ปีที่แล้วในเดือนพฤศจิกายน 2514 อินเทล คอร์ปอเรชั่นได้เปิดตัวไมโครโปรเซสเซอร์รุ่น อินเทล™ 4004 รุ่นแรกของโลก ซึ่งกลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติระบบดิจิติอล
ถึงแม้ว่าคนส่วนใหญ่จะไม่เคยเห็นว่าไมโครโปรเซสเซอร์มีหน้าตาเป็นอย่างไร แต่อุปกรณ์ทุกชนิดที่มีไมโครโปรเซสเซอร์ฝังอยู่ด้านในได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราจนไม่สามารถละทิ้งไปได้
ไมโครโปรเซสเซอร์ คือ “มันสมอง” ที่ฝังอยู่ในคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ โทรศัพท์ รถยนต์ กล้องถ่ายรูป ตู้เย็น วิทยุ โทรทัศน์ และอุปกรณ์ที่เราใช้ในชีวิตประจำวันเกือบทุกชนิดจำนวนไมโครโปรเซสเซอร์ที่เพิ่มขึ้นมีผลมาจากความพยายามอย่างไม่ย่อท้อของอินเทลในการผลักดัน “กฎของมัวร์” ที่ได้คาดการณ์ไว้ว่า ในราวทุกๆ 2 ปี จำนวนทรานซิสเตอร์จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ขณะเดียวกัน ประสิทธิภาพการทำงานกลับเพิ่มสูงขึ้นและต้นทุนจะลดลง กฎข้อนี้ได้กลายเป็นโมเดลพื้นฐานของการทำธุรกิจในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ติดต่อกันมานานกว่า 40 ปีแล้ว
เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับอินเทล 4004 แล้ว พบว่า อินเทล™ คอร์™ โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 2 มีประสิทธภาพในการทำงานมากกว่าถึง 350,000 เท่า โดยที่ทรานซิสเตอร์แต่ละตัวสามารถประหยัดพลังงานไปได้ลดลงกว่า 5,000 เท่า นอกจากนี้ราคาของทรานซิสเตอร์ในช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมา พบว่าลดลงกว่า 50,000 เท่า.
รูปแบบของไมโครโปรเซสเซอร์ในอนาคตที่จะได้รับการพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 22 นาโนเมตร ซึ่งมีกำหนดจะเข้าสู่ระบบการผลิตในปี 2555 มีผลมาจากความก้าวหน้าทางนวัตกรรมของสถาปัตยกรรมทรานซิสเตอร์ Tri-Gate 3 มิติ ซึ่งเป็นโครงสร้างใหม่สำหรับทรานซิสเตอร์ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและประหยัดพลังงานมากขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นจากทรานซิสเตอร์เหล่านี้จะเป็นการนำ “กฎของมัวร์” เข้าสู่ยุคใหม่ และช่วยเปิดประตูไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับอุปกรณ์ได้อีกหลากหลายชนิด
“วิวัฒนาการแห่งเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นอย่างมหาศาลในอีก 40 ปีต่อจากนี้ จะเทียบเท่าหรือพัฒนาไปได้ไกลกว่ากิจกรรมทุกชนิดที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมากว่า 10,000 ล้านปีในประวัติศาตร์ของมนุษย์เรา เสียอีก” นายเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว
ในส่วนของเทคโนโลยีชิปจะมีความก้าวล้ำไปจนถึงยุคที่ระบบคอมพิวเตอร์สามารถรับรู้ถึงสิ่งที่อยู่รอบตัว และตอบสนองต่อความต้องการของคนได้อย่างดี คุณสมบัตินี้จะมีผลต่อธรรมชาติในการสื่อสารระหว่างผู้คน อุปกรณ์ในการรับข้อมูล และการให้บริการข้อมูล นอกจากนี้อุปกรณ์ชนิดต่างๆสำหรับอนาคตไม่ว่าจะเป็นพีซี สมาร์ทโฟน รถยนต์ และโทรทัศน์ จะกลายเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำผู้คนในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เสมือนเป็นผู้ช่วยส่วนตัว แทนที่จะเป็นเพียงแค่เครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น
บทบาทสำคัญของไมโครโปรเซสเซอร์ในช่วงที่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ
จากปัญหาน้ำท่วมและความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งทุกคนในประเทศไทย กำลังให้ความสนใจอยู่ในขณะนี้ ทำให้เราจำเป็นต้องหันมาให้ความสำคัญกับมาตรการป้องกันน้ำท่วม และวิธีบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต ซึ่งการทำให้มาตรการเหล่านี้เกิดขึ้นได้ จำเป็นต้องนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีอย่างไมโครโปรเซสเซอร์มาใช้
นักวิจัยของอินเทลได้พัฒนาสถาปัตยกรรมพิเศษที่ทำงานบนคลาวด์ขึ้นมา ซึ่งใช้ชื่อว่าโมเดลจำลองสภาพภัยพิบัติที่ชื่อ “Distributed Scene Graph” ขึ้นมา โมเดลนี้สามารถสร้างภาพจำลอง 3 มิติสมบูรณ์แบบซึ่งมีลักษณะเหมือนการทำงานของเกมเพื่อช่วยให้นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญเรื่องการบริหารจัดการน้ำศึกษาแนวทางแบบเสมือนจริงในรูปแบบต่างๆ เพื่อนำไปสู่การวางแผนสร้างมาตรการป้องกันและบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ที่ทำให้การดำเนินงานคุ้มค่าและแม่นยำกว่าในอดีต ซอฟต์แวร์นี้ยอมให้ผู้เชี่ยวชาญหลายพันคนมีส่วนร่วมกับการจำลองเหตุการณ์ภัยพิบัติ ในรูปประสบการณ์แบบเสมือนจริงซึ่งจะช่วยให้ชุมชนต่างๆเข้าใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นในลักษณะของภาพรวม ไปพร้อมๆ กับการสาธิตคุณค่าของการช่วยชีวิตที่ได้รับจากระบบเซนเซอร์ราคาถูกและระบบอัจฉริยะซึ่งทำนายสภาพ แวดล้อมได้อย่างแม่นยำ
ในส่วนการเตือนภัย การตอบสนอง และเตรียมพร้อมกับภัยพิบัตินั้น นักวิจัยของอินเทลยังเน้นไปที่เรื่องของระบบเซนเซอร์ที่ทำงานอย่างต่อเนื่องอีกด้วย เทคโนโลยีนี้อยู่ในรูปของเซนเซอร์ราคาถูกที่ส่งสัญญาณออกมาแบบเรียลไทม์ ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการบริหารจัดการภัยพิบัติ อาทิ ป้าย RFID ที่มีแบตเตอรีในตัวเพื่อใช้ระบุยานพาหนะสำหรับใช้ในการวางแผนขนส่งและการอพยพผู้คน ไปจนถึงเซนเซอร์ตรวจสอบคุณภาพน้ำที่ออกแบบมาเพื่อตรวจสอบองค์ประกอบหลัก 16 ชนิดของน้ำ เป็นต้น
และท้ายสุด อุปสรรคหลักของพื้นที่ซึ่งประสบภัยพิบัติคือ ระบบเชื่อมต่อเครือข่ายที่ใช้การไม่ได้เนื่องจากระบบเครือข่ายพื้นฐานเกิดความเสียหาย อินเทลจึงได้พัฒนาแพลตฟอร์มที่ผ่านการทดสอบในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการทำงานปกติหลากชนิดขึ้นมาเพื่อรองรับความต้องการแบบนี้โดยเฉพาะ แพลตฟอร์มนี้ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ติดตั้งและใช้งานได้อย่างรวดเร็วจึงสามารถให้บริการอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบจำกัดหรือไม่มีเลยได้ ยกตัวอย่างเช่น จุดเชื่อมต่อโมบายล์ (mobile access point) ที่ใช้ อินเทล™ อะตอม™ โปรเซสเซอร์ ซึ่งกินไฟต่ำ และสามารถรองรับบริการหลากรูปแบบ อาทิ อีเมล เซิร์ฟเวอร์ เว็บเซิร์ฟเวอร์ และ เครือข่ายที่รองรับการทำงานเสริม (delay tolerant networking) เป็นต้น
ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับโปรเซสเซอร์
- หากเปรียบเทียบความเร็วระหว่าง ไมโครโปรเซสเซอร์รุ่นแรกที่ชื่อ อินเทล 4004 กับทรานซิสเตอร์รุ่นล่าสุด จะคล้ายกับการเปรียบเทียบความเร็วของหอยทาก (5 เมตรต่อชั่วโมง) กับความเร็วของนักวิ่งเคนยาที่ชื่อแพทริก มากัว มุสโยกิ ที่เพิ่งทำลายสถิติการวิ่งมาราธอน (วิ่ง 42,195 เมตรโดยใช้เวลาทั้งหมด 2:03:38 ชม. ที่ความเร็วเฉลี่ย 20.6 กม./ชั่วโมง สถิตินี้เกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคมที่เมืองเบอร์ลิน)
- ปัจจุบัน แลปท๊อปรุ่นใหม่ๆ ใช้พลังงานคิดเป็นมูลค่าราวๆ 25 ยูโรต่อปี (1,025 บาท) ถ้าหากอัตราการใช้พลังงานไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยนับตั้งแต่ปี 2514 แล็ปท้อปในปัจจุบันจะใช้พลังงานมากกว่านี้ 4,000 เท่า โดยเสียค่าใช้จ่ายราวๆ 100,000 ยูโร (410,000 บาท) ต่อปี
- ดายของโปรเซสเซอร์ 4004 ประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ 2,300 ชิ้น ส่วน อินเทล™ คอร์™โปรเซสเซอร์ เจเนอร์เรชั่น 2 ในปัจจุบัน มีทรานซิสเตอร์เกือบหนึ่งพันล้านชิ้น
- อินเทล คอร์ โปรเซสเซอร์ ในปัจจุบันมีไมโครโปรเซสเซอร์ 995 ล้านชิ้น ถ้าหากทรานซิสเตอร์ แต่ละชิ้นเท่ากับข้าวหนึ่งเมล็ด เท่ากับเรามีข้าวเพียงพอที่จะทำอาหารเลี้ยงผู้คนได้ 567,000 คน
- ทรานซิสเตอร์ Tri-Gate 3 มิติ ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 22 นาโนเมตรจำนวนกว่า 6 ล้านชิ้นสามารถใส่ลงไปในเครื่องหมายจุดได้
ย้อนมองอดีตและการคาดการณ์อนาคต : ผลพวงของการใช้ไมโครโปรเซสเซอร์
เพื่อเป็นการฉลองครบรอบ 40 ปีของนวัตกรรมไมโครโปรเซสเซอร์ และการมองไปในอนาคตอีก 40 ปีข้างหน้า อินเทลจึงได้ทำการรวบรวมภาพถ่าย วิดีโอการสัมภาษณ์ ความเห็น ข้อมูลภาพกราฟิก และข้อมูลอื่นๆอีกมากที่มาจากความเห็นของผู้บริหารของอินเทลและอุตสาหกรรม นักวิเคราะห์ ผู้คาดการณ์อนาคต และวิศวกรจำนวนมาก ถ้าต้องการดูข้อมูลเหล่านี้กรุณาเข้าไปดูได้ที่ https://newsroom.intel.com/docs/DOC-2411
อินเทล™ 4004 – 740 KHz /10 ไมครอน ไมโครโปรเซสเซอร์ เครื่องแรกที่ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ 40 ปีที่แล้ว
ต้องใช้อินเทล™ 4004 350,000 ตัว เพื่อให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับ อินเทล™ คอร์™i7-3960X
อินเทล™ คอร์™ ไอ7 โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 2 ความเร็ว 3.4 กิกะเฮิร์ตซ์ ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ 32 นาโนเมตรของอินเทล
เกี่ยวกับอินเทล
อินเทล เป็นผู้นำในด้านนวัตกรรมการประมวลผล รวมทั้งการออกแบบ และสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่เป็นพื้นฐานการพัฒนาอุปกรณ์ประมวลผลระดับโลก ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอินเทล สามารถเข้าชมได้ที่ newsroom.intel.com และ blogs.intel.com.