พูดถึงเรื่องของคลาวด์เทคโนโลยี ในปัจจุบันนี้เข้ามาอยู่ใกล้ตัวเรามากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ เอ็กเทอนอลฮาร์ดดิสก์ที่เดี๋ยวนี้ก็พัฒนาตัวเองให้กลายเป็นคลาวด์แบบย่อมๆ สามารถเรียกใช้งาน ไฟล์เอกสาร หรือข้อมูลต่างๆ ที่เก็บอยู่ในเอ็กเทอนอลฮาร์ดดิสก์ แบบออนไลน์ได้ ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหนบนโลกนี้
เช่นเดียวกับ WD My Cloud Mirror เอ็กเทอนอลฮาร์ดดิสก์ อีกหนึ่งรุ่นในตระกูล My Cloud Series ที่มีความสามารถเป็น Personal Cloud ได้ในตัวเอง สำหรับจัดเก็บข้อมูล และสั่งงานต่างๆ ได้จากภายนอก ในแบบออนไลน์พร้อมความเป็นส่วนตัวที่มั่นใจได้ว่าจะไม่มีใครเข้ามายุ่งกับข้อมูล หรือคลาวด์ของเราเป็นแน่
สำหรับหน้าตา WD My Cloud Mirror ก็จะคล้ายๆ กับ เอ็กเทอนอลฮาร์ดดิสก์ ทั่วๆ ไป แต่จะมีความกว้างที่มากกว่ารุ่นอื่นๆ อยู่พอสมควร ประมาณ 171.45 x 99.06 x 154.94 มม. เนื่องจากรุ่นนี้เป็นรุ่น Mirror ที่ใส่ฮาร์ดดิสก์ภายในแบบแพ็คคู่สำหรับการแบล็คอัพข้อมูล ที่มั่นใจได้มากกว่า
ดูจากทางด้านข้างจะเห็นลักษณะการออกแบบ ที่แทบจะไม่แตกต่างจาก เอ็กเทอนอลฮาร์ดดิสก์รุ่นอื่นๆ ของ WD ก่อนหน้านี้เลย ดีำซน์นี้น่าจะเป็นเอกลักษณ์ของ WD ไปแล้ว
ทางด้านบน อย่างที่บอกไปเมื่อครู่ WD My Cloud Mirror ออกแบบมาให้สามารถใส่ฮาร์ดดิสก์ได้ถึง 2 ลูกในเครื่องเดียว และยังสามารถถอดเปลี่ยนเมื่อต้องการเพิ่มขนาดความจุ รวมถึงเปลี่ยนตัวฮาร์ดดิสก์เมื่อเสียหายได้ด้วย โดยฝาเปิดจะเป็นปุ่มแบบกดอยู่ทางด้าน เปิดขึ้นมาแล้วจะมีตัวล็อคฮาร์ดดิสก์อีกชั้น เป็นเกลียวให้หมุนออก
ด้านในก็จะเป็นฮาร์ดดิสก์ WD RED ที่ออกแบบสำหรับ NAS โดยเฉพาะ ขนาดความจุลูกละ 2 TB รวม 2 ลูก 4 TB ซึ่งเราสามารถที่จะตั้งค่า ให้ทำงานเป็น RAID 0,1 หรือ จะตั้งเป็น Spanning, JBOD ก็ได้
ทางด้านหลังก็จะเป็นส่วนของพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ ของตัวเอ็กเทอนอลฮาร์ดดิสก์ ซึ่งสำหรับ WD My Cloud Mirror จะเน้นการโอนถ่ายไฟล์ผ่านเครือข่ายในบ้าน หรือในองค์กร รวมถึงจากภายนอกผ่านอินเทอร์เน็ต จึงมีพอร์ต Gigabit Ethernet มาให้ 1 พอร์ต ตามสเปคสามารถโอนถ่ายได้รวดเร็วถึง 1000 mbps อันนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่รองรับ และความเร็วอินเทอร์เน็ตด้วยจะมีความเร็วมากน้อยแค่ไหน นอกจากนี้ยังมีพอร์ต USB3.0 มาให้อีก 2 พอร์ตสำหรับโอนถ่ายไฟล์ลงแฟลชไดร์ฟ หรือ เอ็กเทอนอลฮาร์ดดิสก์ พร้อมทั้งยังสามารถต่อฮาร์ดดิสก์ภายนอกเพิ่ม สำหรับเพิ่มพื้นที่จัดเห็บข้อมูลบนคลาวด์ของเราได้อีกด้วย
ในส่วนของการทำงาน มีซอฟต์แวร์สำหรับจัดการไฟล์ผ่านอินเทอร์เน็ตมาให้ เราต้องลงทะเบียนกับทาง WD ก่อน จากนั้นให้ใส่โค้ตของตัว WD My Cloud Mirror ลงไปละบบจะทำการลิงค์ข้อมูลให้โดยอัตโนมัติ ยิ่งถ้าอยู่ในเครือข่ายวงเดียวกันด้วยแล้ว ตัวโปรแกรมจะเห็ได้เองเลยไม่ต้องเข้าไปตั้งค่าใดๆ
ในส่วนของมือถือสมาร์ทโฟนก็มีเหมือนกัน เข้าผ่านแอพ WD My Cloud ซึ่งตอนนี้มีให้ใช้งานได้ทั้งบน Android และ IOS ส่วนมือถือระบบปฏิบัติการ Windows ตอนนี้ยังไม่มีให้ใช้นะ ต้องรอกันต่อไป
สำหรับการตังค่าการทำงานสามารถเข้าได้จากไอพีเครื่อง จะมีหน้าจอสำหรับมอนิเตอร์การทำงานของตัว เอ็กเทอนอลฮาร์ดดิสก์ แบบสดๆ ได้ ดูการทำงาน ดูความจุ ดูผู้ใช้ที่เข้ามาใช้งานได้ทั้งหมด
สามารถกำหนดยูเซอร์ที่เข้ามาใช้งานได้ด้วย ไม่ต้องใช้รหัสผ่านร่วมกับใคร แบ่งแยกการเข้าถึงได้ชัดเจนดี
อันนี้่จะเป็นการตั้งค่าโฟลเดอร์เก็บข้อมูลในเอ็กเทอนอลฮาร์ดดิสก์ กำหนดสิทธิการเข้าถึงโฟลเดอร์นั้นๆได้
ส่วนนี้จะเป็นส่วนของการกำหนดอุปกรณ์ที่เข้าถึง WD My Cloud Mirror ตัวนี้ ไม่ต้องห่วงว่าจะมีใครแปลกหน้าที่ไหนแอบเข้ามาใช้งาน
ถัดมาเป็นการตั้งค่าการแบล็คอัพข้อมูล สามารถตั้งเวลาให้ตัวเครื่องทำการแบล็คอัพสำรองข้อมูลจากโฟลเดอร์จากแฟลชไดร์ หรืออุปกรณ์ต่างๆ ได้ตามวันและเวลาที่ต้องการ
นอกจากนี้จะเป้นส่วนของการตั้งค่าการทำงาน เช่น การตั้งค่า RAID ซึ่ง WD My Cloud Mirror จะรองรับ RAID 0,1 รวมถึง JBOD และ Spanning ด้วย
ยังไม่หมด เพราะ WD My Cloud Mirror สามารถที่จะเชื่อมต่อ FTP สั่งดาวน์โหลด HTTP และ P2P ได้
พร้อมทั้งยังสามารถลงแอพ ของ WD ที่พัฒนาขึ้นมาเฉพาะ สำหรับการทำงานในด้านต่างๆ ได้อีกด้วย มีแค่ตัวนี้ตัวเดียวคุ้มเลย
ปิดท้ายบทความนี้ต้องขออภัยที่บทความนี้ไม่มีเรื่องของการทดสอบความเร็วให้ชมกัน เนื่องจาก WD My Cloud Mirror รุ่นนี้ออกแบบสำหรับทำงานบนเครือข่ายเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถที่จะต่อสายยูเอสบี โยนไฟล์ไปมาระหว่างเครื่องกับ เอ็กเทอนอลฮาร์ดดิสก์ได้ จะโยนก็ต้องโยนผ่านสาย LAN ซึ่งจะช้ากว่าการโอนถ่ายไฟล์ผ่านสายยูเอสบีพอสมควร หรือจะก็อปงานผ่านแฟลชไดร์ฟ ไปเสียบที่ด้านหลังเอ็กเทอนอลฮาร์ดดิสก์ ก็จะดูลำบากเกินไปหน่อย เอาเป็นว่าเจ้า WD My Cloud Mirror รุ่นนี้ เกิดมาเพื่อที่จะทำงานเป็น คลาวด์โดยเฉพาะ ก็แล้วกัน ฟังก์ชั่นบางอย่างที่ควรจะเป็นของ เอ็กเทอนอลฮาร์ดดิสก์ ก็เลยถูกตัดออกไปด้วย