มหาวิทยาลัยโอเชียนแห่งประเทศจีน เดินหน้าวางโครงสร้างพื้นฐาน ด้วยเทคโนโลยีคลาวด์จากฮิตาชิฯ

มหาวิทยาลัยโอเชียนแห่งประเทศจีน เป็นมหาวิทยาลัยที่อยู่ภายใต้การบริหารโดยตรงของกระทรวงศึกษาธิการ และในยุคเฟื่องฟูของข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และระบบคลาวด์ ส่งผลให้มหาวิทยาลัยสมัยใหม่มีความต้องการบริการด้านสารสนเทศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับฝ่ายไอที และเพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าว มหาวิทยาลัยแห่งนี้จึงได้สร้างโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์แบบส่วนตัวสำหรับการแชร์ไฟล์ที่มีประสิทธิภาพสูง โดยอาศัยโซลูชันของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ (เอชดีเอส) และด้วยโซลูชันระบบเสมือนจริงและการปกป้องข้อมูลสำหรับองค์กร ทำให้บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ (เอชดีเอส) สามารถช่วยมหาวิทยาลัยโอเชียนแห่งประเทศจีนสร้างมาตรฐานใหม่สำหรับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ภายในมหาวิทยาลัยได้เป็นผลสำเร็จ

ความท้าทาย

เครือข่ายของมหาวิทยาลัยโอเชียนได้รับการพัฒนาขึ้นมาเป็นเวลานานแล้ว โดยที่ผ่านมาศูนย์ข้อมูลของมหาวิทยาลัยจะเป็นระบบแบบกระจายและแยกส่วนการทำงาน ซึ่งส่งผลให้เกิดคลังข้อมูลเป็นจำนวนมาก รวมถึงมีอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลมากหมาย การใช้แหล่งทรัพยากรขาดความสมดุล และความยากลำบากในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน นอกจากนี้ระบบแยกส่วนดังกล่าวยังสร้างปัญหาขึ้นเมื่อต้องกู้คืนข้อมูลและไม่สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ ในกรณีที่อุปกรณ์ทำงานล้มเหลวก็มักจะเกิดการสูญหายของข้อมูลจำนวนมากตามมา และระบบก็ไม่สามารถตอบสนองความต้องการทางธุรกิจรูปแบบใหม่ได้อย่างคล่องตัว ทั้งยังสร้างภาระด้านการบริหารจัดการเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย

ปัจจุบันคณาจารย์ ทีมวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และทีมบริหารของมหาวิทยาลัยต่างพึ่งพาระบบไอทีเป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากอุปกรณ์หลัก ๆ ภายในศูนย์ข้อมูลทำงานล้มเหลวก็ย่อมส่งผลต่อการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเป็นอย่างมาก สำหรับรูปแบบการดำเนินงานในปัจจุบันของมหาวิทยาลัยนั้น จะเป็นระบบการมอบหมายและส่งการบ้าน ตลอดจนแชร์ข้อมูลและไฟล์สำหรับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ผ่านทางเซิร์ฟเวอร์ FTP ซึ่งเป็นกระบวนการที่ไม่มีประสิทธิภาพ ซับซ้อน และไม่ยืดหยุ่น ทั้งยังไม่มีระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์ FTP ที่ดีพอด้วย

ขณะที่ระบบจัดเก็บข้อมูลระดับเล็กและระดับกลางที่มีอยู่เดิมนั้น ก็ไม่สามารถตอบสนองความต้องการในแง่ประสิทธิภาพ ความน่าเชื่อถือ และความพร้อมใช้งานได้ ด้วยเหตุนี้หัวหน้าศูนย์ไอทีจึงได้นำเสนอศูนย์ข้อมูลระบบคลาวด์รุ่นใหม่สำหรับมหาวิทยาลัย ซึ่งจะเป็นการสร้างแพลตฟอร์มบริการระบบคลาวด์สำหรับการแชร์ทรัพยากร การสร้างระบบเสมือนจริง การรักษาความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือ และบริการระบบคลาวด์สำหรับข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ผสานรวมเข้ากับโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่เพื่อให้การบริหารจัดการ การจัดสรร และการป้องกันทรัพยากรเป็นไปในลักษณะรวมศูนย์ แนวทางนี้จะก่อให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานที่มีความยืดหยุ่นและมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยเป็นแพลตฟอร์มบริการสำหรับจัดเก็บไฟล์และแบ่งปันไฟล์ที่ใช้บ่อยในการเรียนการสอนและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

โซลูชันของเอชดีเอส: การสร้างระบบคลาวด์

เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การดำเนินโครงการของมหาวิทยาลัยโอเชียน เอชดีเอสจึงได้นำเสนอโซลูชันที่เหมาะสมหลังจากวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการทางธุรกิจของมหาวิทยาลัยอย่างรอบด้านแล้ว โดยโซลูชันนี้อยู่ภายใต้การดูแลของ Hitachi Data Systems Global Services Solutions ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้

  1. ศูนย์ข้อมูลเสมือนจริงแบบ Active-Active

เอชดีเอส ได้สร้างศูนย์ข้อมูลเสมือนจริงแบบ Active – Active ซึ่งพัฒนาขึ้นจาก Hitachi Virtual Storage Platform (VSP) โดยมี VSP หนึ่งชุดที่ได้รับการปรับใช้ในทั้งวิทยาเขตเหล่าซานและยู่ฉวน และด้วยสถาปัตยกรรมของ Hitachi Universal Star Network crossbar-switch ที่มีประสิทธิภาพสูง ทำให้ VSP สามารถตอบสนองความต้องการด้านประสิทธิภาพและการปรับขยายระบบไอทีของมหาวิทยาลัยได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ VSP จะผสานระบบจัดเก็บข้อมูลแบบไฟเบอร์ทั้งหมดในระบบที่มีอยู่เดิม เข้ากับกลุ่มระบบจัดเก็บข้อมูลแบบรวมศูนย์ที่มีระบบจัดเก็บข้อมูลแบบเสมือน (Storage Virtualization) และได้ขยายขีดความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลขั้นสูงให้กับกลุ่มทรัพยากรทั้งหมด ได้แก่ การจัดสรรพื้นที่ของระบบจัดเก็บข้อมูลให้มีประสิทธิภาพบนเทคโนโลยี Thin Provisioning รวมไปถึง Dynamic auto-tiering ที่เป็นเทคโนโลยีการย้ายข้อมูลไปมาระหว่างหน่วยจัดเก็บข้อมูลตามความถี่ในการใช้งาน ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บข้อมูลและปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานอย่างเหมาะสมสูงสุด

ในขณะเดียวกันระบบจัดเก็บข้อมูล VSP อีกสองระบบในวิทยาเขตเหล่าซานและยู่ฉวนจะมีลักษณะเป็นศูนย์ข้อมูลแบบ Active – Active ผ่านคลัสเตอร์ระบบจัดเก็บข้อมูล Hitachi High Availability Manager (HAM) ร่วมกับ Hitachi TrueCopy ระบบจัดเก็บข้อมูลที่ทันสมัย โดยจะมีการกำหนดค่า Hitachi TrueCopy ร่วมกับระบบ HAM (โมดูลการทำสำเนาและการกู้คืนข้อมูลแบบซิงโครนัส) และ HAM ให้กับระบบจัดเก็บข้อมูลทั้งสองระบบ โดยที่ข้อมูลจะถูกคัดลอกแบบซิงโครนัสในลักษณะสองทิศทาง ทั้งนี้ระบบจัดเก็บข้อมูล VSP ทั้งสองระบบพร้อมรองรับการเข้าถึงข้อมูลในวิทยาเขตแต่ละแห่ง โดยหากระบบจัดเก็บข้อมูลระบบใดระบบหนึ่งล้มเหลว ก็จะหันไปใช้ระบบทดแทน ทำให้มั่นใจได้ว่าการดำเนินธุรกิจจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

  1. โซลูชันการจัดการไฟล์บนระบบคลาวด์แบบส่วนตัวที่พัฒนาขึ้นจาก Hitachi Content Platform

การผสานรวม Hitachi Content Platform (HCP) ซึ่งเป็นระบบจัดเก็บข้อมูลแบบออบเจ็กต์ (Object) เข้ากับระบบ Hitachi Content Platform Anywhere (HCP Anywhere) ทำให้เอชดีเอสสามารถนำเสนอโซลูชันระบบคลาวด์แบบส่วนตัวที่ไม่เหมือนใครและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของมหาวิทยาลัยในด้านการแชร์ไฟล์ การจัดการไฟล์ การรักษาความปลอดภัยข้อมูล และความคล่องตัวในการเรียนการสอนและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็นประจำในมหาวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ที่ได้รับ

เอชดีเอส ช่วยให้มหาวิทยาลัยโอเชียนสามารถสร้างโครงสร้างพื้นฐานระบบจัดเก็บข้อมูลรุ่นใหม่ ซึ่งได้แก่ ศูนย์ข้อมูลระบบคลาวด์แบบส่วนตัวพร้อมด้วยศูนย์ข้อมูลเสมือนจริงแบบ Active-Active รวมถึงโซลูชันการจัดการไฟล์ที่ครอบคลุม โดยโซลูชันนี้จะช่วยให้ธุรกิจดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้านไอทีเพิ่มขึ้น และยังก่อให้เกิดประโยชน์ดังต่อไปนี้ด้วย

การเก็บรวบรวมและการแจกจ่ายการบ้านผ่านระบบคลาวด์

ก่อนหน้านี้การบ้านจะถูกรวบรวมและแจกจ่ายผ่านทางอีเมลหรือ FTP ซึ่งมีความซับซ้อนและมีแนวโน้มที่จะเกิดข้อผิดพลาดสูง แต่ตอนนี้จะเป็นการบริหารจัดการแบบแบ่งตามระดับชั้นในรูปแบบ “กลุ่ม” ของ HCP โดยแต่ละแผนกในมหาวิทยาลัยจะถูกกำหนดเป็นกลุ่ม และครูแต่ละคนในแต่ละแผนกจะถูกกำหนดเป็น “ทีม” ซึ่งครูแต่ละคนจะมีสิทธิ์อย่างเต็มที่ในพื้นที่ทีมของตนและสามารถกำหนดว่าจะให้นักเรียนคนใดสามารถเข้าถึงพื้นที่นี้ได้บ้าง พื้นที่ดังกล่าวสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ทางอินเทอร์เน็ต เนื่องจากตั้งอยู่ในศูนย์ข้อมูลระบบคลาวด์ของมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังสามารถตั้งค่าพารามิเตอร์ของกลุ่มเพื่อป้องกันหรือให้อนุญาตในการเปิดใช้งานการแชร์ข้อมูลระหว่างกลุ่มได้อีกด้วย

พื้นที่ทำงานเฉพาะสำหรับทีมงานด้านวิทยาศาสตร์

       มหาวิทยาลัยมีทีมวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชั่วคราวจำนวนหนึ่งที่ต้องการพื้นที่ทำงานออนไลน์แบบส่วนตัว ด้วยโซลูชันนี้ มหาวิทยาลัยจะสามารถสร้างพื้นที่ส่วนตัวให้กับทีมวิจัยทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเปิดให้เข้าถึงได้เฉพาะสมาชิกในทีมเท่านั้น และภายในพื้นที่แห่งนี้ สมาชิกในทีมจะสามารถแชร์ไฟล์ระหว่างกันและแต่ละคนสามารถมีพื้นที่ส่วนตัวเป็นของตัวเองได้

แชร์ไฟล์ผ่านระบบคลาวด์ได้สะดวกยิ่งขึ้น

HCP พร้อมให้บริการแชร์ไฟล์ในลักษณะเดียวกับ FTP ผ่านทางการเข้าถึง HTTP แบบไม่ระบุชื่อเพื่อแทนที่บริการ FTP ที่มีอยู่เดิม บริการนี้ให้การเข้าถึงที่ยืดหยุ่นและรวดเร็ว รวมถึงจัดการได้ง่าย และด้วย HCP Anywhere มหาวิทยาลัยจะสามารถซิงโครไนซ์ไฟล์ส่วนตัวของตนเองและระบบไดรฟ์บนคลาวด์ที่เปิดให้สามารถใช้งานร่วมกันได้ โดยเมื่อเทียบกับระบบคลาวด์สาธารณะแบบอื่นๆ แล้ว ระบบ HCP Anywhere ให้ความเป็นส่วนตัวและสามารถรักษาความปลอดภัยข้อมูลได้ดีกว่า

ปลอดภัยและเชื่อถือได้สูงสุด

ระบบส่วนหลังของระบบคลาวด์ส่วนตัวของมหาวิทยาลัยที่สร้างบน ระบบจัดเก็บข้อมูลHitachi VSP และ HCP รับประกันได้ถึงประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือ นอกจากนี้การป้องกันและการกำหนดเวอร์ชันของ HCP แบบอัตโนมัติยังช่วยให้มั่นใจถึงความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของข้อมูลในระบบคลาวด์ส่วนตัว รวมไปถึงเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลแบบเสมือนบน VSP จะช่วยให้การใช้ทรัพยากรร่วมกันและการจัดสรรทรัพยากรตามต้องการเป็นไปอย่างราบรื่น

หมดปัญหาด้านการจัดการไฟล์ในการเรียนการสอนและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์

HCP พร้อมรองรับข้อมูลไฟล์แบบไม่มีโครงสร้างและสามารถจัดการปัญหาเกี่ยวกับการแชร์ไฟล์ การบริหารจัดการไฟล์ และความปลอดภัยของข้อมูลในการเรียนการสอนและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ทั้งยังเป็นสถาปัตยกรรมระบบคลาวด์แบบส่วนตัวที่ยืดหยุ่นและง่ายต่อการจัดการ ตลอดจนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการติดต่อสื่อสารได้อย่างเห็นผล

ระบบไดร์ฟบนคลาวด์สำหรับองค์กร

มหาวิทยาลัยสามารถสร้างระบบไดรฟ์บนคลาวด์พร้อมด้วย HCP Anywhere ที่จะจัดเตรียมพื้นที่จัดเก็บไฟล์ส่วนบุคคลได้อย่างปลอดภัยสำหรับอาจารย์ในมหาวิทยาลัย โดยระบบไดรฟ์บนคลาวด์นี้จะช่วยให้การทำงานแบบเคลื่อนที่เป็นไปอย่างสะดวก ทั้งยังช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น

       “เอชดีเอส ช่วยให้มหาวิทยาลัยโอเชียนแห่งประเทศจีนสามารถปรับใช้โครงการไดรฟ์บนคลาวด์ของวิทยาเขตร่วมกับศูนย์ข้อมูลแบบ Active-Active และโซลูชัน HCP Anywhere ได้สำเร็จ โดยโครงการนี้ไม่เพียงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการเรียนรู้ของอาจารย์และนักศึกษาเท่านั้น แต่ยังช่วยลดความยุ่งยากในการจัดการข้อมูลของมหาวิทยาลัยด้วย” ซัน เซียนหลิง รองผู้อำนวยการศูนย์ไอที มหาวิทยาลัยโอเชียนแห่งประเทศจีน

 

เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยโอเชียน

มหาวิทยาลัยโอเชียนแห่งประเทศจีนให้บริการด้านการศึกษาในสาขาวิชาด้านเทคนิคและสังคมศาสตร์เป็นหลัก และมีชื่อเสียงอย่างมากในด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลและประมง โดยเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีรายชื่อร่วมใน “โครงการ 985”และ “โครงการ 211” อันเป็นความพยายามของรัฐบาลจีนในการยกระดับระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้มหาวิทยาลัยโอเชียนมีนักศึกษามากกว่า 40,000 คนและคณาจารย์ 3,000 คน มีวิทยาเขต 3 แห่งและศูนย์ข้อมูล 2 แห่งซึ่งตั้งอยู่ในวิทยาเขตเหล่าซานและยู่ฉวน

Latest

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

Windows Search ห่วย ใช้ Listary ช่วยคุณได้

คิดว่าหลายคนที่ใช้วินโดวส์เป็นหลัก น่าจะรู้สึกเหมือนผม คือรำคาญระบบค้นหา หรือช่อง search ของวินโดวส์ เพราะช้า แถมหาอะไรก็ไม่ค่อยเจอ ...

Newsletter

Don't miss

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

Windows Search ห่วย ใช้ Listary ช่วยคุณได้

คิดว่าหลายคนที่ใช้วินโดวส์เป็นหลัก น่าจะรู้สึกเหมือนผม คือรำคาญระบบค้นหา หรือช่อง search ของวินโดวส์ เพราะช้า แถมหาอะไรก็ไม่ค่อยเจอ ...

รวม 22 คีย์ลัด Windows Key ที่ทำให้ชีวิตง่ายขึ้นพันเปอร์เซ็นต์

ปุ่ม Windows Key หน้าตาแบบนี้ ไม่ได้มีไว้ใช้แค่เรียกเมนู Start ขึ้นมาเท่านั้นนะครับ แต่ตัวมันใช้เป็นคีย์ลัดสำหรับการการทำงานบนวินโดวส์ได้หลายอย่างมาก วันนี้ผมขอรวบรวมคีย์ลัดของปุ่มนี้...

ใช้ Synology NAS เป็น uptime monitoring ด้วยแอพ uptime-kuma สั่ง alert ผ่าน Line ได้ด้วย

สำหรับแอดมินที่ต้องดูแลหลายๆ เว็บไซต์ สิ่งที่จำเป็นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า uptime monitoring ที่คอยเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์เว็บล่ม เพราะบางครั้งแค่เว็บล่มเพียงไม่กี่นาที ก็ทำให้เกิดความเสียหายหลายแสนทีเดียว บริการ uptime monitoring สมัยนี้มีหลากหลายเจ้า ปกติจะเก็บค่าบริการกันแบบ subscription รายเดือน แต่ถ้าใครไม่อยากจ่ายตังค์ วันนี้ผมมีโซลูชั่น สำหรับใครที่มีการใช้งาน NAS อยู่แล้ว เราจะเอา NAS มาทำเป็น uptime monitoring...

เตือนภัยถึงแอดมิน ระวังเฟซบุ๊กถูกแฮกไม่รู้ตัว

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนัก ล่าสุดผมเองก็โดนกับตัวผ่านทาง facebook เลยอยากจะมาเตือนเพื่อนๆ ทุกคน โดยบล็อกนี้ผมจะแฉวิธีการและวิธีสังเกตการหลอกเอาข้อมูลของเรา รู้ไว้จะได้รู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ครับ 2 ขั้นตอนหลัก ที่มิจฯ ใช้มาหลอกเรา ส่งข้อความมาทาง inbox แจ้งว่าเพจทำผิดกฎ หรือ ละเมิดกฎเฟซบุ๊ก ให้กดลิงค์ เพื่อยืนยันตัวตน ไม่งั้นจะบล็อกเพจถาวร พอเรากดลิงค์เข้าไป จะเจอกับหน้าเพจ (คล้าย) เฟซบุ๊ก ซึ่งมีฟอร์มให้เราใส่ข้อมูลต่างๆ รวมถึง ชื่อเพจ อีเมล...

หยอดปุกรอ!! 4 รถแบรนด์ดัง พลังงานไฮโดรเจน น่าจับตาปี 2023

สำหรับปี 2023 เป็นต้นไปนี้ เราจะเห็นรถพลังงานไฮโดรเจนเปิดตัวมากขึ้น ดูเหมือนทุกค่ายจะซุ่มทำรถไฮโดรเจนของตัวเอง แล้วเหมือนจะนัดกันเปิดตัวในปีนี้พร้อมๆ กัน

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here